Tags:
Forums: 

ระบบคลาวด์คืออะไร

แม้ว่าหัวข้อจะฟังดูเหมือนโฆษณาเกินจริง แต่ความหมายของคำว่า Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบคลาวด์ นั่นจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อะไรคือประโยชน์หรือโอกาสที่ได้จากโมเดลใหม่นี้สำหรับนักธุรกิจ หากเราพูดถึงในมุมของธุรกิจ คลาวด์จะหมายถึงความยืดหยุ่น การรองรับการขยายตัว โมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง สำหรับการใช้บริการด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้บริการระยะสั้นๆ ด้วยโมเดลจ่ายตามการใช้จริงนี้ องค์กรมากมายจึงสามารถเปลี่ยนงบลงทุนด้านไอทีให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ดังนั้นจึงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายด้านไอทีที่สะท้อนความต้องการทางธุรกิจได้ตรงยิ่งขึ้น รวมถึงหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่อาจตามมาด้วย คลาวด์มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ได้แก่:
Infrastructure-as-a-Service (IaaS) – บริการเวอร์ชวลแมนชีนที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย ช่วยรองรับความต้องการใช้งานในการประมวลผลหรือสตอเรจ
Platform-as-a-Service (PaaS) – บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับซอฟต์แวร์ (เช่น เว็บ แอพพลิเคชัน ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และมิดเดิลแวร์อื่นๆ โดยทำงานภายใต้การควบคุมด้านความปลอดภัยสูง) ที่เรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน
Software-as-a-Service (SaaS) – เป็นบริการด้านแอพพลเคชันโดยคิดค่าบริการเป็นไลเซนต์ของผู้ใช้ หรือตามปริมาณการใช้งาน
Data-as-a-Service (DaaS) – ให้บริการข้อมูลหรืออินฟอร์เมชันจากคลาวด์อื่นๆ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลเพื่อใช้เชือมโยงการวิเคราะห์
Business Process-as-a-Service (BPaaS) – เป็นคลาวด์สำหรับบริการด้านธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้
ระบบคลาวด์อยู่ที่ไหน

จากความแตกต่างของคลาวด์ในหลายๆ ประเภท บริการคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ผู้ที่สามารถใช้บริการจะเป็นเพียงพนักงานขององค์กรนั้นเท่านั้น สิทธิความเป็นเจ้าของและการบริหารจัดการจะเป็นขององค์กรลูกค้า ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการภายในจะทำโดยซัพพลายเออร์ภายนอก หรือผู้ให้บริการภายนอกที่เรียกว่า IT outsourcing (ITO) service ก็ได้ คลาวด์แบบกลุ่มที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันร่วมกัน (Community Cloud) คือ คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ที่เปิดให้หลาย ๆ องค์กรสามารถเข้าใช้งานร่วมกันได้ โดยพนักงานขององค์กรนั้นและพนักงานขององค์กรอื่นที่ได้รับอนุญาต คลาวด์แบบสาธารณะ (Public Cloud) คือ คลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น บริการคลาวด์ของอเมซอน Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) หรือของ Google อย่าง Gooel App Engine ประเด็นสุดท้ายสำหรับองค์กรที่ต้องพิจารณาในระยะยาวคือ การประยุกต์ใช้คลาวด์ในแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมร่วมกัน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คลาวด์แบบผสม (Hybird Cloud) ซึ่งโดยมากเป็นการผสานการทำงานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) กับคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)

Cr. fujitsu.com
gbooby

Get latest news from Blognone