Tags:
Node Thumbnail

สำนักงานกสทช. ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต ให้ดำเนินการในช่วงเวลา 30 วัน ดังนี้

  1. ให้ความร่วมมือกับนโยบายของรัฐบาลในการเผยแพร่ข่าวสาร
  2. ติดตาม, ตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ หากพบข้อมูลไม่เหมาะสมให้ระงับหรือประสานงานไปยังผู้เกี่ยวข้อง
  3. จัดตั้งหน่วยงานในองค์กรขึ้นมาตรวจสอบข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง
  4. ทางกสทช. จะร่วมติดตามและดำเนินคดีผ่านกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) โดยประสานช่องทางไว้แล้ว

ที่มา - @TakornNBTC, จดหมายข่าว

Get latest news from Blognone

Comments

By: stickyficky on 14 October 2016 - 13:23 #946948

คำสั่งดูคลุมเคลือมากๆครับ เอาแค่คำว่า"ข้อมูลไม่เหมาะสม"ยังไม่นิยามเลยว่าหมายถึงอะไร
แล้วหน่วยงานที่แต่งตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจก็ควรจะมีอายุที่แน่นอนนะครับ ไม่ใช่อยู่ไปได้ยาวๆจนกว่าจะสั่งให้ยกเลิก

By: pattarain
iPhoneAndroid
on 14 October 2016 - 14:21 #946964 Reply to:946948
pattarain's picture

+1

By: readonly
iPhone
on 14 October 2016 - 14:57 #946969 Reply to:946948
readonly's picture

ผมว่าสถานการณ์ตอนนี้คำจำกัดความว่า "เหมาะสม" หรือไม่ สามารถใช้สามัญสำนึกได้ไม่ยากนะครับ

By: hive5 on 14 October 2016 - 15:07 #946973 Reply to:946969
hive5's picture

อมก เรื่องสำคัญขนาดนี้ ให้ใช้ความรู้สึก

By: readonly
iPhone
on 14 October 2016 - 15:30 #946979 Reply to:946973
readonly's picture

ผมว่าคนที่ควรกลัวกฏหมายแบบนี้คือคนที่คิดไม่ดี จ้องหาทางจะทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมอยู่แล้วล่ะครับ

By: thanyadol
iPhone
on 14 October 2016 - 17:18 #946998 Reply to:946979

ไม่ได้ทำผิด จะกลัวอะไร !!!

By: stickyficky on 14 October 2016 - 18:54 #947024 Reply to:946979

การที่ผมถามหาความชัดเจนเนี่ยมันแปลว่าผมเป็นคนไม่ดียังไงเหรอครับ?
คุณลองนิยามคำว่า"ความเหมาะสม"ในที่นี้ของคุณมาหน่อยได้ไหมครับ?
แล้วคิดว่าความเหมาะสมของคุณกับความเหมาะสมของผมมันจะเหมือนกันไหม?
ถ้าความเหมาะสมของคุณกับผมไม่เหมือนกันมันจะเอามาบังคับใช้ได้ยังไงครับ?

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 14 October 2016 - 19:20 #947031 Reply to:946979
put4558350's picture

หนังสือราชการที่กึ่งๆเป็นคำสั่ง แต่พูดกว้างๆ ไม่กำหนดระยะเวลา ก็น่ากังวลอยู่นะครับ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 14 October 2016 - 20:27 #947055 Reply to:946979
MaxxIE's picture

ที่เค้าต้องการนิยามของคำว่า"ไม่เหมาะสม" ไม่ใช่อะไรหรอกครับ
คนธรรมดาทั่วไปที่คิดดีทำดี เค้าไม่กลัวหรอกครับกฏหมายแบบนี้
คนเค้ากลัววิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมายมากกว่า
เคยเจอคำว่า"ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อคมาตั้งแต่แรก"มั้ยครับ ถ้าไม่มีคลิปจากกล้องติดหมวก พี่แกก็คงไม่ปล่อย

By: blue111
AndroidUbuntuWindows
on 14 October 2016 - 15:08 #946975 Reply to:946969

หากพ้นจากสถาการณ์นี้ไปแล้วและหน่วยยังอยู่ การนิยามไม่ชัดจะไปสร้างปัญหาได้ในภายหลังน่ะครับ เช่น การตีความว่า "ไม่เหมาะสม" กว้างเกินไป เป็นต้น

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 14 October 2016 - 15:29 #946978 Reply to:946969

สามัญสำนึกของผมกับของคุณไม่เหมือนกัน ถ้าคุณบอกแบบนี้แสดงว่าผมว่าบอกตอนนี้คุณอธิบายอย่างนี้มันไม่เหมาะสมเลยคุณจะเข้าใจความหมายของผมด้วยใช่ไหมครับ?!?

By: Eddz on 14 October 2016 - 17:27 #947005 Reply to:946969
Eddz's picture

อย่างข่าว "ผู้สำเร็จราชการ อัตโนมัติ" ก็หาย ลอง Google ดู ข่าวแบบนี้ไม่เห็นว่าไม่เหมาะสมตรงไหน
แต่อย่างอั้มเนโกะนั่นก็ควรหายไปจากโลกก็ดี ข้อมูลไม่มีอรมล้วนๆ รายนั้น

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 14 October 2016 - 17:41 #947009 Reply to:946969

มันมีคนที่ใช้คำว่าเหมาะสมไปในทางที่ไม่เป็นไปตามเจตนาของการออกกฏอยู่ครับ ควรจะนิยามคำว่าไม่เหมาะสมมาเลย เพื่อจะได้ไม่โดนเอาไปเป็นเครื่องมือให้ใคร

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 14 October 2016 - 15:06 #946972 Reply to:946948

เพราะเราเป็นสังคมที่มี unspoken rule ครับ เลยมีหลายคนนึกว่าทุกคน"ต้อง"รู้อยู่แล้ว

แต่ถ้าถามกลับคนที่คิดว่า"รู้อยู่แล้ว" ว่ามีอะไรยังไงบ้าง ก็มักไม่สามารถนิยาม หรืออธิบายอย่างชัดเจนเช่นกัน ก็เป็นความคลุมเครือโดยอาศัยการบลัฟว่าทุกคน"ต้องรู้"ว่าอะไรคือ"ความเหมาะสม" เป็นช่องโหว่ให้ตีความแบบกว้าง หรือขยายขอบเขตการตีความได้เสมอ

บางทีสิ่งที่เรากำลังคิดว่าคนอื่น"รู้"อาจจะเป็นคนละเรื่อง คนละความหมายไปเลยก็ได้...

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 14 October 2016 - 20:16 #947051

จะมีคนกลุ่มนึงที่รู้สึกเฉย ๆ ไม่ได้เดือดร้อนกับประกาศฉบับนี้
และก็จะมีคนอีกกลุ่มนึงที่เป็นอึดอัดเป็นเดือดเป็นร้อนเหลือเกิน กับประกาศฉบับนี้...

By: nrml
ContributorIn Love
on 14 October 2016 - 20:22 #947054 Reply to:947051
nrml's picture

มันก็อาจจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เดือดร้อนในตอนนี้เพราะคิดว่าไม่ได้ทำอะไรผิด แต่อาจจะเดือดร้อนจากมันในภายหลังเมื่อมีการใช้ประกาศแบบนี้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานคนที่ไม่ชอบหน้า

By: iq180
Android
on 15 October 2016 - 07:04 #947110 Reply to:947054
iq180's picture

มีคนร้อนตัว

By: nrml
ContributorIn Love
on 15 October 2016 - 10:07 #947123 Reply to:947110
nrml's picture

ถ้าคุณรู้สึกสบายๆ กับสิ่งที่เป็นอยู่ก็ยินดีด้วยครับ จริงๆ ผมก็ไม่ได้ต้องระวังหรือระแวงอะไรหรอกเพราะไม่ได้มีปัญหาอะไรส่วนตัวอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะคิดมากไปสักนิดจากเรื่องราวในอดีตที่เคยเห็นผ่านตามา

By: iq180
Android
on 17 October 2016 - 06:30 #947361 Reply to:947123
iq180's picture

จริงๆเหรอ

By: nrml
ContributorIn Love
on 17 October 2016 - 07:28 #947364 Reply to:947361
nrml's picture

จ่ะ

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 14 October 2016 - 20:32 #947056 Reply to:947051
MaxxIE's picture

ไม่มีใครเค้าเดือดร้อนกับประกาศฉบับนี้หรอกครับ
ถ้ามันมีความ"ชัดเจน"

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 15 October 2016 - 02:39 #947095 Reply to:947051

มันไม่ใช่ทุกเรื่องครับ ที่เราสามารถเขียนกฎหมายให้มีความรัดกุมพอที่จะลงโทษผู้กระทำผิด หากแต่ยืดหยุ่นพอที่จะไม่เอาความผู้บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้การพิจารณาคดีจึงมักต้องพิสูจน์กันที่ ”เจตนา” ไงครับ

“ความชัดเจน” มันไม่ใช่ absolute value ที่วัดได้เท่ากันทุกคน ดูจากแค่คอมเม้นในนี้ก็ได้ หลายความเห็นในนี้เห็นด้วยก็เพราะคิดว่ามัน “ชัดเจน”ในตัวอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็มีคนที่ไม่พอใจและคิดว่ามันคลุมเครือเกินไป เถียงกันไม่วันจบหรอกครับ

คุณลองเสนอ wording มาสักอย่างที่คุณคิดว่า “ชัดเจน” แล้วมาสักอย่างก็ได้ สุดท้ายมันจะมีช่องว่างอยู่ในตัวมันเองเสมอ

กฎหมายมันก็แค่กระดาษครับ ปัญหาสำคัญที่คนแกล้งไม่พูดถึงคือ “การบังคับใช้” และ “ผู้บังคับใช้” กฎหมาย ต่างหาก

กับคนที่ ไม่มีเจตนาจะกระทำความผิด แต่จะเป็นจะตายกับประกาศฉบับนี้ ลองไปเปิดกฏหมายดูครับ มีเรื่องบ้าบอคอแตก ยิบย่อยกว่านี้อีกมากที่เรายังไม่ได้ชำระในประมวลฯ หากแต่เราอยู่กันมาได้โดยที่ไม่เป็นปัญหา ก็เพราะการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องเหล่านั้น มันยัง make sense สำหรับสังคมอยู่ต่างหาก

By: stickyficky on 15 October 2016 - 10:12 #947112 Reply to:947095

กฏหมายคือกฏหมายครับ กฏหมายเป็นแค่กระดาษในบางประเทศเท่านั้น
ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเทศที่มีประชากรศรัทธาในตัวบุคคลมากกว่าระบบอ่ะนะครับ
อยากให้ยกตัวอย่างความชัดเจนใช่ไหมครับ ได้ครับ
"ห้ามเผยแพร่หรือนำเสนอ ข้อความ,รูปภาพ,วิดิทัศน์ต่างๆที่มีคำว่า"ประยุทธ""
คุณบอกได้ไหมครับว่าไม่ชัดเจนตรงไหน?
รัฐบาลในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพยายามเขียนกฏหมายและคำสั่งต่างๆให้มีความชัดเจนมากที่สุด
เพื่อกำหนดแนวทางการบังคับใช้ให้มันชัดเจนและลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานให้มากที่สุด
ไม่มีการมาถามหาเจตนาหรือความเหมาะสมอะไรหรอกครับ
เพราะทั้งเจตนาและความเหมาะสมมันเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถวัดหรือพิสูจน์ได้

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 15 October 2016 - 20:47 #947176 Reply to:947112

ช่วยตอบให้นะครับ เผื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นว่าทำไม งานนิติบัญญัติ ต้องใช้คนสี่ร้อยห้าร้อยคน บวกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย ประชุมย่อยเยอะแยะ โหวตกันอีกสามสี่วาระ

  • ถ้าผมเผยแพร่ ข้อความ, รูปภาพ ที่มีคำว่า “ประยุทธ์”, “ประยุด”, “ประหยุด”, “ประหยุท” หรือ “ประยุท” จะผิดกฎหมายไหมครับ?

  • ถ้าไม่ใช่ ข้อความ, รูปภาพ, วิดีทัศน์ แต่เป็นไฟล์เสียง จะผิดกฎหมายไหมครับ? (วิดีทัศน์ มาจาก video)

  • ถ้าผมไม่ได้เผยแพร่ แต่เอาใบปลิวที่มีข้อความดังกล่าว ใส่เต็มคันรถ แล้วบังเอิญไปคว่ำ แถวที่ชุมนุมชน คนหยิบไปอ่าน แจกต่อกันใหญ่ แบบนี้ผมผิดไหมครับ? ไม่ได้จะเผยแพร่ แต่เป็นอุบัติเหตุ
  • ถ้าไม่ใช่รูปภาพของคุณ “ประยุทธ” แต่เป็นรูปคล้าย รูปล้อเลียน รูปวาด รูปคนเหมือน รูปคนหน้าคล้าย จะผิดกฎหมายไหมครับ?

อันนี้ไม่ได้กวนนะครับ ตอบซีเรียส สำหรับที่สงสัยว่า ทำไมไม่เขียนแบบนู้น แบบนี้ ง่ายจะตายไป

By: stickyficky on 15 October 2016 - 23:27 #947178 Reply to:947176

แหม... เท่าที่สนทนากันมาผมว่าคุณก็ดูมีสติปัญญาดีนะครับ
จะแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจวกไปเล่นเรื่องคำสั่งสมมุติของผมอีกทำไม
แต่ก็ได้ครับ ถ้าคุณบอกว่าคำสั่งที่ผมพิมพ์ไปมันมีช่องโหว่ก็เริ่มจากตรงนี้แหละ
ก็ไปเหลากันต่อว่าควรจะเขียนลงไปยังไงให้อุดช่องโหว่ต่างๆได้หมดสิครับ
ไม่ใช่ว่าไม่คิดจะเขียนอะไรเลย เขียนเหวี่ยงแหไปกว้างๆแบบกรณีนี้นะครับ
การเขียนกว้างๆเหวี่ยงแหไปมันเป็นการโยนอำนาจให้เจ้าพนักงานใช้ดุลยพินิจเอาอย่างเดียว
ซึ่งมาตรฐานมันจะอยู่ตรงไหนล่ะครับ อย่างในเคสคำว่า"ความเหมาะสมเนี่ย"
ความเหมาะสมของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน บางทีคนละความหมายกันเลยด้วยซ้ำ
อย่างน้อยการเขียนลงไปว่า"ห้ามเผยแพร่ข้อความ รูป วิดิทัศน์ที่มีคำว่า"ประยุทธ""
มันก็ชัดเจนกว่าการเขียนลงไปว่า"ความเหมาะสม"จริงไหมครับ?
เราตีกรอบให้มันชัดเจนเท่าที่จะทำได้ก่อนไม่ดีกว่าเหรอครับ?
สุดท้ายนี้ผมไม่คิดว่าคุณกวนตีนอะไรนะครับ
คุณแค่ศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีความยุติธรรมของตัวเจ้าพนักงานมากกว่าตัวหนังสือและระบบที่มันเปลี่ยนแปลงไปเองตามอารมณ์ไม่ได้น่ะครับ

By: nrml
ContributorIn Love
on 15 October 2016 - 21:55 #947181 Reply to:947176
nrml's picture

ขนาดแค่จะตีความกันเองในโพสต์นี้ยังยาวเลยคงไม่ต้องพูดถึงเมื่อมีการไปตีความในศาลนะครับ การออกมาให้รัดกุมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เป็นสิ่งที่ควรกระทำในเวลานี้ครับ

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 16 October 2016 - 03:05 #947203 Reply to:947176

ผมเข้าใจ "นัยยะ" ของคำสั่งสมมติของคุณครับ ผมถึงพยายามจะชี้ให้เห็นว่า ประโยคที่คุณยกมาหน่ะ มันไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คุณต้องการหรอก (แม้คุณจะบอกว่านี่คือที่สุดของความชัดเจนแล้วก็ตาม) การตีความในชั้นศาล ถึงต้องมีหลักในการอุดช่องโหว่ของกฎหมายไงครับ

ผมไม่เคยศรัทธาในผู้บังคับใช้กฎหมายนะครับ ในทางตรงกันข้าม ผมเห็นว่ามันคือต้นตอของปัญหามากกว่าผู้ร่างกฎหมายซะอีก ลองอ่านและทำความเข้าใจดูใหม่ครับ

การเขียนกฎให้ชัดเจน ย่อมเป็นเรื่องดีที่ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับ แต่มันเป็นเรื่องง่ายที่จะพูดกันเฉย ๆ ว่าอยากได้อย่างนู้นอย่างนี้ โดยไม่คำนึงถึงข้อกำจัดต่าง ๆ ในบางสถานการณ์และโลกแห่งความเป็นจริง

By: stickyficky on 16 October 2016 - 13:12 #947214 Reply to:947203

คุณไม่เข้าใจ"นัยยะ"ของคำสั่งสมมุติผมครับ แต่ผมน่ะเข้าใจประเด็นของคุณ ผมเข้าใจว่ามันไม่สามารถเขียนคำสั่งให้บังคับใช้ตรงจุดประสงค์ได้ง่ายๆ ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการเขียนถึงจะมีช่องโหว่น้อยที่สุด ซึ่งมันก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ออกคำสั่งไงครับ ผมก็ไม่ได้ต้องการบอกว่ามันง่ายนะครับ "นัยยะ"ของการยกตัวอย่างขึ้นมานั่นก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยมันก็ตีกรอบเจตนารมณ์ของคำสั่งอย่าง"ชัดเจน"ว่าต้องการบังคับเรื่องใด ถึงจะไม่ได้ชัดเจนที่สุดแบบที่คุณเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่คำกว้างๆแบบคำว่า"ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม"ที่มันไม่มีกรอบอะไรเลย สามารถเอาไปใช้กับเรื่องใดก็ได้ ส่วนเรื่องที่คุณบอกว่าไม่ได้ศรัทธาในตัวบุคคลมากกว่าระบบนั้น มันย้อนแย้งนะครับ ถ้าคุณโอเคกับการเขียนคำสั่งกว้างๆ โยนอำนาจให้ดุลยพินิจเจ้าพนักงานทั้งหมดง่ายๆแบบนี้โดย"ไม่พยายาม"จะตีกรอบอะไรเลย สักแต่จะเอาไปบังคับใช้อย่างเดียว แล้วยังเที่ยวแซะคนที่ทักท้วงคำสั่งนี้ไปทั่ว

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 16 October 2016 - 13:35 #947246 Reply to:947214

แบบนั้น คุณน่าก็น่าจะเข้าใจ "นัยยะ" ของประกาศ กสทช. นะครับ :)

ผมเห็นว่ากระบวนการบังคับใช้กฎหมายยังต้องได้รับการปรับปรุงจริง แต่ขณะเดียวกัน ประกาศฉบับนี้มันก็ไม่ใช่อะไรที่เลวร้ายขนาดนั้น (แบบที่บางคนคิด) เพราะมันยังมีอีกหลายขั้นตอน กสทช อัยการ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง

By: stickyficky on 16 October 2016 - 13:54 #947251 Reply to:947246

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ผมเข้าใจหรือไม่เข้าใจนะครับ
ประเด็นก็คือ"ผมสามารถเขียนคำสั่งออกมาลวกๆได้ชัดเจนกว่าคำสั่งของกสทช."
ซึ่งกสทช.น่ะเป็นหน่วยงานระดับชาติ ควรจะมีความชัดเจนในการออกคำสั่งมากกว่าผม
เพื่อป้องกันผลกระทบไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดตามมาทีหลัง
แล้วก็ยอมรับเถอะครับ คุณน่ะศรัทธาในตัวบุคคลมากกว่าระบบหรือตัวหนังสือแน่ๆ
ไม่งั้นคงจะไม่ยอมให้อำนาจไปอยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงานแบบไม่มีกรอบอะไรเลยหรอกครับ
ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ แค่คุณเชื่อว่าคนดีมันหาง่ายกว่าการสร้างระบบที่ดี ก็เท่านั้นแหละ

By: sjb
iPhone
on 16 October 2016 - 16:46 #947286 Reply to:947251

ใจเย็น ๆ นะครับ :)

กรอบหน่ะ มันมีครับ คือมันถูกควบคุมด้วย กระบวนการอื่น ๆ อีกหลายขั้นตอนใน "กระบวนการยุติธรรม"
มันไม่ใช่แค่ดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน แล้วคุณจะติดคุกเลย มันมีการถ่วงดุลอีกหลายขั้นตอนเลยครับ

"คุณน่ะศรัทธาในตัวบุคคลมากกว่าระบบหรือตัวหนังสือแน่ๆ"
ผมศรัทธาในระบบครับ แต่ระบบที่ผมศรัทธามันไม่ได้มีแต่ "ตัวหนังสือ" แบบที่คุณกล่าวมา ตัวหนังสือมันทำอะไรใครไม่ได้หรอกครับ ถ้าไม่มีการบังคับใช้ เขียนไปก็เท่านั้น

ถ้าคุณบังเอิญเจอเจ้าพนักงานที่ทุจริต ต่อให้คุณไม่ผิดใน กม. ฉบับหนึ่ง เค้าก็จะไปหา กม. ฉบับอื่นมาเล่นงานคุณจนได้ (Al Capone โดนจับเพราะ tax evasion นะครับ เพื่อไม่ทราบ) (ไม่ได้แปลว่า Al Capone เป็นคนดีนะ แค่ยกตัวอย่าง ต้องดักคอไว้ก่อน 55)

การทำระบบให้ดีขึ้น จีงไม่ใช่แค่การเขียน "ตัวหนังสือ" ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังคือการแก้ไข กระบวนการบังคับใช้ด้วยครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 16 October 2016 - 20:44 #947329 Reply to:947246

ศาลไทยเปนระบบกล่าวหานะครับ ผมคิดว่าคุณน่าจะมีความรู้ทางกฎหมายอยู่บ้างแต่อยากให้โดนเวลาลงไปปฏิบัติงานจริง
เพราะการปฎิบัติมีปัญหาอยู่มาก เมื่อมีคำสั่งในลักษณะให้อำนาจเจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจในตัวคำสั่งมันก็ควรถ่วงดุลย์ในกรณีเจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องตามไปด้วย เพื่อให้มีความสมดุลย์
แล้วปัญหาการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานมีคดีขึ้นสู่ศาลเยอะเหมือนกัน

เอาเป็นว่าผมอยากให้คุณได้รับผลกระทบกับเรื่องนี้เสียเองก่อนแล้วคุณถึงจะเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นเขาสื่อสารมาครับ
ไม่ใช่บอกว่ามีหลายกระบวนการเฉยๆ
อย่างถ้าผมถูกกล่าวหาผมต้องไปรับทราบข้อกล่าวหา แล้วผมต้องไปลุ้นอีกว่าจะได้ประกันตัวไหม
ถ้าไม่ได้ประกันตัวก็นอนคุกกันตอนนั้นเลย
จริงๆกสทช. ชี้แจงเองได้ด้วยซ้ำว่าขอความร่วมมือว่าลักษณะไหนเข้าข่ายไม่เหมาะสม

นี่คือสิ่งที่กสทช.ไม่ยอมทำ ก็แค่ชี้แจงเพราะตนเองมีฝ่ายกฎหมายอยู่แล้วถ้ากลัวก็ส่งเรื่องให้อัยการทำความเห็นตอบกลับก็ได้คนเขาจะได้คลายกังวลไม่ใช่ออกคำสั่งอย่างเดียว
ของจริงๆมันไม่ได้เหมือนหนังสือที่เราอ่านครับ มีคนติดคุกฟรีมาเยอะแล้ว
บางคนกว่าจะสู้ชนะสูญเสียไปเท่าไหร่กว่าจะได้มา

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 15 October 2016 - 13:29 #947151 Reply to:947095

บ้านเราใช้ระบบกฎหมายcivil law นะครับ ต้องยึดถือตามตัวบทตัวอักษรอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดความตีความเบี่ยงเบน เพื่อเข้าข้าง หรือกล่าวโทษ พวกหรือศัตรูตัวเองได้โดยง่าย

ที่มันเริ่มมีปัญหาก็ยุคหลังการเมืองแรงๆนี่แหละ ที่ตีความใหม่ชนิด อาจารย์กฎหมายต้องฉีกตำราทิ้ง(บางเคสก็อาจารย์คนที่เคยสอนผู้ที่ตัดสินเองด้วยซ้ำ ขำดี เนติบริกรตีความมั่วแล้วด่าอาจารย์ตัวเอง)

คุณอ้างคคห.ในนี้ว่าหลายคนคิดว่า"ชัดเจน" แต่ทำไมผมกลับเห็นว่าหลายคนเห็นว่ามัน"ไม่ชัดเจน" แล้วจะตัดสินกันอย่างไร ว่ามีฝ่ายไหนคิดแบบไหนมากกว่า ฝ่ายไหนคิดถูกต้องกว่า หรือวัดด้วยความรู้สึก?

ถ้าเราไม่ยึดถือกฎหมายและหลักการอย่างชัดเจน สุดท้ายมันต่างจากกฏหมู่ยุคป่าเถื่อนตรงไหน ใครมีอำนาจมีปืนก็กำหนดกฎเกณฑ์ตามใจชอบ แถมกลับกลอกเปลี่ยนหลักการได้ตลอดเวลาตามความรู้สึก?

คนที่ไม่รู้สึกว่ามีปัญหา เพราะคุณยังไม่โดนช่องโหว่ หรือไปมีเรื่องกระทบกระทั่งกับผู้มีอำนาจที่หาทางกลั่นแกล้งคุณไง วันนี้คุณคิดว่าคุณไม่ร้อนตัว ไม่รู้สึกอะไร แต่สักวันถ้าคุณพลาดโดนเองแล้ว คุณอาจจะไม่เหลือใครมาคิดช่วยเหลือคุณแล้วก็ได้ เพราะไม่เหลือใครให้ช่วยคุณแล้ว...

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 15 October 2016 - 20:55 #947177 Reply to:947151

เพราะมันวัดไม่ได้ด้วยความรู้สึก (ความรู้สึกคนไม่เหมือนกัน) หรือจำนวนคนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย (ประชาธิปไตย กับ นิติธรรม) ไงครับ มันถึงเป็นการยากที่จะบอกว่าต้องชัดเจนแค่ไหน ถึงจะพอใจกันทุกฝ่าย

ผมเฉย ๆ กับ ประกาศฉบับนี้นะ อำนาจมันเล็กมาก เพรระมันต้องอยู่ภายในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายบท รวมทั้งรัฐธรรมนูญชั่วคราว แม้กระทั่งจะฟ้องศาลปกครอง หากได้รับผลกระทบจากประกาศจริง ๆ ก็ยังได้

ในขั้นต้น ในระยะเวลาอันสั้น ประกาศในลักษณะที่กว้างและครอบคลุมแบบนี้ วิญญูชนทั่วไปก็พอจะเข้าใจได้ ว่าเค้าต้องการจะควบคุมสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์แบบไหน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 October 2016 - 11:55 #947236 Reply to:947177

ก็ต้องชัดเจนแบบตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดไงครับ

ไม่ใช่บอกให้ทุกคน"พอใจ"แต่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมพอ ที่จะไม่ให้ใครใช้"ความรู้สึก"เป็นข้ออ้างได้อีกต่อไป

กฎหมาย คือหลักการ ไม่ใช่"ความรู้สึก"

ถ้าเราใช้"ความรู้สึก"มาตัดสินเมื่อไร มันไม่ใช่กฎหมายแล้ว แต่คือกฎหมู่ กฎป่า สมัยยุคป่าเถื่อน

อย่าลืมว่าเรามีม.44 ครับ ตอนนี้เวลาใช้อำนาจ เขาจะอ้างม.44 ขึ้นมาทันทีเมื่อไรก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศล่วงหน้า

ป.ล. ผมเข้าใจนะ ตั้งแต่เล็กจนโตเราอยู่ในสังคมที่ใช้อำนาจนิยมจนเคยตัว ใช้ระบบอุปถัมภ์จนมองเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆเขาก็ทำกัน ก็เลยมักไม่เข้าใจการยึดมั่นกฎระบียบหรือหลักการ แต่กลับยินดีที่จะใช้การโอนอ่อนผ่อนตาม หรือการตีความตามความรู้สึก(โดยเฉพะาะที่ตัวเองรู้สึกร่วมด้วย)ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มากกว่ากฎระเบียบตามตัวอักษร

By: stickyficky on 16 October 2016 - 12:39 #947238 Reply to:947236

เท่าที่ผมอ่านความคิดเห็นในกระทู้นี้มาทั้งหมด
ผมว่าคุณอธิบายได้ชัดเจนที่สุดแล้วนะครับ
แต่ดูเหมือนคุณ hail_to_the_thief แกจะ"พยายาม"ไม่เข้าใจน่ะครับ
ก็ประหลาดดีนะครับ
คำว่า"ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม"มัน"กำกวม"ขนาดนั้นยังเข้าใจแท้ๆ
แกคงจะอยากโยนอำนาจไปให้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานเอามากๆเลยน่ะครับ

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 16 October 2016 - 13:36 #947247 Reply to:947238

เฮ้อ... ไม่รู้จะต้องเขียนให้ชัดเจนขนาดไหนนะ ว่า ผมได้ศรัทธาในกระบวนการบังคับใช้กฏหมายเลย นี่ขนาดขอให้อ่านสองรอบแล้วนะเนี่ย

By: stickyficky on 16 October 2016 - 13:58 #947255 Reply to:947247

คำพูดคุณมันขัดแย้งกันเองนะครับ คุณบอกว่าคุณไม่เคยศรัทธาในตัวเจ้าพนักงาน
แต่คุณยอมโยนอำนาจไปให้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานแบบไม่มีกรอบอะไรเลย
คุณจะให้ผมเข้าใจว่าอะไรครับ อ่านสามสิบรอบก็ไม่เข้าใจหรอกครับ

By: sjb
iPhone
on 16 October 2016 - 17:56 #947298 Reply to:947255

ถ้าเปรียบเทียบแบบนี้ อาจจะเข้าใจมากกว่า

คุณพยายามโยนให้คนอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับคุณว่า ศรัทธาแต่ที่ "ตัวบุคคล" แต่ตัวคุณเองนั่นแหละ ที่ศรัทธาแต่ใน "ตัวหนังสือ"

"ระบบ" มันจะอยู่ มันไม่ได้มีแค่ "ตัวบุคคล" และ "ตัวหนังสือ" มันต้องประกอบด้วยทั้งสองอย่าง (และอีกหลาย ๆ อย่าง)
การตีโพยตีพาย และ เป็นเดือดเป็นร้อนแต่เฉพาะกับ "ตัวหนังสือ" จึงไม่ได้แก้ปัญหาใด ๆ ให้ระบบดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ

By: stickyficky on 17 October 2016 - 07:35 #947366 Reply to:947298

ใช่ครับ ผมเป็นพวกศรัทธาในตัวหนังสือ ผมศรัทธาเพราะมันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือโอนเอียงได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งก็แปลว่ามันจะยุติธรรมได้เท่าที่จะสามารถเขียนออกมา ส่วนเรื่องที่ผมตีโพยตีพาย ไม่ใช่เพราะคิดว่าจะทำให้ระบบมันดีขึ้นได้นะครับ ผมทำไม่ได้อยู่แล้ว แต่เพื่อให้มาเริ่มถกเถียงกันและสะท้อนความคิดเห็นกลับไปยังผู้ออกคำสั่งต่างหาก

By: sjb
iPhone
on 16 October 2016 - 13:54 #947254 Reply to:947236

คือ สิ่งที่คุณ Fourpoint กล่าวมา มันไม่มีใครปฏิเสธได้หรอกครับ พูดร้อยครั้งก็ถูกร้อยครั้ง ทุกคนอยากได้ความชัดเจนทั้งนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องอำนาจนิยมอะไรเลย

ในกรณีนี้มันเป็นแค่ แค่ประกาศของ กสทช. ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถ้าเทียบศักดิ์กับ กฎกระทรวงแล้ว ประกาศ กสทช. อาจจะเล็กกว่าด้วยซ้ำ "นัยยะ" ของตัวประกาศ อาจจะต้องการแค่ "ปราม" การกระทำบางอย่างที่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นในสถานการณ์นี้ ซึ่งเราก็ต่างไม่รู้ว่ามันจะเป็นอะไรได้บ้าง

แต่ผมไม่ได้ห่วงที่ตัวประกาศมากนัก เพราะมันยังถูกคานด้วย กระบวนการอื่น ๆ อีกหลายขั้นตอน ตามลำดับขั้น (ที่ประชุม กสทช. อัยการ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง) และการที่เอา ม.44 เข้ามาเกี่ยว ผมว่ามันก็ค่อนข้างผิดฝาผิดตัวไปมาก ประกาศที่เรากำลังคุยกันอยู่ในที่นี้คือ ออกโดย กสทช. ครับ ไม่ได้เกี่ยว ตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจบังคับใช้ ม.44 แต่ผู้เดียวเลย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 October 2016 - 18:26 #947306 Reply to:947254

เพราะตอนนี้ ในทางปฎิบัติ เวลาจนท.จะทำอะไรมากกว่ากฎหมาย"ปกติ" จะใช้ม.44 เสมอครับ รวมไปถึงหลายๆเคสไม่มีการอ้างกฎหมายอะไรด้วยซ้ำแต่ใช้คำสั่งลอยๆ คนก็ปฎิบัติตาม เพราะไม่รู้ว่าถ้าไม่ทำตาม แล้วจะโดนข้อหาอะไรตามมาอีก?

โดยเฉพาะเคสบางคดี จะอ้าง"ความมั่นคง"เสมอๆ ซึ่งก้ไม่รู้ว่าเป็นความมั่นคงของ"รัฐ"หรือตัวบุคคลของจนท."รัฐ" หรือแม้แต่แค่ความรู้สึกของใครบางคน?

ผมยกตัวอย่างข่าวนี้ ไม่มีการอ้างอำนาจกฎหมายอะไร แต่ได้ผลจริง? ถ้าตีความแบบกว้าง ข่าวแบบนี้ก็เข้าเข่าย"ไม่หมาะสม"ตามประกาศกสทช.ด้วยหรือไม่?

ป.ล. ขอยกคำตอบกับคคห.ข้างบนว่า กฎหมายต้องใช้ทั้งตัวอักษรและความรู้สึก ผมมองว่านั่นเป็นเพราะผู้ออกกฎหมายอาจมีเจตนา"เผื่อ"ช่องทางให้ตัวเองได้รอดจากกฎหมายที่ตัวเองออกไปไงครับ ซึ่งถ้ามาผสมกับระบบอุปถัมภ์แล้วก็จะเห็นได้ชัดว่า สุดท้าย เราก็แค่หาข้ออ้างอะไรก็ได้(ไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผล) มาoverrideหลักการ เพื่อให้ฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์เสมอมา...

By: sjb
iPhone
on 16 October 2016 - 20:35 #947324 Reply to:947306

กรณีที่ยกมานี่ มันยิ่งชัดเจนว่า ปัญหามันอยู่ที่จนท. ซะมากกว่า คือ จนท.ใช้การ “อ้าง” เอาแบบลอย ๆ ไม่เป็นทางการ (หรืออาจจะทำโดยพลการด้วยซ้ำ) ซึ่งตัว กม. เปิดช่องให้ทำได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ (คงรู้แหละว่าทำไม่ได้ ไม่งั้นก็คงอ้างไปแล้ว)

สำนักข่าวอิศราเอง ก็ไม่ได้ทำตามคำสั่ง แถมเอาออกมาเปิดเผยอีกต่างหาก ก็เพราะรู้แหละครับว่า มีช่องทางให้ต่อสู้ได้ ตามกระบวนการยุติธรรม

ผมย้ำว่า ผมไม่ได้เห็นว่าการเขียน กม. ให้ชัดเจนไม่ใช่เรื่องดี แต่เราโฟกัสกันผิดจุดต่างหาก กม. มันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น (ในข่าวนี้ มีศักดิ์แค่ประกาศด้วยซ้ำ ถูกครอบด้วย กม.อีกหลายบทที่ผ่านสภาฯ) สิ่งที่เลวร้ายกว่าคือ กระบวนการบังคับใช้ และสิ่งที่จะช่วยคานได้ส่วนสำคัญก็คือ กระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนอื่น ๆ ครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 17 October 2016 - 09:23 #947382 Reply to:947324

การโยนว่าเป็นเพราะ"จนท."คือการมองข้ามต้นเหตุของปัญหาครับ

คิดหรือว่า จนท.คนธรรมดา จะกล้าทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมายถ้าไม่มีคนที่มีอำนาจให้คุณให้โทษสั่งมา?

ที่อิสราไม่เอาออก แต่สำนักข่าวอื่นล่ะ? อันที่จริงผมพบเห็นคำสั่งแบบนี้อยู่บ่อยๆ(เป็นข่าวบ้างไม่เป็นข่าวบ้าง) เมื่อก่อนก็อ้างพรบ.ความมั่นคงฯบ้าง อ้างคำสั่งก.ICTบ้าง อ้างอะไรลอยๆทั้งๆที่จริงๆแล้วอำนาจนี้ ต้องให้ศาลสั่งเท่านั้น แต่ก็ทำกันเป็นปกติ?

ยิ่งประกาศกสทช.ที่คลุมเครือมันก็มีช่องให้ตีความแบบกว้างแบบคลุมเครือแบบนี้นั่นแหละครับ จะบอกว่าอำนาจไม่เท่ากฎหมายน่ะใช่ แต่จะมีสักกี่คนกล้าเสี่ยง และเราจะยอมให้มันคลุมเครือเพื่อใช้ประโยชน์จากข้ออ้างดุลพินิจจนท.ให้มีความเสี่ยงในการใช้อำนาจเกินเลยไปเพื่ออะไร?

ผมพูดตามหลักการและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาแล้วครับ ไม่ใช่กังวลไปเกินกว่าเหตุ

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 16 October 2016 - 10:01 #947228 Reply to:947095
MaxxIE's picture

กฏหมายมันก็เหมือนกติกาที่ทำให้คนทุกฝ่ายรู้สึกยุติธรรมและเท่าเทียมกันนี่ครับ
หากกติกาข้อไหนที่คลุมเครือ มันก็สมควรที่จะต้องระบุความจัดเจนเพื่อความเข้าใจกันของทุกๆฝ่าย

ผมว่าแก้กฏหมายให้มันชัดเจน มันก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ครับ กลับดีซะอีกเหมือนเป็นการแก้Bugไปในตัว เพราะมันไม่ได้ไปบิดเบือนจุดประสงค์ของกฏหมายซักหน่อย และที่สำคัญมันง่ายกว่าการพิสูจน์"เจตนา"เยอะเลยนะครับ
เพราะเจตนามันไม่สามารถวัดหรือระบุชี้ชัดได้ เหมือนตัวกฏหมายที่มีลายลักษณ์อักษรระบุอย่างชัดเจนครับ

ถ้ากฏหมายมันชัดเจนมันจะไม่มีใครเค้าเดือดร้อนหรอกครับ นอกจากพวกที่จ้องแต่จะอาศัยช่องโหว่ของกฏที่ร่างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตัวเองเท่านั้นแหละที่เดือดร้อน

By: wohlklang
iPhoneAndroid
on 15 October 2016 - 08:16 #947114 Reply to:947051

คนทั่วไปไม่มีผลกระทบหรอกครับ แต่คนที่มีปัญหากับหน่วยงานรัฐนั่นแหละที่จะมีผลกระทบ
ปัญหาในที่นี้ไม่ใช่เพราะทำผิดกฎหมายก็ได้ แต่อาจเพราะเขาเดือดร้อนจากการกระทำจากหน่วยงานรัฐ ถ้ารัฐต้องการปิดข่าวก็ปิดได้โดยให้เหตุผลว่า "ไม่เหมาะสม"

ล่าสุดก็มีสำนักข่าวหนึ่งที่ยกประเด็นเรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นคอรัปชั่น แล้วก็ถูกหน่วยงานราชการส่งเมล์มาขอให้ระงับการเผยแพร่ข่าว

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 17 October 2016 - 09:25 #947381
Polwath's picture

วิธีแก้ง่ายนิดเดียว ตามเนื้อหาข่าว (แต่ทำยาก)
- กลับไปเขียนหรือประกาศใหม่ซะ อธิบายให้มันชัดเจนไปเลยว่าอะไรเป็นอะไร จะได้เป็นไปตามรายละเอียดที่คุณต้องการสื่อออกมา ไม่ต้องเดาให้เสียเวลา แถมไม่ต้องเจอการตัดสินด้วยความรู้สึกที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้

ความเห็นจากกระทู้ด้านบน
- ต้องบังคับให้ผู้ใช้กฎหมายตัดสินตามหลักฐาน มูลเหตุ และข้อกฎหมายที่มีตามความเป็นจริง
- ห้ามใช้ดุลยพินิจหรือความรู้สึกส่วนบุคคลในการติดสิน (หรือง่ายๆ คือ ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ทำงานตามฟันเฟืองกระบวนกฎหมายที่ร่างขึ้นมา รับรู้และประมวลตามที่มีจนเสร็จสิ้นกระบวนการ) และต้องวางบทลงโทษหากฝ่าฝืน
- ถ้าเกิดเหตุที่ไม่ครอบคลุมหรืออยู่นอกเหนือกฎหมายที่มีอยู่ ก็แก้ไขปรับปรุงตามยุคสมัยเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
- ต้องวางกฎสำหรับร่างกฎหมายและมาตราต่างๆ เมื่อเขียนและผ่านการอนุมัติแล้ว ห้ามทำการยกเลิก, ฉีก หรือ ล้มโดยไม่มีเหตุอันควรหรือมาจากความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น หากทำก็ต้องลงโทษหรือถูกปลดออกจากหน้าที่โดยถาวร
- ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและสามารถร่างกฎหมายหรือความเห็นให้กับทางรัฐโดยตรง ในกรณีออกกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
- ป้อนความรู้ด้ารกฎหมายให้ทุกคนต้องรู้และเข้าใจโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม ไม่มีข้อยกเว้น


Get ready to work from now on.