Tags:

ตามนั้นเลย

คือหามาจนทั่วแล้ว ยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่ามันคืออะไร แล้วทำงานอย่างไร เพื่ออะไร
ขอตัวอย่างด้วยครับ

ขอบคุณครับ

Get latest news from Blognone
By: Thaina
Windows
on 21 October 2008 - 18:01 #68883

จริงๆแล้วมันยังเป็นคำที่ Define ไม่เสร็จครับ เพราะคนแรกที่พูดว่า Cloud ก็อธิบายกว้างๆ คนต่อๆไปก็เข้าใจคำว่า Cloud ไปหลากหลาย

เลยมีคนบอกว่า "ผมทำคลาวด์" หลายคน แต่ความหมายไม่เหมือนกันซักคน

.

เท่าที่ผมเข้าใจคือ

เมฆ รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดไม่แน่นอน ที่อยู่ไม่แน่นอน

เรามี Server/Storage/CPU เป็นเมฆ คือเราแค่รู้ว่ามันมี เห็นว่ามีมากพอ ก็จะทำอะไร จะใส่อะไรก็ได้ ไม่ต้องรู้ว่ามีเมฆมากแค่ไหน ไม่ต้องรู้ว่ามันอยู่ตรงมุมไหนของโลก เพราะเมฆกระจายอยู่ทั่วโลก

นั่นคือ การทำคลาวด์ คือการที่มีการให้บริการอะไรก็ตามเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่เราไม่รู้ และไม่ต้องรู้ ไม่ต้องสนใจ ว่าอะไรจะอยู่ไหน เท่าไหร่ เพราะมันจะกระจายกันอยู่ทั่วโลก

เราต้องการเนื้อที่ซัก 1 gb มันก็จะไปกระจายเองว่าจะอยู่ที่ไหนบ้าง อาจจะอยู่ซัก 15 ประเทศ ประเทศละ 100 mb(backup เผื่อ)

หรือถ้าเราต้องการ CPU ซัก 256 core ก็อาจจะมี cpu 16 core อยู่ 16 ประเทศ กระจายกันทำงานให้เรา

หรือถ้าสมมุติ วันนี้ศูนย์คลาวด์ประเทศไทยล่ม อาจจะมีการย้ายงานไปที่อีกศูนย์นึง ให้ทำงานแทน โดย Customer ไม่ต้องรู้เรื่องอะไร แค่เปิดมาดู อ้าว โปรแกรมล่มไป เปิดใหม่ โอเคใช้ได้แล้ว

หรืออะไรประมาณนี้

By: narok119
ContributoriPhone
on 22 October 2008 - 18:30 #69048 Reply to:68883

เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ

แต่สงสัยว่าไอ่วิธีแบบนี้มันไม่ได้มีมาตั้งนานแล้วหรอครับ?

By: Thaina
Windows
on 22 October 2008 - 19:33 #69052 Reply to:69048

ปกติมักจะตายตัวกว่านี้ครับ และมักจะรวมๆอยู่ที่เดียว

By: latesleeper
Android
on 21 October 2008 - 18:18 #68885

ผมนิยาม (เอาเอง) ว่า "การใช้เว็บเซอร์วิสในเชิงบูรณาการ" น่ะครับ

By: pawinpawin
Writer
on 21 October 2008 - 18:40 #68886

เท่าที่ผมเข้าใจ มันคือเครื่องเสมือน น่ะครับ

By: wearetherock
BlackberryUbuntu
on 22 October 2008 - 10:53 #68972
By: t·o·o on 22 October 2008 - 17:24 #69039

ไม่มีไรมากไปกว่านิยามเพื่อการตลาด

By: macxide
iPhoneAndroid
on 22 October 2008 - 17:58 #69042

บางครั้ง คนอื่นอาจจะคิดว่า

  • เอาเมฆ มาเก็บข้อมูล
  • เอาเมฆ มาประมวลผลข้อมูล

คนก็เลยไม่เข้าใจกัน ว่าจะเอา เมฆที่อยู่บนฟ้า มาเก็บข้อมูลได้อย่างไร เพราะมัน หายไปได้ และเกิดขึ้นมาได้ โดยธรรมชาติ

มันแปลกๆมาตั้งแต่แรกแล้ว ผมเลยไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ หากเอาจริงๆ น่าสนที่สุดและหากจะว่าเป็นกระแสที่น่าติดตามคือ SSD และ Windows Mobile, Android มากกว่าจะไปอยู่บนฟ้า เพราะเอื้อมถึงยาก

พีดีเอ ซ่า ดอทคอม ทำสิ่งที่คุณถืออยู่ให้มีค่ามากยิ่งขึ้น

By: audy
AndroidUbuntu
on 22 October 2008 - 18:33 #69049 Reply to:69042
audy's picture

ลองใช้ Amazon EC2, S3 ดูครับ

ผมว่ามันไม่ยากเท่าไหร่นะ

By: javaboom
WriteriPhone
on 23 October 2008 - 00:08 #69086 Reply to:69042
javaboom's picture

ผมเข้าใจว่าคุณ macxide เล่นมุกใช่หรือเปล่าครับ แต่กลัวท่านอื่นจะเข้าใจอย่างนั้นจริงๆครับ มันไม่ใช่เมฆบนฟ้าครับ แต่ภาษาไทยเรามาแปลกันว่าเมฆเฉยๆ คำว่า Cloud ในที่นี้คือสัญลักษณ์ของอินเทอร์เน็ตครับ

ผมว่าความน่าสนใจของข่าว มันก็แล้วแต่บุคคลแหละครับ อย่าง blognone เองก็มี http://blognone.com/hpc สำหรับคนสนใจเรื่อง High Performance Computing (รวมถึง Cloud Computing ด้วย) ที่ผ่านมากลุ่มผู้อ่านแม้จะน้อย แต่เราไม่ได้ดูปริมาณครับ เราดูว่าเขาได้อะไรไปครับ ผมรู้สึกดีที่ใน blognone ที่คนมีความสนใจที่เหมือนกัน และก็มีที่แตกต่างกันไป ใน blognone จึงมีข่าวหลากหลายครับ และ Tech News That's Worth ครับ จะเป็นข่าวไหนๆ ถ้ารู้จักวิเคราะห์ด้วยเหตุผล มันก็มีประโยชน​์ทั้งนั้นครับ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: macxide
iPhoneAndroid
on 23 October 2008 - 00:34 #69090 Reply to:69086

คนน่าจะเข้าใจตั้งแต่แรกแบบนั้นอยู่แล้ว เท่าที่ผมรู้คือ ช่วงแรกๆเกี่ยวกับ Cloud Process เค้าเอารูปก้อนเมฆ มาไว้อยู่แล้ว ทำให้คนอื่นคิดตามว่า จะบันทึก ข้อมูลไว้บนก้อนเมฆ หรือเปล่าว มันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน แต่หากเทียบเชิงอย่างที่ว่า คงต้องดูการกำเนิน Peer to Peer

ขอบคุณที่คุณ JavaBoom อธิบายละเอียดครับ จริงๆ ผมไม่ค่อยได้ติดตามเรื่องนี้

มุกผมทำให้คนคิดมากไปเยอะเลย....

พีดีเอ ซ่า ดอทคอม ทำสิ่งที่คุณถืออยู่ให้มีค่ามากยิ่งขึ้น

By: javaboom
WriteriPhone
on 23 October 2008 - 02:01 #69100 Reply to:69090
javaboom's picture

ขอบคุณเช่นกันครับคุณ macxide จริงๆ ผมก็ติดตามข่าวที่คุณ macxide สนใจอยู่เหมือนกันครับ (ผมเองก็สนมือถือเหมือนกัน ก่อนหน้านี้ เปลี่ยนอยู่บ่อยๆ) แต่ส่ิงที่ผมสนใจที่สุด (ในตอนนี้) คือเรื่อง HPC โดยเฉพาะ Cloud Computing เพราะมันเป็นงานและก็อาชีพของผมน่ะครับ เลยทำให้สนใจ

บางครั้ง มันก็ยากที่เราจะอธิบายเทคโนโลยีใหม่ๆน่ะครับ โดยเฉพาะ Cloud เพราะมันมีหลายคนนิยาม มันก็เลยกำกวม แต่ถ้าอยู่ในสายวิชาการมา โดยเฉพาะถ้าติดตามข่าวและผลงานวิชาการทางสาย HPC มาตั้งแต่ 1990 ขึ้นมาเลย ถ้าเก๋ากว่านั้น ก็คงต้องย้อนไปอีก เช่น 1970 ขึ้นมา หรืออย่างน้อยก็ 1980 ขึ้นมา (แต่ผมยังโนเนะอยู่เลย คงทำได้แค่อ่านบทความเก่าๆ) โอเค เมื่อเราติดตามวิวัฒนาการมา เราจะเห็นว่า Cloud Computing มันไปต่างจากที่ผ่านมาอย่างไรน่ะครับ มันมีส่วนเหมือนก็จริง แต่ส่วนต่างเล็กๆน้อยๆของมันเนี่ยก็เกิดจากงานวิจัยและพัฒนาที่เคยมีมาในอดีตผสมผสานกันแหละครับ และที่ต่างมากๆเลย คือ มันขายได้ครับ ^_^

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: javaboom
WriteriPhone
on 23 October 2008 - 02:05 #69084
javaboom's picture

จริงๆ Cloud มันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนหรอกครับ ความหมายที่ทางวิชาการที่เขานิยาม (อันนี้ผมอิงตามที่ไปฟังหรืออ่านตาม IEEE/ACM Conference และฟังจากปากผู้บริหารชองบริษัทต่างๆนะครับ) คือ

การเอาระบบสารสนเทศของบริษัทไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม (Third Party) เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำมาติดตั้ง

คำว่า Cloud ก็เป็นสัญลักษณ์ของอินเทอร์เน็ตมาแต่เดิม มันก็เลยชื่อ Cloud นั่นเอง ซึ่งเราจะเห็นบริการของ Cloud หลักๆเป็น 2 ประเภทคือ Cloud Computing กับ Cloud Storage อันแรกก็คือการรัน​หรือประมวลผลระบบสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันหลังก็คือเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Cloud ไปต่างจาก App Hosting / File Hosting / Web Hosting อย่างไร ถ้าเราลองดู Cloud ของผู้ให้บริการหลายๆเจ้า เช่น EC2, Google Apps, Google App Engine, RACE ของ DoD, IBM Blue Cloud, หรือแม้แต่ Microsoft SQL SSDS เป็นต้น สิ่งที่ต่างจากบริการอื่นคือ การให้ Scalability คือปรับขนาดได้ตามภาระงานครับ เช่น ถ้าจำนวนงานหรือโปรแกรมมันประมวลผลหนักขึ้น, รองรับผู้เข้ามาในระบบเยอะมหาศาล, เก็บข้อมูลใหญ่มหาศาล เป็นต้น ทางผู้ให้บริการ เขารับประกันว่าจะสามารถรองรับภาระเหล่าน้้นได้ และมันก็มีเรื่องของ pay-per-use จ่ายตามที่ใช้จริงเข้ามาเกี่ยวด้วย และก็ฟีเจอร์อีกมากมายตามแต่ที่บริษัทแต่ละเจ้าจะนิยามขึ้นมาใหม่ หรือจะหาอะไรมาใหม่ใส่เข้ามาครับ

ในงาน Intel Blogger Day 2008 ผมได้ไปบรรยายหัวข้อ Blogging in the Cloud จริงๆเนื้อหาที่เตรียมไป มีเนื้อหามากมายอยากจะเล่า อยากจะวิเคราะห์ให้ฟังครับ แต่ก็ได้กล่าวคร่าวๆไปว่าต่างจาก Grid Computing, Utility Computing และ SaaS อย่างไร คือ ผมอาจไม่ถูกหรอกครับ ก็ตอบตามประสบการณ์ที่เคยได้ทำงานในบริษัทที่เขาชำนาญด้านนี้และได้วิจัยอยู่ในฟิลด์นี้

ผมมองว่าบริษัทหลายแห่งกำลังปรับตัวไปในแนวโน้มที่ว่า เอาอินเทอร์เน็ตมาเป็น platform หรือ infrastructure สำหรับการดำเนินธุรกิจ ผมได้ฟังซีไอโอจากบริษัทหลายแห่งที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้าน Cloud ผมเห็นแล้วว่าบริษัทเหล่านี้กำลังเริ่มต้นและก้าวต่อไป ส่วนลูกค้าหรือบริษัทที่จะเข้ามาใช้ Cloud ก็กำลังปรับตัว กำลังศึกษา กำลังเริ่มต้น หลายแห่งก็ประสบความสำเร็จไปแล้ว แค่ที่สิงคโปร์ที่ผมอยู่นี่ ก็มีหลายพันบริษัทแล้วครับ ที่ขยับไปทางโน้น ดังนั้น เราจะมอง Cloud เผินๆแค่ตอนนี้ไม่ได้ครับ และหากเราจะบอกว่า Cloud มันเพิ่งเริ่ม เราจะไปสนใจทำไม ... อืม... ถ้าเราไม่เริ่ม ก็ไม่มีก้าวแรกสักทีครับ และต่อให้ก้าวต่อไปต้่องหกล้ม ก็มีเวลาให้เรียนรู้วิธียืนเพื่อจะได้ก้าวต่อไปครับ ผมคิดว่า นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆได้ เพราะเขามีความคิดเชิงบวกครับ เขาเลยทลายกำแพงเพื่อให้เกิดสิ่งดีๆใหม่ๆได้

บริษัทมากมายในขณะนี้ ลุยเรื่อง Cloud อาจจะดูเหมือนเป็นแฟชั่นครับ แต่ผมเชื่อว่า ผู้บริหารบริษัทเหล่านี้เขามองในแง่บริหารก็คือ การวางวิสัยทัศน์ และสำหรับคนที่มีวิสัยทัศน์หรืออยากศึกษาเพื่อหากลยุทธ์เทคโนโลยี ผมแนะนำว่า Cloud เป็นกระแสที่น่าติดตามครับ

วิสัยทัศน์เนี่ยมันมองไม่เห็นทันทีในเร็ววัน แต่มันก็เปลี่ยนโลกเรามาไม่รู้เท่าไหร่แล้วครับ ท่านจะเห็นว่าโทรศัพท์มือถือ กาลครั้งหนึ่งมันก็เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ต่อมาก็เป็นของแพง เหมาะกับคนมีตังค์ หรือธุรกิจที่มีเงิน และต่อมาก็เป็นเรื่องแฟชั่น แล้วตอนนี้ล่ะครับ มันเป็นเรื่องสามัญไปแล้วครับ เพราะอะไรครับ .... เพราะมีคนที่มีวิสัยทัศน์ครับ กล่าวคือ ตอนนั้นยังมีบริษัทผู้ผลิต มีนักวิจัย มีวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ และมีบริษัท Mobile Service Provider ที่ยังเชื่อมั่นว่าโทรศัพท์มือถือมันต้องขายได้ เชื่อว่ามันต้องมีประโยชน์ มันจึงเกิดงานวิจัยและพัฒนา ทำให้โทรศัพท์มือถือเล็กลง มีประสิทธิภาพขึ้น เร็วขึ้น แสดงภาพสีได้ ถ่ายรูปได้ ส่งข้อมูลได้เร็ว เช็คเมลได้ เล่นเน็ทได้ สวยขึ้น มีฟังก์ชันที่มีประโยชน์มากขึ้น และราคาถูกลง แต่ก่อนนั้นเขาต้องฝ่าวิกฤตไม่รู้กี่ร้อนหนาว นี่แหละครับคือ วิวัฒนาการ ... ถ้าเขาไม่เคยก้าว ถ้าเขาไม่เคยล้ม เขาและเรา ก็ไม่มีอะไรดีๆเหมือนวันนี้ึครับ

ปล. ใน blog ของผมที่คุณ wearetherockอ้างอิงไว้เรื่องนิยาม Cloud Computing มันยังไม่สั้นครับ กล่าวแบบกว้างๆไป เดี๋ยวผมจะปรับปรุงต่อไปครับ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 23 October 2008 - 02:23 #69101
mk's picture

โดยส่วนตัวผมชอบคำว่า Ubiquitous มากกว่า คำว่า On demand computing ของ IBM ก็สวย แต่พวกนี้ก็เครื่องหมายการค้านั่นล่ะ

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 23 October 2008 - 10:11 #69119 Reply to:69101

ubiquitous เป็นคำที่งามมาก on demand นี่ไม่ค่อยกินใจ แต่ไหง cloud มันชนะหว่า

By: javaboom
WriteriPhone
on 23 October 2008 - 10:44 #69121 Reply to:69101
javaboom's picture

โดยส่วนตัวผมชอบคำว่า on demand computing ครับ มันเข้าใจความหมายได้ง่ายกว่าคำว่า Cloud Computing เยอะเลย

ส่วนคำว่า Ubiquitous Computing นั้น ล่าสุดผมไปงาน conference แห่งหนึ่ง มันออกไปทาง hardware จ๋าเลยครับ ส่วนใหญ่เขาสาธิตการ plug-in ฮาร์ดแวร์หรือพวก embedded devices ใหม่ๆเข้าไปในเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วก็ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นประสานงานหรือทำงานร่วมกัน ในมุมมองของผมเอง มองว่า Ubiquitous Computing มันคือความพยายามทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า + อุปกรณ์สื่อสาร + คอมพิวเตอร์ สื่อสารกันได้และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างงานหรือสร้างสารสนเทศที่มีคุณค่า ทำให้มองเห็นอนาคตว่าโลกเราเข้าใกล้ภาพยนตร์ scifi ไปมากขึ้นทุกทีแล้ว และงานวิจัยด้าน Ubiquitous Computing จะยังคงมีต่อไปครับ

Cloud Computing ใช้เป็น back-end ให้กับ Ubiquitous Computing ได้ด้วยครับ เช่นแชร์ storage ขนาดยักษ์ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคใช้งานร่วมกัน หรือใช้สำหรับการประมวลผลหรือแชร์ application บางอย่างที่ต้องออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เช่น การซื้อขายของและบริการ, การจองเที่ยวบิน, การใช้ search engine, ดูหนังฟังเพลง, เข้าถึง Gmail, การใช้ Google Maps, ช่องทางการโฆษณา (AdSense), การใช้ Google Calendar หรือแม้แต่การคำนวณแบบขนานด้วย Hadoop เป็นต้น เอ ตัวอย่างหลังๆ ผมออกจะเชียร์ Google มากไปหน่อยนะ

ผมชอบแผน C3 (Client Cloud Connectivity) ของ Google ที่ mk เคยเสนอมาครับ ไม่แน่นะ Android หรืออาจจะมีลูกหลานของ Android กลายมาเป็น platform สำหรับ Ubiquitous ในส่วนของกลยุทธ์​ Connectivity ของ Google ก็ได้ครับ ต่อไปคงไม่ได้มีแค่โทรศัพท์มือถือกับบราวเซอร์เท่านั้นที่ต่อเข้ากับ Cloud ของ Google แต่รวมเอา digital heartbeat หลายชนิดเข้ามาด้วยครับ และตอนนั้นจะเป็นยุค Ubiquitous Computing แบบสมบูรณ์ (และอาจจะมีชื่อ ... Computing เกิดมาใหม่อีกครั้ง และเราก็จะงงๆอีกทีว่ามันแตกต่างจากตัวก่อนๆยังไง)

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog