Tags:
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์ของ University of Michigan ได้วิจัยพัฒนาวัสดุแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยผลึกที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ได้เมื่อโดนแสงตกกระทบ ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ทำหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนรูปทรงได้

ตัวผลึกที่ประกอบขึ้นเป็นวัสดุพิเศษนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆ แตกต่างกันออกไป โดยผลึกเหล่านั้นจะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปทรงของเนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง

ผลึกดังกล่าวแขวนลอยอยู่ในสารละลายที่เคลือบไว้บนแผ่นสารกึ่งตัวนำ โดยสารกึ่งตัวนำดังกล่าวคือแผ่น indium tin oxide แบบโปร่งใส ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการนำไปใช้กับหน้าจอแสดงผล โดยองค์ประกอบทางเคมีของผลึกพิเศษนี้คล้ายคลึงผลึกที่พบได้ในสีลาเท็กซ์ เมื่อมีแสงตกกระทบลงบนวัสดุพิเศษนี้ก็จะทำให้เกิดประจุบวกและประจุลบ ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงกระทำกับผลึกดังกล่าวเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่แสงตกกระทบนั้น ทำให้เนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรง

ในวิดีโอสาธิตการทำงานของวัสดุดังกล่าวมีการฉายแสงเป็นรูปตัว M ลงบนพื้นผิววัสดุพิเศษนี้ โดยเมื่อแสงตกกระทบบนวัสดุก็ทำให้เม็ดผลึกเคลื่อนที่มาจัดเรียงตัวกันเป็นรูปตัว M ตามรูปร่างที่กำหนด

งานวิจัยนี้อาจนำไปใช้สร้างเป็นหน้าจอสัมผัสที่มาพร้อมความสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ คล้ายกับสิ่งที่เทคโนโลยีของ Tactus สามารถทำได้นั่นเอง

ที่มา - The Verge

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 25 April 2014 - 01:36 #698203
panurat2000's picture

ผลึกดังกล่าวถูกละลายเคลือบไว้แผ่นสารกึ่งตัวนำ

เคลือบไว้แผ่นสาร ?

โดยสารกึ่งตัวนำดังกล่าวคือแผ่น indium tine oxide แบบโปร่งใส

indium tine oxide => indium tin oxide

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 25 April 2014 - 04:39 #698224 Reply to:698203
PH41's picture

ที่หัวข้อคำว่า "เปลี่ยน" มีไม้เอกสองตัว

By: kookai
AndroidWindows
on 25 April 2014 - 09:53 #698254 Reply to:698203

ได้ทำการวิจัยสร้างวัสดุแบบใหม่

ควรใช้คำว่าพัฒนามากกว่าคำว่าสร้างครับ มันสื่อความหมายไม่เหมือนกัน

ซึ่งมีผลึกที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ได้เมื่อโดนแสงตกกระทบ

ประกอบไปด้วยผลึกที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ

โดยผลึกเหล่านั้นจะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปทรงของเนื้อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลง

โดยผลึกเหล่านี้จะขยับเปลี่ยนตำแหน่งทำให้รูปร่างและลวดลายเปลี่ยนแปลงได้เอง

ผลึกดังกล่าวถูกละลายเคลือบไว้บนแผ่นสารกึ่งตัวนำ โดยสารกึ่งตัวนำดังกล่าวคือแผ่น indium tin oxide แบบโปร่งใส

ผลึกดังกล่าวแขวนลอยอยู่ในสารละลายที่อยู่บนแผ่นสารกึ่งตัวนำซึ่งทำมาจาก Indium Tin Oxide อีกทีนึง

โดยองค์ประกอบทางเคมีของผลึกพิเศษนี้คล้ายคลึงกับสีลาเท็กซ์

ผลึกนี้มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับผลึกที่พบได้ในสีลาเท็กซ์

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 25 April 2014 - 10:32 #698269 Reply to:698254
ตะโร่งโต้ง's picture

ปรับแก้แล้วครับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: konga143
iPhoneAndroid
on 25 April 2014 - 10:01 #698258
konga143's picture

ทำไมผมนึกถึงอันนี้แทน No Description

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 25 April 2014 - 19:24 #698444
mementototem's picture

นึกถึงโฮโลแกรม


Jusci - Google Plus - Twitter