Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

คดี Silk Road ที่ผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ดูแลเว็บถูกจับเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้อยู่ในชั้นศาลขั้นก่อนการพิจารณาคดี (pre-trial) โดย Ross William Ulbricht ผู้ต้องหาต่อสู้คดีโดยพยายามถามฝ่ายเอฟบีไอว่ารู้ไอพีของเซิร์ฟเวอร์จากการแฮกเซิร์ฟเวอร์มาหรือไม่ หากเอฟบีไอแฮกเซิร์ฟเวอร์โดยไม่มีหมายศาลจริงก็อาจจะทำให้ไม่สามารถใช้หลักฐานในชั้นศาลได้ เพราะได้หลักฐานมาโดยไม่ชอบ

ทางเอฟบีไอยื่นเอกสารตอบกับศาล โดยไม่ตอบตรงๆ ว่าแฮกเซิร์ฟเวอร์จริงหรือไม่ แต่ตอบว่าเซิร์ฟเวอร์ที่รู้หมายเลขไอพีนี้ตั้งอยู่นอกสหรัฐฯ และบนเว็บนั้นก็มีอาชญากรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก หากเอฟบีไอแฮกเซิร์ฟเวอร์จริงก็ไม่จำเป็นต้องขอหมายศาลตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่อย่างใด และย้ำว่าไม่ใช่แค่ตัวเซิร์ฟเวอร์เองจะไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ แต่เซิร์ฟเวอร์ยังเป็นของบริษัทให้เช่าเครื่อง ไม่ใช่ของตัว Ulbricht ที่เป็นพลเมืองสหรัฐฯ เองด้วย รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ จึงไม่ครอบคลุมกรณีนี้ ยิ่งกว่านั้น ตัว Ulbricht ก็ไม่เคยยืนยันว่าข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เป็นของเขา

ก่อนหน้านี้เอฟบีไอพยายามบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ Silk Road นั้นคอนฟิกผิดพลาดทำให้เจ้าหน้าที่รู้ไอพี

ผู้พิพากษา Katherine Forrest สั่งให้ Ulbricht ต้องเลือกว่าจะยื่นต่อสู้ว่าข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เป็นข้อมูลส่วนตัวของเขาจริงหรือไม่ หาก Ulbricht ยื่นต่อสู้ในกรณีนี้ต่อไป ก็จะเป็นการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์ Silk Road เป็นของเขาจริง

ที่มา - Wired

Prosecution Response to Horowitz Declaration

Get latest news from Blognone

Comments

By: chunbogbog
Android
on 8 October 2014 - 03:44 #751398

Ulbricht ยืนยัน > มัดตัวเองว่าเป็นเจ้าของ Silkroad
Ulbricht ไม่ยืนยัน > ข้อมูล FBI ก็จะ valid > มัดตัว Ulbricht ว่าเป็นเจ้าของ Silkroad

ยังไงก็แพ้สิงี้

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 8 October 2014 - 04:16 #751401 Reply to:751398
put4558350's picture

แล้วถ้าออกมาประมาณว่า ... มีหลักฐานว่าเจ้าของเป็นคน us แต่ไม่ชัดเจนจนสามารถระบุใด้ว่าเป็นใครหละ

Ulbricht ไม่บอกว่าเป็นตัวเอง ข้อมูล FBI ก็ Invalid


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 8 October 2014 - 09:57 #751454 Reply to:751398
lew's picture

ถ้ายืนยันแต่สู้ว่ากระบวนการได้มาซึ่งหลักฐานมันผิด ก็มีโอกาสรอดคดีไงครับ (แต่ทุกคนก็รู้หมดว่าคนนี้ล่ะทำ)


lewcpe.com, @wasonliw

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 8 October 2014 - 14:19 #751491 Reply to:751398

ถ้าเรื่องกฎหมายเนี่ยในต่างประเทศ พยานหลักฐานที่ได้มาไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลจะไม่รับฟังครับเพราะกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานชิ้นนี้มีค่าเท่ากับไม่มีพยาน
ไม่เหมือนกับของไทยที่บางฎีกาอ้างว่ารับฟังได้แต่ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง
ของต่างประเทศเขาแรงครับหลักฐานที่ได้มามิชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานนั้นๆ
มันเป็นเรื่องปกติที่จำเลยจะต่อสู้ว่าพยานหลักฐานของโจทก์นั้นได้มาโดยมิชอบเพื่อตัดพยานโจทก์ครับ

แต่ดูจากที่ FBI ตอบเหมือนถามช้างตอบม้าเลยครับ

By: thsecmaniac
AndroidWindows
on 8 October 2014 - 08:39 #751423

FBI ก็นะ เพลียจิต

By: waroonh
Windows
on 8 October 2014 - 09:36 #751439

ผมว่า สหรัฐ เอากองทัพไปบุก Mexico แล้ว ถล่มแหล่งผลิต ให้ราบไปเลยดีกว่าครับ
จะได้ไม่ต้องมานั่ง เสียเวลาเป็นหนูจับแมว แบบนี้

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 8 October 2014 - 11:54 #751521
Golflaw's picture

หลักที่กล่าวอ้างเป็นหลัก "ผลไม้ของต้นไม้พิษ" (fruit of poisonous tree )

เป็นหลักของ Common Law หรือสหรัฐอเมริกา ที่นำมาใช้ก่อน ส่วนประเทศไทยไปลอกมาอีกทีนึง อยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ที่ห้ามไม่ให้รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาจากการจูงใจ ให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือกระทำโดยไม่ชอบ

แต่ในทางปฏิบัติมีปัญหามาก เพราะปล่อยตัวคนผิดไปเยอะมาก จึงบัญญัติเพิ่มเติมใน มาตรา 226/1 โดยกำหนดว่าพยานหลักฐานที่ "เกิดขึ้น" โดยชอบ แต่ "ได้มา" โดยไม่ชอบ ก็อาจรับฟังได้ถ้าเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมครับ


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 8 October 2014 - 14:11 #751601 Reply to:751521

ปัญหาของกฎหมายไทยคือ คำว่า เป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรม นี่แทบจะตีความตามอำเภอใจเลยล่ะครับ
เจอผู้พิพากษาดีก็ดีไปเจอผู้พิพากษาที่ตีความตามอำเภอใจก็ซวยไป
ยิ่งสมัยนี้ช่วงวิกฤติศรัทธาตุลาการ เขามองนักกฎหมายต่ำยิ่งกว่าอะไร (หมายถึงมุมชาวบ้านนะ)
แต่มันก็สมควรโดนด่าจริงๆเพราะเห็นคำสั่งพวกให้ประกันตัวหรือไม่ประกันตัวนี้สั่งตามอำเภอใจชัดๆ ขัดกับหลักที่เรียนมามากๆ
ส่วนมาตรา 226 ก็ไม่เชิงลอกหรอกครับแต่ตำรวจไทยสมัยก่อนขึ้นชื่อว่า ข่มขู่ ล่อลวง ผู้ต้องหา เอาไฟช็อตไข่ ซ้อมผู้ต้องหาให้สารภาพ เขาเลยออกมาตรานี้มายั้งไว้เพราะไม่เชื่อใจตำรวจ สมัยนี้ก็ยังมีการยัดหลักฐานให้ผู้ต้องหาอยู่
ตอนเด็กๆก็เกือบโดนนั่งคุยกับเพื่อนหน้าบ้านตัวเองมีมาขอค้นเฉยแต่เราปฏิเสธไม่ให้ค้นเพราะรู้ว่ามันจะยัดยาให้ พ่อผมบอกทำถูกแล้ว แถมจะมีมายัดข้อหาชุมนุมกันตั้งแต่3คนขึ้นไปด้วยนะ บรรลัยมากเพื่อนไม่ได้เจอกัน2ปีนั่งคุยกันหน้าบ้านตัวเองก็ผิด เซ็ง พอมาเรียนเลยรู้ว่าตำรวจมันมั่ว

หลักการของ common law เขาถูกแล้วครับมันเป็นการปรามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐล้ำเส้นมากไปเพราะอำนาจล้นมือ
ถ้าใครรู้จักคำว่า SWATTING นี่จะรู้เลยว่ามันน่ากลัว นอนอยู่บ้านดีๆบุกมาจับมาค้นเฉยเลยหมายก็ไม่มีแล้วส่วนใหญ่ค้นไปไม่เจออะไรด้วยนะ

By: Zeball
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 8 October 2014 - 13:59 #751592

ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ

ผมว่ามันเป็นปกติของขั้นตอนนี้ และ FBI กำลังเล่นเกมอยู่
1. การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการนำสืบพยาน (Pre-trial)เป็นการประชุมโดยมีผู้พิพากษาเป็นประธาน เพื่อให้คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงที่ไม่อาจจะโต้เถียงกันได้ ตามกฏหมายแบบ Common Law เช่นการยอมรับในเอกสารต่างๆ และประเด็นในบางเรื่องที่ต้องพิสูจน์โดนผู้เชี่ยวชาญก็ให้ดำเนินการเสีย คู่ความจะทราบถึงน้ำหนักพยานหลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจำเลยอาจจะยอมจำนนต่อพยานหลักฐานและรับสารภาพไปตามกระบวนการ Pre-bargaining (ในขั้ขตอนนี้ไม่มีการพิจารณา หรือตัดสินของศาลนะครับ จะถือว่าเป็นการรับสารภาพ)
ซึ่งขั้นตอนนี้ช่วยลดระยะเวลากระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลลงได้มากมาย
2. ในการเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการนำสืบพยานนี้ ต้องมีการเปิดเผยพยานหลักฐานที่มีคุณต่อจำเลยด้วย ดังนั้นจำเลยจึงรู้ว่า พยานหลักฐานที่พิสูนน์ตนเองกับข้อกล่าวหานั้นอาจจะได้มาซึ่งวิธีที่ผิดจึงโต้แย้งไม่ให้นำมาพิจารณา แต่ IP Address เป็นพยานหลักฐานหลักในพิสูจน์ Ulbricht กับข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ถือครอง ID ที่เป็นเจ้าของ Server ซึ่งทาง FBI ก็รู้แต่ไม่สามารถพูดได้ว่าการได้มาซึ่ง IP Address นั้นผิดหรือถูก เพราะจะเป็นการสารภาพและทำให้พยานหลักฐานชิ้นนี้ตกไป หรือจะต้องมีกระบวนการพิจารณาเรื่องหลักฐานซ่อนขึ้นมาได้ ดังนั้น FBI จึงตอบคำถามโดยเป็นการให้พิสูจน์กระบวนการได้มาซึ่งพยานหลักฐาน และอำนาจรัฐธรรมนูญสหรัฐฯในเรื่องการบังคับกระบวนการได้มาซึ่งพยานหลักฐานแทน
3. การที่ Ulbricht ทำแบบนี้ เพราะคิดว่าเห็นจุดอ่อนของหลักฐาน และเป็นการป้องกันตัวเอง 2 ชั้นคือ 1. ชั้นนอกก็โต้แย้งเรื่องพยานหลักฐานหลักที่น้ำหนักไม่มาก คิดตามกระบวนการของสหรัฐฯ 2. ถ้าหลุดก็ค่อยต่อสู้ชั้นในคือพิสูจน์ว่าข้อมูลใน Server จริงหรือไม่ แต่ที่ผู้พิพากษา Katherine Forrest แนะนำแบบนั้น ส่วนตัวคิดว่าเพราะ เขาโต้แย้งแบบนั้นในประเทศที่ไม่ใช้รัฐธรรมนูญสหรัฐฯไม่ได้ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นนอกรัฐธรรมนูญสหรัฐฯจะพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง เชื่อได้หรือไม่ ส่วนวิธีการนั้นเป็นไปตามวิธีการ และตามกฏหมายของแต่ละประเทศ (ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ มั่ง!) สหรัฐฯเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ (ดังนั้นเรื่องการแฮก ถ้าประเทศนั้นรัฐทำได้ถูกกฎหมาย มันก็เป็นพยานหลักฐานที่ถูกต้อง, และเป็นพยานหลักฐานรัฐต่อรัฐถือว่าเชื่อถือได้)ถ้าต้องการให้หลักฐานนั้นตกไปก็ควรโต้แย้งด้วยเรื่องว่าหลักฐานนั้น ไม่จริง หรือเชื่อถือไม่ได้มากกว่า

ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 8 October 2014 - 14:18 #751603 Reply to:751592

การ hack ไม่ว่าประเทศใดส่วนใหญ่ผิดกฎหมายทั้งนั้นครับไม่เว้นแม้แต่ถ้า FBI จะทำเสียเอง
ถ้าอยากทำดีสุดคือร้องขออำนาจศาลในประเทศนั้นก่อนจึงจะทำได้โดยไม่ผิด ถ้าทำเองตามใจแบบในข่าวยังไงก็ผิดครับ

มันคือวิธีการของจำเลยที่ยกข้อเท็จจริงบางอย่างขึ้นมาแต่ผลักภาระการพิสูจน์ให้โจทก์แทน
FBI ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าหลักฐานที่ได้มานั้นชอบด้วยกฎหมายนี่ถึงกับแพ้เลยนะครับเพราะยกผลประโยชน์ให้จำเลย
ในอเมริกาผู้พิพากษาไม่ได้มีอำนาจมากแบบของไทยสู้กันด้วยอัยการกับทนายจำเลยล้วนๆครับ