Tags:
Node Thumbnail

สืบเนื่องมายาวนานกับคดีโก่งราคาอีบุ๊กของ Apple ที่ดำเนินมาถึงการตัดสินของศาลชั้นอุทธรณ์ หลังจากที่ปลายปีก่อนมีความเคลื่อนไหวจากทาง Apple ที่ออกมาเสนอยอมจ่ายเงินเพื่อจบคดีและได้รับการอนุมัติจากศาลชั้นต้นแล้ว ล่าสุดศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินว่า Apple ผิดจริงเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น ยังผลบังคับให้ Apple ต้องจ่ายเงิน 450 ล้านเหรียญตามที่ได้ทำข้อเสนอยอมความเอาไว้

ด้วยผลการลงคะแนนเสียงตัดสิน 2 ต่อ 1 ศาลอุทธรณ์จึงมีคำตัดสินเห็นว่า Apple มีความผิดจริงตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เป็นผู้ฟ้อง ในประเด็นการกีดกันทางการค้า ด้วยการทำข้อตกลงกับสำนักพิมพ์หลายแห่งให้ตั้งราคาอีบุ๊กในร้านค้าออนไลน์แห่งอื่นแพงกว่าที่ขายผ่านร้านค้าของ Apple เอง

หาก Apple ไม่สู้คดีต่อและยอมจบคดีในชั้นศาลอุทธรณ์นี้ ก็จะต้องทำการจ่ายเงิน 400 ล้านเหรียญให้แก่กลุ่มผู้ซื้ออีบุ๊กที่ถือว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากกลไกการจัดจำหน่ายอีบุ๊กของ Apple และอีก 50 ล้านเหรียญ Apple จะต้องจ่ายเป็นค่าทนายความ

หลังมีคำตัดสินออกมา Apple ได้ออกแถลงการณ์ โดยมีใจความส่วนหนึ่งระบุว่า "เรารู้ว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิดในปี 2010 และตอนนี้เรากำลังประเมินสถานการณ์เพื่อวางแผนขั้นถัดไป"

ที่มา - Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: Tizthammawasi
AndroidIn Love
on 1 July 2015 - 02:15 #823673

สวรรค์มีตา

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 July 2015 - 02:39 #823682
McKay's picture

ยอมความแล้วแต่บอกว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิด

Okay..


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 July 2015 - 04:18 #823687
lew's picture

จริงๆ ประเด็นนี้ถ้าสู้จนจบน่าจะวางมาตรฐานใหม่ของการใช้อำนาจเหนือตลาด

แอปเปิลมีส่วนแบ่งน้อยมากๆ ในตลาด ebook ถ้าปกติไปตกลงราคาอะไรกับสำนักพิมพ์เล็กๆ ก็ไม่ควรเป็นคดี (ไม่มีอำนาจเหนือตลาดทั้งคู่)

แต่พอแอปเปิลตกลงกับสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่หลายเจ้าที่มียอดขายส่วนเป็นส่วนใหญ่ของตลาด ตัวสำนักพิมพ์นี่คงผิดแน่ (รายใหญ่หลายรายร่วมกันใช้อำนาจเหนือตลาด) แต่แอปเปิลที่เป็นคนเรียกสำนักพิมพ์มาคุยกันและทำข้อตกลงกับตัวเองกลับโดนไปด้วย

เรื่องยิ่งแปลกเพราะการกระทำของแอปเปิลเอง เปิดช่องให้หน้าร้านรายเล็ก (รวมถึง ibook) สามารถยืนอยู่ในธุรกิจค้าปลีกอีบุ๊กได้เพราะส่วนต่างกำไรสูงพอ ขณะที่อเมซอนที่มีความได้เปรียบจากการขายปริมาณมากๆ ไปแล้วสามารถตัดส่วนต่างกำไรจนบางเฉียบและครองส่วนแบ่งตลาด 90%

แนวทางนี้ศาลสหรัฐฯ มองว่าอำนาจเหนือตลาดเป็นเรื่องของผู้บริโภคปลายทางเป็นหลัก ตราบใดที่คนซื้อปลายทางได้ราคาถูกลงแสดงว่าการแข่งขันดีอยู่ และความพยายามดึงราคาขึ้นเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาด โดยไม่ได้มองว่าสำนักพิมพ์เองเป็นผู้ที่ต้องการให้มีการแข่งขันระหว่างช่องทางจำหน่าย

ผู้พากษาเสียงข้างน้อย (Dennis Jacobs) ในคำพิพากษานี้ก็ระบุไว้ว่าการดึงราคาขึ้นช่วยเพิ่มการแข่งขันเพราะอเมซอนเองมีส่วนแบ่ง 90% อยู่แล้ว


lewcpe.com, @wasonliw

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 1 July 2015 - 05:08 #823689 Reply to:823687
put4558350's picture

สิ่งที่ apple ผิดก็คือการจับมือกับค่ายหนังสือ กำหนดราคาขั้นต่ำครับโดยกำหนดว่าต้องขายที่อื่นแพงกว่าหรือเท่ากับ ibook การกระทำดังกล่าวทำให้ร้านหนังสือที่ต้องการลดกำไรตนเอง เพื่อแข่งขันในตลาดด้วยราคาหนังสือที่ถูกกว่าไม่สามารถทำใด้ และปิดกันการแข่งขันของช่องทางจำหน่ายครับ กตขอนี้รู้สึกจะมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากถูกฟ้องนะครับ

ในการตกลงที่ว่า apple ยังทำให้ราคาหนังสือแพงขึ้นโดยคิดค่าหนังสือเป็นเล่มแทนการเหมาจ่ายยังไช้อยู่ ซึ่ง apple ที่คิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ใด้ประโยชน์ ไม่ผิดกตหมายแต่ก็คงไม่มีลูกค้าคนใหนชอบ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 July 2015 - 07:16 #823695 Reply to:823689
lew's picture

ใช่ไงครับ แต่กรณีนี้ถ้าแอปเปิลจับมือกับค่ายหนังสือเล็กๆ สักค่าย บอกว่าขายให้เราที่ราคานี้แล้วอย่าขายให้เจ้าอื่นถูกกว่าก็คงไม่ผิดอะไร

มันเป็นปัญหาเพราะค่ายหนังสือที่แอปเปิลจับมือรวมๆ แล้วส่วนแบ่งตลาดสูงมาก


lewcpe.com, @wasonliw

By: mk-
Symbian
on 1 July 2015 - 11:23 #823772
mk-'s picture

จุดจบของแอปเปิ้ลและอเมริกา

By: pote2639
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 1 July 2015 - 21:03 #823917

ฮือ แพ้แล้ว