Tags:
Node Thumbnail

วันนี้เมื่อช่วงบ่าย สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) นำโดย นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สพธอ. จัดงานพบปะกับสื่อมวลชนเพื่อแถลงความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติจำนวน 10 ฉบับ ที่เรียกกันว่าชุดกฎหมายดิจิทัล (ติดตามอ่านเพิ่มเติมจากข่าวเก่าๆ ในหมวด) โดยระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของตัวร่างค่อนข้างมาก ผมขออนุญาตสรุปคร่าวๆ ดังนี้นะครับ

- ยุบร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล (คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) รวมด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว กำหนดทั้งตัวองค์กรและโครงสร้างในคราวเดียว และทบทวนกลไกให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น
- ร่างเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล, ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม, ร่างกฎหมาย กสทช. และร่างกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าน่าจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายในสองเดือนนี้
- ร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลใกล้จบแล้ว เหลือแต่รอให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลของตัวเองมาคุยแล้วตกลงกัน
- ร่างกฎหมายการกระทำผิดอาญาทางคอมพิวเตอร์ มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้นในขอบเขต และกำลังเสนอให้แก้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการดำเนินการตามกฎหมาย เพราะปัจจุบัน สพธอ. มองว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขยายตัวไปมาก
- ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงไซเบอร์ มีการพยายามพูดคุยกับเอกชนให้ใช้ระบบ self-regulation ในการเก็บล็อก ส่วนการส่งข้อมูลล็อกให้กับหน่วยงานภาครัฐก็ต้องอาศัยอำนาจศาลก่อน, ThaiCERT จะย้ายไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหม่ที่จัดตั้งเพื่อรองรับงานด้านนี้โดยเฉพาะ และระบุว่ากฎหมายนี้ยังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 เดือน ในการเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. นับจากนี้

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่แถลงข่าว ทาง ผอ. ระบุว่าชุดกฎหมายดังกล่าวที่มี 10 ฉบับนั้น จริงๆแล้วไม่เพียงพอและควรที่จะมีมากกว่านี้ ผอ. ยังบอกว่าคณะผู้ร่างจะเพิ่มสัดส่วนของเอกชนเข้าไปในร่างทุกฉบับ ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้จัดการยากขึ้น แต่ก็จำเป็นเพื่อให้มีมุมมองครบทุกด้าน

อนึ่ง ทาง สพธอ. ยังไม่เปิดร่างหลายๆ ฉบับให้เผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยระบุว่ายังเป็นข้อมูลที่ "อ่อนไหว" (sensitive) อยู่ และไม่ได้มีการแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานแต่ประการใด แจ้งแต่เพียงว่าจะส่งร่างที่เปิดเผยได้ให้ทางอีเมลเท่านั้น

ที่มา - งานแถลงข่าวความคืบหน้าชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล โดย สพธอ.

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 8 April 2015 - 20:08 #805265
panurat2000's picture

กำหนดทั้งตัวองค์กระและโครงสร้างในคราวเดียว

องค์กระ => องค์กร

ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ทำตรวจในการเป็นส่วนหนึ่งของกลไก

เจ้าหน้าที่ทำตรวจ ?

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 8 April 2015 - 20:31 #805267
McKay's picture

ครับท่านผอ

ไม่สบายใจก็ลาออกก็ได้นะครับ ออกมาแล้วจะได้สบายใจขึ้น


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 8 April 2015 - 20:39 #805270
put4558350's picture

อนึ่ง ทาง สพธอ. ยังไม่เปิดร่างหลายๆ ฉบับให้เผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยระบุว่ายังเป็นข้อมูลที่ "อ่อนไหว" (sensitive) อยู่ และไม่ได้มีการแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานแต่ประการใด แจ้งแต่เพียงว่าจะส่งร่างที่เปิดเผยได้ให้ทางอีเมลเท่านั้น

... เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน ...


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Aoun
AndroidWindows
on 8 April 2015 - 20:53 #805275

Gone in the 30 seconds
ปุ๊บปั๊บรับโชค ผ่านแล้วค่อยมารับฟังว่าตรงไหนคือปัญหา (แต่ก็แค่รับฟัง)

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 8 April 2015 - 21:02 #805276

"กำหนดทั้งตัวองค์กรและโครงสร้างในคราวเดียว และทบทวนกลไกให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น"

แต่บอกว่าไม่สบายใจ? แบบนี้จะมีส่วนร่วมมากขึ้นแค่ไหนกันเชียว?


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 8 April 2015 - 21:17 #805278
itpcc's picture

เสนอไม่กี่คน แต่บังคับใช้ทุกคนนะครับท่าน เห็นแก่ตัวเรือหาย Nice boat จริงๆ


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 8 April 2015 - 21:54 #805283
Ford AntiTrust's picture

ความแตกต่างของการร่างกฎหมายไทยในช่วงนี้คือการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และประชาชน รวมไปถึง คำว่า "ประชาชน" ในตัวร่างกันแทบหาไม่เจอ รวมไปถึงสิทธิในตัวประชาชนก็ยังไม่มีเลย ><"

ช่างแตกต่างจากอเมริกา ที่มีกระบวนการปรึกษาหารือ (consultative process) โดยมีเอกชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภายนอก หน่วยงานอิสระ และหน่วยงานรัฐบาลระดับต่างๆ เข้ามาให้คำปรึกษา (ตัวอย่างเช่น Executive Order 13636 - Improving Critical Infrastructure Cybersecurity)

คือส่วนตัวมองว่า หากกฎหมายที่ออกมา ไม่มีอะไรผิดปรกติ หรือแปลกประหลาดกว่าชาวโลกเค้า ประชาชนยอมรับได้แน่ๆ ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไรนิครับ

By: Kittichok
Contributor
on 8 April 2015 - 22:27 #805295

เพิ่มเติมข้อมูล
ผลมาจากวันนี้ ในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ รายงานผลการพิจารณาชุดกฎหมายดังกล่าว จึงมีมติเห็นชอบตามรายงานดังกล่าว ด้วยคะแนนเห็นด้วย 163 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง และให้คณะกรรมการนำความเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงรายงานดังกล่าวเพื่อส่งให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

ที่มา ข้อมูลการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 24/2558 เป็นพิเศษ วันพุธที่ 8 เมษายน 2558

และจากข้อมูล นสพ.เศรษฐกิจ
สรุปรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ดังนี้

กฎหมายดังกล่าวแล้วทั้ง 10 ฉบับนั้น ไม่สามารถสนับสนับส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการ สำนักงานและองค์กรขึ้นมาใหม่หลายคณะและหลายหน่วยงาน แต่ยังขาดความชัดเจนในเรื่องสถานะความรับผิดชอบ และรูปแบบขององค์กรว่าเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
ขณะเดียวกันไม่เป็นหน่วยรับตรวจของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)แต่ให้สตง.เป็นผู้สอบบัญชีและตัดอำนาจอื่นๆอีกหลายประการที่ทำได้ และยังพบอีกว่าในการบริหารจัดการ มีการกำหนดให้สามารถถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการหรือหลักเกณฑ์
ส่วนคุณสมบัติของผู้บริหารและคณะกรรมการ พบว่าไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและไม่เป็นผู้ที่มีตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับมีบทบัญญัติที่เพิ่มอำนาจหน้าที่เหมือนตำรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างไร้ขอบเขตและไม่มีมาตรการหรือกฎไกปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการสื่อสารและการรับรู้ของประชาชนและยังขอให้ชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กสทช. จนกว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และแนวทางการปฏิรูป และให้คงหลักการความเป็นองค์กรอิสระของกสทช.

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 8 April 2015 - 22:36 #805299

เศรษฐกิจดิจิทัล มันเกิดโดยภาคเอกชนนี่ครับ มันต้องมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยนไปมา บนโลกออนไลน์ หรือเศรษฐกิจในสายตาของท่านคือการทำ E-auction แค่นั้นก็ไม่แน่ใจ ถึงมากังวลว่าเอกชนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลมากเกินไป
อันนี้ก็ว่ากันไปครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 9 April 2015 - 06:58 #805341

ถ้าศก.ไม่รุ่งเพราะติดกฎหมายของคุณแล้วรัฐจะเอาเงินที่ไหนพัฒนาประเทศละครับ? (ขูดรีดภาษีที่ดินเหรอ?)

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 9 April 2015 - 07:57 #805347
PH41's picture

ผมเองก็ไม่สบายไต ที่ท่าน "ไม่สบายใจ" ที่เอกชนจะมีส่วนร่วมมากขึ้น

By: PowerMax
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 9 April 2015 - 09:01 #805362

ส่งเสริมการพัฒนา หรือ ส่งเสริมการบังคับบััญชา กันแน่ครับนี่

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 9 April 2015 - 14:41 #805431
Thaitop_BN's picture

วางถุงกาวแล้วตั้งสติก่อนนะท่านผอ. เอกชนและเศรษฐกิจมันเป็นของคู่กันอยู่แล้ว เศรษฐกิจที่เอกชนมีบทบาทน้อยนี่ผอ.ต้องการระบบเศรษฐกิจแบบไหนกัน?

By: bahamutkung
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 April 2015 - 22:32 #805534 Reply to:805431
bahamutkung's picture

ท่านผอ.เป็น"สหายสุ"สินะครับเนี่ย


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."