Tags:
Node Thumbnail

ผู้ที่รักษามะเร็งเต้านมจนหาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีทำคีโม หรือตัดเต้านมออก แม้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รอดชีวิต แต่ยังต้องกังวลกับการเลือกคอร์สตรวจรักษา ทุกคนต้องเจอกับคอร์สการดูแลเยียวยา ซึ่งก็คือ Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า อะไรที่ทำให้พวกเขากังวลน่ะหรือ? ก็คือกลัวว่าจะเจอก้อนมะเร็งอีกน่ะสิ

สถาบันวิจัย GHRI หรือ Group Health Research Institute ตั้งอยู่ที่ซีแอตเทิล ร่วมกับ Artefact บริษัทดีไซน์ที่อยู่ในซีแอตเทิลเหมือนกัน สร้างแอพพลิเคชั่น SIMBA อันเป็นตัวช่วยตัดสินใจเลือกหนทางตรวจรักษามะเร็งเต้านม (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ผ่าตัดเต้านมออก) ให้อดีตคนไข้คลายกังวลและมั่นใจมากขึ้นเวลาเข้าคอร์ส

ระหว่าง Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า

ในขณะที่คนไข้ต้องตัดสินใจระหว่างทั้งสองตัวเลือก แต่ละตัวเลือกมีข้อมูลสนับสนุนมากพอที่จะช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้น คือสถิติ และประสบการณ์จากคนไข้จริง แสดงเป็นกราฟให้เข้าใจง่าย มีรายละเอียดข้อมูลจากหมอเฉพาะทาง และยังคำนวณข้อมูลตามลักษณะอาการและประสบการณ์การรักษา รวมถึงระยะมะเร็งของคนไข้แต่ละคน (Personalize)

No Description

No Description

ข้อมูลทั้งสองด้านผ่านสถิติที่เกิดขึ้นจริงจากระสบการณ์คนไข้ เช่น ระบบจะแสดงข้อมูลเป็นสถิติใน 1,000 คน ว่า มีกี่คนที่พบว่ามะเร็งยังกลับมาอีก ตามภาพด้านล่าง

No Description

หรือหากมะเร็งกลับมา ทั้งสองคอร์สมีความผิดพลาดในการตรวจจับบ่อยแค่ไหนโดยวัดจากคน 1,000 คน

No Description

ข้อมูลจะถูกนำเสนอเป็นสองด้านเสมอ ทีมงาน Artefact ผู้ออกแบบเชื่อมั่นว่าทำให้ตัดสินใจง่ายกว่าการอ่านข้อมูลของแต่ละคอร์สมาเยอะๆ โดยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกัน รวมถึงการดีไซน์ใช้ความเรียบง่าย ไม่มีรูปภาพประกอบ และมีสีฟ้าอ่อนเป็นหลัก เพราะผู้ที่ต้องการรู้ข้อมูลจริงๆ เขาจะสนใจแค่ข้อมูลเท่านั้น

แอพพลิเคชั่น SIMBA ยังอยู่ระหว่างการวิจัย โดยมีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลทั้งสองคอร์สการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อคนไข้ ไม่เพียงมีทฤษฎี แต่มีประสบการณ์จากหมอและคนไข้อยู่ในนั้น แอพพลิเคชั่นจึงยังไม่เปิดให้ใช้ทั่วไปในตอนนี้ คาดว่าปลายปีนี้จะเปิดให้ใช้ได้

ที่มา - Fast Company

Get latest news from Blognone