Tags:
Node Thumbnail

หากคุณกำลังมองหา E-reader ที่มีความสามารถในการติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องรูทเครื่อง ซึ่งการติดตั้งแอพพลิเคชั่นนั้นจะทำให้คุณสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานของ E-reader ได้มากกว่าเดิม เช่น

  • สามารถอ่านหนังสือหรือซื้อหนังสือจากร้าน E-Book ชั้นนำ เช่น Amazon Kindle , Google Play Book หรือ Kobo ได้
  • อ่านนิยายจาก แอพ Dek-D
  • สามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือจากผู้ให้บริการ Cloud เช่น Dropbox หรือ Google Drive
  • สามารถอ่านข่าวต่างๆ จากแอพพลิเคชั่น Blognone
  • สามารถติดตั้ง E-book Reader ชื่อดังสำหรับการอ่านไฟล์แบบอื่นๆ เช่น Moon Reader, Adobe Reader, Google Play, Newsstand, ComiXology, Aldiko, Cool Reader

alt="C67_001 (1)"

โดยคุณสามารถใช้งานแบบถนอมสายตากับหน้าจอแสดงผล E-ink ซึ่งสามารถอ่านต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานานๆ Boox C67 จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในขณะนี้ อีกทั้งยังรองรับภาษาไทยในระดับที่ดีมากๆ และยังเป็น E-reader ที่สามารถใช้งาน Keyboard ภาษาไทย ซึ่ง Kindle, Kobo, Nook หรือ Sony จะไม่สามารถใช้งานได้

alt="C67_111"
Boox C67 เป็น E-reader รุ่นล่าสุดในขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว โดยมีผู้ผลิตจากประเทศจีนชื่อ “Onyx International Inc” ซึ่งทำตลาด E-reader ในชื่อ “Boox” มาตั้งแต่ปี 2008 และได้ส่ง E-reader ในหลายๆ ขนาดเข้ามาทำตลาด เช่น

  • หน้าจอ 6 นิ้ว : C67, I62HD
  • หน้าจอ 6.8 นิ้ว : T68
  • หน้าจอ 9.7 นิ้ว : M69

alt="product_goda_1000x1000 (1)"

Boox เป็นที่รู้จักกันดีในทวีปยุโรป โดยจะได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศ สเปน, รัสเซีย และโปแลนด์ นอกจากนี้ Boox ยังได้รับรางวัล Best Electronic Reader of Poland อีกด้วย โดยเฉพาะรุ่น Boox C63ML ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าของ C67ML ที่ได้รับรางวัล Product of The Year 2014 ประเภท E-reader จากประเทศรัสเซีย
ที่มา : http://www.productgoda.ru/pg/archive/index.php

Boox C67 เป็น E-reader ที่เป็นหน้าจอ E Ink® Pearl HD ขนาด 6 นิ้ว ความละเอียดของหน้าจออยู่ที่ 1024×758 pixel มาพร้อมกับไฟ Front Light สำหรับอ่านเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย สามารถปรับระดับความสว่างได้ ใช้ระบบปฎิบัติการ Android 4.2.2 โดยใช้ UI ของทาง Onyx ครอบไว้อีกที

alt="C67_014"

ไฟ Front Light สำหรับอ่านเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย

alt="banner2"

ไฟ Front Light ไม่ได้ฉายเข้าหน้าตรงๆ ทำให้รู้สึกสบายตาเวลาอ่านในที่แสงสว่างน้อยหรือที่มืด

alt="C67_3"

CPU แบบ Dual Core ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากยิ้งขึ้น

alt="39-DSC_0578"

ตัวเครื่องจะใช้วัสสุผสมยางกึ่งด้าน ความกว้างขนาดกำลังพอดีสำหรับการจับด้วยมือเดียว มีขนาดใกล้เคียงกับ Kindle Paperwhite ด้านบนเครื่องจะมีปุ่ม Power ส่วนด้านข้างจะเป็นปุ่มสำหรับเปลี่ยนหน้า และด้านล่างจะมีที่เสียบสายหูฟัง ช่องใส่ Micro SD และ พอร์ต Micro USB

สเปคของเครื่องคร่าวๆ มีดังนี้

System

  • CPU : Rockchip 3026 (Dual cortex A9,1.2G)
  • RAM Memory : DDR3 512MB
  • Operating System : Android 4.2.2

Display

  • Display Type : 6′ inch high definition screen with front light
  • Grey level : 16 scale
  • Touch : capacitive touch
  • Resolution : 1024*758

Memory

  • Built in Storage : 4GB
  • External Storage : up to 32GB SDHC

Physical Properties

  • Dimension : 170.2×117.3×8.7mm
  • Weight : 185g

Other

  • WiFi
  • PDF support : Adobe (w/DRM) *.PDF(V9.1)
  • File support : TXT/ HTML/ EPUB/ CHM/ PDB/ MOBIPOCKT/ FB2/ DJVU
  • Audio support : MP3/ WAV

alt="C67_005"

หากดูเสปคแล้วค่อนข้างโอเคเลยทีเดียว แถมยังเป็น E-reader ที่ยังมีฟังก์ชั่น Audio สำหรับฟังเพลงหรือ Text to Speech ซึ่งใน Kindle หรือ Kobo รุ่นใหม่ๆ ได้ตัดฟังก็ชั่น Audio นี้ออกไปแล้ว และยังมีปุ่มเปลี่ยนหน้าอยู่ด้านข้างตัวเครื่องซึ่งเพิ่มความสะดวกในการอ่านยิ่งขึ้น

alt="C67_042"

การเปิดเครื่องใช้เวลาประมาณ 40 วินาที จากนั้นจะเข้าสู่หน้าหลักของเครื่อง

alt="C67_016"

ปุ่มที่ด้านล่างของเครื่องทำหน้าที่เหมือนกับปุ่ม “Back” หากกดค้างไว้จะเป็นการ เปิด/ปิด ไฟ

alt="C67_112"

ไฟ Front Light สามารถปรับระดับความสว่างได้

alt="C67_109"

เมนู Library จะรวมไฟล์หนังสือที่เครื่องรองรับ เช่น PDF, EPUB, HTML, TXT

alt="C67_110"

หากเปลี่ยนโหมดการแสดงผล จะแสดงความคืบหน้าในการอ่านหนังสือแต่ละเรื่อง

alt="C67_030"

ทดลองเปิดไฟล์ ePub โดยการกดเลือกหนังสือที่ต้องการ

alt="C67_034"

สำหรับไฟล์ ePub ภาษาไทย จะต้องทำการฝังฟอนต์ (Embedded Font) ก่อน จึงจะสามารถแสดงผลได้

alt="C67_035"

เมนูและฟังก์ชั่นมีครบตามมาตรฐานของ ePub reader ทั่วไป แถมยังมีฟังก์ชั่นการทำตัวหนาสำหรับนักอ่านบางคนที่อยากให้ตัวหนังสือชัดขึ้น

alt="C67_038"

เลือกความหนาของตัวอักษรได้หลายระดับ

alt="C67_043"

เมนู TOC สำหรับดูสารบัญของหนังสือ

alt="C67_033"

หากกดค้างไว้ที่คำก็จะขึ้นเมนูสำหรับ copy, highlight หรือคำแปลจาก Dictionary ของเครื่อง (Dictionary ภาษาไทยใช้ฐานข้อมูลของ Lexitron)

alt="C67_045"

เรายังสามารถปรับ Refresh ในการกระพริบของหน้าจอได้หลายแบบ

alt="C67_039"

เนื่องจากตัวเครื่องมี Keyboard ภาษาไทย ทำให้เราสามารถค้นหาคำในหนังสือนั้นๆ ได้ (รองรับเฉพาะ ePub หรือ PDF ที่สร้างจากโปรแกรม Indesign CS4 ขึ้นไป)

alt="C67_041"

เครื่องจะ highlight คำที่ค้นพบ

alt="C67_047"

สำหรับการอ่านไฟล์ PDF ก็มีฟังก์ชั่นในการอ่านหลากหลาย ทั้ง PDF Reflow, Auto/ Manual Crop หรือ โหมดการอ่านเอกสารแบบต่างๆเหมือนกับ Sony PRS-T3 หากคุณเคยมีความประทับใจในการอ่าน PDF ของ Sony T2/T3 มาแล้ว Boox C67 ทำได้สูสี จะแพ้อยู่ที่การ Zoom หรือ Pan เอกสาร PDF ทำได้ไม่ลื่นไหลนัก แต่ Boox C67 จะมีโหมดในการอ่านที่หลากหลายมากกว่า

alt="C67_050"

การทำ PDF reflow สามารถแสดงผลได้รวดเร็วกว่า Sony PRS-T3

alt="C67_054"

เราสามารถเลือกโหมดการอ่านให้เหมาะสมกับรูปแบบไฟล์ PDF ของเราจากเมนู Navigation

alt="C67_056"

เมื่อเลือกรูปแบบเอกสารแล้วก็ทำการ zoom เข้า เพื่อขยายให้อ่านง่ายขึ้น

alt="C67_057"

เมื่อแตะที่ขอบหน้าจอ เอกสารจะเลื่อนลงมาในคอลัมภ์แรก จากนั้นเมื่อแตะอีกครั้งจะเลื่อนขึ้นไปที่คอลัมภ์ที่สองอัตโนมัติ แต่ถ้ากดปุ่มเปลี่ยนหน้าเครื่องจะเปลี่ยนหน้าถัดไปเลย

alt="C67_069"

โหมด Auto Crop จะทำการตัดขอบขาวของเอกสารออก ซึ่งจะทำให้ตัวหนังสือใหญ่ขึ้น

alt="C67_068"

หลังเปิดโหมด Auto crop

alt="C67_116"

ตัวเครื่องสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ทางไฟล์ apk หรือผ่านทาง Play Store (จะต้องอัพเดท Firmware ล่าสุดก่อน) โดยที่ไม่ต้องทำการรูทเครื่อง สำหรับเนื้อที่ในการลงแอพพลิเคชั่นจะมีให้ประมาณ 500 MB และสามารถย้ายแอพพลิเคชั่นไปติดตั้งที่ SD card ได้

alt="C67_092"

ถ้ามีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็ทำการ Sign In แล้วก็ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้เลย

alt="C67_094"

ชอบใจ Reader ตัวไหนก็ติดตั้งเพิ่มได้เลย

alt="C67_097"

ติดตั้งแอพพลิเคชั่นสำหรับอ่านข่าวสารทางไอทีก็ได้

alt="C67_087"

สำหรับใครที่ชอบซื้อ E-book ของ Amazon Kindle ก็สามารถนำมาอ่านกับ Boox C67 ผ่านแอพพลิเคชั่น Kindle ได้เลยด้วย แต่จะสู้การอ่านจากเครื่อง Kindle จริงๆ ไม่ได้ เนื่องจาก UI ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเครื่อง E-reader โดยตรงครับ

alt="C67_088"

ฟังก์ชั่นการอ่านก็มาครบครับ

alt="C67_089"

ทดลองเปิด E-book ที่เคยซื้อไว้กับ Amazon Kindle ครับ

alt="C67_079"

ทดลองเปิดแอพพลิเคชั่น Play Book ก็สามารถใช้งานได้ปกติครับ

alt="C67_082"

จะย่อ/ ขยาย ขนาดตัวอักษร ก็จะสามารถทำได้เหมือนกันครับ

alt="C67_081"

Feature การเปลี่ยนหน้าของแอพพลิเคชั่น Play Book เวอร์ชั่นล่าสุด

alt="C67_098"

หากนำเครื่อง Boox C67 มาเน้นอ่านเว็บ หรืออ่านแอพพลิเคชั่นข่าว หรืออ่านแอพนิยาย แบบถนอมสายตา ก็สามารถทำได้เหมือนกันครับ

alt="C67_099"

ทดลองกับแอพ Blognone ขนาดตัวอักษรกำลังพอดีครับ

alt="C67_102"

Web Browser สามารถแสดงผลภาษาไทยได้ และค้นหาภาษาไทย และยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องได้โดยตรงครับ

alt="C67_101"

ใช้งาน Pantip.com อาจจะยากนิดนึง เนื่องจาก theme ของเว็บเป็นโทนสีเข้ม

alt="C67_107"

หากต้องการดาวน์โหลด E-book จาก hytexts.com ก็เข้าไปที่ My library ดาวน์โหลดลงเครื่อง เปิดอ่านได้เลย โดยไม่ต้องติดตั้งแอพเพิ่มเติมครับ

alt="097-DSC_3692"

การใช้งาน Audio ฟังเพลง Mp3 อยู่ในระดับที่เฉยๆ เสียงไม่ได้ดีอะไรมากมาย เสียงเบสต้องเร่งจาก EQ แทน แต่ Audio มีไว้ก็ยังดีกว่าไม่มีติดมาให้ครับ

alt="C67_011"

Sleep cover ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆกับ Snap Cover ของ Sony PRS-T3 คือ เมื่อเราปิดปกเข้ามา เครื่องจะเข้าสู่โหมด Stand by และหากเปิดปกขึ้นอีกครั้ง เครื่องก็จะแสดงหน้าสุดท้ายที่เราเปิดไว้โดยอัตโนมัติ

alt="C67_055"

สำหรับระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ หากใช้งานโดยเปิด WI-Fi ทิ้งไว้ จะค่อนข้างกินแบตพอสมควร

  • เปิด Wi-Fi และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอด และไฟ Front light โดยที่ เข้าเว็บ, อ่านหนังสือจะอยู่ได้ประมาณ 2-3 วัน
  • ถ้าปิด Wi-Fi และใช้งานเปิด Front light ก็สามารถใช้งานประมาณ 2 สัปดาห์
  • ถ้าปิด Wi-Fi และปิด Front light ก็สามารถใช้งานประมาณ 4 สัปดาห์

ตัวเครื่องมีระบบปิด Wi-Fi เมื่อไม่ได้ใช้งานให้โดยสามารถกำหนดระยะเวลาได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะกินแบตครับ

Boox C67 จึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ หากคุณกำลังหา E-reader เอาไว้ซักเครื่อง สำหรับอ่าน E-book , เข้าเว็บ หรืออ่านข่าวจากแอพ แบบถนอมสายตา และเป็น E-Reader ที่รองรับภาษาไทยได้ดีที่สุดในขณะนี้

วิดีโอรีวิวการใช้งานทาง YouTube

สั่งซื้อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.hytexts.com

Get latest news from Blognone

Comments

By: KavkaZ
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 10 February 2015 - 13:19 #789976
KavkaZ's picture

review การอ่านหนังสือจาก ookbee ให้หน่อยครับ


ลายเซ็นยาวเกินไปครับ

By: iammeng
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 10 February 2015 - 23:17 #789978
iammeng's picture

น่าสนแฮะ
ฟีเจอร์เยอะมาก

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 10 February 2015 - 13:38 #789987
panurat2000's picture

CPU แบบ Dual Core ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากยิ้งขึ้น

ยิ้งขึ้น => ยิ่งขึ้น

ตัวเครื่องจะใช้วัสสุผสมยางกึ่งด้าน

วัสสุ => วัสดุ

หากดูเสปคแล้วค่อนข้างโอเคเลยทีเดียว

เสปค => สเปค

ได้ตัดฟังก็ชั่น Audio นี้ออกไปแล้ว

ฟังก็ => ฟังก์

ในการกระพริบของหน้าจอได้หลายแบบ

กระพริบ => กะพริบ

เอกสารจะเลื่อนลงมาในคอลัมภ์แรก

จากนั้นเมื่อแตะอีกครั้งจะเลื่อนขึ้นไปที่คอลัมภ์ที่สอง

คอลัมภ์ => คอลัมน์

และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอด

อินเตอร์เน็ต => อินเทอร์เน็ต

By: runnary
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 10 February 2015 - 15:05 #790020
runnary's picture

ว๊าวววว มันน่าใช้จังครับ ทุกวันนี้ใช้ Tab3 อ่าน แต่ต้องคอยชาร์จแบต วันเว้นวัน

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2015 - 15:28 #790024
tekkasit's picture

ผมสงสัยแฮะ บน FireFox 35 มองไม่เห็นเนื้อหาบทความ แต่ยังเห็นคอมเมนต์ ไม่รู้เพราะติดอะไรรึเปล่า

แต่ IE 11 เห็นเนื้อหาบทความปกตินะ

By: langisser
In Love
on 10 February 2015 - 16:18 #790041 Reply to:790024

ได้ลง add-on พวก block ad ไว้หรือเปล่าครับ เพราะบทความนี้เป็น advertorial อาจะทำให้โดน block ได้ครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2015 - 16:54 #790050 Reply to:790041
tekkasit's picture

กระจ่างเลยครับ Adblock Edge ครับ

By: hexavision
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 February 2015 - 13:37 #791020 Reply to:790050

+1