Tags:
Node Thumbnail

ในปี 2013 ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจนั้นมีความต้องการให้ระบบสามารถใช้งานได้ตลอดเวลามากขึ้น (Business Continuity) ด้วยสาเหตุที่ทำให้ระบบนั้นล่มลงไปนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ปัจจัยภายในอย่างความผิดพลาดของการทำงาน ระบบไฟเสียหาย ไปจนถึงปัจจัยภายนอกอย่างภัยธรรมชาติ แลพการประท้วง EMC เองเป็นบริษัทที่มีโซลูชันในการรับมือกับปัญหาที่คาดไม่ถึงเหล่านี้อยู่แล้ว จึงมีแนวทางรับมือ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เกิดความเสียหายเมื่อระบบนั้นล่มลง

ในเคสแรกที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกันมากในช่วงหลังคือการทำให้ระบบสามารถใช้งานได้ แม้ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติขึ้น แนวทางที่ใช้ในการรับมือกับระบบล่มที่เกิดจากภัยธรรมชาติคือการทำไซต์สำรอง (DR site) โดยมีระดับของการใช้งานตั้งแต่ แบบทั่วไปคือการใช้ไซต์สำรองเพื่อทำงานแทนเมื่อไซต์หลักทำงานไม่ได้, แบบ Active-Active ที่เมื่อไซต์หลักล่ม ไซต์สำรองสามารถทำงานได้ทันที

No Description

ในกรณีที่ตัวธุรกิจไม่ได้ต้องการให้รันตลอดเวลา ก็สามารถใช้ RecoverPoint ตู้ SAN สำหรับเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถรันระบบขึ้นมาได้เร็วขึ้น และยังเลือกเวลาที่จะกู้กลับมาได้ (แทนที่จะเป็นเวลาสุดท้ายที่ระบบล่มลงไป) โดย EMC เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Point in Time

No Description

อีกเคสหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการประท้วงคือไซต์นั้นไม่สามารถเข้าทำงานได้ จึงทำให้เกิดการต้องย้ายที่ทำงานขึ้น วิธีการที่ EMC แนะนำคือการทำ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ด้วย XtremIO เพื่อสร้างพีซีจำลองขึ้นมา โดยที่ยังแชร์ข้อมูลกับไซต์แรกที่ไม่สามารถเข้าถึงได้อยู่ (อ่านเรื่องการใช้ VDI กับ XtremIO ได้จากข่าวเก่าครับ)

Get latest news from Blognone