Tags:
Node Thumbnail

Berliner Morgenpost เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน เปิดเว็บไซต์แบบ Interactive เทียบขนาดของภูเขาน้ำแข็ง "ลาร์เซน ซี" ที่กำลังแตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งภูเขาน้ำแข็งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้

ด้วยความหนา 200 เมตรและกินพื้นที่ 6,000 ตร.กม. ผู้เขียนลองลากกราฟิกมาวางไปเหนือกรุงเทพฯ พบว่ามันมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่นี้เสียอีก! (กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 1,569 ตร.กม.)

การแตกตัวนี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ หลังเฝ้าดูรอยร้าวบนชั้นน้ำแข็งนี้มากว่า 10 ปี ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ ภูเขาน้ำแข็งจะแตกตัวออก และลอยตามกระแสลมขึ้นไปทางเหนือจนเป็นอันตรายต่อการเดินเรือขนส่ง

เทียบขนาดของภูเขาน้ำแข็งกับพื้นที่บนโลกของเรา และเว็บไซต์นี้ยังรวบรวมการนำเสนอที่น่าสนใจอื่น ๆ ไว้อีกด้วย

No Description

ที่มา: Berliner Morgenpost, บีบีซีไทย

Get latest news from Blognone

Comments

By: whitebigbird
Contributor
on 16 July 2017 - 22:28 #998095
whitebigbird's picture

ทำไมต้องเอามาวางกรุงเทพด้วยครับ ถ้ามันละลายน้ำก็ท่วมสิครับ

ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็น #น้ำแข็งแข็งรอการละลาย

By: paween_a
Android
on 17 July 2017 - 10:49 #998184 Reply to:998095
paween_a's picture

มุกลึกซึ้งดีครับ ผ่านแต่ไม่ขำมาก

By: whitebigbird
Contributor
on 17 July 2017 - 14:13 #998241 Reply to:998184
whitebigbird's picture

เสียใจครับ

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 17 July 2017 - 02:00 #998101
KuLiKo's picture

ใหญ่ขนาดนี้แนะนำให้เรียกว่าประเทศน่าจะเหมาะกว่าภูเขา 555555

By: art_duron
AndroidWindows
on 17 July 2017 - 07:12 #998109
art_duron's picture

ผมสงสัยอยู่อย่างเรื่องน้ำแข็งละลาย
ถ้าก้อนน้ำแข็งนั้นลอยอยู่ในน้ำตั้งแต่ต้น เวลาละลายจะไม่ทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นนิหน่า เพราะตอนมันเป็นของแข็งมันก็อยู่แทนที่น้ำ ระดับมันก็สูงขึ้นตั้งแต่มีก้อนน้ำแข็งลอยอยู่แล้ว

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 17 July 2017 - 09:28 #998132 Reply to:998109
mementototem's picture

ตามความเข้าใจผม

  1. น้ำแข็งบางส่วนก่อนตัวบนพื้นดิน เมื่อไหลลงน้ำ ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น
  2. 30% อยู่เหนือน้ำ
  3. ความหนาแน่น (แนบชิด) ของโมเลกุลของแข็ง กับของเหลว (รวมถึงก๊าซ) ต่างกัน แม้มวลจะเท่ากัน แต่ปริมาณ (?) ต่างกันครับ

Jusci - Google Plus - Twitter

By: tuttap
Android
on 17 July 2017 - 10:04 #998160 Reply to:998132
tuttap's picture

น้ำแข็งขนาดเท่าแก้วถ้าละลายจะล้นแก้วไหม

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 17 July 2017 - 13:25 #998221 Reply to:998160
MaxxIE's picture

ไม่ล้นครับ เพราะน้ำเวลาแข็งตัวปริมาตรมันจะเพิ่มขึ้น(ลองนึกถึงเวลาทำน้ำแข็งในถาด)
กลับกันพอละลายปริมาตรก็จะลดลง

แต่ที่เค้ากลัวๆน้ำจะท่วมโลกก็น่าจะกลัวพวกน้ำแข็งที่ไม่ได้อยู่ในน้ำละลายครับ พวกหิมะที่จับตัวเป็นชั้นๆ พวกธารน้ำแข็ง

By: art_duron
AndroidWindows
on 17 July 2017 - 13:48 #998226 Reply to:998132
art_duron's picture

ผมก็คิดๆ เหมือนกันว่าน้ำแข็งส่วนที่เกาะอยู่บนพื้นดิน มันเยอะแค่ไหน ถ้าส่วนนี้ละลายสิถึงน้ำทะเลสูงขึ้นจริง

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 17 July 2017 - 11:20 #998193 Reply to:998109
Holy's picture

ถ้าเป็นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ (ซึ่งลอยอยู่ในทะเลอยู่แล้ว) แล้วละลาย ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรครับ เพราะตัวมันอยู่ในน้ำแต่แรกแล้วอย่างที่ว่า

ปัญหาคือขั้วโลกใต้ ซึ่งน้ำแข็งอยู่บนทั้งพื้นดินและในน้ำ ตัว Larsen C ที่หลุดออกมานี่จริงๆ เป็นหิ้งน้ำแข็งที่ลอยในน้ำอยู่แล้ว มันจึงไม่ได้ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นเท่าไหร่ แต่ตัวหิ้งนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็นกำแพงกันธารน้ำแข็งที่อยู่บนพื้นดินครับ ถ้าหิ้งน้ำแข็งพวกนี้แตกออกไปมากๆ (ก้อนนี้ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) ธารน้ำแข็งบนพื้นก็จะไหลมาลงทะเลเพิ่ม คราวนี้แหละครับท่วมจริง

By: art_duron
AndroidWindows
on 17 July 2017 - 13:49 #998228 Reply to:998193
art_duron's picture

ขอบคุณ​ข้อมูล​ครับ เวลาผมคุยกับคนอื่นจะได้มีที่มาที่ไปของข้อมูล​

By: Bntrnc
iPhoneBlackberry
on 17 July 2017 - 16:31 #998289 Reply to:998109

แต่มันมีส่วนที่ตอนแรกมันไม่ได้อยู่ในน้ำนิครับ

By: loptar on 17 July 2017 - 09:57 #998155
loptar's picture

จะมีใครไปจับจองตั้งประเทศใหม่มั้ยเนี่ย น่าสน 555

By: paween_a
Android
on 17 July 2017 - 10:52 #998187 Reply to:998155
paween_a's picture

นึกถึงโดราเอมอนตอนที่ไปสร้างบ้านในก้อนน้ำแข็งที่ขั้วโลกเลย