Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติของรัสเซียได้ผ่านร่างกฎหมายห้ามเว็บไซต์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลของชาวรัสเซียไว้นอกประเทศ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตของรัสเซียวิจารณ์ว่า รัฐบาลต้องการจะปิดกั้นการเข้าสื่อโซเชียลมีเดียโดยตรง

สมาชิกสภารายหนึ่งที่สนับสนุนร่างกฎหมายนี้อ้างว่าชาวรัสเซียไม่ต้องการให้สหรัฐเก็บข้อมูลของตนไว้ เพราะเสี่ยงต่อการโดนแฮคและตกไปอยู่ในมือของอาชญากร ขณะที่บล็อกเกอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตของรัสเซียวิจารณ์ว่า จุดประสงค์ของกฎหมายนี้คือเพื่อปิดกั้นการเข้าถึงเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และสื่อออนไลน์อื่นๆ เพราะสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ถูกใช้ในการเผยแพร่และแบ่งปันความคิดและมุมมองของกลุ่มผู้ประท้วง ที่ไม่เห็นด้วยกับการกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีครั้งที่ 2 (สมัยที่ 3) ของปูติน รวมไปถึงใช้ในการประสานงานสำหรับการเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยเช่นกัน

กฎหมายนี้จะสร้างความกดดันให้ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ไปในตัวด้วย เพราะหากไม่ต้องการจะถูกสั่งปิดกั้นการเข้าถึงในรัสเซีย จะต้องย้ายมาติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ภายในประเทศเท่านั้น ยังไม่นับรวมบริษัทอื่นๆ ที่ต้องอาศัยฐานข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน

อนึ่งกฎหมายนี้เพิ่งผ่านเพียงสภาล่าง และยังต้องรอการอนุมัติจากสภาสูง รวมไปถึงตัวประธานาธิบดีก่อน และหากผ่านจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายนปี 2016 นี้

ที่มา - Yahoo! News, Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 7 July 2014 - 17:58 #719743
ตะโร่งโต้ง's picture

สำหรรับ --> สำหรับ

เสริมนิดนึง ไม่กี่เดือนก่อน บราซิลก็มีกฎหมายเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ User ในประเทศด้วยเหมือนกันครับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: toandthen
WriterMEconomics
on 7 July 2014 - 19:19 #719776
toandthen's picture

ข่าวแบบนี้ ไม่ว่าจะเกิดประเทศไหน ถ้าเราอยู่ในประเทศที่เป็นเผด็จการทหารอยู่ก็เสียวไปหมด กลัวว่าจะได้ไอเดีย T^T


@TonsTweetings

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 7 July 2014 - 21:43 #719831
Golflaw's picture

ผมว่าการเข้าถึงข้อมูลได้ในประเทศนี่ก็สำคัญนะ

ยกตัวอย่าง มีคนมาโพสต์คลิปหมิ่นประมาทผมในยูทูป (แบบปิดหน้าคนพูด) ถ้าผมอยากจะฟ้องร้องดำเนินคดี นี่โอกาสแทบเป็นศูนย์เลย เพราะการจะขอข้อมูลจาก google ที่ ตปท. สำหรับเรื่องนี้แทบเป็นไปไม่ได้

แต่ก็ต้องมาวางหลักเกณฑ์ไม่ให้รัฐเข้าแทรกแซงเหมือนกัน (ยากพอ ๆ กัน)


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: pasuth73
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 8 July 2014 - 09:03 #719939 Reply to:719831

มันเป็นเครื่องมือกรองคอนเทนของฝ่ายรัฐบาลมากกว่าครับไม่พอใจไรตามไปปิดได้ทันที

By: gettary
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 8 July 2014 - 13:18 #720028
gettary's picture

อย่างนี้ถ้าฝ่าฝืนใครจะผิดละครับ ผู้ให้บริการ หรือผู้ใช้บริการ