Tags:
Node Thumbnail

ผู้ที่รักษามะเร็งเต้านมจนหาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีทำคีโม หรือตัดเต้านมออก แม้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รอดชีวิต แต่ยังต้องกังวลกับการเลือกคอร์สตรวจรักษา ทุกคนต้องเจอกับคอร์สการดูแลเยียวยา ซึ่งก็คือ Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า อะไรที่ทำให้พวกเขากังวลน่ะหรือ? ก็คือกลัวว่าจะเจอก้อนมะเร็งอีกน่ะสิ

เมื่อต้องเลือกระหว่าง Mammogram และ breast MRI คนไข้อาจหาเอกสารมาอ่าน ฟังคำแนะนำจากแพทย์ นำใบปลิวจากโรงพยาบาลมาอ่าน แต่นั่นเพียงพอกับการตัดสินใจและคลายความกังวลผู้เข้ารับการรักษาได้มากแค่ไหน?

สถาบันวิจัย GHRI หรือ Group Health Research Institute ตั้งอยู่ที่ซีแอตเทิล ร่วมกับ Artefact บริษัทดีไซน์ และเทคโนโลยีที่อยู่ในซีแอตเทิลเหมือนกัน สร้างแอพพลิเคชั่น SIMBA ตัวช่วยตัดสินใจเลือกหนทางตรวจรักษามะเร็งเต้านม (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ผ่าตัดเต้านมออก) ให้อดีตคนไข้คลายกังวลและมั่นใจมากขึ้นเวลาเข้าคอร์ส

SIMBA จะเริ่มต้นจากให้ผู้ใช้ระบุอาการล่าสุดของมะเร็งที่รักษาหายไปแล้ว วิธีรักษาที่ใช้ เช่น การทำคีโม การฉายรังสี การตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออก เป็นต้น จากนั้นระบบจะถามข้อมูลของผู้ใช้ เช่น ลักษณะเต้านมของคุณตอนนี้ ความหนาแน่น อาการเจ็บคัด ปวด เพื่อให้การตัดสินใจเลือกคอร์ส เหมาะกับตัวคนไข้ที่สุด

No Description

เมื่อผู้ใช้ทำการระบุข้อมูลในระบบแล้ว โปรแกรมจะโชว์ข้อมูลสองด้านพร้อมกัน ระหว่าง Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า

No Description

จากภาพจะเห็นได้ว่า ข้อมูลทั้งสองด้านผ่านสถิติที่เกิดขึ้นจริงจากระสบการณ์คนไข้ เช่น ระบบจะแสดงข้อมูลเป็นสถิติใน 1,000 คน ว่า มีกี่คนที่พบว่ามะเร็งยังกลับมาอีก ตามภาพด้านล่าง

No Description

หรือหากมะเร็งกลับมา ทั้งสองคอร์สมีความผิดพลาดในการตรวจจับบ่อยแค่ไหนโดยวัดจากคน 1,000 คน

No Description

ข้อมูลจะถูกนำเสนอเป็นสองด้านเสมอ ทีมงาน Artefact ผู้ออกแบบเชื่อมั่นว่าทำให้ตัดสินใจง่ายกว่าการอ่านข้อมูลของแต่ละคอร์สมาเยอะๆ โดยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกัน และจากการพูดคุยกับผู้ผ่านการรักษามะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่ระบุว่า เธอจะปิดเว็บนั้นทันทีถ้าหน้าเว็บเต็มไปด้วยสีชมพู ริบบิ้น และรูปผู้หญิงยิ้ม เพราะผู้ที่ต้องการรู้ข้อมูลจริงๆ เขาจะสนใจแค่ข้อมูลเท่านั้น จะเห็นได้ว่าหน้าตาของ SIMBA ไม่มีสีชมพูเลย เน้นสีฟ้าอ่อนเป็นหลัก ไม่มีรูปภาพประกอบ เน้นที่ข้อมูลเท่านั้น และการแสดงข้อมูลสองด้านเป็นกราฟ ทำให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลได้ดีกว่า

แอพพลิเคชั่น SIMBA ยังอยู่ระหว่างการวิจัย โดยมีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลทั้งสองคอร์สการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อคนไข้ ไม่เพียงมีทฤษฎี แต่มีประสบการณ์จากหมอและคนไข้อยู่ในนั้น แอพพลิเคชั่นจึงยังไม่เปิดให้ใช้ทั่วไปในตอนนี้ คาดว่าปลายปีนี้จะเปิดให้ใช้ได้

ที่มา - Fast Company

Get latest news from Blognone