Tags:
Node Thumbnail

เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ที่ทุกวันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ ไปเสียแล้ว โดยเว็บไซต์ The Next Web ได้นำเอามุมมองและทฤษฎีทางจิตวิทยามาอธิบายการเสพติดของผู้ใช้นี้ ผมเห็นว่าน่าสนใจจึงเอามาแบ่งปันกันครับ

The Next Web อธิบายว่าเฟซบุ๊กได้กลายเป็น "ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์" ในลักษณะเดียวกับที่ร้านสะดวกซื้อเป็น เพียงแต่ไม่ใช่ในเชิงกายภาพ แต่เป็นความต้องการทางด้านจิตใจหรือจิตใต้สำนึกของเรา โดยความต้องการเหล่านี้ถูกแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

- การสร้าง"ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-esteem)"

ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจสามารถสร้างขึ้นมาได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ระดับการศึกษา งานอดิเรก สิ่งที่เราชอบและสนใจ ฯลฯ ลงในโปรไฟล์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เฟซบุ๊กเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถรื้อสร้างและควบคุมตัวตนของเราขึ้นมาได้เพียงปลายนิ้ว ซึ่งจะนำไปสู่ความภาคภูมิใจลึกๆ ของเราที่ได้เปิดเผยให้โลกได้รับรู้

นอกจากนั้นหากใครเข้ามาป่วนหรือทำลายความเชื่อมั่นในตัวตนของเรา เฟซบุ๊กก็เปิดโอกาสให้เราบล็อกคนเหล่านั้นได้ง่ายๆ เช่นกัน

  • ความสามารถในการ"ควบคุมการสร้างความประทับใจ (Impression Management)"

สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมข้อมูล ที่จะมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์และตัวตนของตัวเอง ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งการควบคุมนี้เองเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการสนทนาหรือปฏิสัมพันธ์ต่อหน้า ที่เราอาจหลุดคำพูดหรือท่าทางออกไปโดยไม่ทันยั้งคิด และทำลายภาพลักษณ์และความประทับใจในตัวเราลงได้ง่ายๆ

สื่อออนไลน์เช่นเฟซบุ๊กได้ทำลายข้อจำกัดตรงนี้ลงไป และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ใช้เวลานานเท่าไหร่ก็ได้ในการไตร่ตรองและคิดข้อความในการสนทนาหรือสเตตัสก่อนที่จะกดส่ง รวมไปถึงทำลายความจำเป็นในการใช้ท่าทาง (อวจนภาษา) ในการสื่อสารลงไปด้วย

นอกจากนั้นกระบวนการสร้างความประทับใจยังอยู่ในลักษณะของรูปและข้อมูลโปรไฟล์ รวมไปถึงการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์และโพสต์บ่อยๆ ขณะที่การกด like ผู้อื่นก็จัดอยู่ในการสร้างความประทับใจด้วยเช่นกัน

  • เฟซบุ๊กทำให้"กล้าเปิดเผยตัวตนมากขึ้น (enables our extrovert traits)"

กล่าวคือคนที่ชอบเปิดเผยตัวตน (extrovert) มักจะแสดงออกผ่านการโพสต์สเตตัส แชร์ลิงก์ หรือเปลี่ยนรูปโปรไฟล์อยู่เนืองๆ โดยพื้นที่ของเฟซบุ๊กจะทำให้คนเหล่านี้ไม่ต้องกลัวว่าเมื่อแสดงออกผ่านช่องทางข้างต้นไปแล้ว จะถูกมองว่าหลงตัวเอง (narcissistic) ลองนึกภาพในงานเลี้ยงดู หากมีคนๆ หนึ่งเดินเข้ามาแล้วเอารูปตัวเองมาอวดให้คนอื่นดู คงจะถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ แน่ๆ

เหล่านี้เองที่ได้ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นกิจวัตร เพราะเฟซบุ๊กได้สร้างความพึงพอใจในจิตใต้สำนึกโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว ในแง่หนึ่งการแสดงออกและเปิดเผยข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กอาจมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ที่ผู้อื่นมองเรา แต่ในอีกแง่ มันก็มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ที่เรามองตัวเองด้วยเช่นกัน

แล้วคุณล่ะ ติดเฟซบุ๊กขนาดไหน?

ที่มา - The Next Web

Get latest news from Blognone

Comments

By: Jeratang
iPhoneAndroidIn Love
on 7 October 2014 - 10:21 #751023
Jeratang's picture

Facebook ซื้อ Instagram ไปเสริมทัพ 3 ข้อนี้ด้วยสินะ สินะ

By: jaideejung007
ContributorWindows PhoneWindows
on 7 October 2014 - 10:29 #751026
jaideejung007's picture

ต่อไปต้องเรียกว่า Facebook ครองโลกไหมนะ?

By: jinxidol on 7 October 2014 - 10:39 #751029
jinxidol's picture

"นอกจากนั้นหากใครเข้ามาป่วนหรือทำลายความเชื่อมั่นในตัวตนของเรา เฟซบุ๊กก็เปิดโอกาสให้เราบล็อกคนเหล่านั้นได้ง่ายๆ เช่นกัน"

ผมคิดอีกแบบ โดยปกติก็ไม่ค่อยมีใครเข้าไปป่วนหรอกครับ เพราะ Facebook เป็นการพูดในกลุ่มเพื่อนหรือคน Follow มากกว่า การโต้แย้งนำพาซึ่งการทะเลาะกับเพื่อนหรือคนติดตามทั้งหมดที่เห็นด้วย (ซึ่งต่างจากการโต้แย้งแบบเห็นหน้าที่ไม่มีพวกเยอะขนาดนั้น) ทำให้บางคนเลี่ยงแสดงความเห็นเพื่อที่จะต้องมาพิมพ์เถียงกับคนจำนวนมาก เหลือแต่คนคอมเมนต์ความเห็นดีๆ เป็นส่วนมาก ถ้าไม่ชอบก็อาจไม่แสดงความเห็น

พูดไปเรื่องไม่มีปุ่ม Dislike ก็น่าจะมีส่วนอยู่ ทำให้มองไม่เห็นกลุ่มคนที่ไม่พอใจ

By: HMage
AndroidWindows
on 7 October 2014 - 12:42 #751086 Reply to:751029

พวกเข้ามาป่วนน่าจะเป็นปัญหาด้านของ fan page มากกว่ามั้งครับ ซึ่งนั่นก็เป็นคนละกรณีกับการแสดงตัวตน
แต่คนที่สร้าง fan page มา post รูปตัวเองเป็น net idol แล้วโดนป่วนก็จะเหมือนกรณีดาราปกติก็ต้องรับมือกับปัญหาแบบนั้นกันไป

By: artman
Windows
on 7 October 2014 - 10:53 #751033

ผมว่า มันเอาไว้สร้างภาพนะ

By: loptar on 7 October 2014 - 11:01 #751035
loptar's picture

ช่วงนี้เริ่มใช้ facebook น้อยลงแล้วครับ

By: gab
Windows PhoneAndroidWindows
on 7 October 2014 - 11:38 #751056 Reply to:751035
gab's picture

ช่วงแรกๆ อาทิตย์นึงเข้าไปดูที ตอนนั้นจะคุยกับใครก็จะใช้ MSN และก็อ่านข่าวจาก feed
ทุกวันนี้วันไหนถ้าถี่จัดๆ ก็ระดับ 10 นาทีครั้งเลย คุยกับกลุ่มเพื่อนก็ใช้ message (งานบ้าง คุยเล่นบ้าง) อ่านข่าวผ่านหน้า wall (สาระบ้าง บันเทิงบ้าง) แต่ก็อ่านจาก feedly ด้วย

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 7 October 2014 - 11:03 #751037
PaPaSEK's picture

อ่านเหตุผลทางจิตวิทยาตัวนี้แล้วรู้สึกเหมือนกำลังฟังคนวิเคราะห์หวยหลังถูกหวยกินหมาดๆ

By: คนเมือง นวยไฮโซ
iPhoneAndroid
on 7 October 2014 - 12:23 #751077
คนเมือง นวยไฮโซ's picture

สำหรับบ้านเรานะ... น่าจะเอาไว้ระบายอารมณ์มากที่สุด
ช่วงแรกๆ ก็สมัคร 2 แอคเคาต์ ใช้จริงสื่อสารกับเพื่อนๆ อันนึง กับเอาไว้เล่นเกมส์แฟลชบนเฟซบุ๊กอีกอันนึง
ช่วงต่อๆ มา ก็สมัครเพิ่มเป็น 3 แอคเคาต์ เอาไว้ระบาย เอาไว้ถล่มกันแยกสีเสื้อ แยกเหล่ากอ
แต่ช่วงนี้ น่าลบทิ้งไปกันหมดละมั๊ง เหลืออันเดียวกับเพื่อนล่าสุด ฮ่าๆๆๆๆๆ

By: kadeep
AndroidUbuntuWindows
on 7 October 2014 - 12:43 #751089
kadeep's picture

ลืมไปข้อ คือ

ความอยากรู้อยากเห็น สอดรู้สอดเห็น (Suek Rueng Chao Bann)

By: febthor
iPhoneAndroid
on 7 October 2014 - 14:37 #751113 Reply to:751089
febthor's picture

ประทับใจในวงเล็บมากครับ 555

By: HMage
AndroidWindows
on 7 October 2014 - 12:45 #751090

ปกติผมใช้ Facebook ในฐานะของ ข่าว, นิตยสาร, และเครื่องมือสื่อสาร เนื่องจากผมไม่ใช่คนชอบแบ่งปัน เลยไม่มีปัญหากับวิฐีชีวิตเท่าไหร่

By: cartier
iPhoneAndroid
on 7 October 2014 - 17:40 #751191
cartier's picture

ผมว่ามันเป็นพื้นที่ เอาไว้อวด กับสร้างภาพมากกว่าครับ

ผมละเป็นคนนึงที่ยังสงสัยว่า จะโชว์ จะไปบอกคนอื่นทำไม ว่าเราทำอะไร อยู่ที่ไหน รักใครมากขนาดไหน

อันนี้ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ หลายๆท่านคงไม่ได้มองแง่ลบขนาดผม

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 7 October 2014 - 20:16 #751238 Reply to:751191

ความต้องการพื้นฐานของ Maslow ไงครับ บางทีมนุษย์ก็ evil เยอะกว่าที่เราคิด

By: ZicmA
Android
on 8 October 2014 - 10:16 #751463 Reply to:751191

มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ครับ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ
แต่คนที่ชอบอวด เรียกร้องความสนใจเกินพอดี มักไม่ยอมรับความจริง

By: kingrpg
AndroidWindows
on 8 October 2014 - 01:29 #751381

มันก็เหมือนเว็บบอร์ด