Tags:
Node Thumbnail

Blognone ได้รับเชิญจากบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) เข้าร่วมงานสัมมนา CIO.NXT Forum 2017 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทิศทางของไอทีองค์กร (ซึ่งเป็นตลาดหลักของ HPE หลังแยกบริษัทกับ HP)

ธีมหลักของงานพูดถึงคำว่า "Hybrid IT" หรือการเชื่อมระหว่างไอทีระบบเก่ากับใหม่ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่จำเป็นต้องมีทั้งสองระบบรันขนานกันไป (บ้างก็เรียกว่า bimodal IT คือฝ่ายไอทีเดียวมีสองโหมด) คำถามคือในแง่การบริหารจัดการจะทำได้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ

No Description

Hybrid IT ระบบไอทีจากสองโลก

คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการของ HPE ประเทศไทย ระบุว่าความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิด "งาน" (workload) รูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาก ไล่มาตั้งแต่ยุคการรันทุกอย่างใน VM มาสู่ยุคของคอนเทนเนอร์ ไปจนถึงบริการหลายตัวที่เป็น SaaS อย่างสมบูรณ์ 100% (เช่น Salesforce)

ในขณะที่ฝั่งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (infrastructure) เราก็ยังมีระบบเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมที่รันแอพพลิเคชันบนฮาร์ดแวร์โดยตรง (bare metal) เช่น งานด้าน core banking ของธนาคาร ไปจนถึงคลาวด์ซึ่งมีหลายแบบ ทั้ง IaaS, PaaS, SaaS

No Description

สิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรขนาดใหญ่คือระบบไอทีเก่าๆ ที่เป็น legacy ก็ยังต้องรันต่อไป ในขณะที่ขึ้นระบบใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่าง container/cloud คำถามคือฝ่ายไอทีจะบริหารจัดการระบบไอที 2 ระบบที่ไม่เหมือนกันเลย ต้องการความคล่องตัวในการทำงานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้อย่างไร

HPE ตีโจทย์นี้โดยแบ่งปัญหาออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • Infrastructure หรือ Platform
  • Workloads หรือ Application Architecture
  • DevOps
  • Service Management

Infrastructure

ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานทางไอที ซึ่งมักเน้นไปที่ฝั่งฮาร์ดแวร์ ตอนนี้ HPE มีผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 3 ด้านแล้วคือ

นอกจากฮาร์ดแวร์แบบดั้งเดิมแล้ว HPE ยังพัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับตลาดใหม่ๆ เช่น HPE SimpliVity ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ hyper-converged และ HPE Synergy ที่เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่ โดย HPE เรียกมันว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ 'composable' ที่นำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น (เป็นขั้นกว่าของ hyper-converged)

No Description

ภาพจาก HPE

Workloads

ในฝั่งของแอพพลิเคชันที่จะมารันบน infrastructure ก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเช่นกัน องค์กรต้องพิจารณาว่าแอพพลิเคชันในปัจจุบัน สามารถปรับอย่างไรได้บ้างเพื่อก้าวเข้าสู่ระบบไอทียุคใหม่ ในขณะที่แอพพลิเคชันรุ่นใหม่ๆ ถูกสร้างขึ้นมาเป็น cloud native ตั้งแต่แรกแล้ว

แนวทางของแอพพลิเคชันเก่ามีด้วยกัน 5 ประการคือ retire (เลิกใช้), replace (เปลี่ยนไปใช้ตัวอื่น), re-host (ย้ายงานไปอยู่บนคลาวด์), re-architect (ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรม) หรือ refactor (ปรับปรุงโค้ดโดยไม่เปลี่ยนสถาปัตยกรรม)

No Description

DevOps

การผสานระหว่างของ infrastructure กับ workloads (ที่ต่างก็มีทั้งแบบเก่าและแบบใหม่) เข้าด้วยกัน จึงต้องแก้ปัญหาด้วยแนวคิด DevOps เพื่อให้องค์กรเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ในทางปฏิบัติก็คือนำเทคนิคอย่าง CI/CD (continuous integration and continuous delivery) มาใช้งาน

ในอดีตเราอาจใช้เวลาถึง 180 วันในการ deploy แอพพลิเคชันองค์กรแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันในยุคที่เป็น cloud native ระยะเวลาในการ deploy อาจลดลงเหลือเพียง 30 วินาทีเท่านั้น เทคโนโลยีหลายตัวก็ได้รับการยอมรับในท้องตลาดอยู่แล้ว เช่น Chef, Ansible, Docker, Mesos, CoreOS, Jenkins ซึ่ง HPE ก็สามารถร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้เพื่อนำมาสู่ลูกค้าได้ง่ายขึ้น

No Description

HPE ระบุว่าการทำงานแบบ DevOps บวกกับการออกแบบระบบให้เป็น microservice จะช่วยลดระยะเวลาการขึ้นโครงการไอทีใหม่ๆ ได้ อย่างตอนนี้ธุรกิจการเงินการธนาคารเอง ความเร็วในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ระยะเวลาออกของใหม่ต้องลดจากหลักปีเป็นหลักเดือนหรือหลักสัปดาห์ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้ ตอนนี้มีธนาคารไทยรายหนึ่งตั้งเป้าว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องเสร็จภายใน 3 เดือน ไม่อย่างนั้นถือว่าช้าเกินไปแล้ว

Service Management

สุดท้ายแล้ว นอกจากระดับของ infrastructure, workloads, DevOps ก็เป็นระดับชั้นการบริหารจัดการ โดย HPE มีเครื่องมือหลายตัวที่ช่วยให้การจัดการระบบไอทีขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น ตัวอย่างเช่น มี management API สำหรับควบคุมระยะไกล, มีระบบ console/dashboard ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของระบบ

No Description

On Premise ก็คิดเงินแบบคลาวด์ได้ จ่ายเท่าที่ใช้งาน

เมื่อต้นปีนี้ HPE จัดทัพธุรกิจด้านบริการและที่ปรึกษาไอทีใหม่ โดยใช้ชื่อว่า HPE Pointnext ทำธุรกิจ 3 ด้านคือให้คำปรึกษา (advisory), ออกแบบและอิมพลีเมนต์ระบบ (design & implement) และเอาต์ซอร์สการดำเนินงานระบบ (operation)

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจของ HPE Pointnext คือโมเดลการตั้งเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร (on premise) ก็ปรับตัวจากเดิม โดยนำโมเดลการคิดเงินตามที่ใช้จริง (pay-per-use) แบบเดียวกับคลาวด์มาใช้งาน

รูปแบบคือ HPE หรือพาร์ทเนอร์นำระบบเซิร์ฟเวอร์ไปตั้งในองค์กรของลูกค้าโดยไม่ต้องซื้อขาด แล้วมีระบบมอนิเตอร์การใช้งานที่ละเอียดเป็นหลักทุกนาที ทุกสิ้นเดือน HPE ก็ส่งบิลมาเก็บตามปริมาณการใช้งานของลูกค้า แนวทางนี้เรียกว่า Flexible Capacity ที่ช่วยให้การลงทุนระบบไอทีคุ้มค่ากว่าเดิม เพราะไม่ต้องซื้อปริมาณโหลดงานไว้ล่วงหน้า

No Description

ภาพจาก HPE

ตัวอย่างจากกราฟข้างต้น ปริมาณโหลดงานจริงคือเส้นสีเขียวที่ขรุขระ ในโมเดลการซื้อเครื่องแบบเดิมตามเส้นสีแดง จะมีโอกาสที่ซื้อเกินความต้องการ (เปลืองเงินเสียเปล่า) หรือซื้อขาดจากที่ต้องการ (เครื่องไม่พอกับความต้องการรันงาน)

แต่ภายใต้โมเดล Flexible Capacity ตามเส้นสีดำแบบขั้นบันไดทั้งสองเส้น เราสามารถซื้อปริมาณขั้นต่ำ (minimum committed level) ไว้ก่อนได้ แล้วซื้อ "บัฟเฟอร์" ที่เผื่อไว้สำหรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ละเอียดกว่าโมเดลเดิม ช่วยแก้ปัญหาเครื่องไม่พอรันงาน แต่ก็ไม่ได้ซื้อเผื่อไว้เกินจนเปลืองเงิน

โมเดลคิดเงินแบบ Flexible Capacity ไม่จำกัดแค่การใช้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลเพียงอย่างเดียว เพราะตอนนี้บริการอะไรก็ได้สามารถคิดเงินแบบนี้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสตอเรจ, แบ็คอัพ, อุปกรณ์เครือข่าย หรือแม้แต่การใช้ไลเซนส์ซอฟต์แวร์ด้วย

No Description

ตัวอย่างที่ HPE Pointnext นำมาโชว์คือบริการสตอเรจแบบแฟลชที่ใช้ฮาร์ดแวร์ของ 3PAR ที่สามารถคิดราคาใช้งาน "GB ละหนึ่งบาทต่อเดือน" ถ้าหากลูกค้าการันตีซื้อตามปริมาณความจุที่กำหนด

No Description

ช่วงหลัง HPE เองก็ปรับตัวเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน โดยร่วมกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายๆ เจ้า เช่น SAP HANA หรือ Microsoft Azure Stack เข้ามาให้บริการซอฟต์แวร์ในลักษณะ Flexible Capacity เช่นกัน

โลกปรับตัว HPE ก็ต้องปรับตัว

คุณพลาศิลป์ ระบุว่าบริษัทแม่ HPE เองก็ปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้รับกับโลกที่เปลี่ยนไป ทั้งการขายธุรกิจที่ไม่ใช้ธุรกิจหลักขององค์กรออกไป, การซื้อธุรกิจที่เป็นคีย์สำคัญ เช่น Simplivity หรือ Aruba, และการตั้งหน่วย Pathfinder เข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัพที่มีอนาคต เช่น Mesosphere หรือ Chef เป็นต้น ภาพรวมของกลยุทธ์นี้เรียกว่า split & merge ที่ใช้ทั้งการแยกและรวมกิจการมาช่วยผลักดันองค์กร

HPE มองว่าตัวเองเป็น technology enabler ช่วยดันคู่ค้าให้เดินหน้าต่อไปได้ในทางเทคโนโลยี แต่ตัวของ HPE เองจะไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ (service provider) โดยตรง ตัวอย่างลูกค้าที่ HPE เข้าไปช่วยสนับสนุนธุรกิจคือ Dropbox ที่ลงจากคลาวด์มาตั้งศูนย์ข้อมูลเอง หรืออย่างในประเทศไทย HPE ก็สนับสนุน INET ในการให้บริการคลาวด์ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากคลาวด์ข้ามชาติ

Get latest news from Blognone