Tags:
Node Thumbnail

dtac Accelerate ทำโครงการรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าบูธแคมป์เป็นครั้งที่ 5 ระหว่างนี้ยังคงอยู่ในช่วงเทรน หนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมอบรมคือ Ash Maurya ผู้สร้าง Lean Canvas รูปแบบการนำเสนอแผนธุรกิจให้จบได้ในหน้าเดียว และเป็นรูปแบบที่สตาร์ทอัพนิยมใช้กำหนดทิศทางธุรกิจของตัวเอง

Ash Maurya มีผลงานหนังสือเรื่อง Running Lean: Iterate from Plan A to a Plan That Works ที่ถือเป็นคู่มือสตาร์ทอัพก่อนเริ่มลงมือทำ

alt="upic.me"

Lean Canvas คือรูปแบบการเขียนแผนธุรกิจฉบับกระชับ และเห็นภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจ โดยเฉพาะการกำหนดปัญหา (pain point) ของลูกค้า ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ Lean Canvas เลยก็ว่าได้

No DescriptionNo Descriptionหนังสือ Running Lean: Iterate from Plan A to a Plan That Works

Lean Canvas ในหน้ากระดาษมี 9 ช่อง

1.Problem (P) สร้างสินค้าขึ้นมาจากปัญหาของลูกค้า
2.Customer Segment (CS) ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้า (ไม่เพียงอายุ เพศ วัย แต่รวมถึง พฤติกรรม ความชอบ ความสนใจ)
3.Unique Value Proposition (UVP) จะทำให้สินค้าโดดเด่นได้อย่างไร
4. Solution (S) ในช่องแรก Problem (P) เป็นหัวใจสำคัญ ที่สำคัญรองลงมาคือช่องนี้ โดยระบุสินค้าที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้
5.Channels (CH) ช่องทางสื่อสารกับลูกค้า
6. Revenue Streams (RS) เรามีรายได้จากทางใดบ้าง
7.Cost Structure (CS) ต้นทุน คิดคำนวณตัวเลขช่องนี้ไปพร้อมๆกันกับช่อง Revenue Streams (RS)ที่ถูกจัดว่างให้อยู่ข้างกัน
8.Key Metrics (KM) อะไรที่ทำให้ลูกค้าสนใจ
9.Unfair Advantage (UA) ข้อได้เปรียบที่ทำให้เราเหนือกว่าคู่แข่ง

เมื่อมีข้อมูลครบทั้งเก้าช่อง (ผ่านการระดมสมองของทีมงาน) จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพรวมธุรกิจ และรู้ว่าต้องดำเนินการอะไรในขั้นต่อไป ไม่หลงทาง

No Descriptionตัวอย่าง Lean Canvas ตรงหมายเลขคือขั้นตอนการกรอก

Ash Maurya ระบุว่ามีคนไทยสนใจใช้ Lean Canvas กันมากขึ้น พร้อมระบุว่า ช่วงเวลานี้เหมาะจะลุกมาทำสตาร์ทอัพ เพราะความเสี่ยงเริ่มลดลง มีโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพจากบริษัทใหญ่มากขึ้น ช่วยให้สตาร์ทอัพไม่ต้องเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างโดดเดี่ยวเกินไป Lean Canvas ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมองภาพกว้างขึ้น ไม่สะเปะสะปะ และไม่ต้องเสียเวลาทำแผนธุรกิจแบบเดิมที่มีหลายหน้า

Ash Maurya กล่าวถึงความประทับใจต่อการอบรม dtac Accelerate Batch5 ครั้งนี้ว่า สตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีผลงานมาอยู่ก่อนแล้ว หลายรายมีลูกค้าและทำรายได้เป็นหลักล้าน-สิบล้านแล้ว แต่จุดที่ควรระวังคือ ยังต้องหมั่นประมวลผลข้อมูลที่ได้มาตลอดเวลา เพราะส่งผลต่อตัวชี้วัดธุรกิจของตนอย่างมาก ยิ่งหมั่นวัดผลยิ่งมีข้อมูลที่จะชนะใจลูกค้าและชนะคู่แข่งได้ นอกจากนี้ยังมองเห็นเทรนด์ใน Batch 5 ว่าส่วนใหญ่ทำเกี่ยวกับ Market Place ซึ่งก็สอดรับกับตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเทรนด์นี้มีความลำบากอย่างหนึ่งคือต้องคิดสองด้านตลอดเวลา ทั้งด้านคนขายและคนซื้อ เนื่องจาก Marketplace เป็นตัวกลางเชื่อมการค้าทั้งสองฝั่ง

แม้ Lean Canvas จะมีประโยชน์ต่อสตาร์ทอัพ แต่ Maurya บอกว่า Lean Canvas ยังต้องเจออุปสรรคสำคัญคือ การชักชวนให้คนเริ่มทำธุรกิจโดยใช้ Lean Canvas นำทาง

หนึ่งในสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมบูธแคมป์ Seekster แพลตฟอร์มจัดหาแม่บ้าน-ช่างซ่อม ผู้ก่อตั้งคือ ชัชนาท จรัญวัฒนากิจ (โจแซ่ด) ระบุว่าใช้หัวข้อความแตกต่างระหว่าง Lean Canvas และแผนธุรกิจแบบอื่นมาทำวิทยานิพนธ์ จนมาทำสตาร์ทอัพเอง โดยสรุปแล้ว Lean Canvas ช่วยให้รู้ว่าธุรกิจเราต้องโฟกัสตรงไหน

อีกหนึ่งสตาร์ทอัพคือ Tourkrub รวมแพคเกจทัวร์จากหลายบริษัท ผู้ก่อตั้งคือจักรพันธ์ ลีอธิวัฒน์ (ฟาร์) บอกว่ามีโอกาสได้เรียนเรื่อง Lean Canvas จาก Disrupt University พอมาเข้าบูธแคมป์ก็ได้เรียนรู้เรื่องนี้ลึกขึ้นจากเจ้าของแนวคิดโดยตรงเลย

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 11 May 2017 - 11:36 #984390
panurat2000's picture

โดยระบุวินค้าที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้

ระบุวินค้า ?

ผู้ก่อตั้งคือ ชัชนาท จรัยวัฒนากิจ (โจแซ่ด)

จรัยวัฒนากิจ => จรัญวัฒนากิจ

By: Nest
Windows PhoneAndroidIn Love
on 11 May 2017 - 15:03 #986156
Nest's picture

ผมว่าวิธีคิดของ Lean Canvas ไม่ต้องเป็นสตาร์ทอัพก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะ

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 11 May 2017 - 19:11 #986178 Reply to:986156

LEAN Canvas อันนี้ มาจาก BMC(Business Model Canvas) ของ SME ครับ