Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

CERN ศูนย์วิจัยด้านฟิสิกส์ของสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการค้นพบอนุภาค Higgs boson เมื่อปี 2013 ล่าสุดทางศูนย์กำลังเดินหน้าค้นหาอนุภาคตัวใหม่ที่เรียกว่า dark photon

ในวงการฟิสิกส์ มีข้อเสนอทางทฤษฎีเกี่ยวกับ dark matter หรือ "สสารมืด" ซึ่งเป็นอนุภาคที่มองไม่เห็น ค้นไม่พบ แต่เชื่อว่ามีอยู่ และเป็นอนุภาคที่มีจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 27% ของมวลและพลังงานในจักรวาล (ในขณะที่อนุภาคแบบปกติที่เรารู้จักกัน visible matter มีสัดส่วนแค่ 4.9% และที่เหลือคือพลังงานมืดหรือ dark energy)

ส่วน dark photon หรือโฟตอนมืด เป็นอนุภาคทางทฤษฎีที่เป็นแรงยึดเหนี่ยว dark matter กับ visible matter เข้าด้วยกัน ถือเป็นแรงอีกประเภทนอกจากแรงดึงดูด (gravity) ที่ dark matter มี (และเป็นแรงประเภทใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก เลยเรียกกันว่า dark ไปก่อน) ภารกิจของ CERN คือการค้นหา dark photon ตัวนี้

No Description

โครงการทดลองของ CERN ใช้ชื่อย่อว่า NA64 จะใช้หลักการอนุรักษ์พลังงาน (conservation of energy) ที่ว่าในระบบปิด (closed system) พลังงานรวมจะคงที่เสมอ ไม่รั่วไหลออกไปภายนอก นักวิจัยจะสร้างระบบปิดขึ้นมา แล้วยิงอิเล็กตรอนที่รู้ค่าพลังงานชัดเจนไปชนนิวเคลียสของอะตอม ซึ่งจะเกิดโฟตอนขึ้น

ตามปกติแล้ว ค่าพลังงานของโฟตอนควรจะเท่ากับอิเล็กตรอน ถ้า dark photon มีอยู่จริง มันจะขนถ่ายพลังงานไปบางส่วนซึ่งเราตรวจจับไม่ได้ แต่เราจะสามารถวัดค่าพลังงานของโฟตอนได้ว่าหายไปหรือไม่ ถ้าพลังงานหายไป ก็แปลว่า dark photon "น่าจะ" มีอยู่จริง (ไม่ใช่การยืนยันโดยตรง แต่เป็นการยืนยันทางอ้อม)

การทดลองนี้เป็นคนละวิธีกับการค้นหา Higgs boson เพราะเป็นการสังเกตทางอ้อม และจะยังไม่สามารถยืนยันตัวตนของ dark photon โดยตรง แต่ก็ถือเป็นก้าวสำคัญของการวิจัยเรื่องฟิสิกส์อนุภาค

ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า NA64 จะทดลองแล้วเสร็จเมื่อไรครับ

ที่มา - Phys.org, Science Alert, ภาพจาก CERN

Get latest news from Blognone

Comments

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 5 December 2016 - 08:45 #956973
wisidsak's picture

ความรู้เรื่องอนุภาคหลังๆ มานี่ ส่วนตัวเริ่มทำความเข้าใจไม่ทันแล้ว

By: somphong.s
AndroidWindows
on 5 December 2016 - 09:03 #956976 Reply to:956973

ระดับที่ นักวิทย์ชั้นนำ ยังใช้ คำว่า เชื่อว่า , อนุภาคทางทฤษฎี
แบบนี้ นักเรียนป.ตรี แบบผม ก็ มึนแน่นอน

By: gosol
AndroidWindows
on 5 December 2016 - 13:41 #956992 Reply to:956973
gosol's picture

เดี๋ยวนี้ความรู้ใหม่ๆต่อไปจะไม่ได้เป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างแรงดึงดูดอะไรพวกนี้ที่พอมโนได้ แต่เป็นสิ่งที่เล็กมากๆอย่างควอนตัมที่ใช้คนละกฏกับเราหรือสิ่งที่ไกลตัวมนุษย์ที่คงไม่ได้สัมผัสในชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางเพื่อทำความเข้าใจครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 December 2016 - 16:58 #957005 Reply to:956992
tekkasit's picture

บางอย่างอาจใช้เวลาเป็นสิบหรือเป็นร้อยปีกว่าความรู้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์จะเดินทางมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนทั่วไปใช้ครับ

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 5 December 2016 - 08:55 #956975
Sephanov's picture

ยุคหลังๆ หลังจากที่มีเครื่องชนอนุภาค ก็เราทำให้เราเห็นอนุภาคต่างๆมากมายครับ ผมเองก็เริ่มตามไม่ทัน แต่พอรู้ว่ามีความพยายามจัดอนุภาคตามคุณสมบัติต่างๆ ลงในตารางอนุภาค ทำให้เรามองเห็นอนุภาคบางตัวที่ควรมี แต่ยังหาไม่เจอในตาราง ก็เริ่มพอเข้าใจ อารมณ์เหมือนตารางธาตุที่ยังมีช่องโหว่ แล้วกำลังตามหาอยู่นั่นแหล่ะครับ เราไม่จำเป็นต้องรู้จักทุกตัว แต่จำแค่คุณสมบัติของตัวที่เด่นๆก็เพียงพอ

By: pd2002 on 5 December 2016 - 09:34 #956977

"ในขณะที่อนุภาคแบบปกติที่เรารู้จักกัน visible matter มีสัดส่วนแค่ 4.9%"

แสดงว่าวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี่เราเข้าใจได้แค่เศษเสี้ยวของทั้งหมดเอง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 5 December 2016 - 10:21 #956980 Reply to:956977
hisoft's picture

สงสัยว่า 4.9% นี่นับเฉพาะสสารหรือนับพลังงานที่เรารู้จักด้วยครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 December 2016 - 11:46 #956986 Reply to:956980
tekkasit's picture

นับเฉพาะสสารครับ เพราะพลังงานที่เรารู้จักมีพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับมวล (E=mc2)

ไล่ตั้งแต่ปริศนาว่าทำไมดาวในดาราจักรโดยเฉพาะที่ขอบนอกที่เคลื่อนที่เร็วแต่กลับยังโคจรรอบแกนดาราจักรอยู่ได้ เพราะต่อให้การประมาณการมวลโดยนับดาวฤกษ์ที่เปล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้รวมกัน ก็น้อยไปกว่ามวลจำเป็นให้ยังรักษาโครงสร้างดาราจักรแบบนี้ได้ไป 3 เท่า!

และที่สำคัญมันไม่ได้เป็นแบบนี้เฉพาะดาราจักรเดียว ส่องกล้องไปทางไหน ดาราจักรอื่นๆ มันก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น! เลยมีการตั้งสมมติฐานว่ามันต้องมีมวลที่มองไม่เห็น ชักจูงดวงดาราให้โคจรอยู่ได้ไม่หลุดกระเด็นไปเสียก่อน เลยเป็นที่มาของสมมติฐานสสารมืด

By: Kittichok
Contributor
on 5 December 2016 - 13:16 #956991 Reply to:956986

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 5 December 2016 - 14:01 #956995 Reply to:956986
hisoft's picture

ขอบคุณครับ อันนี้เข้าใจแล้วแต่สงสัยตัวเลขว่าครอบคลุมอะไรบ้างเฉยๆ น่ะครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 December 2016 - 17:01 #957006 Reply to:956995
tekkasit's picture

เค้านับกันที่มวลดาวฤกษ์เป็นหลักครับ มวลดาวเคราะห์มันจิ๊ดเดียว เอาแบบนับกันทุกชนิดที่มันเปล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ รวมถึงล่าสุดน่าจะปรับประมาณการโดนเพิ่มการย้อนไปในอดีตด้วยว่าน่าจะมีดาวฤกษ์อะไร (ที่แสงยังมาไม่ถึง) บ้าง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 5 December 2016 - 19:14 #957017 Reply to:957006
hisoft's picture

ขอบคุณครับ

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 5 December 2016 - 22:54 #957035 Reply to:957006
dangsystem's picture

ลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะแสงที่เดินทางมาถึงอาจจะดับไปแล้วก็ได้ - -

By: Greatpot
Windows PhoneWindows
on 7 December 2016 - 09:17 #957258 Reply to:956986
Greatpot's picture

ชัดเจนมากขึ้น เห็นภาพเลย ขอบคุณครับ

By: komsanw
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 5 December 2016 - 11:50 #956987
komsanw's picture

คิดถึงซีโร่เมตเตอร์ใน เอเจนต์ คาเตอร์

By: wklk
ContributorAndroid
on 5 December 2016 - 18:39 #957014

แต่นักวิทย์ที่เพิ่งค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงอันใหม่เมื่อไม่นานนี้ บอกว่าสามารถอธิบายปรากฏการณ์แรงโน้มถ่วงแปลก ๆ ได้หมดแล้ว
ซึ่งปรากฏการณ์พวกนี้เดิมอธิบายไม่ได้ เลยต้องตั้งสมมติฐานเรื่องสสารมืดมาใช้อธิบายแทน
พอใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงอันใหม่อธิบายได้หมด ก็แปลว่าไม่ต้องมีทฤษฎีสสารมืดอีกแล้ว

New theory of gravity might explain dark matter

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 December 2016 - 19:33 #957018 Reply to:957014
McKay's picture

เท่าที่อ่านเข้าใจว่าทฤษฎีตัวนี้มันเสริมทฤษฎีเก่าเมื่อปี 2010 ของเจ้าของทฤษฎี ซึ่งทฤษฎีตัวนั้นไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าที่ควรเพราะตอบปัญหาหลายๆข้อไม่ได้หน่ะครับ แถมตัวมันเองยัง contradict กับทฤษฎีของไอสไตน์(ที่เป็นที่ยอมรับกว่ามาก)อย่างชัดเจน


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)