Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานแถลงข่าวทิศทางการดำเนินกิจการในเมืองไทย ซึ่งเป็นการแถลงข่าวครั้งแรกในไทยของเดลล์ หลังจากที่ออกจากการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกา (เปลี่ยนสภาพมาเป็นบริษัทเอกชน) ซึ่งจะเป็นทิศทางสำคัญและจะได้เห็นภาพของการดำเนินกิจการนับจากนี้ครับ

เริ่มต้นด้วยการแถลงกลยุทธ์ในภาพรวมโดยคุณอึง เทียน เป็ง รองประธานประจำภาคพื้นเอเชียใต้ของเดลล์ถึงภาพรวมของเดลล์หลังจากการออกจากตลาดหลักทรัพย์ครับ

alt="IMG_20140319_135846"

โดยรวมก็ไม่ได้แตกต่างจากเหตุผลที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้า นั่นก็คือความคล่องตัวในการบริหารงาน ที่ได้มามากขึ้น (ภายในงานกล่าวว่าเป็นการเปลี่ยนกลับไปสู่บริษัทแบบสตาร์ทอัพ อีกครั้งหนึ่ง) จากเดิมที่ต้องรายงานให้แก่สาธารณะทุกๆ ไตรมาส แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงยุทธศาสตร์เดิมในการขายโซลูชั่นแบบครบวงจรในที่เดียว ซึ่งแนวทางนี้เดลล์ทำมาได้ประมาณ 3-4 ปีแล้ว และเพิ่งจะสมบูรณ์ไปในช่วงปีที่ผ่านมา

alt="IMG_20140319_141250"

หลังจากนั้นคุณอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการของเดลล์ ประเทศไทย และผู้จัดการทั่วไปภาคพื้นอินโดจีน ก็ขึ้นมากล่าวถึงทิศทางของเดลล์ในปีนี้ ซึ่งเรื่องใหญ่ที่สุดอันหนึ่งคือการประกาศว่า ในปีนี้ เดลล์ จะเปลี่ยนแนวทางการขายทั้งหมดไปผ่านคู่ค้า (partner) แทน และจะยกเลิกการขายแบบเดิมที่เป็นลักษณะของการขายตรงทั้งหมด อาจจะมีเหลือบ้างสำหรับลูกค้ารายใหญ่จริงๆ เท่านั้น

alt="IMG_20140319_142319"

alt="IMG_20140319_143330"

ถ้ากล่าวให้พอเห็นภาพ สมมติว่าผมเคยสั่งเซิร์ฟเวอร์ของเดลล์หนึ่งตัวได้โดยตรงจากเดลล์ สามารถกำหนดคุณสมบัติของเครื่องได้ตามที่ต้องการ (CTO: Custom To Order) แต่พอมาปีนี้เป็นต้นไป ผมจะทำแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป จากนี้คือต้องไปสั่งกับผู้กระจายสินค้า (distributor) ซึ่งของที่ได้ก็จะเตรียมพร้อมไว้แล้วในคลังสินค้า กล่าวคือ ในแง่ความไวผมจะได้มากขึ้น เดลล์ก็ได้ประโยชน์ตรงที่ลดต้นทุนค่าขนส่งและความผันผวนของค่าเงิน (เพราะส่งสินค้าทีเดียว ครั้งละมากๆ ไม่ต้องทีละชิ้น) แต่ในทางกลับกันพวกสั่งประกอบเองก็จะเสียไป ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป

alt="IMG_20140319_144022"

แนวทางนี้จะทำให้เดลล์ดูแลลูกค้ารายใหญ่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในองค์กรขนาดกลาง (พนักงานประมาณ 200 คนขึ้นไป) ได้ดีขึ้น ผ่านระบบการทำงานร่วมกับคู่ค้า

alt="IMG_20140319_143814"

ในโอกาสเดียวกันนี้ เดลล์ เปิดตัวผู้บริหารคนใหม่ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย คือคุณธเนศ อังคศิริสรรพ ที่มีประสบการณ์ผ่านงานบริษัทไอทีสำคัญๆ มีประวัติที่เคยทำงานเกี่ยวกับคู่ค้ามานาน การเปลี่ยนตำแหน่งในครั้งนี้จึงสอดรับกับยุทธศาสตร์ใหม่ที่จะผันตัวไปอยู่กับคู่ค้ามากขึ้นกว่าเดิม

alt="IMG_20140319_144821"

กล่าวโดยสรุปคือทิศทางของเดลล์นับจากนี้เป็นต้นไปจะเปลี่ยนไปใช้แนวทางแบบเดียวกับคู่แข่งร่วมอุตสาหกรรม นั่นก็คือแนวทางที่อาศัย 'คู่ค้า' เป็นหลัก และลดกระบวนการความยุ่งยากลง (ซึ่งก็ตามมาด้วยการลดต้นทุน) ซึ่งนอกจากจะลดความระแวงของคู่ค้าลง (เพราะปกติเดลล์ขายของต่างๆ โดยตรงให้แก่ลูกค้าด้วย) ยังทำให้สินค้ากระจายตัวเข้าไปอย่างทั่วถึงด้วย อาจจะเรียกว่าเป็นการปรับวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากฐานรากของเดลล์แต่เดิม

แต่ในทางกลับกัน แนวทางนี้จะทำให้ความยืดหยุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เป็นโซลูชั่นหรืออุปกรณ์ที่ต้องเน้นการปรับแต่ง (CTO ทั้งหลาย) ของเดลล์หายไป ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลอย่างไรในระยะยาว แม้ว่าจะยืนยันว่า แนวทางการขายออนไลน์ที่ยังคงเป็นลักษณะแบบเดิมในบางประเทศ (สั่งซื้อแล้วปรับแก้คุณสมบัติตามใจลูกค้า) ยังจะคงอยู่ในบางที่ก็ตามที

Get latest news from Blognone

Comments

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 21 March 2014 - 02:39 #689357
nuntawat's picture
  • Partner สะกดด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
  • server เขียนเป็นภาษาไทยได้
By: nrad6949
WriterAndroidBlackberryWindows
on 21 March 2014 - 12:36 #689445 Reply to:689357
nrad6949's picture

เรียบร้อยครับ


I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.

By: chettaphong
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 21 March 2014 - 09:36 #689383

ที่ Office ใช้ DELL เนื่องจาก Corporate Policy โดยรวมก็โอเคนะ
แต่อยากให้ ใช้ Part ที่มีคุณภาพหน่อย เพราะ บางรุ่นเห็นเปลี่ยนบ่อยมาก
ซึ่งถ้าใช้ของมีคุณภาพ ก็จะลดต้นทุนแฝงพวก Support ได้เยอะและ
ที่สำคัณลูกค้าก็ไม่ต้องเสียเวลา และเสียอารมณ์ด้วย

By: Alios
iPhoneAndroidWindows
on 21 March 2014 - 10:51 #689409 Reply to:689383

ผมว่าค่าซัพพอร์ตก็รวมอยู่ในราคามาแต่แรกแล้ว การใช้วัสดุคุณภาพก็ต้นทุนสูงอีก หลังๆงานประกอบและวัสดุเหมือน Acer เลยครับ แต่เพราะชื่อเดลล์เลยอุ่นใจกว่า

By: GooEng
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 21 March 2014 - 12:23 #689436
GooEng's picture

งงกับหัวข้อ แล้วก่อนหน้าจะเป็นบริษัทเอกชน เป็นรัฐวิสาหกิจชุมชนมาก่อนหรอครับ


คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

By: nrad6949
WriterAndroidBlackberryWindows
on 21 March 2014 - 12:33 #689442 Reply to:689436
nrad6949's picture

ที่มาคือคำว่า Private Company (บริษัทเอกชน) กับ Public Company (บริษัทมหาชน) ครับผม

แต่เพื่อความชัดเจน ผมแก้ไขตามที่แนะนำแล้วครับ


I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 21 March 2014 - 12:36 #689446

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่ต้องรอของอย่างน้อย 22 วันเหมือนเมื่อก่อนนะครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 21 March 2014 - 12:40 #689448
lew's picture

ในฐานะคนพยายามซื้อ latitude มาใช้หลายรอบและไม่สำเร็จนี่ ยินดีกับข่าวนี้มากครับ

โมเดลขายตรง (แล้วผสมการขายผ่าน partner) ของเดลล์มีปัญหาเรื้อรัง เดลล์โฆษณาเยอะ ส่งจดหมายไปตามบริษัท แต่พอยอดซื้อน้อยแล้วไม่ได้ซื้อตามโปรโมชั่นราคาที่ quote มาจะแพงแถมกระบวนการซื้อยุ่งยากกว่าซื้อผ่านคู่ค้า ทุกวันนี้ใครจะซื้อโน้ตบุ๊กเดลล์รุ่นธุรกิจผมต้องให้ไปซื้อเว็บ Thaidellclub แทน ซึ่งมัน non-sense มากว่าทำไมจะเป็นลูกค้ามันต้องยุ่งยากขนาดนั้น

ถ้าขายเองแล้วไม่สามารถจับตลาดได้ทั้งหมด ปล่อยคู่ค้าทำไป แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมมากๆ เฉพาะรอบสั่งซื้อใหญ่ๆ ก็พอ


lewcpe.com, @wasonliw

By: sompu
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 21 March 2014 - 12:43 #689450
sompu's picture

ผู้ใช้ทั่วไปต้องผ่าน distributor ก่อน (=__=) มันจะดีหรือแย่กว่าเดิมเนี่ย!?

By: Zeball
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 21 March 2014 - 17:52 #689527

ผมน่าจะมีความเห็นไม่ตรงกับคุณ lew นะครับ เพราะว่าผมซื้อ latitude ได้ง่ายมาก ถ้าเป็นในรูปนิติบุคคล อาจเนื่องจากว่า Notebook รุ่นนี้เป็น Notebook รุ่นจำเพาะตลาดองค์กรเท่านั้น(เรื่อง Product line) ดังนั้นเวลาเดินหาซื้อตามร้าน หรือบุคคลทั้วไปเลยไม่มีขายครับ และฝ่ายขายบอง Dell เปิดขายไม่ได้ให้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเรื่องของนโยบายบริษัท ส่วนเรื่องบริการหลังการขายไม่เกี่ยวเพราะเป็นคนละบริษัท

เทคนิคส่วนใหญ่คือ ให้นิติบุคคลซื้อ บ่อยครั้งเป็นการจัดตั้งนิติบุุคลหนึ่ง(ที่ไม่ได้ขายคอมพิวเตอร์)ซื้อมาแล้วเอามาขายต่อให้พวกบุคคลธรรมดาที่ต้องการรุ่นนี้ครับ (ขายใน Thaidellclub ลองเช็คชื่อประกันเล่นๆก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นของเราก็ได้ว่าบริษัทไหนซื้อมา) แต่จากนี้ไป Latitude บุคคลธรรมดาก็จะหาซื้อรุ่นนี้ได้ผ่านทาง Partners (Distributor ต้องปล่อยให้ทุก Partner อยู่แล้ว)เป็นข้อดี่ที่หาซื้อได้ง่ายขึ้น และบริการหลังการขายที่ดี

Dell มีสินค้าที่ขายให้เฉพาะองค์กรเท่านั้นอยู่หลายตัวครับ (เพราะจากพื้นฐานเดิมของบริษัทที่เน้นลูกค้าองค์กรเป็นหลัก) ไม่ใช่เพราะหยิ่งนะครับ แต่เพราะเรื่องจัดการ และใช้งาน เหมือนกับว่า สกรีนลูกค้าที่จะขายว่า สินค้าเกรดนี้, ราคานี้, และต้องมีคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ติดมาด้วย เรายอมรับได้, ใช้เป็น, และมีความรู้แล้ว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสียลูกค้าได้ เพราะจ่ายแพงกับคุณสมบัติที่ไม่ใช้ และHardware หลายตัวของสารสนเทศอาจจะไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้เหมือนของเกรดที่บ้าน
Dell ขายอย่างเดียวบ่อยครั้งเป็นหน้าที่ของลูกค้าต้องติดตั้ง, ตั้งค่าเอง, และจัดการเอง มันเลยไม่เป็น Solution (สินค้า + บริการ) แต่สินค้ามีครบ Solution ทั้ง Hardware และ Software นะ ผมว่านี้เป็นจุดอ่อนใหญ่ของ Dell ในประเทศไทย และอาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย เหมือนเรื่องหมอและยา
ใน USA. ถ้าเราไปพบหมอที่คลินิก (ยกเว้นโรงพยาบาลนั้นมีขายแต่เลือกซื้อเองก็ได้) หมอไม่มียาขายให้เรา(เสียค้าปรึกษาหมอเป็นนาที หรือชั่วโมงตามราคา) เราต้องไปซื้อที่ร้านขายยาโดยใช้ใบสั่งแพทย์เอง แต่ที่ประเทศไทยหมอจะต้องมียาที่จะรักษาขายให้เรา(คิดเป็นครั้ง)ครั้งนี้ Dell เป็นร้านขายยาแต่ไม่มีหมอ เพราะหมออยู่กับ Partner และตามบริษัทรับทำระบบต่างๆ และประเทศไทยมักซื้อสินค้ากับผู้รับเหมาระบบอยู่แล้วเพื่อให้เขาดูแลเราทั้งหมดไปเลย ดังนั้นผมว่า Dell ประเทศไทยวางกลยุทธ์การขายเจาะองค์กรประเทศไทยใหม่เป็นผ่าน Partner ซึ่งเป็นตลาดที่ภาคองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยเลือกใช้ ส่วนองค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กก็ใช้บ้าง ยกเว้นองค์กรที่มีมือชอบลองของ หรือพวกไม่ลองไม่รู้(แบบผม)

ข้อดี: 1. ทำให้บุคคลธรรมดาซื้อของได้ทุกรุ่น
2. การส่งของที่รวดเร็ว และกระจายสินค้าเร็ว
3. การควบคุม fragmentation ของ Hardware ดีขึ้น (แต่ผมไม่ค่อยชอบเลย) ถ้าอยากรู้ให้ไปดูที่ Dell US ได้ครับ เพราะตัวเลือกตอนนี้น้อยลงมากเลย บางรุ่นปรับแต่งไม่ได้เลย (กด custom มีอย่างเดียวให้เลือกคือประกันว่าจะเอาแบบไหน กับ Software ติดเครื่อง)
4. จุดแข็งของ Dell เรื่อง Service on site ยังอยู่ทำให้แข่งขันกับตลาดได้

ข้อเสีย: 1. การปรับแต่งรุ่นให้โดนใจทำได้น้อยลงมาก
2. การขอใบเสนอราคาทำได้ช้ามาก (ผมเคยขอราคา 3 ช่องทาง 4 บริษัทแข่งกันมาแล้ว ติดต่อ Dell โดยตรงนั้นเร็วสุด(ขอเช้า บ่ายก็ได้ราคา) จากการสืบมา สิ่งที่ช้าที่สุดในขั้นตอนการเสนอราคาเท่าที่รู้คือ ให้หัวหน้าฝ่ายขาย partner เซ็นใบเสนอราคา กับรอคิวจัดซื้อของ Partner หาราคา)
3. เกิดการกีดกันการแข่งขันเสนอสินค้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากในตอนแรกบริษัทสาขาต่างจังหวัดรื้อทำระบบคอมพิวเตอร์ และแม่ข่าย เราจึงให้บริษัทมีชื่อในกรุงเทพที่เคยในกรุงเทพประเมินโครงการทั้งหมด ต่อมาเราพบว่าที่จังหวัดนั้นมีบริษัทรับเหมาที่พอมีฝีมือ และเชื่อถือได้ ซึ่งประเมินว่าบริษัทนี้ใกล้สาขาต่างจังหวัดมากกว่าจะดีเรื่องการบริการ และราคา ซึ่งก็ได้ราคาดีกว่า และการรับประกันในการบริการก็ดี แต่ติดอยู่อย่างเดียวทำให้เขารับงานนี้ไม่ได้คือ เครื่องแม่ข่าย กับ Software ทาง Distributor ไม่ขายให้เขาเพราะมีเจ้าอื่นลงทะเบียนโครงการเราเรียบร้อยแล้ว ผมงงเลยเลยโทรไปหา HP เขาบอกว่า Distributor เป็นคนจัดการเรื่องนี้ โทรหา Distributor บอกเป็นนโยบายการป้องกันการแย่งลูกค้า และรักษาส่วนลดของราคาขายของเขา งงเลยมีงี้ด้วย ยกเว้นเจ้าที่ Stock ของนั้นอยู่ก่อนแล้วที่เสนอราคาให้ผมได้ (หรือเป็นนโยบายขายของให้ Stock ของ HP ก็ไม่รู้)
4. สินค้าราคาแพงขึ้นเพราะต้องผ่านคนกลางหลายคนก่อนถึงมือผู้บริโภค

ถ้ามององค์กรในการแข่งขัน และองค์กรแล้ว เป็นกลยุทธ์ที่ดีเลยทีเดียว เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งเรื่องการจัดการต้นทุน และการเจาะตลาดองค์กรที่เป็นฐานลูกค้าหลัก และยังคงจุดแข่งของแบรนด์ได้เรื่องการบริการ on site แต่ก็ยังไม่ชอบนโยบายนี้ตรงปรับแต่งไม่ค่อยได้อย่างที่ต้องการ (เพราะขอราคาบ่อยมากกว่าจะได้ทั้งราคา และสเปคที่ยอมรับได้) และอดคุยกับพนักงานขายของ Dell ที่น่ารัก T_T