Tags:
Node Thumbnail

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เตรียมประกาศเกณฑ์เกี่ยวกับการระดมทุนแบบ crowdfunding ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

  • ระดมทุนครั้งละไม่เกิน 20 ล้านบาท
  • นักลงทุนหนึ่งราย ลงทุนได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อผลงาน
  • ไม่กำหนดความรับผิดชอบของโครงการที่ได้เงินแล้วดำเนินการไม่สำเร็จ
  • จะมีระบบบัญชีกลางในสถาบันการเงินเพื่อการระดมทุนโดยเฉพาะ

    รูปแบบผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ จัดกลุ่มได้ 4 ประเภท

  • ระดมทุนแบบบริจาค ไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ

  • ได้รับผลตอบแทนเป็นสินค้า หรือสิทธิพิเศษการเป็นสมาชิก
  • คืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับนักลงทุน
  • ได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นหรือหุ้นส่วน ซึ่ง ก.ล.ต. จะเข้ามากำกับดูแลตรงนี้

ก.ล.ต. ระบุว่ารับฟังความเห็นเรื่องการออกเกณฑ์ crowdfunding (ก.ล.ต. ใช้คำว่า "ระดมทุนฝูงชน") มาประมาณ 1 ปี และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์เป็นอย่างดี คาดว่าจะประกาศเกณฑ์นี้ได้ในปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน 2558

ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ

Get latest news from Blognone

Comments

By: mrKaqz
ContributorAndroidBlackberry
on 7 March 2015 - 14:54 #797148

สงสัย กลต. ไม่ได้กำกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นเท่านั้นเหรอครับ มาเกี่ยวอะไรกับบริษัท Start up ที่ไม่ได้ซื้อขายในตลาดหุ้นอะครับ

ปปง. น่าจะเกี่ยวกว่านะ

By: Zeburial
Android
on 7 March 2015 - 16:10 #797190 Reply to:797148

ไม่ใช่ครับ การระดมทุนจากสาธารณชน ออกตราสารทุน ตราสารหนี้ ก็อยู่ภายใต้กำกับของ ก.ล.ต. ครับ เช่น บ.a.ออกหุ้นกู้ ต้องทำตามเกณฑ์ ก.ล.ต. ครับ ปปง. เป็นเรื่องการๆอกเงินครับ เช่น ถ้าคุณนำเงินสดฝากธนาคารเกินกว่า xxx บาท ต้องรายงานต่อ ปปง. ตามกฎหมายของ ปปง. Crowdfunding อาจเกี่ยวกับ ปปง. ได้ถ้าทาง ปปง. เห็นว่าจะถูกใช้เป็นช่องทางฟอกเงินครับ ก.ล.ต. เข้ามาดูเพราะมันเป็นการระดมทุนจากสาธารณชนครับ

By: nowingnoid
iPhoneAndroidUbuntu
on 7 March 2015 - 14:51 #797153
nowingnoid's picture

ไม่น่าเข้ามายุ่งเล้ยยย

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 7 March 2015 - 14:53 #797154
put4558350's picture

เพดาน 20 ล้านบาท น้อยไปนะ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 7 March 2015 - 15:05 #797159
panurat2000's picture
  • จะมีระบบบัญชีกลางในสถาบันการเิงน

สถาบันการเิงน => สถาบันการเงิน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 7 March 2015 - 15:06 #797160

งงว่ากลต.จะอ้างอำนาจด้วยกฎหมายอะไร ในเมื่อการระดมทุนแบบนี้ไม่ใช่ทำภายในตลท.?

By: artiya4u
AndroidUbuntu
on 7 March 2015 - 15:19 #797169 Reply to:797160
artiya4u's picture

ใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่แน่ใจ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 7 March 2015 - 15:08 #797161

20ล้าน ธนาคารบางที่ยังไม่อยากคุยด้วยเลย

By: 7
Android
on 7 March 2015 - 15:17 #797168
7's picture

จะเข้ามาควบคุม แต่ไม่ควบคุมโครงการที่ได้เงินแล้วดำเนินการไม่สำเร็จ มันดูไร้ประโยชน์

By: Zeburial
Android
on 7 March 2015 - 16:15 #797191 Reply to:797168

ลเปรียบดทียบเหมือนกับการที่คนเอาเงินไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แล้วบริษัทนั้นล้มละลายไป หุ้นนั้นก็จะมีค่าเท่ากับ 0 ผู้ลงทุนต้องรับความเสี่ยงครับ แต่ ก.ล.ต. ก็ช่วยโดยการดูแลให้ผู้ลงทุนเข้าถึงข้อมูลให้ได้มากที่สุด จำกัดวงเงินลงทุนของนักลงทุนรายย่อย รวมถึงดูแล platform ให้ต้องมีความน่าเชื่อถือครับ

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 7 March 2015 - 16:25 #797194 Reply to:797168
devilblaze's picture

อันนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับ ก.ล.ต นะถ้าโครงการนั้นล้มละลาย มันเกี่ยวกับผู้บริหารโครงการนั้นตะหาก การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดระมัดระวัง หากเพื่อป้องกันการลงทุนที่ล้มเหลว ก.ล.ต คงทำได้แค่ออกกฏในการระดมทุนที่รัดกุมมากขึ้นเท่านั้นเอง และอาจจะโดนเสียงด่ากลับมาแทนว่าไม่น่าลงทุน กลับไปกู้ธนาคารตามเดิมดีกว่า

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 7 March 2015 - 15:23 #797171
PaPaSEK's picture

มีใครพอจะช่วยอธิบายจุดประสงค์แต่ละข้อ และจุดประสงค์หลักของ กลต ให้ผมฟังได้ไหมครับ คือผมไม่ถนัดเรืีองนี้ ถ้าใช้ความรู้สึกส่วนตัวกับความรู้ตอนนี้ก็คิดได้แค่ว่ากลต โง่และขาดวิสัยทัศน์ครับ แต่อยากรู้ที่มาที่ไปก่อน เผื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น

เหมือนกรณีภาษีบ้านและที่ดิน ตอนแรกก็ด่าครับ แต่พอฟังเหตุผลแล้วเข้าใจรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่มีปัญญาหาเงินเข้าคลัง ไร้ซึ่งความสามารถ ไร้ซึ่งบุคคลากรที่มีความรู้ แถมยังทำเศรษฐกิจฝืดเคือง ก็เลยจนปัญญา ใช้วิธีเก็บภาษีแทน

ตอนแรกด่าๆ อยู่นี่หยุดเลยครับ หยุดแล้วแจกนิ้วแล้วก็ด่าต่อ

กรณีนี้ก็ยังไม่ด่าครับ

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 7 March 2015 - 15:27 #797174
Polwath's picture

กลต. น่าจะไปถาม indiegogo หรือ kickstarter ก่อนก็ดีนะครับ จะได้ออกกฎที่ดีกว่านี้


Get ready to work from now on.

By: Zeburial
Android
on 7 March 2015 - 16:16 #797192 Reply to:797174

เข้าใจว่าเขาคุยกับ บริษัทที่จะมาเปิด platform ในไทย รวมถึงผู้ระดมทุนบางรายแล้วครับ

By: tisana
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 7 March 2015 - 15:27 #797176

นักลงทุนลงได้ไม่เกินรายละ 5หมื่น มันไม่น้อยไปหน่อยเหรอครับ

By: Zeburial
Android
on 7 March 2015 - 16:19 #797193 Reply to:797176

จำกัดนัดลงทุนรายย่อยครับ ไม่จำกัดนักลงทุนสถาบัน และเท่าที่อ่านถ้าเป็นนักลงทุนรายย่อยที่มีความรู้ประสบการณ์ก็จะไม่จำกัด ซึ่งเข้าใจว่ารายละเอียดอาจมีการกำหนดมาอีกทีครับ

By: sialsialsial on 7 March 2015 - 15:35 #797178
sialsialsial's picture

เริ่มเข้าใจชัดขึ้นเรื่อยๆว่า "ประเทศที่ไม่น่าลงทุน" มันเป็นยังไง

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 7 March 2015 - 15:54 #797183
devilblaze's picture

ผมรอเซียน มาขยายรายละเอียดดีกว่า

แต่ประเทศไทยนี่พวก startup น่าจะอันตรายสุดขั้ว แมงเม่าบินเข้ากองไฟจากการหาข้อมูลไม่มากพอมาเยอะแล้ว กฏที่รัดกุม บางคนบอกสะท้อนความโง่ แต่ผมมองว่ามันสะท้อนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อีกอย่างในเนื้อข่าวที่มาไม่กำหนดความรับผิดชอบ หากนวัตกรรมหรือสินค้าที่ได้เงินทุนไปแล้วทำไม่สำเร็จ

By: Zeburial
Android
on 7 March 2015 - 16:21 #797186

ตามที่ได้ติดตามข่าวและเคยอ่านเกณฑ์ช่วงที่เขารับฟังความคิดเห็นกัน จริงๆตอนนี้ก็ยังหาจาก google ได้นะครับ คือ ก.ล.ต. เขาได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ทำ platform มาแล้วครับ เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งมีการจัดงานร่วมกันไปเองครับ มีทั้งตัวแทนผู้ประกอบธุรกิจ และตัวแทนจาก ก.ล.ต. มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน แต่ไม่รู้ว่าล่าสุดเขาปรับแก้อะไรกันไหมนะครับ

คำถามที่ถามกันผมว่าเขามีเหตุผลรองรับพอสมควรนะครับ
1. การระดมทุนจากสาธารณชน โดยการออกตราสารทุน ตราสารหนี้ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ หลักทรัพย์ ครับ นั่นแปลว่า donation กับ reward ก.ล.ต. ไม่กำกับเพราะเขาไม่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าจะออกหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ต้องทำตามเกณฑ์ ก.ล.ต. ครับ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ครับ ยกตัวอย่าง การออกหุ้นกู้ไม่ใช่การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ครับ
2. Crowdfunding มีเป้าหมายเพื่อช่วยผู้ประกอบการ sme หรือ start-up ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ หรือลดภาระจากต้นทุนแหล่งเงินทุนที่สูง 20 ลบ. คิดว่าน่าจะเทียบกับวงเงินกู้ของธนาคารที่ให้ sme ที่ไม่มีหลักประกันกู้ (เข้าใจเอาเองจาก google นะครับ)
3. การกำหนดวงเงินลงทุนไม่เกิน 50,000 คือเฉพาะรายย่อยครับ เหตุผลคือความเสี่ยงมันสูง รายย่อยอาจไม่เข้าใจในกิจการจริงๆ แต่นักลงทุนสถาบันเข้าใจว่าที่เคยอ่านมาไม่จำกัดวงเงินครับ
4. ขอเพิ่มเติบว่า platform หรือพวกเวบไซท์ต้องมาขอใบอนุญาต ต้องทำตามเกณฑ์ มีระบบงานที่พร้อม และต้องเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด

ปล. 1. ถ้าผมให้ข้อมูลอะไรผิดพลาดต้องขออภัยครับ เพราะแค่พอเคยศึกษามาบ้างเท่านั้นเอง
2. หาอ่านร่างประกาศฉบับเก่าที่ผมอ้างถึงได้ในเวบไซท์ ก.ล.ต. เลยครับ --- http://capital.sec.or.th/webapp/phs/hearinglist.php
3. อาจพิมพ์ผิดเยอะเพราะพิมพ์ผ่าน ipad ครับ

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 7 March 2015 - 21:21 #797252 Reply to:797186
  1. การกำหนดวงเงินลงทุนไม่เกิน 50,000 คือเฉพาะรายย่อยครับ เหตุผลคือความเสี่ยงมันสูง รายย่อยอาจไม่เข้าใจในกิจการจริงๆ แต่นักลงทุนสถาบันเข้าใจว่าที่เคยอ่านมาไม่จำกัดวงเงินครับ

ผมเข้าใจว่าแชร์แต่ละคนเล่นหนักกว่านี้นะครับ(คนรู้จักนี้เหยียบล้าน) เพื่อไม่ให้เหมือนการโกงแชร์อย่างนั้นหรือเปล่า?!?

By: Yone on 7 March 2015 - 22:38 #797270 Reply to:797252

การเล่นแชร์มีกฏหมายควบคุมครับ โดยกฎหมายมองว่าการเล่นแชร์คือการลงทุนเพื่อนออมเงิน และมีจำนวนเงินขั้นสูงขัดเจนครับ (สามแสนบาท)
เรื่องการโกงแชร์มีบทบัญญัติทางกฏหมายรองรับอยู่แล้วครับ

By: Chopper
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 7 March 2015 - 17:43 #797205

ผมว่าโอเคนะครับที่หน่วยงานของรัฐให้ความสนใจ ก็ดีกว่ามาระดมทุนกันและชิ่ง ไม่มีหน่วยงานไหนมารับเรื่อง

By: sirabhat24
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 7 March 2015 - 23:46 #797286 Reply to:797205
sirabhat24's picture

+100
ชิ่งแล้วก็มีคนมาบ่นอีกว่าทำไมรัฐไม่ติดตามดูแล

By: hostingdigg
Windows Phone
on 7 March 2015 - 21:05 #797242

ใช้คำว่า ระดมทุน "ฝูงชน" ฟังดูแปลกๆ จริงๆ มันก็ได้แหละแต่มันหยาบๆ ไม่นุ่มนวลเท่าไหร่เลย ถ้าใช้ มวลชน ฟังดูนุ่มนวลอีกหน่อย

By: bozzini
ContributoriPhone
on 7 March 2015 - 22:29 #797268

ส่วนตัวเป็นนักลงทุน และทำงานกองทุน รวมถึงมีความสนใจในกลุ่มธุรกิจ Startup และ SME อยู่บ้าง สำหรับข่าวนี้สำหรับผมถือว่าเป็น "ข่าวดี" ครับ ด้วยเหตุผลว่า ถ้าเราพูดในแง่การกำกับดูแลแล้ว ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในส่วนกิจกรรมที่รัฐเข้ามาทำ "เร็ว" กว่าที่คิดไว้ เพราะเอาเข้าจริงถ้าพูดถึงภาคการลงทุนในไทย รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยถือว่าเป็นองค์กรที่ทำงาน "ช้าระดับโลก" บางครั้งก็ดูเหมือนความสามารถขององค์กรเหล่านั้นหาได้ยากกว่าหนวดเต่าเขากระต่าย แต่งานนี้ถือว่าเดินทางมาได้เร็วเริ่มต้นได้ดี สำหรับผมผมก็สนับสนุน

เข้าเรื่องก็คือ เรื่องแรกการระดมทุนฝูงชน ฟังดูตลก Crowdfunding แปลซะตรงตัวขนาดนั้นก็แย่ แต่น่าจะใช้คำว่าการระดมทุนมวลชน (ฟังดู Smooth กว่าหน่อยนึง) หรือไม่ก็ การระดมทุนสำหรับธุรกิจจัดตั้งใหม่ (Startup Funding) น่าจะฟังดูไพเราะกว่า อันนี้แค่ติงเรื่องชื่อ

ส่วนเรื่องที่สองคือ การระดมทุนด้วยจำนวนเงินที่ไม่เกิน 50,000 บาทสำหรับสาธารณชนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือยัง "ใหม่" กับการระดมทุน Startup ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แม้ว่าโดยส่วนตัว แค่เปิดธุรกิจจักรยานเช่าผมยังลงทุนมากกว่า 50,000 บาทด้วยซ้ำ แต่สำหรับผมเรื่องเงิน และเรื่องตัวเลขมันเป็นเรื่องที่แก้ระเบียบในภายหลังได้ง่าย (เข็นให้คลอดยากกว่าแก้ไข) ดังนั้นส่วนนี้การ "เริ่มต้น" ที่ 50,000 บาท ต่อคน เป็นเรื่องที่ฟังดูเข้าท่า และแน่นอนสำหรับคนไทยซึ่งมีจำนวนน้อยมากที่เข้าใจส่วนนี้ และโดยส่วนใหญ่หลายๆคนที่เป็นนักลงทุน ยังไม่รู้จัก Crowdfunding ด้วยซ้ำ

ถ้าพูดในแง่คนทำงานตลาดหุ้นอย่างผม เงินแค่ 50,000 บาทนี่กระจอกสุดๆ คือกำไรขาดทุนวันหนึ่งมันมากกว่านั้นอยู่แล้ว แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจที่ค่อนข้างมั่นคงและมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนตามระเบียบและกฎหมาย ย่อยมีความเสี่ยงที่น้อยกว่าธุรกิจ Startup อยู่แล้ว เพราะธุรกิจ Startup มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเฉพาะธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี, Software, Application เพราะยุคสมัยที่รวดเร็วทำให้ Trend เปลี่ยนเร็ว

ก.ล.ต. เข้ามาสนับสนุน ผมก็เห็นด้วย เพราะถือเป็นการเข้ามาสนับสนุน การร่างกฎเกณฑ์และวิธีการให้ประชาชนเข้าใจได้มากขึ้น รวมถึงประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เหล่าบริษัท Startup ก็สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นถึงวิธีการระดมทุน เพราะเมื่อทำครบถ้วนตามวิธีการ การดำเนินงานก็ง่ายขึ้นมาก

ลองสมมติว่าบริษัท XYZ มีไอเดียในการทำ Application เกมส์บนมือถือ (สมมติว่าเป็นเกมส์ที่น่าสนใจ) นอกจากนี้บริษัทมีทีมงานประมาณ 4-5 คน ซึ่งอาจจะมีโปรไฟล์อยู่บ้าง เช่นแข่งขันอะไรชนะมา และทุกคนมารวมเป็นทีมกัน จัดตั้งบริษัทขึ้นมา แต่ว่าแต่ละคนอาจจะไม่มีประสบการณ์การทำธุรกิจมาก และไม่มีเงินทุน แต่บริษัทอยากระดมทุน Crowdfunding แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเริ่มจากตรงไหน ต้องร่างเอกสารหรือแผนงานอะไรบ้าง และหลังจากมีเอกสารเหล่านั้นแล้ว พวกเขาก็ยังมีปัญหาอีกว่าจะทำยังไงให้สาธารณชนเข้าถึง และเข้าใจ หรือเข้ามาสนใจ ดังนั้นนักลงทุนเหล่านั้น เมื่อทำตามระเบียบแบบแผนแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่าทาง ก.ล.ต. อาจให้ตลาดหลักทรัพย์ทำเป็น Portal เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับการระดมทุน Startup Business บ้างก็ได้

อย่าง mai ก็เป็นหนึ่งในตลาดที่เมืองไทยพยายามทำให้เหมือน NASDAQ คือลดเกณฑ์เรื่องทุนจดทะเบียนลง (ถ้าเข้า SET 300 ล้านบาท แต่ถ้าเข้า mai เหลือ 20 ล้านบาท) และกฎเกณฑ์ต่างๆก็เอื้อให้ธุรกิจที่เข้า mai สามารถเติบโตได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ SME และมีหลายบริษัทที่สามารถเติบโตจาก mai และการระดมทุนได้ จนกระทั่งไปเข้า SET ได้ในที่สุด ซึ่งแม้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด แต่ผมก็ถือว่ามันเป็นการเริ่มต้นที่ดี

กับ Crowdfunding ก็เช่นเดียวกัน ทางตลาดหลักทรัพย์อาจลดเกณฑ์ลงมาอีกก็ได้เช่นทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และบริษัทต้องมีแบบแผนธุรกิจชัดเจน การกระจายข้อมูลข่าวสารรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลก็ต้องชัดเจน รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ การแจกหุ้น หรือคืนเงิน หรืออะไรก็แล้วแต่ก็ต้องทำให้ชัดเจน และรวมถึงเหล่าผู้บริหารธุรกิจเกิดใหม่ก็ต้องคิดและรอบคอบมากขึ้น ไม่ใช่เข้ามาระดมทุนแล้วก็เงียบหายโกงกันไป ดังนั้นกฎเกณฑ์ตรงนี้ก็คงเป็นไปได้ว่าจะมีส่วนเพิ่มเติมของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ก็ได้ หรือเป็น พ.ร.บ. ใหม่ก็ได้​ (ซึ่งผู้บริหารอาจมีบทกำหนดโทษก็ได้)

ในปัจจุบันก็มีคนไทยหลายแห่งทำตัวเป็น Venture Capital ทั้งของจริง และของไม่จริงก็มี บางแห่งตอนแรกคิดว่าจริง พอไปดูเนื้อใน ก็เป็นพวกแชร์ลูกโซ่ชัดๆ บางแห่งเอาชื่อความเป็น Vanture Capital มาหากิน ทั้งที่จริงก็ชวนไปทำธุรกิจขายตรง แบบนี้ผมว่ามันก็ไม่ดีแน่ๆ เพราะคนไทยเองก็ไม่ได้ศึกษาอะไรมาก (ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลก็ไม่มี) ดังนั้นการมี ก.ล.ต. และอาจจะรวมถึง ตลท. เข้ามากำกับดูแล ก็จะทำให้กิจกรรมทางการเงินเหล่านี้โปร่งใสได้มากขึ้น (ก็มากกว่าเท่าที่มันเป็นเทาๆดำๆทุกวันนี้) และผู้ประกอบการก็มีช่องทางในการ Publish ตัวเองได้ง่ายขึ้น

การระดมทุนที่นอกเหนือจากนี้ผมยังเห็นว่ายังมีคนไทย อาจไปร่วมทีมกับฝรั่ง หรือการไป Crowdfunding กับฝรั่ง ซึ่งก็จะไปสิงคโปร์หรือฮ่องกงกัน เพราะเป็น Financial Hub รวมถึงมีเกณฑ์เรื่อง Crowdfunding ไปทั้งหมดแล้ว แน่นอนว่าการที่คนเก่งๆออกไปแบบนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะในไทยเองไม่มี Rules & Regulations ที่ดีในการระดมทุนของธุรกิจเกิดใหม่ ดังนั้นการทำแบบนี้อาจมีส่วนช่วย (ทางอ้อมๆได้บ้าง) ที่จะทำให้คนไทยออกไปพึ่งพาต่างประเทศน้อยลง

นอกจากนี้ส่วนตัวผมเองยังมีการสนับสนุนธุรกิจ Startup อยู่บ้าง เคยสัมภาษณ์และเข้าไปดูหลายๆอย่างสำหรับธุรกิจ Startup ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Application & Technology เคยมีหลายคนนำข้อมูลมาเสนออยู่ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง แต่ส่วนใหญ่ผมก็ปฏิเสธหมด เพราะรายละเอียดที่ให้มาก็ช่างน้อยเหลือเกิน รวมถึงมีแต่ไอเดียแต่ไม่มีอะไรเลย พูดง่ายๆคืออยากมาขอเงิน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้ผมได้จริงหรือไม่ หลังจากนั้นก็มีหลายบริษัทที่น่าสนใจ และมีบางบริษัทที่ผมขอสัมภาษณ์ รวมถึงมี "ความน่าจะเป็น" (อยาก) ซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท (หรือเพิ่มทุน) ก็ได้ ที่ผ่านมามีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นที่ผมคิดว่า "พอเป็นไปได้" นอกนั้นเป็น Startup ที่ดูท่าไม่น่าจะไปรอด หรือไม่ก็ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ผมเชื่อถือได้ว่ามันน่าจะเกิดขึ้นได้จริง

หรือพูดอีกอย่างคือส่วนตัวผมยังมองว่า Startup ในเมืองไทย "ห่วย" เกินกว่าที่ผมจะเอาเงินไปลงทุน

ในมุมของนักลงทุนแล้ว ไม่มีใครที่อยากจะเอาเงินไปลงทุนไปกับสิ่งที่ไร้ค่า หรือเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อลงทุนไปแล้วก็หวังผลกำไรกันทั้งนั้น จริงอยู่ในข้อที่ว่าบริษัทที่เป็น Venture Capital หลายๆแห่งอย่างในสหรัฐ ลงทุนใน Startup Business สมมติว่า 10 บริษัท ขอเพียงแค่ 1-2 บริษัทที่ทำได้อย่างสำเร็จและเข้าสู่ตลาดหุ้นได้จริงก็อาจจะคุ้มค่าและ Cover กับต้นทุนทั้งหมดที่ลงทุนไปทั้งหมดกับ 10 บริษัทเหล่านั้น

แต่มันง่ายขนาดนั้นจริงๆหรือ? และเมื่อเราลงทุนไป 10 บริษัททั้งหมด อาจจะเจ๊งทั้งหมดก็ได้? ถ้าจะต้องไปเสี่ยงทำอะไรแบบนี้แล้วเสียเงินไปเปล่าๆ ผมว่าในมุมของนักลงทุน การเอาเงินไปลงทุนในหุ้น Bigcap อาจให้ผลตอบแทนที่ไม่ได้มากนัก แต่ก็ยังดีกว่าเสียไปเปล่าๆปลี้ๆ

ผมเองเชื่อว่ามันต้องมีคนที่มีดี และธุรกิจน่าจะไปรอด แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้เป็นธุรกิจประเภท Game Changer ที่เปลี่ยนโลก หรือเปลี่ยนเทคโนโลยี เปลี่ยนคน เปลี่ยนวิธีชีวิต แต่อย่างน้อยบางธุรกิจที่เป็น Technology Improvement ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าส่วนตัวเองผมต้องคิดอย่างรอบคอบ และถี่ถ้วนแล้วว่า การที่จะลงทุนไป มันต้องคุ้มค่า และได้ผล รวมถึงมันต้องเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ผมคงไม่ลงทุนแล้วให้เงินไปเฉยๆแล้วให้เขาไปใช้จ่ายยังไงก็ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องทำให้ผมเข้าไปมีบทบาทหรือเข้าไปช่วยเหลือ หรือควบคุมอะไรได้บ้าง ไม่อย่างนั้นแล้วให้เงินไปแล้วให้คนที่ไม่มีประสบการณ์นำไปใช้อย่างเสรี สุดท้ายธุรกิจก็ไม่รอดอยู่ดี

การที่ ก.ล.ต. เข้ามาตรงนี้ก็อาจเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับคนอย่างผมในการคัดกรองธุรกิจ รวมถึงคัดกรองข้อมูลได้ในบางส่วน และรวมถึงการลดระยะเวลาในการหาข้อมูลต่างๆด้วย เพราะเมื่อมันมีกฎ มีระเบียบและเกณฑ์ในการปฏิบัติ เหล่า Startup ก็จะได้มีวิธีในการเดินทาง (Direction) ที่จะเดินได้ว่าพวกเขา "ต้อง" ทำอะไรบ้าง ต้องให้ข้อมูลอะไรบ้าง และเมื่อทำครบถ้วนแล้ว เหล่านักลงทุนจะได้รู้ว่าพวกเขาจะต้องเริ่มจากตรงไหน อ่านอะไร ลงทุนอย่างไร ผลตอบแทนคืออะไร ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน

ความเสี่ยงในการลงทุนไม่ได้อยู่ที่สภาพตลาดและเศรษฐกิจอย่างเดียว "การไม่รู้" ก็คือความเสี่ยงอย่างหนึ่งเช่นกันครับ

By: ballsaii
ContributorBlackberryUbuntu
on 8 March 2015 - 10:16 #797385 Reply to:797268

อ่านอันนี้ แล้วมีความรู้ขึ้นจัง


บีเบี้ยวกับบีบึ้ง

By: dtobelisk
AndroidWindows
on 8 March 2015 - 16:01 #797438 Reply to:797268
dtobelisk's picture

ขอบคุณ​ที่นำประสบการณ์​มาแชร์​ครับ

By: loptar on 9 March 2015 - 11:43 #797591 Reply to:797268
loptar's picture

คอมเมนต์นี้ดีมาก ขอบคุณครับที่สละเวลาพิมพ์ให้อ่านกัน ได้ความรู้อีกเยอะเลย

By: lightofsun on 9 March 2015 - 15:27 #797647 Reply to:797268

ขอบคุณมากๆครับ

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 March 2015 - 16:02 #797656 Reply to:797268
PaPaSEK's picture

โอ้ ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้

By: dixon on 10 March 2015 - 22:25 #798308 Reply to:797268

ขอบคุณครับ กระจ่างเลย ได้ความรู้มากๆ

By: xx555
ContributoriPhone
on 9 March 2015 - 15:39 #797650

จริงๆสิ่งที่ทางผมสงสัย คือ นิยามของ "รายย่อย" ของ ก.ล.ต.ครับ
หากมองว่า รายย่อย คือ รายได้่ต่อปีต่ำกว่า 4 ล้านบาท หรือ สินทรัพย์มากกว่า 20 ล้านบาท
แต่ว่า ลงทุนได้ไม่เกิน 50,000 บาท
ผมว่า มันเป็นตัวเลขที่ดูงงๆนิดหน่อย