Tags:
Node Thumbnail

ในรอบปีที่ผ่านมาเราพบกับปัญหาความปลอดภัย และช่องโหว่ของระบบเข้ารหัสแบบ SSL จำนวนมาก อีกทั้งยังทั่วถึงกันแทบจะทุกระบบปฏิบัติการที่มีใช้งานกันอยู่ (Windows, iOS+OSX, SSLv3 ทุก OS, Heartbleed ใน OpenSSL) ทั้งที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้ และส่งผลโดยตรงต่อผู้ดูแลระบบ ไม่นับปัญหาที่ “อาจ” มีผลกระทบต่อผู้ใช้งานจำนวนมาก และเมื่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงควรทราบข้อมูลทางด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ระบบธนาคารออนไลน์ต่างๆ ที่เปิดให้ใช้งานอยู่ในประเทศไทยไว้บ้างครับ

อนึ่ง บทความนี้เขียนขึ้นโดยนักศึกษาฝึกงาน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำบริษัท INOX ดังรายชื่อด้านล่างนี้ โดยการควบคุมและตรวจสอบโดยผมเองครับ

  • นายวรวรรต พงษ์ศิริ
  • นายณราชัย กิตติสิทโธ

SSL/TLS คืออะไร

Secure Socket Layer / Transport Layer Security เป็นการทำงานเพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ใช้รับ-ส่งกันระหว่างเครื่องแม่ข่ายและลูกข่ายด้วยวิธีการตามที่ตกลงกันไว้ตาม cipher suite* ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ โดย SSL รุ่นล่าสุดคือ 3.0 ก่อนที่จะถูกปรับปรุงขึ้นมาเป็นรุ่นใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น TLS 1.0 ที่เทียบได้กับ SSL 3.1 และมีการพัฒนาต่อมาจนเป็น TLS 1.2 ในปัจจุบัน

Forward Secrecy คืออะไร สำคัญอย่างไร

Forward Secrecy คือกระบวนการรักษาความปลอดภัย “ในอนาคต” ของข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสผ่านการเชื่อมต่อบน TLS โดยการสร้าง key pair สำหรับเข้า/ถอดรหัสใหม่ทุกการเชื่อมต่อโดยไม่อิงกับ private key เดิม และเมื่อการเชื่อมต่อนั้นสิ้นสุดลง key ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้แม้ว่า private key จะหลุดมาในอนาคต ก็ไม่สามารถนำมาใช้ถอดรหัสข้อมูลที่ถูกดักและเก็บเอาไว้ได้

ข้อมูลการรองรับ forward secrecy ของเบราว์เซอร์รุ่นเสถียรล่าสุดแต่ละรุ่น

เบราว์เซอร์รุ่นที่ “ไม่รองรับ” Forward Secrecy มีเพียง Internet Explorer บน Windows XP เท่านั้น ส่วนเบราว์เซอร์ยอดนิยมทุกตัวที่มีใช้กันในปัจจุบันต่างก็รองรับ Forward Secrecy ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามอย่างน้อย 1 วิธีหมดแล้วครับ (อ้างอิงจาก SSL Labs)

อะไรคือ cipher suite

Cipher suite คือชุดของรายการ "กระบวนการ" ในการยืนยันตัวตน การเข้ารหัส การตรวจสอบ และการรับรองการสื่อสารผ่านการเข้ารหัส ซึ่งทั้งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็จะมีการรองรับกระบวนการเหล่านี้ต่างกัน ทำให้จำเป็นต้องมีการตกลงกันว่าจะใช้ชุด cipher ไหนในการสื่อสารครั้งนั้นๆ บนโปรโตคอล SSL/TLS ผ่านกระบวนการ Handshake ในการเชื่อมต่อ

alt="upic.me"

ข้อมูล SSL Certificate และการรองรับการเชื่อมต่อของแต่ละธนาคาร

รายการด้านล่างเป็นข้อมูล ณ วันที่ตรวจสอบ (28 พ.ย. 2557) ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตนะครับ

สำหรับ Certificate Hash Algorithm กรณีเป็น SHA-1 ที่อาจถูกปลอมแปลงได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นประเด็นจากข่าวเก่า (36853, 60213, 60406) ที่ทำให้ SETTRADE เปลี่ยนใบรับรองมาแล้ว และส่วนของ SSLv3 ทำการตรวจสอบว่าเปิดอยู่หรือไม่เนื่องจากช่องโหว่ POODLE ครับ บางธนาคารที่มีเครื่องหมาย * อยู่แสดงว่าเปิด แต่มีการปรับปรุงให้ไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ POODLE ไปแล้ว

และหัวข้อ Forward Secrecy จะเป็นการทดสอบการรองรับการใช้ cipher suite ที่มีการใช้งาน DHE ด้วยการบังคับการเชื่อมต่อเข้าหาเซิร์ฟเวอร์ผ่านคำสั่ง openssl s_client ที่มีการระบุ cipher ไว้เฉพาะที่รองรับ Forward Secrecy เท่านั้น หากรองรับจะแสดงข้อมูล cipher ที่ใช้ได้ไว้ครับ

ธนาคารกรุงเทพ

  • URL หน้าล็อกอิน: https://ibanking.bangkokbank.com/SignOn.aspx
  • Certificate name: ibanking.bangkokbank.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL SGC CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารกรุงไทย

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.ktbnetbank.com/consumer/
  • Certificate name: www.ktbnetbank.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL SGC CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2 (ไม่รองรับ TLSv1.1)
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.krungsrionline.com/cgi-bin/bvisapi.dll/krungsri_ib/login/login.jsp
  • Certificate name: www.krungsrionline.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL SGC CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคาร กสิกรไทย

  • URL หน้าล็อกอิน: https://online.kasikornbankgroup.com/K-Online/login.jsp?lang=th
  • Certificate name: online.kasikornbankgroup.com
  • Issuer: Symantec Class 3 EV SSL CA - G3
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-256
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคาร เกียรตินาคิน

  • URL หน้าล็อกอิน: https://ebanking.kiatnakin.co.th/Banking/pb/logon
  • Certificate name: ebanking.kiatnakin.co.th
  • Issuer: Symantec Class 3 EV SSL SGC CA - G2
  • Certificate Hash Algorithm: SHA -1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: ปิด
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.ebanking.cimbthai.com/cash/logon.jsp
  • Certificate name: www.ebanking.cimbthai.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: เปิด
  • Forward Secrecy: TLSv1/SSLv3, DHE-RSA-AES256-SHA

ธนาคาร ทหารไทย

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.tmbdirect.com/tmb/kdw#_frmIBPreLogin
  • Certificate name: www.tmbdirect.com
  • Issuer: Entrust Certification Authority - L1E
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2
  • SSLv3 support: ปิด
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

Me by TMB

  • URL หน้าล็อกอิน: https://secure.mebytmb.com/efs/servlet/efs/th_TH/jsp-ns/login.jsp
  • Certificate name: www.mebytmb.com
  • Issuer: Entrust Certification Authority - L1E
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: เปิด
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารไทยพาณิชย์

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.scbeasy.com/v1.4/site/presignon/index.asp
  • Certificate name: www.scbeasy.com
  • Issuer: Entrust Certification Authority - L1E
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารไทยพาณิชย์ (Mobile)

  • URL หน้าล็อกอิน: https://m.scbeasy.com/login.aspx
  • Certificate name: m.scbeasy.com
  • Issuer: Entrust Certification Authority - L1E
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารธนชาต

  • URL หน้าล็อกอิน: https://retailib.thanachartbank.co.th/retail/Login.do?action=form&lang=th_TH
  • Certificate name: retailib.thanachartbank.co.th
  • Issuer: Entrust Certification Authority - L1E
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: ปิด
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารยูโอบี

  • URL หน้าล็อกอิน: https://pib.uobthailand.com/PIBLogin/appmanager/Login/Public?lang=en_TH
  • Certificate name: pib.uobthailand.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 International Server CA - G3
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: ปิด !
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์

  • URL หน้าล็อกอิน: https://www.lhbankspeedy.com//intro/intro_th.html
  • Certificate name: www.lhbankspeedy.com
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL SGC CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2 (ไม่รองรับ TLSv1.1)
  • SSLv3 support: เปิด *
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

  • URL หน้าล็อกอิน: https://online-banking.standardchartered.co.th/Init/IBank?ser=100&act=110&cntryCode=TH&preflanguage=thn
  • Certificate name: online-banking.standardchartered.co.th
  • Issuer: Cybertrust Public SureServer SV CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.2
  • SSLv3 support: ปิด !
  • Forward Secrecy: ไม่รองรับ

ธนาคารออมสิน

  • URL หน้าล็อกอิน: https://ib.gsb.or.th/retail/security/commonLogin.jsp
  • Certificate name: ib.gsb.or.th
  • Issuer: VeriSign Class 3 Extended Validation SSL SGC CA
  • Certificate Hash Algorithm: SHA-1
  • Protocol support: TLSv1.0
  • SSLv3 support: เปิด
  • Forward Secrecy: TLSv1/SSLv3, DHE-RSA-AES256-SHA

ตารางข้อมูล cipher ของแต่ละธนาคาร แยกตามเบราว์เซอร์

ข้อมูลสรุปการทดสอบจาก SSL Labs แสดงข้อมูล cipher ที่เบราว์เซอร์น่าจะเลือกใช้สำหรับแต่ละเว็บไซต์ของธนาคาร ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ครับ

alt="upic.me"

ความเสี่ยงและปัญหาความปลอดภัยของ RC4 (+ เหตุผลที่ยังใช้ RC4 กัน)

กระบวนการเข้ารหัส RC4 ถูกออกแบบมาตั้งแต่ปี 1987 หรือกว่า 27 ปีมาแล้ว โดยเน้นความง่ายและความรวดเร็วในกระบวนการเข้ารหัส (เพื่อให้เข้ากับพลังประมวลผลของอุปกรณ์ในยุคนั้น) ซึ่งมีการพิสูจน์โดยนักวิจัยจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาความปลอดภัยที่อาจทำให้ถอดรหัสข้อมูลออกมาได้ (เช่นที่เคยเจอในการเข้ารหัสเครือข่ายไร้สายแบบ WEP ที่มีการใช้งาน RC4 อยู่) ซึ่งมีการนำเสนอถึงการโจมตี RC4 เมื่อเดือนมีนาคมปี 2013 โดยการใช้ข้อมูลเชิงสถิติในการถอดรหัสการเข้ารหัส TLS ที่นิยมใช้ในการสื่อสารเว็บแบบเข้ารหัสทุกวันนี้ (อ้างอิงจาก งานวิจัย ผ่าน Wikipedia:RC4)

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ RC4 ยังคงได้รับความนิยมค่อนข้างมากแม้จะพบปัญหาความปลอดภัยที่ค่อนข้างร้ายแรง เป็นผลเนื่องมาจากพบช่องโหว่สำคัญในกระบวนการเข้ารหัสของ AES, DES และ 3DES ด้วยวิธีการแบบ CBC ที่ชื่อว่า BEAST attack บน TLS 1.0 ซึ่งในขณะนั้นมีเพียง RC4 เท่านั้นที่เป็น cipher ที่แทบทุกไคลเอนต์รองรับ และทนทานต่อการโจมตีแบบดังกล่าวอยู่ ซึ่งปัจจุบันช่องโหว่ดังกล่าวถูกแก้ไขไปใน TLS 1.1 (ออกมาเมื่อปี 2006) ขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว จึงมีคำแนะนำจากหลายๆ แหล่งให้ปิดการใช้งาน หรือลดความสำคัญของ RC4 ในระบบใหม่ๆ แล้วครับ

สรุป

  • ธนาคารในไทยส่วนใหญ่จะยังคงไม่รองรับ Forward Secrecy (น่าแปลกใจว่าธนาคารออมสินรองรับ !) แต่ด้วยนโยบายการควบคุมความปลอดภัยของธนาคารออนไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนใหญ่ ก็ยังคงความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของ Private Key ที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลได้ระดับหนึ่ง ในช่วงไม่เกิน 2-3 ปีถัดจากนี้ ซึ่งการโจมตี SSL ยังจำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างสูงอยู่
  • ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงเปิด RC4 และ SSL 3.0 รวมถึงยังไม่ได้ทำการเปลี่ยนใบรับรองเป็น SHA-2 แต่ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินการเพื่ออุดช่องโหว่ต่างๆ เหล่านี้ให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน เช่นธนาคารกสิกรไทย ที่เมื่อช่วงต้นเดือนที่ทำการตรวจสอบครั้งแรก ยังใช้ใบรับรองแบบ SHA-1 อยู่ แต่เมื่อมีการตรวจสอบซ้ำก่อนเผยแพร่บทความนี้ได้มีการเปลี่ยนใบรับรองเป็น SHA-256 เรียบร้อยแล้ว
  • หลายธนาคารที่เคยเปิดใช้งาน SSLv3 มีการปิดการใช้งาน SSLv3 หรือปรับปรุงให้ SSLv3 ที่ยังเปิดอยู่มีความทนทานต่อการโจมตีแบบ POODLE แล้ว

ช่วงระหว่างนี้ เรายังคงต้องกังวลกับปัญหาหน้าเว็บหลอกลวง (fraud/social engineering) มากกว่าการโจมตีด้วยช่องโหว่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้มากกว่าไปได้อีกระยะหนึ่งครับ

ข้อเสนอแนะ

กระบวนการเร่งด่วน ณ ตอนนี้คงเป็นเรื่องการปิดใช้งาน SSLv3 เพื่อป้องกันการโจมตีระบบด้วยช่องโหว่ POODLE ที่ยังคงเหลือบางธนาคารยังไม่ได้ปิดหรือปรับปรุงครับ และหลังจากนี้ที่บริการธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด (ไม่ใช่เฉพาะธนาคารออนไลน์) ควรทำคงเป็นการเปิดใช้งาน Forward Secrecy, ลดความสำคัญของการใช้ RC4 ลง, ผลักดันให้มีการใช้งาน TLSv1.2 มากขึ้น ซึ่งส่วนของ RC4 นั้น จากสถิติของ CloudFlare พบว่ายังคงมีไคลเอนต์อีกเพียงประมาณ 0.0009% เท่านั้นที่ไม่รองรับกระบวนการเข้ารหัสที่ไม่ใช่ RC4 ครับ และไคลเอนต์ส่วนใหญ่ (ยกเว้น IE6 บน Windows XP) ก็รองรับการใช้งาน TLS 1.0 ขึ้นไปหมดแล้วด้วยครับ

ข้อมูลอ้างอิง

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 November 2014 - 15:12 #767937
hisoft's picture

น่าแปลกใจว่าธนาคารออมสินรองรับ !

ผมนี่อึ้งจนน้ำตาจะไหลเลยครับ แต่เป็น TSLv1.0, SSLv3 ซะงั้น

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 29 November 2014 - 15:23 #767940
nuntawat's picture
  • browser, client และ server เขียนเป็นภาษาไทยได้ว่าเบราว์เซอร์ ไคลเอนต์ และ เซิร์ฟเวอร์ ตามลำดับ
  • ย้ายวงเล็บ "(อ้างอิงจาก SSL Labs)" ไปท้ายย่อหน้าดังกล่าว
By: etorys
Android
on 29 November 2014 - 16:38 #767948

เหมือน uob จะเปลี่ยนเวปแล้วนะครับเป็น https://pib.uobthailand.com/PIBLogin/appmanager/Login/Public?lang=th_TH

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 29 November 2014 - 16:55 #767949

ขอลบ ผิดพลาดทางเทคนิคครับ

By: Ooh
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 29 November 2014 - 18:28 #767965
Ooh's picture

น่าจะเช็ค URL ของหน้าที่ทำงานจริง(เช่นตอนโอนเงิน) ด้วยนะครับ หน้าล็อกอินอย่างเดียวจะพอหรอ เพราะบางธนาคารใช้คนละdomain name ตอนทำรายการ certificate ก็เป็นคนละตัวกัน


Ooh

By: mk
FounderAndroid
on 29 November 2014 - 20:33 #767987 Reply to:767965
mk's picture

เจอธนาคารไหนแยก domain name ก็แจ้งมาได้เลยครับ

By: Ooh
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 1 December 2014 - 19:41 #768353 Reply to:767987
Ooh's picture

ธนาคารสีเขียวๆนึกชื่อไม่ออก


Ooh

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 December 2014 - 21:49 #768525 Reply to:768353
lew's picture

บอกแบบนี้คงไม่มีใครตามไปดูให้นะครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: sompu
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 November 2014 - 18:34 #767966
sompu's picture

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 29 November 2014 - 18:41 #767967
PH41's picture

แต่ธนาคารออมสินดูยอดเงินได้อย่างเดียวทำธุรกรรมไม่ได้

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 November 2014 - 19:13 #767972 Reply to:767967
hisoft's picture

โอนเงินได้ไงครับ โอนเข้าบัญชีอื่นของตัวเอง orz

แต่นั่นมันเมื่อปีสองปีก่อนครับ ตอนนี้โอนเข้าบัญชีคนอื่น หรือโอนข้ามธนาคารได้แล้ว จ่ายเงิน เติมเงิน ซื้อสลากได้แล้วนะครับ

By: คนเมือง นวยไฮโซ
iPhoneAndroid
on 29 November 2014 - 20:21 #767983
คนเมือง นวยไฮโซ's picture

ที่ไหนเจาะผ่านบ้างครับ อิอิ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 29 November 2014 - 21:25 #767994 Reply to:767983
Ford AntiTrust's picture

รายงาน SSL นี้ ผมว่าจุดมุ่งหมายของคนเขียนไม่ได้มุ่งหมายถึงการเจาะระบบ แต่หมายถึงการดักฟังข้อมูลที่ส่ง-รับระหว่างเครื่องแม่ข่ายและลูกข่ายเป็นสำคัญครับ

By: คนเมือง นวยไฮโซ
iPhoneAndroid
on 29 November 2014 - 21:28 #767995 Reply to:767994
คนเมือง นวยไฮโซ's picture

ดีคริปชั่น ได้อ่ะน่า

By: scalopus
ContributorAndroidUbuntu
on 29 November 2014 - 22:07 #768000
scalopus's picture

ไม่เกี่ยวกับ SSL .... KrungsriAsset ยังคงใช้พาสเวิร์ดเป็นตัวเลข 4 ตัว..... ใช้ชีวิตอย่างพะวง แม้จะมี SSL ก็ตาม.


Warun.in.th

By: tk719
iPhoneBlackberrySymbianIn Love
on 29 November 2014 - 22:31 #768002

ตรง SSLv3 บางธนาคารปิดแล้วมีอัศเจรีย์บางธนาคารไม่มี มีความหมายไหมครับ?

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 29 November 2014 - 22:49 #768006 Reply to:768002

ผมลืมใส่เฉยๆ ครับ แหะๆ

By: pd2002 on 29 November 2014 - 22:53 #768008

เมื่อไรจะมี 2 step

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 30 November 2014 - 00:17 #768024 Reply to:768008
Ford AntiTrust's picture

เท่าที่รู้ตอนนี้มี UOB, BBL และ TMB ครับ ลองถามๆ ดู

By: คนเมือง นวยไฮโซ
iPhoneAndroid
on 30 November 2014 - 05:15 #768056 Reply to:768008
คนเมือง นวยไฮโซ's picture

+2048

By: AmidoriA
UbuntuWindows
on 30 November 2014 - 12:59 #768124 Reply to:768008
AmidoriA's picture

kbank พอมี OTP ตอนทำธุรกรรมอยู่ครับ ยังถือว่าโอเค

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 30 November 2014 - 17:29 #768175 Reply to:768008
mr_tawan's picture

HSBC แจก FOB ด้วย แต่ขายกิจการส่วนรายย่อยทิ้งไปแล้ว :P


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Ulquiorra
Windows PhoneAndroidSymbianWindows
on 30 November 2014 - 20:52 #768226
Ulquiorra's picture

สนใจ AccessMatrix™ ป่าวครัช อิอิ

By: Kittichok
Contributor
on 1 December 2014 - 01:35 #768295

ตอนที่มีข่าวเกี่ยวกับความปลอดภัยและมีเครื่องมือทดสอบ ส่วนตัวจะตรวจสอบระบบของธนาคารที่ตัวเองใช้งานอยู่ก่อนเลย ถ้าเจอก็แจ้งธนาคาร อย่างตอน Heartbleed นี่ ธนาคารออมสินไม่ผ่านระบบทดสอบเลยนะ พอแจ้งไปแล้วก็แก้ไขได้รวดเร็วดี
ป.ล. รายชื่อธนาคารในประเทศไทย ใช้ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะน่าเชื่อถือว่านะครับ

By: sukjai
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 1 December 2014 - 10:46 #768367

ขอบพระคุณครับ

By: edskub
iPhoneAndroid
on 1 December 2014 - 11:23 #768385

ขอความรู้หน่อยครับ
เวลาจ่ายเงินผ่านบัตรแบบ online หลายๆธนาคาร ตอนจะยืนยันการจ่ายกับขอ OTP มันเหมือนจะเป็นหน้าของธนาคารกรุงเทพ ทำไม่ถึงเป็นอย่างนั้นครับ

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 1 December 2014 - 12:22 #768398 Reply to:768385

เข้าใจว่าหมายถึง vbv ที่เป็นของธนาคารเจ้าของบัตรครับ

By: edskub
iPhoneAndroid
on 1 December 2014 - 14:02 #768432 Reply to:768398

ขอบคุณครับ
ที่เคยลองก็มีแต่วีซ่า ซะด้วย

By: 311
Windows PhoneAndroidWindows
on 1 December 2014 - 11:24 #768386
311's picture

ด้วยความหวังดีครับ
การเอาข้อมูลช่องโหว่มาเปิดเผยต่อสาธารณะ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการโดนฟ้องร้องได้นะครับ

การจะตรวจสอบแบบนี้ ตามหลักแล้วเจ้าของต้องอนุญาตเสียก่อน นั่นหมายความว่า เจ้าของต้องเป็นผู้ว่าจ้าง หรือผู้ตรวจสอบจะต้องทำการขออนุญาตกับเจ้าของให้เรียบร้อยและมีหลักฐานอย่างชัดเจนครับ

ปล ผมไม่ได้อ่าน comment ข้างบน อาจจะมีคนทักเรื่องนี้ก่อนแล้วก็ได้
ปล2 ข้อมูลชุดนี้มีประโยชน์มากครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 December 2014 - 11:33 #768387 Reply to:768386
lew's picture

ถ้ามีการฟ้องร้องด้วยข้อมูลที่เปิดเป็นสาธารณะ (ใครเข้าถึงก็ได้) แบบนี้คงเป็นการตีความกฎหมายที่กว้างอย่างประหลาดล่ะครับ รายงานแบบนี้ไม่ได้ใช้ช่องโหว่ที่ต้องตรวจสอบอย่างเจาะจงอย่างเช่น XSS หรือ Code Injection อะไร ข้อมูลที่ได้มาจาก การ handshake ปกติจาก client ใดๆ

ถ้าตีความว่ารายงานแบบนี้ถูกฟ้องได้ เว็บอย่าง SSLLabs คงอยู่ไม่ได้ล่ะครับ เพราะตรวจแทบทั้งโลกเลย


lewcpe.com, @wasonliw

By: คนเมือง นวยไฮโซ
iPhoneAndroid
on 1 December 2014 - 12:04 #768388 Reply to:768386
คนเมือง นวยไฮโซ's picture

ผมเห็นแต่ข้อมูลการใช้งาน ยังไม่เห็นข้อมูลช่องโหว่งตรงไหน

By: kivi_kmitl
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 8 July 2015 - 15:19 #825630 Reply to:768386
kivi_kmitl's picture

ข้อมูลของทุกธนาคาร เป็นข้อมูลสาธารณะครับ ทุกคนที่เล่นเน็ท สามารถเข้าถึง และดูได้ครับ

By: konga143
iPhoneAndroid
on 2 December 2014 - 09:23 #768601
konga143's picture

  • TMB for BIZ ไม่มีการสำรวจใช่ไหมครับ น่าเสียดาย