Tags:
Node Thumbnail

นับตั้งแต่ปี 2011 มีความหวังถึงเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียู ARM เป็นวงกว้าง บริษัทขนาดใหญ่เช่นเอชพีเปิดตัวโครงการ Moonshot ใช้ซีพียู ARM ที่ผลิตสำหรับเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะจากบริษัท Calxeda แต่สองปีต่อมา Calxeda ก็ขาดเงินสดจนต้องหยุดดำเนินการ ทาง The Register สัมภาษณ์ Karl Freund รองประธานฝ่ายการตลาดถึงสาเหตุของความล้มเหลวนี้ และความเป็นไปได้ที่ ARM จะบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์อีกครั้ง

Freund ระบุว่า Calxeda นั้นเกิดก่อนกาล เพราะลูกค้าที่สนใจ ARM ส่วนมากรอให้ ARM เปิดสินค้าในสถาปัตยกรรม 64 บิตเสียก่อนจึงเริ่มใช้งานจริง และลูกค้าต้องการให้ระบบนิเวศของซอฟต์แวร์ในสถาปัตยกรรมให้พร้อมเสียก่อน แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การซัพพอร์ตจากระบบนิเวศโดยรวมยังมีจำกัด แม้ Ubuntu จะซัพพอร์ต ARM ไปก่อนแล้วแต่ลินุกซ์ที่ประสบความสำเร็จอย่าง Redhat กลับต้องรอถึงปี 2015 จึงจะรองรับ องค์กรขนาดใหญ่แม้จะทดสอบ ARM อยู่ภายในแต่ก็จะไม่หันมาใช้งานหากไม่มีการซัพพอร์ต 64 บิตอย่างจริงจัง

แม้ว่าความหวังของการใช้สถาปัตยกรรม ARM ในมาทำเซิร์ฟเวอร์จะเป็นความได้เปรียบด้านพลังงาน แต่ Freund ระบุว่าหาก ARM จะประสบความสำเร็จในโลกเซิร์ฟเวอร์ เหตุผลที่ทำให้สำเร็จก็ไม่ใช่ประสิทธิภาพต่อพลังงานอยู่ดี เพราะอินเทลจะสามารถไล่ทันได้ก่อนที่ระบบนิเวศทั้งหลายเช่น Redhat จะรองรับ ARM จริงจังอยู่ดี เพราะเทคโนโลยีการผลิตของอินเทลก้าวหน้ากว่าผู้ผลิตรายอื่นมาก

แต่จุดขายที่แท้จริงของเซิร์ฟเวอร์ ARM ในความเห็นของ Freund คือความสามารถในการปรับแต่งซีพียูที่ไม่สามารถทำได้กับชิปของอินเทล บริการเฉพาะทางเช่นกูเกิลอาจจะต้องการให้ชิปมีชุดคำสั่งพิเศษเพื่อรองรับโหลดบางประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือจูนโหลดงานบางประเภท กรณีเช่นนี้จะเป็นจุดได้เปรียบของ ARM ที่ขายพิมพ์เขียวของซีพียูออกไปให้ผู้ผลิตปรับแต่งกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว โดยผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ ARM น่าจะอยู่รอดหากได้ลูกค้ารายใหญ่มากๆ หรือสามารถปรับแต่งซีพียูรองรับโหลดบางประเภทที่มีตลาดเฉพาะของตัวเองได้

ที่มา - The Register

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 9 January 2014 - 00:56 #670848
panurat2000's picture

แม้ว่าความหวังของการใช้สถาปัตยกรรม ARM ในมาทำเซิร์ฟเวอร์จะเป็นความได้เปรียบด้านพลังงาน

ในมาทำเซิร์ฟเวอร์ ?

By: kritapas.t
iPhoneAndroidBlackberry
on 9 January 2014 - 01:12 #670852
kritapas.t's picture

อารมณ์เหมือน Intel คือ iOS และ ARM คือ Andriod

By: sp on 9 January 2014 - 09:19 #670907

ดูขากเนื้อหา ไม่น่าใช้คำแปลว่า "ระบบนิเวศน์" - คำว่า operating system environment น่าจะแปลว่า ระบบปฏิบัติการแวดล้อม มากกว่า

By: tamujin
AndroidSymbianUbuntu
on 9 January 2014 - 10:23 #670923 Reply to:670907
tamujin's picture

สภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ หรือป่าวคับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 January 2014 - 11:39 #670954 Reply to:670907
lew's picture

ไม่ใช่ครับ มันคือคำว่า ecosystem

คุณคิดไปเองว่ามันมาจาก operating system environment


lewcpe.com, @wasonliw

By: arthit_m
Windows PhoneAndroidRed HatSUSE
on 9 January 2014 - 13:35 #670991

น่าสนใจดีครับ ประเด็นที่ผมสงสัยคือ
ถ้าเกิด intel เริ่มสร้างความร่วมมือกับลูกค้ารายใหญ่
ให้ปรับแต่ง CPU เพื่อรับโหลดสำหรับงานเฉพาะได้
คล้ายๆกับก่อนหน้านี้ที่ เคยมีข่าวเรื่องอุณหภูมิ data center ของ google งั้นสิ?
โอกาสที่ server ARM จะรอดก็ยิ่งน้อยลงสินะ

แล้วทาง AMD ละครับ? หรือว่า Opteron ยกธงขาวไปนานแล้ว

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 January 2014 - 13:46 #670998 Reply to:670991
lew's picture

การแข่งขันเกิดขึ้นตลอดครับ แต่มันไม่ใช่จุดเด่นของอินเทล

วิศวกรบริษัทที่เชี่ยวชาญสถาปัตยกรรม x86 นอกอินเทลและเอเอ็มดีมีน้อยมาก ขณะที่บริษัทที่ปรับแต่งชิปสถาปัตยกรรม ARM มีหลายสิบหลายร้อยบริษัท


lewcpe.com, @wasonliw

By: arthit_m
Windows PhoneAndroidRed HatSUSE
on 9 January 2014 - 13:50 #671000 Reply to:670998

ขอบคุณครับ พอมองเห็นภาพแล้ว
เรื่องกำลังคนก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ

By: quake_the_rock
iPhoneRed HatUbuntuWindows
on 9 January 2014 - 19:35 #671054
quake_the_rock's picture

+1 ชอบข่าวนี้มากเลยครับ เพราะทำให้ ARM ดูน่ากลัวขึ้นบ้างในตลาด SERVER