Tags:
Node Thumbnail

ปัจจุบันกว่าแพทย์จะสามารถตรวจพบภาวะออทิสติกในเด็กเจอ อายุเด็กต้องอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป การตรวจออทิสติกให้เจอตั้งแต่ยังเล็กทำได้ยาก แต่ปัญหานี้สามารถใช้ AI ทำได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา (University of North Carolina) พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถคาดการณ์ภาวะโรคออทิสติกในทารก ผลที่ได้คือความถูกต้อง 81% และความเร็ว 88%

ทีมนักวิจัยป้อนข้อมูลภาพสแกนสมอง และตรวจสอบระบบด้วยการให้ AI ระบุปัจจัยสามอย่างเกี่ยวกับสมองเด็กๆ คือพื้นผิวสมอง ระดับสมอง และเพศของเด็ก (เด็กชายมีความเป็นไปได้จะเป็นออทิสติกมากกว่าเด็กหญิง)

ในการทดสอบของทีมวิจัย พบว่า AI สามารถระบุจุดที่บ่งชี้ว่ามีภาวะออทิสติกอยู่บนบริเวณพื้นผิวสมองในภาพสแกนสมองทารกอายุหกเดือน และเพิ่มระดับขึ้นเมื่ออายุ 12 เดือน ก่อนจะวินิจฉัยโดยแพทย์ตอนอายุ 2 ปีว่าเด็กมีภาวะออทิสติก

No Description
ภาพจาก งานวิจัย

ที่มา - Engadget

Get latest news from Blognone

Comments

By: whitebigbird
Contributor
on 22 February 2017 - 09:02 #971224
whitebigbird's picture
  • ความเร็ว 88%

แปลว่าอะไรครับ ไม่ได้กวนนะครับ พอดีสนใจมากๆ เลยอยากรู้ครับ

By: Luar on 22 February 2017 - 09:31 #971233
  • 81 percent accuracy and 88 percent sensitivity
    ความแม่นยำ 81% และความไว 88%

ความแม่นยำ = ความถูกต้อง เชื่อถือได้ของผลตรวจ อย่างเช่น จากคน 100 คน มีผู้ป่วย 15 คน ถ้ามีความแม่นยำของการตรวจ 100% คือ ตรวจคนทั้งหมด แล้วเจอผลบวก 10 คนซึ่งทั้ง 10 คนนี้ก็เป็นผู้ป่วยจริงๆ ไม่ได้ให้ผลบวกในคนปกติ แต่จะหลุดผู้ป่วยไปได้ 5 คน นั่นคือมีความแม่นยำสูง แต่ความไวต่ำ (High accuracy but low sensitivity)

ความไว = ความสามารถที่จะตรวจในคนที่ป่วยได้ อย่างเช่น จากคน 100 คน มีผู้ป่วย 15 คน ถ้ามีความไวของการตรวจ 100% คือ ตรวจคนทั้งหมด แล้วให้ผลบวก 18 คน โดยใน 18 คนนี้มีผู้ป่วยทั้ง 15 คนอยู่ อีก 3 คนเป็นคนปกติถือว่าให้ผลบวกปลอม แสดงว่ามีความไวมากเกิน (oversensitivity)

ซึ่งปกติแล้วการตรวจเพื่อคัดกรองควรมีความไวที่สูง (คัดเอาเข้ามาก่อน) แล้วจึงไปตรวจให้แน่ใจอีกรอบด้วยการตรวจที่มีความแม่นยำสูง (คัดเฉพาะคนที่ป่วยจริงๆ)

เพิ่มเติมอีกนิด: สำหรับผลการตรวจของบทความนี้ ความแม่นยำ 81% และความไว 88% ง่ายๆคือ เมื่อตรวจแล้วเจอผู้ป่วย 88% มีโอกาสที่จะหลุดคนที่เป็นโรค 12% (ผลลบปลอม) แล้วคนที่ผลบวกนี้เป็นโรคจริงๆแค่ 81% อีก 19% เป็นคนปกติ (ผลบวกปลอม)

By: whitebigbird
Contributor
on 22 February 2017 - 09:40 #971238 Reply to:971233
whitebigbird's picture

ตอนแรกงงครับ ตอนนี้งงมาก

แต่เห็นคำว่า sensitivity แล้วเข้าใจเลยครับ เสนอแก้เป็น "ความไวต่อการตอบสนอง"

By: MrThursday
ContributorRed HatUbuntuWindows
on 22 February 2017 - 09:59 #971241 Reply to:971238

ผมก็ไม่เคยแปลไทยนะ confusion matrix เนี่ย พอมาอ่านเป็นไทยปั้ปงงเลย 555

By: kurosame
ContributoriPhone
on 22 February 2017 - 11:23 #971256 Reply to:971238
kurosame's picture

ไม่ต้องแปลก็ไดมั้งครับ sensivitiy

ถ้าแปลเป็นไทยแล้วต้องแปลเป็นอังกฤษกลับก่อนผมก็ว่ามันไม่ควรแปล


{$user} was not an Imposter

By: whitebigbird
Contributor
on 22 February 2017 - 11:48 #971263 Reply to:971256
whitebigbird's picture

ใช่ครับ แต่ถ้าต้องแปลก็ไม่ควรใช้คำว่าความเร็วหรืออะไรที่มันไปกำกวมกับ speed

By: RyoDaii
Windows PhoneAndroidWindows
on 22 February 2017 - 09:29 #971235

แล้วเอาเด็กมาสแกนสมองนี้จะมีผลต่อสุขภาพเด็กมั้ยครับ

By: mormeawmeow
In Love
on 22 February 2017 - 15:10 #971318 Reply to:971235
mormeawmeow's picture

ในทางทฤษฎี รังสีผ่านเข้าตัวเด็กและสมองเด็กแน่นอน แต่ในชีวิตจริง ถือว่าไม่มีผล dose ไม่มากจนเป็นอันตราย :' )

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 23 February 2017 - 08:49 #971418
Jonathan_Job's picture

มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา (University of North Carolina)

ควรระบุด้วยนะครับว่า เป็น UNC Chapel Hill เพราะ UNC มีหลายแห่ง เช่น UNC Charlotte, UNC Greensboro