Tags:
Node Thumbnail

ซิป้าเดินหน้าผลักดันโครงการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้วยการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบ หวังสร้างกลไกสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้า และสร้างโอกาสในการสร้างรายได้จากซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ

ในการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล หรือ Digital Economy การส่งเสริมและวางรากฐานถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีใช้ในทุกกระบวนการธุรกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และทำให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด AEC และตลาดโลกได้

ในอดีตมีเพียงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลงทุนระบบซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ แต่ยุคสมัยนี้ ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวได้ถูกทดแทนด้วยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ภายในประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ได้สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเกิดกลุ่มนักพัฒนาที่มีศักยภาพในการสร้างซอฟต์แวร์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

alt="upic.me"

สร้างมาตรฐานความเชื่อมั่น คือ "กุญแจ" สำคัญ

จากผลสำรวจตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทย ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ฉบับล่าสุด พบว่ามูลค่ารวมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งแง่ตลาดการผลิตและบริการซอฟต์แวร์ในปี 2559 ที่ผ่านมามีมูลค่าราว 69,306 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพจะสามารถสร้างสรรค์และออกแบบนวัฒกรรมใหม่ ๆ ที่จะตอบโจทย์ต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ แต่เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้งาน ด้วยการคัดกรอง ด้วยการกำหนดกฎระเบียบที่ควบคุมให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง

จากความต้องการดังกล่าว ทางซิป้าจึงกำหนดแผนการดำเนินงานในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับการยอมรับ และมั่นใจในการใช้ซอฟต์แวร์ไทยยิ่งขึ้น โดยการจัดทำ "โครงการขึ้นทะเบียนและรับรองผู้ประกอบการซอฟต์แวร์" (Software Enterprise Certification Registration) ขึ้น โดยพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนและรับรองผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขึ้นโดยให้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมฐานข้อมูล (Database) ของกลุ่มผู้ประกอบการที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการซอฟต์แวร์ เพื่อให้ประชาชนรวมถึงภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว โดยได้ดำเนินการร่างหลักเกณฑ์ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต และภาคกลาง กรุงเทพมหานคร เพื่อคัดสรรผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางซิป้า ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

alt="upic.me"

"ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์จะต้องเป็นนิติบุคคลที่ไม่เกิน 3 เดือน (นับจากวันยื่นเอกสาร) และขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยมากว่า 50% ไม่มีรายชื่อในบัญชีกลางของผู้ทิ้งงานจากกรมบัญชีกลาง กรณีที่เป็นรูปแบบบริษัท ต้องมีสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5) หากเป็นห้างหุ้นส่วน ต้องมีสำเนาการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (หส. 2) ต้องมีสำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) และสำเนาในเสร็จในการชำระติอต่อกัน 3 เดือน และต้องมีสำเนาหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ยกเว้นกลุ่มบริการซอฟต์แวร์) หากไม่มี สามารถแจ้งจดกับทางซิป้าได้ และสุดท้าย การรับรองผลงานจากผู้ใช้บริการ 1 ผลงาน หรือย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสาร"

ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ร่างหลักเกณฑ์ทั้งหมด จะเพิ่มความเชื่อมั่นในคุณภาพของซอฟต์แวร์ของตนเองมากขึ้นอย่างแน่นอน และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเติบโตได้ดีมากขึ้น ทางซิป้ามีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ อาทิ การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของซิป้า สิทธิในการเข้าร่วมการค้ำประกันสินเชื่อจากบสย. (วงเงินสูงสุด 20 ล้าน) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้ความสนใจ และตอบรับเข้าร่วมโครงการขึ้นทะเบียน และรับรองผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ (Software Enterprise Certification Registration) แล้วกว่า 200 ราย เนื่องจากทำให้บริษัทต่าง ๆ หรือองค์กรธุรกิจที่ต้องการจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์สามารถค้นหาและตรวจสอบผู้ให้บริการจำหน่ายซอฟต์แวร์ได้สะดวก มีข้อมูลครบถ้วน และตรงกับความต้องการ

โดยภายในปี 2560 นี้ ทางซิป้าได้วางแผนการดำเนินงานโดยการเพิ่มความเข้มข้นในการติดตาม และอัพเดตข้อมูลใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับตรวจสอบผู้ประกอบที่ผ่านหลักเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยจัดเจ้าหน้าที่ในการดูแลงานในส่วนนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้ได้มาตรฐาน พร้อมผลักดันสู่การส่งออกไปตลาดต่างประเทศต่อไป โดยในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทซอฟต์แวร์ไทยหลายแห่งมีลูกค้าจากต่างประเทศให้การยอมรับและเลือกใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลสำรวจมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ปี 2558 ของประเทศไทย พบว่ามีมูลค่า 3,330 ล้านบาท เติบโต 0.3% ขณะที่การนำเข้าซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมีมูลค่า 32,944 ล้านบาท ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ามูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบเท่านำเข้ายังแตกต่าง หากซอฟต์แวร์ไทยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม มั่นใจว่าจะสามารถผลักดันสู่ตลาดโลกได้เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่หากมองแนวโน้มจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Cloud, IoT และบริการแบบ SaaS (Software as a Service) รวมไปถึงนโยบายจากรัฐบาลในการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของประเทศใช้เทคโนโลยี จะทำให้พฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ภายในปี 2560 เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ด้านผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่ http://member.sipa.or.th/register.php

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายมาตรการส่งเสริม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

Get latest news from Blognone