Tags:
Node Thumbnail

ก่อนอื่นขออภัยเป็นอย่างสูงที่วิดีโองาน Tech Trend Thailand เมื่อปลายปีที่แล้วล่าช้าไปมาก วันนี้วิดีโอเสร็จเรียบร้อยแล้ว (อยู่ใน YouTube Tech Trend Thailand) เราจะทยอยโพสต์เนื้อหาจากแต่ละช่วงนะครับ

วิดีโอแรกที่มานำเสนอวันนี้คือการบรรยายหัวข้อ Wearable Computing: Fad or For Real เป็นการพยายามตอบคำถามที่หลายคนสงสัยเวลาอ่านข่าวเกี่ยวกับ wearable computing ที่มาแรงมากๆ ตั้งแต่ปีที่แล้วว่า ตกลงแล้วมันใช้งานได้จริงแค่ไหน

คนที่เราเชิญมาตอบคำถามนี้คือ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือคุณหมอผิง จากโรงพยาบาลสมิติเวช นอกจากมีผลงานหนังสือตีพิมพ์หลายเล่มแล้ว คุณหมอผิงเป็นหมอที่ใกล้ชิดกับวงการเทคโนโลยีอย่างมาก มีผู้ติดตามกว่า 1 แสนรายในทวิตเตอร์ @thidakarn

ตัวคุณหมอเองก็ใช้อุปกรณ์ wearable หลายอย่างเป็นประจำอยู่แล้ว สามารถให้ความเห็นในฐานะแพทย์ได้ว่าแพทย์มองอุปกรณ์เหล่านี้อย่างไร และอยากเห็นอะไรจากนักพัฒนาแอพที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เหล่านี้

alt="TTT-7"

คุณหมอเริ่มจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ลงแข่งวิ่งระยะไกล แล้วเจอคนฟุบลงไปต่อหน้าเพราะเป็นโรคหัวใจ ทำให้ต้องปฐมพยาบาลและปั๊มหัวใจจนช่วยชีวิตได้สำเร็จ เมื่อเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนหมอฟัง ก็ได้ความเห็นประมาณว่า "โชคดีนะที่เขาล้มลงตรงหน้าหมอ"

คุณหมอเลยตั้งคำถามว่าการที่คนเราจะมีชีวิตรอดได้นั้นเป็นเพราะแค่โชคอย่างเดียวหรือ ถ้าเรามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยชีวิตคน โดยแจ้งเตือนอาการแบบฉับพลันลักษณะนี้ไปยังหน่วยกู้ชีพจะเป็นไปได้แค่ไหน

โรงพยาบาลสมิติเวชเองก็เห็นแนวโน้มของเทคโนโลยีนี้ เลยมีโครงการนำร่องทดสอบอุปกรณ์ wearable กับแพทย์ในสังกัดก่อน ใช้วิธีแบ่งทีมเพื่อเก็บคะแนนการนับก้าวเดิน และการบริโภคอาหาร ผลจากการทดสอบก็พบว่ามีคนกลุ่มที่เข้าใจและใช้งานได้ทันที กับกลุ่มที่ทดลองใช้อยู่ไม่กี่วันแล้ววางทิ้งไว้ ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ลักษณะนี้ที่จะต้องหาวิธีจูงใจให้คนใช้งานได้ต่อเนื่อง

ในแง่ของความแม่นยำในการวัดค่าสถิติของอุปกรณ์ fitness tracker งานวิจัยของต่างประเทศพบว่ายังไม่ค่อยแม่นยำนัก โดยมักจะวัดอัตราการเผาผลาญแคลอรีเกินจริง ซึ่งในมุมมองของแพทย์แล้วยังถือว่าไม่แม่นยำพอ

โดยสรุปแล้ว อุปกรณ์ wearable ยังถือว่าใหม่มากสำหรับวงการการแพทย์ ซึ่งก็คงต้องอาศัยเวลาทดสอบอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจและน่าจับตา เช่น คอนแทคเลนส์วัดระดับน้ำตาลในเลือดของกูเกิล หรืออุปกรณ์วัดสัญญาณชีพ (vital sign monitoring) เป็นต้น

สไลด์นำเสนอของหมอธิดากานต์

Get latest news from Blognone

Comments

By: natawutnk
iPhoneAndroid
on 14 February 2015 - 00:16 #791162

ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของ wearable ต่อทางการแพทย์ แต่กลับกลายคิดว่า ทางการแพทย์จะได้รับผลกระทบจากการใช้ google ช่วยดูแลสุภาพแทนหมอสะอีก :p

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 14 February 2015 - 07:37 #791196 Reply to:791162
Jonathan_Job's picture

แต่อย่างน้อยก็มีรพ.หนึ่งในกทม.กำลังจะเอาไปใช้กับคนไข้นะครับ

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 14 February 2015 - 08:32 #791204
darthvader's picture

หมอน่ารัก.. เรื่องความแม่นยำคงลำบาก แต่น่าจะเป็นแรงจูงใจมากกว่า แต่แข่งกันแล้วถ้าไม่แม่นยำก็ไม่ค่อยอยากแข่งเท่าไหร่

By: ปลงนะเรา
Android
on 14 February 2015 - 12:02 #791238

แม่ผมเป็นพาร์กินสัน ปีก่อนเห็นภาพหลอน(อาการของโรค) สืบไปสืบมาพบว่าก่อนเกิดอาการมีทั้งเพิ่มตัวยาใหม่และนอนไม่หลับมาหลายคืน พอบรรเทาจากอาการผมซืัอ Sleep tracker รัดข้อมือให้แกแล้วก็ดูข้อมือทุกวัน ถ้าวันไหนพบว่านอนน้อย ก็ให้นอนกลางวันชดเชยแทน ช่วยได้มากนะครับ

By: AMp
In Love
on 14 February 2015 - 12:49 #791244 Reply to:791238

+1 เป็นเคสที่น่าสนใจมากครับ

By: Wizard.
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 14 February 2015 - 16:00 #791267
Wizard.'s picture

เคยอ่านเจอว่า US FDA กำลังจะควบคุมอุปกรณ์ Gadget พวกนี้เป็นอุปกรณ์การแพทย์ เพราะมีปัญหาเรื่องความไม่แม่นยำนี่แหละ ...