Tags:
Node Thumbnail

วันนี้นอกจาก กสทช. แถลงข่าวเรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ 3G ลง 15-20% จากราคาปัจจุบัน ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ กสทช. ยังเผยแพร่บทความของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ หนึ่งในกรรมการ กทค. ชื่อว่า ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ต่อสาธารณชนอีกด้วย

บทความนี้อธิบายประเด็นที่ กสทช. ถูกโจมตีทั้งหมด 7 ประเด็น เช่น ระบบสัมปทาน รายได้ของรัฐบาล ราคาตั้งต้นของการประมูล กระบวนการโจมตี กสทช. และ กทค. เป็นต้น

ผมนำเวอร์ชันเต็มๆ มาลงเผยแพร่บน Blognone เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและตัดสินกันเองครับ

ฉบับ Scribd

ถึงเวลาวิพากษ์ประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์

ฉบับ plain text

ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากการเคลื่อนไหวการคัดค้านการประมูล 3 จี ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจเกรงว่าจะเป็นปัญหาลุกลามบานปลายและเกิดความเสียหายต่อประเทศไทย ตนในฐานะกรรมการ กสทช. และเป็นหนึ่งในกรรมการ กทค. ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รอบคอบ และใช้ดุลพินิจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศชาติในขณะนี้ โดยมุ่งประโยชน์ของประชาชนชาวไทย อย่างไรก็ตาม ได้ติดตามเรื่องต่างๆ และข้อมูลข่าวสารด้วยความเป็นห่วง รวมทั้งได้มีการหารือ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ในเรื่องดังกล่าวดังนี้

ประเด็นแรก การเคลื่อนไหวต่อต้านการประมูลในครั้งนี้มีการนำประเด็นเรื่องสัมปทานมาเกี่ยวข้องทั้งๆ ที่มีหลายคนมีแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานมาก่อน รวมทั้งเคยผลักดันให้มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบการแข่งขัน แต่ตอนนี้มีความพยายามนำเรื่องการประมูลมาเปรียบเทียบกับข้อดีของระบบสัมปทาน ทั้งๆ ที่ ระบบการประมูลคลื่นความถี่จะเป็นการช่วยลดการผูกขาดอำนาจของหน่วยงานของรัฐ เพิ่มการแข่งขันให้ภาคเอกชน ส่งผลให้คุณภาพดีขึ้น และราคาค่าบริการถูกลง การนำประเด็นเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลมาโจมตีว่า กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นการประมูลต่ำไป โดยมีการสื่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนและนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าสัมปทาน ทั้งๆ ที่การประมูลครั้งนี้เป็นการนำคลื่นความถี่ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทานมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยมิได้เข้าไปแทนที่ระบบสัมปทาน จึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง

ประเด็นที่สอง การเคลื่อนไหวคัดค้านการประมูลในครั้งนี้เคลื่อนไหวในประเด็นที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล โดยการพยายามให้ กสทช. หารายได้ให้รัฐบาลเยอะๆ และมุ่งโจมตีว่ารัฐบาลจะเสียผลประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ กสทช. เป็นองค์กรของรัฐก็จริงแต่เป็นอิสระจากรัฐบาลและมิได้มีหน้าที่หารายได้ให้รัฐบาล แต่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงเคลื่อนไหวเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามรัฐธรรมนูญและกฏหมาย

ประเด็นที่สาม การให้ กสทช. กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไปโดยไม่มีหลักวิชาการรองรับ ทำให้ส่งผลเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้เข้าร่วมการประมูลได้ ทำให้ตลาดผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น เหตุใดการคัดค้านจึงต้องการให้ กสทช. กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงอย่างไม่มีเหตุผล โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นนี้ หาก กสทช. ทำตามข้อเรียกร้อง ย่อมเป็นการทำให้ กสทช. กระทำผิดกฎหมายเนื่องจากถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่และมุ่งหารายได้ให้รัฐบาล โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ประเด็นที่สี่ กระบวนการโจมตีการทำงาน และ discredit กสทช. ถูกทำอย่างเป็นระบบ มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จนต้องการให้ล้มการประมูล 3 จีครั้งนี้

ประเด็นที่ห้า มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวนี้มิได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการอย่างสุจริตใจ เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่า กสทช. ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้ เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่ และที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ก็ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ตรงกันข้าม หากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล่าช้าออกไป จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทยและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล

ประเด็นที่หก อีกไม่ถึง 2 ปี เราก็จะเข้าสู่ AEC แล้ว หากประเทศไทยยังมีระบบโทรคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพเราก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ได้ และเมื่อบริษัทโทรคมนาคมของต่างชาติเข้ามาแข่งขัน บริษัทโทรคมนาคมของไทยจะไม่มีโอกาสเติบโตได้ การขัดขวางผลการประมูล 3 จี จะทำให้ต่างชาติได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยเสียหายย่อยยับ จึงมีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โดยทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ต่างชาติได้ประโยชน์

ประเด็นที่เจ็ด มีการโจมตีการทำงานของ กทค. เช่น โจมตีว่า กทค. เร่งรับรองผลการประมูล และ รีบให้ใบอนุญาตโดยพิรุธ ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนก็เห็นแล้วว่าเราได้มีการถ่ายทอดเสียงในวันพิจารณาผลการประมูล โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้มุบมิบแอบทำ และไม่ได้ลุกลี้ลุกลนแต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้มีการกล่าวหาว่า กสทช. เร่งรัดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากวันนี้ที่ กทค. ได้แถลงการณ์ยืนยันว่ามีเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการก่อนให้บริการ 3 จี ซึ่งเราต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ประกอบการต้องทำตามเงื่อนไขที่เรากำหนดก่อนว่าประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุด

จึงขอวิงวอนให้ประชาชนชาวไทยรับฟังข้อมูลต่างๆ อย่างมีสติ ไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าให้การยั่วยุใดๆ อยู่เหนือเหตุผลจนทำให้คนไทยเกลียดชังกัน และมองข้ามประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากการประมูล 3 จี บทเรียนความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตที่เกิดความเสียหายอย่างเจ็บปวดต่อประเทศชาติ จึงคงไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งผมขอยืนยันว่าการเมืองไม่ได้มาเกี่ยวข้องในการที่ กสทช. จัดประมูล 3 จี ในครั้งนี้ โดยบอร์ดกระทำการโดยบริสุทธิ์ใจและทำเพื่อประโยชน์ของคนไทย จึงขอให้ประชาชนชาวไทยมั่นใจว่า กสทช. จะสานต่อภารกิจเพื่อชาติให้สำเร็จให้ได้ เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 3 จี ซึ่งเป็นการประมูลคลื่นความถี่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

หมายเหตุ: เน้นตัวหนาเล็กน้อยโดย Blognone

Get latest news from Blognone

Comments

By: maytee
iPhone
on 22 October 2012 - 15:50 #494594

สาธุ

By: lengzat on 22 October 2012 - 17:09 #494659 Reply to:494594

หลายคนก็ไม่รู้ว่าเค้าพยายามจะให้มีรายที่ 4 ขนาดไหน แต่มันมีไม่ได้

แล้วคลื่นที่ประมูลกันเนี่ย เค้าก็ไม่ได้อยากได้อะไรมากนักหรอก

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 17:11 #494663 Reply to:494659

แน่ใจหรือครับ ว่าไม่ได้อยากได้กัน ?

By: kicub2
iPhoneAndroid
on 22 October 2012 - 17:27 #494677 Reply to:494663

ตอบแทน ผมแน่ใจครับ

By: idKung
iPhone
on 22 October 2012 - 18:51 #494716 Reply to:494677

แล้วทำไมถึงมาประมูลกันล่ะครับ

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 19:06 #494726 Reply to:494716

ว่าจะถามแบบนี้พอดี ถ้าไม่อยากได้จริงๆ แล้วมาประมูลกันทำไมครับ เงินไม่ใช่น้อย ๆ

By: lengzat on 22 October 2012 - 20:12 #494749 Reply to:494726

อยากได้ แต่ไม่ได้อยากได้มากขนาดนี้ ลองไปถามๆดูสิครับ ว่าเค้าอยากได้กันเท่าไหร่

แล้วที่เค้าอยากได้กันจริงๆคือคลื่นไหน แว่วๆว่าคลื่นที่จะดึงกลับมาในอีกไม่กี่ปี จะสนุกกว่านี้

By: Ed on 23 October 2012 - 01:20 #494845 Reply to:494749
Ed's picture

แว่วๆ นะมีหลักฐานหรือเปล่าหรือว่าคิดไปเอง

By: ico on 22 October 2012 - 19:29 #494736 Reply to:494659

สมมุติประเทศไทยมี 4 เจ้าใหญ่ คำถามคุณอาจจะเปลี่ยนเป็น

หลายคนก็ไม่รู้ว่าเค้าพยายามจะให้มีรายที่ 5 ขนาดไหน แต่มันมีไม่ได้

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 22 October 2012 - 15:51 #494595

ยาวไปไม่อ่าน (ล้อเล่น)

เอาจริงๆ คนที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ก็คงไม่อ่านอยู่ดี หลายเรื่องที่เขาพูดๆ กัน มันก็มีเอกสารอะไรให้อ่านเยอะแยะแล้ว แต่ก็ยังพูดกันผิดๆ อยู่

เอาแค่เรื่องการตั้งราคา ยังมีทั้งฝ่ายที่ด่าว่า ตั้งถูกไป กับตั้งแพงไปเลย

By: Eka-X
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 22 October 2012 - 15:51 #494596

ติดใจตรงข้อ 5

มีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่ากสทช. ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้

อืมม

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 22 October 2012 - 15:54 #494598 Reply to:494596

ก็ถูกแล้วนี่ครับ

รัฐไม่ต้องทำอะไร คลื่นมันมีอยู่แล้ว ใช้ก็ไม่หมด พอหมด license รัฐก็ได้คลื่นคืนมาเต็มๆ ไม่มีอะไรหายไป ไม่มีอะไรเสื่อมสภาพ

ไม่เหมือนพวกน้ำมัน, ถ่านหิน หรืออะไรแบบนั้น

By: Eka-X
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 22 October 2012 - 15:56 #494599 Reply to:494598

ความรู้สึกหลังจากอ่านเหมือน

อ่ะ เราได้มาฟรีๆ ประมูลให้ถูกๆ ก็ได้

By: etorys
Android
on 22 October 2012 - 16:01 #494603 Reply to:494599

ถูกขนาดนั้นทำไมไม่เห็นมีใครมาแย่งกันประมูล

By: Eka-X
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 22 October 2012 - 16:05 #494606 Reply to:494603

ประมูลเสร็จก็ต้องตั้งเสา สร้างเครือข่าย จ้างวิศวกร สร้างการตลาด

ถ้าไม่ใช่บริษัทข้ามชาติก็ไม่น่าจะทำไหวนะครับ

By: etorys
Android
on 22 October 2012 - 16:18 #494618 Reply to:494606

สรุปคือก็ไม่ถูกใช่ไม๊ล่ะ

By: aobzilla
iPhone
on 22 October 2012 - 17:15 #494667 Reply to:494618

ความเห็นส่วนตัว ถ้ามองให้ครบกระบวนการจนถึงจุดที่ประชาชนได้ใช้งาน ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะมีเอกชนรายใดนอกจาก AIS DTAC TRUE ที่จะพอมีศักยภาพในการดำเนินการและทำการตลาด 3G ได้เลยนะครับ เพราะรายอื่นเข้ามาทำ กลัวจะได้ไม่คุ้มเสีย

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 22 October 2012 - 16:02 #494604 Reply to:494599
darkleonic's picture

บางคนนึกว่าเราไปซื้อต่อมาจากต่างประเทศเลยครับ


I need healing.

By: msvming
iPhoneWindows
on 22 October 2012 - 16:03 #494605 Reply to:494599

จะว่าไม่มีต้นทุนใดๆ ก็ไม่ถูกนะครับ มันมี ต้นทุนค่าเสียโอกาสอยู่น่ะครับ ...

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 16:06 #494609 Reply to:494605

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี no free lunch

By: pd2002 on 22 October 2012 - 16:44 #494637 Reply to:494605

เสียโอกาสมา 10 ปีแล้วครับ

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 23 October 2012 - 09:29 #494960 Reply to:494637
dangsystem's picture

จำข่าวประเทศเพื่อนบ้านเปิดตัวใช้ 3G กันได้เป่า ผมจำไม่ได้และเพราะมันนานมากแล้ว :)

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 22 October 2012 - 16:51 #494642 Reply to:494605
put4558350's picture

ซึ่งถ้าไม่นำไปไช้ ก็เสียโอกาศเช่นกัน ทั้งยังปล่อยให้บางหน่วยงาน นอนกินไปเรื่อยๆ

ความจริงคือ ค่ายมือถือต้องการกำไร ถ้าประมูลแพง ค่าสบริการก็จะสูงเป็นเรื่องปรกติ ยิ่งตอนนี้ผู้ที่มีมือถือ 3g ก็ยังไม่มาก เพราะค่าบริการแพง และเครือข่ายยังไม่ครอบครุม บางรายถึงกับบอกว่าต้องการแค่ slot เดียว (จาก 9 slot) ด้วยช้ำ

ชึ่งการประมูล ก็กำหนดว่าต้องขยายเครือข่าย และมีแผนจะลดค่าบริการลง 15 - 20% ซึ่งผมว่าทำใด้ดี แทคติกอย่างการบอกแผนลดค่าบริการลง 15 - 20% หลังประมูลก็พยายามทำให้เกิดการแข่งให้ใด้ (แต่ไม่สำเหร็จ) จากนี้อีก 15 ปีสำปะทานก็จะหมดลง ตอนนั้นผู้ถือ 3g device น่าจะเพิ่มขึ้น และการแข่งประมูลก็น่าจะเริ่มตรงนั้น

แน่นอน Haters gonna hate เสี้อเหลือง (หรือฟ้า) และ cat ยังไงก็เหมือนเดิม


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: sunback
Contributor
on 22 October 2012 - 16:41 #494635 Reply to:494599
sunback's picture

ความรู้สึกหลังจากอ่านเหมือน
อ่ะ เราได้มาฟรีๆ ประมูลให้ถูกๆ ก็ได้

วนกลับไปอ่านข้อสามใหม่ได้ครับ

By: maytee
iPhone
on 22 October 2012 - 16:07 #494611 Reply to:494596

ถ้าเป็นคลื่นที่เรียกคืนจากระบบสัมปทานเดิม แล้วเอามาประมูลที่ราคานี้ คงโดนสับและ เพราะระบบเดิมสร้างรายได้ให้รัฐมากกว่า

แต่อันนี้เป็นคลื่นที่ว่างอยู่ น่าจะพูดว่า เป็นคลื่นที่ไม่เคยทำให้เกิดรายได้มาก่อน ก็คงแล้วแต่มุมมอง เหมือน PC หรือมือถือสมัยก่อน เครื่องละ 3-4 หมื่น กับ PC หรือมือถือสมัยนี้ เครื่องละ 1-2 หมื่น ถูกลงแต่ประสิทธิภาพดีกว่าสมัยก่อนมากมาย

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 16:08 #494612 Reply to:494611

คิดแบบนั้นก็ไม่ถูกครับ เพราะเอาของที่ไม่มีคนใช้ แต่คนใช้เป็นกลุ่มเดิม
ดังนั้นเค้าก็ย้ายจากคลื่นเดิมไปคลื่นใหม่
รายได้ก็ลดครับ

By: plawanja
Android
on 22 October 2012 - 17:27 #494676 Reply to:494612
plawanja's picture

ตรรกะแบบนั้นไม่ถูกซะทีเดียวครับ ถ้าคลื่นใหม่มันให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่าเดิม สามารถจูงใจผู้ใช้ทั้งกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ๆ ให้เสพ content มากขึ้นหลายๆ เท่า รายได้มันก็น่าจะเพิ่มกว่าเดิมหลายๆ เท่า ผมว่าทุกวันนี้หลายคนอยากจะใช้ 3G ทำอะไรหลายๆ อย่างแต่เมื่อระบบมันขาดประสิทธิภาพอยู่ก็หนีไปใช้ Wifi ตามสถานที่ต่างๆ แทน หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงไม่ใช้มันซะเลย ถ้าระบบมันดีๆ ใครๆ ก็อยากใช้ครับ

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 16:05 #494608

หลายคนบอกว่าเราได้มาฟรี ๆ คลื่นมีอยู่แล้ว ---
ใน USA ก็เคยมีแนวคิดนี้ครับ เริ่มแนวคิดมาจากอะไรรู้ไหมครับ
เค้าเรียก free Rider

เกิดจากที่รถเมล์มักจะวิ่งประจำทางอยู่แล้ว คนพวกนี้ก็จะอาศัยขึ้นฟรี
โดยให้เหตุผลว่า ไม่ว่าเค้าจะขึ้น หรือไม่ขึ้น รถมันก็ต้องวิ่งอยู่แล้ว
fix cost ดังนั้น เค้าจ่ายหรือไม่จ่ายไม่มีผล ..... ตลกไหม ?

ต่อมาก็เป็นเรื่อง wifi ฟรี ... พวกนี้บอกว่า ของมันลอยอยุ่ในอากาศ
ดังนั้นใช้หรือไม่ใช้ มันก็มี cost อยุ่แล้ว ดังนั้นขโมยใช้ไม่ผิด .... ตลกไหม ?

มาถึงเรื่องคลื่นประมูล คลื่นมันก็มีอยู่แล้ว ถ้าไม่ให้เอกชน คลื่นมันก็อยู่เฉย ๆ
รัฐบาลไม่มี cost อะไรด้วยซ้ำ งั้นควรขายเอกชนถูกๆ สิ

ซึ่งในงานวิจัยหลายงาน ไม่คิดเช่นนั้น เพราะว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี
และต้นทุนของรัฐบาลคือ เวลา 15 ปีที่เสียไป

ใน 15 ปีต่อไปข้างหน้า อาจจะเกิดอะไรอีกมากมาย ไม่มีใครรู้ว่า
คลืนนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่ ดังนั้นการขายให้ถูก ๆ แล้วรัฐบาลทำอะไรไม่ได้อีกเลย 15 ปี
ลองนึกดูว่า อยู่ดี ๆ อีก 15 ปี คลืนนี้มันทำประโยชน์อย่างอื่นได้มากมาย
แล้วเราทำอะไรกับมันไม่ได้เลย มันมีมูลค่ามหาศาลไหม

ดังนั้น เงินค่าใบอนุญาตจึงเป็นแนวคิดที่ออกมาชดเชยเวลา 15 ปีที่หายไป

เข้าใจนะว่าทุกคนอยากใช้ อยากได้ของถูก
แต่การจะยกให้เอกชนฟรี ๆ นั้น
cost ที่เรามองไม่เห็นนี้ เรายอมจ่ายมันจริง ๆ หรือ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 22 October 2012 - 16:28 #494624 Reply to:494608
hisoft's picture

ตัวอย่างที่ยกมาทั้งเรื่องรถเมล์และ wifi ฟรีนั้นไม่ตรงประเด็นนะครับ นั่นเป็นส่วนที่มีทุนตั้งต้น ถ้าจะเทียบคงต้องราว ๆ ว่า

เราสร้างห้าง เรายังไม่พร้อมให้บริการ wifi เราจึงปล่อยให้คนนอกเข้ามาวางระบบขายโดยไม่คิดเงิน เราไม่เสียอะไร เพราะคลื่นมันว่างอยู่ คนที่มาใช้บริการห้างของเราก็มีความสุข มี wifi เสียเงินให้ใช้ยังดีกว่าไม่มี คนมาวางระบบ wifi ก็รู้สึกดี มีรายได้ เราก็ happy ที่ลูกค้ามีความสุข มีลูกค้าเพิ่มขึ้น คนก็อยากเข้ามาทำกิจการในห้างของเรามากขึ้น

แต่ ณ วันนึงที่เราพร้อมจะทำ wifi เองเราก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีคลื่นว่างให้เราเสียแล้ว

เรื่องที่ผมยกมาจะต่างกันเล็กน้อยตรงที่ยกคลื่นให้ฟรีไปเลย กับไม่มีที่ให้ทำ wifi เอง ในขณะที่ 3G เรามีอีก 15MHz อยู่ที่ TOT

By: pd2002 on 22 October 2012 - 16:51 #494646 Reply to:494608

ตรรกะประหลาดมาก

รถเมล์มันวิ่งฟรี ตรงไหนครับ ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรถ ค่าจ้างคนขับ (หรือมันวิ่งได้เอง ไม่ต้องเสียค่าน้ำมัน ไม่ต้องเสียค่าบำรุง ไม่ต้องเสียค่าจ้าง)

wifi ฟรี มันฟรีตรงไหน ซื้อ router ก่อนไหม จ่ายค่าไฟไหม จ่ายค่าเน็ตไหม ต้องบำรุงรักษาไหม ?

ข้ามเรื่องคลื่นขายถูกๆ เพราะจริงๆ เรียก เอกชน เข้ามาประกวดกันเอาคลื่นไปเลยก็ได้ แล้วออกกฏมาควบคุม เหมือนหลายๆประเทศ ขนาดประเทศที่พัฒนากว่าบ้านเราเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ยังไม่มีปัญหาเลย มันอยู่ที่คนออกกฏ ไม่ใช่ ราคาคลื่นถูกหรือแพง

ส่วนเรื่อง 15 ปี ไม่ได้ให้คลื่นไปแล้วจบนะยังมี กสทช ที่คอย กำกับ ควบคุม ดูแล อยู่ตลอดระยะสัญญาใบอนุญาต ไม่ใช่ออกแล้วจบเลย ผิดกับระบบสัมปทานนี่ไม่มีใครกำกับควบคุมได้เลย ขึ้นอยู่กับองค์กรเดียว จะดีล จะทำอะไรก็ได้

By: kirkkiat
iPhone
on 22 October 2012 - 17:16 #494668 Reply to:494646

ใช่ครับ ตลกมาก ....

By: kcc_wera
iPhoneWindows PhoneWindows
on 22 October 2012 - 17:52 #494702 Reply to:494608

ตรรกกะแปลกมากๆ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 22 October 2012 - 16:16 #494615

เห็นแย้งข้อ 3 นะ มันไม่ได้เอื้อรายใหญ่หรอก เพราะถ้ารายใหญ่จ่ายได้ และรายเล็กจ่ายไม่ได้ ถึงเริ่มประมูลไปต่ำๆ รายเล็กก็สู้ราคารายใหญ่ไม่ได้อยู่ดี ไม่แตกต่าง แต่ความเสียหายอาจเกิดได้ในกรณีแพงเกินไปจนมีผู้ประมูลไม่ครบบล็อคมากกว่า


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 22 October 2012 - 21:21 #494760 Reply to:494615
LuvStry's picture

ระบบประมูล ใครทุนหนากว่าก็ได้ไปมันก็ถูกแล้วนี่ครับ อย่าเอามาปนกับเรื่องราคาขั้นต่ำสิครับ

เหมือนไปแข่งอะไรสักอย่างแล้วกำหนดอายุว่า ต้องเกิน 30 ปี พวก 18 นั่งมองตาปริบๆ แล้วจะบอกว่า อายุ 18 สู้ 30 ไม่ได้หรอก ถ้าอายุ 30 มันมี 3 คน ก็อย่างที่เห็นครับ ทุกคนได้เหรียญ ไม่ต้องออกแรงมาก


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 22 October 2012 - 21:43 #494768 Reply to:494760

ผมว่าที่ผมพูดไปไม่ได้ขัดอะไรกับของคุณนะ ผมพูดแต่เรื่องเงิน การตั้งราคาสูงไม่ได้เป็นการกีดกันรายใหม่ เพราะถ้ารายใหม่จ่ายได้ไม่ถึงยอดนั้น แต่รายเก่าจ่ายได้ ถึงตั้งราคาต่ำไป รายเก่าก็ต้องดันขึ้นมาจนถึงยอดนี้ที่รายใหม่จ่ายไม่ถึงอยู่ดี


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 22 October 2012 - 16:17 #494616
zerocool's picture

รายการตอบโจทย์เขาเชิญไป 2 ครั้งแล้วยังไม่ได้รับคำตอบ ถ้าจะให้ดีไปออกรายการด้วยครับ


That is the way things are.

By: tearfire on 22 October 2012 - 16:29 #494622 Reply to:494616
tearfire's picture

คงกลัวโดนภิญโญถามจนตอบไม่ถูกละมั้งครับ :P

By: smallroom
iPhoneAndroid
on 22 October 2012 - 16:37 #494632 Reply to:494616

+1

รอชมรายการอยู่ ดีแต่โม้ผ่านแถลงการ

By: sunback
Contributor
on 22 October 2012 - 16:45 #494638
sunback's picture

พักนี้คนดีกับผู้พิพากษาเยอะหน่อย ก็ต้องออกมาแถลงการณ์กันหน่อย

By: MN on 22 October 2012 - 16:59 #494650

อธิบายได้ห่วยมาก

By: Masscotte
iPhone
on 22 October 2012 - 17:09 #494660 Reply to:494650

ห่วยยังไงครับ? ห่วย.. หรือ คำตอบไม่ถูกใจตัวเองครับ!!

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 22 October 2012 - 17:21 #494670 Reply to:494660
hisoft's picture

นั่นสิ ผมว่าเค้าอธิบายโอเคนะ

แต่ลายเซนท่านแบบว่า

By: นักโทษประหาร
Windows PhoneAndroidRed HatSUSE
on 22 October 2012 - 17:29 #494679 Reply to:494660
นักโทษประหาร's picture

ผมก็อยากรู้ว่าห่วยยังไงเหมือนกันครับ

By: MN on 22 October 2012 - 19:44 #494741 Reply to:494660

ถ้าบอกว่าห่วย มันต้องมีข้อที่ไม่ถูกใจแน่ เพราะฉนั้นไม่ต้องถามว่า "หรือ คำตอบไม่ถูกใจตัวเองครับ !!"

มีคนที่ถูกใจอะไรแล้วบอกว่าห่วยด้วยหรือ

ประเด็นอธิบายระดับนี้เอาเรื่องความถูกต้องโปร่งใสผลได้ผลเสียก็พอ ไม่ต้องไปต่อว่าคนอื่น ห่วยเพราะไปว่าคนอื่นมากไป

ประเด็นเรื่องคลื่นไม่มีต้นทุนก็ผิดแล้ว แล้วมันก็มีคำอธิบายที่ดีกว่านี้ด้วย

By: EddSuanthai
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 22 October 2012 - 20:34 #494752 Reply to:494741

คนที่ไม่ฟังเหตุผลพูดไปก็ไร้ประโยชน์
ลองอธิบายให้ฟังหน่อยครับว่า คลื่นมันมีต้นทุนยังไงบ้าง
ผมเห็นแต่เสียโอกาสถ้าไม่เอามาใช้

By: MN on 22 October 2012 - 21:43 #494764 Reply to:494752

คุณก็บอกอยู่แล้วว่า มันมีต้นทุนอย่างน้อยค่าเสียโอกาส ค่าเสียโอกาสมีหลายมุมมอง ค่าเสียโอกาสในปัจจุบัน ค่าเสียโอกาสในอนาคต แล้วจะมาบอกว่าไม่มีต้นทุนได้ไง อย่างน้อยคำอธิบายเรื่องต้นทุนมันมีแน่ๆ ไม่ใช่ว่าไม่มี อธิบายดีๆมันก็น่าฟังมากกว่านี้ ไม่ใช่ตีขลุมว่าไม่มี

เสียงสะท้อน: คนที่ไม่ฟังเหตุผลพูดไปก็ไร้ประโยชน์

ไปล่ะไม่เถียงต่อ

By: lancaster
Contributor
on 22 October 2012 - 22:30 #494781 Reply to:494764

อะไรของคุณเนี่ย?

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 23 October 2012 - 13:00 #495077 Reply to:494764

@MN อ่านแล้วมึน

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 22 October 2012 - 17:45 #494693
iStyle's picture

ตั้งราคาสูงทำให้กีดกันรายย่อย? งั้นน่าจะเริ่มกันที่ 1 บาท


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 22 October 2012 - 18:14 #494707 Reply to:494693
PaPaSEK's picture

ขอเชิญที่เว็บ 25satang

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 22 October 2012 - 21:28 #494763 Reply to:494693
LuvStry's picture

เปิดกระดานมาก็แพงแล้วคนที่บิดไหวจะมีสักกี่คนใช่ไหมหละครับ แต่ถ้ากสทชตั้ง 1 บาทจริงมันก็ดูไร้สติปัญญาสมควรแก่การที่โดนหลายฝ่ายรุมด่าจริงๆแหละครับ


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: peeraphat
iPhone
on 22 October 2012 - 20:08 #494746

อ่านคอมเมนท์เสร็จกลับไปอ่านหัวข้อข่าวอีกที

อืม... ไม่ได้ผลสินะ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 22 October 2012 - 20:12 #494748 Reply to:494746
hisoft's picture

ฮาาาาาา

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 23 October 2012 - 09:09 #494945 Reply to:494746

โดยเฉพาะตัวหนา สินะ

ฮ่าๆ


^
^
that's just my two cents.

By: GermanEmpire on 22 October 2012 - 21:05 #494756
GermanEmpire's picture

ประมูลถูกราคาไม่ถูก

By: pawinpawin
Writer
on 22 October 2012 - 22:20 #494779

สำนวนไม่เป็นทางการเอาเสียเลย -*-

By: sunback
Contributor
on 22 October 2012 - 22:36 #494784 Reply to:494779
sunback's picture

ดีแล้วครับที่ไม่ทางการมาก นี่ขนาดไม่ทางการยังอ่านไม่เข้าใจ (หรือไม่อ่าน) กัน

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 23 October 2012 - 00:11 #494823

สงสัยว่า ที่กสทช.บอกว่าเป็นองค์กรณ์อิสระ ไม่ขึ้นกับทบวง กรมใดใด แล้วการหารายได้เข้ารัฐฯ เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักที่ กสทช. พึงกระทำรึเปล่าครับ.

By: WarHammeR_TH
iPhone
on 23 October 2012 - 01:33 #494851 Reply to:494823
WarHammeR_TH's picture

ผมไม่คิดว่าการหารายได้เข้ารัฐเป็นหน้าที่หลักของ กสทช. นะ
เค้ามีหน้าที่จัดการให้คนไทยได้ใช้คลื่นความถี่ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดต่างหาก

เรื่องที่น่าสงสัยมีแค่เรื่องกันไม่ให้มีเจ้าที่ได้ความถี่เกินสามบล็อกเท่านั้น เรื่องราคาคิดอยู่แล้วว่ามันต้องไม่สูง เพราะเมืองนอกที่บิดกันสูง เจ๊งกันเพียบ เราทำล้าหลังชาวบ้านไม่รู้กี่ปี ทั้งสามเจ้าก็รู้กันอยู่แล้วว่าบิดกันได้มากสุดแค่ไหน เรื่อง 4-3-2 นั่นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะ AIS ที่ทุนหนาสุด ประกาศเอาแค่ 3 ตั้งแต่ต้น

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 23 October 2012 - 01:54 #494859 Reply to:494851
hisoft's picture

เพราะถ้ามีเจ้านึงได้แค่ 1 หรือ 2 มันก็จะแย่ลงอีกสำหรับผู้ใช้บริการ แล้วคนที่ได้ 4 ก็แทบจะกวาดลูกค้าไปเลยด้วยครับ นั่นเป็นอีกเหตุที่เค้าต้องให้มันเป็น 3-3-3

By: sunback
Contributor
on 23 October 2012 - 21:00 #494946 Reply to:494851
sunback's picture

เรื่องกันไม่ให้เกิน 3 สล็อตทาง กสทช. ประกาศออกมาก่อนแล้วว่าเพื่อไม่ให้เกิดกีดกันทางการค้าครับ และเป็นเรื่องที่ประกาศมาก่อนที่จะรู้ผลว่ามีผู้ยื่นจริงแค่ 3 ราย (สมัคร 17 ราย) ส่วนสูตร 15-15-15 ก็มีผู้วิเคราะห์แล้วว่าอาจไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน แต่ถ้ามองถึง "ผลประโยชน์ของผู้ใช้จริงๆ" แล้ว การมี 3 เจ้าย่อมช่วยให้ผู้ใช้งาน 3G มีสิทธิเลือกได้มากกว่า หลายคนอาจบอกว่า 3 เจ้าอาจร่วมมือกันกดราคาก็ได้ ซึ่งก็เป็นไปได้ แต่ผมไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น เพราะ AIS DTAC นี่อัดอั้นมานานแล้ว คือมีศักยภาพ แต่ไม่มีคลื่นให้ทำ ทนปล่อยให้ทุยป้อนอาหารแมวตาปริบๆ หรืออีกกรณีก็อย่างอาตี๋กับเสือร้องไห้ ที่อาตี๋จัดเม็ดแจกก่อนตลอดจาก 3-5-7-10 เม็ด ส่วนเสือร้องไห้ถ้าอีกเจ้าไม่เพิ่ม ตัวเองก็ไม่เพิ่ม

ทุกวันนี้ผู้ใช้งาน 3G อย่างเราๆ อยู่ในสภาพถูกบังคับกลายๆ ทั้งตัวพื้นที่/โปร และมือถือที่ต้องเลือกให้ตรงกับคลื่นนั้น อย่างผมอยู่ต่างจังหวัดไกลๆ นี่หมดสิทธิ์เลือกเลยทีเดียว ซึ่งก็หวังว่าหลังการประมูลอีกสัก 2-3 ปีเครือข่ายคงจะครอบคลุมแล้ว

มีคนบอกว่าผู้ใช้ 3G ที่สนับสนุนการประมูลว่าอยากใช้ 3G จนตัวสั่น จนมองข้ามผลประโยชน์ของประเทศชาติและความถูกต้อง (โหมดคนดีเข้าสิง แต่ลืมๆ ความชั่วเรื่องอื่นๆ ไปซะ เช่น แมวป้อนอาหารทุย ทุยป้อนอาหารแมว หรือรมต. คนดังเอาคลื่น 2.1GHz ไปให้เสือนอนกินใช้โดยบอกว่าส่งเสริมให้แข่งขันกับเอกชน - แข่งบ้าอะไร เอกชนยังไม่มีคลื่นเล้ย) หรือตัดสินไปแล้วว่าการประมูลครั้งนี้มันผิด (โหมดผู้พิพากษาเข้าสิง) ทั้งๆ ถ้ายังไม่มีศาลพระภูมิไหนๆ ตัดสิน ผมก็อยากให้พวกเขากลับไปอ่านข่าว 3G ปีนี้ตั้งแต่เริ่มใหม่ อ่านมาเรื่อยๆ แล้วค่อยมาแสดงความเห็นกัน ไม่ใช่โผล่มาเป็นคนดีกับผู้พิพากษาตอนหวยออกอย่างนี้ หลายคนแสดงตัวว่ารักประเทศชาติ รักความยุติธรรม แล้วทำไมรอความยุติธรรมอีกสักนิดไม่ได้?

สุดท้ายถ้ามันจะผิด (พ.ร.บ. ฮั้วประมูล) หรือมีการติดสินบนจนท. ก็ขอให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ถ้าผิดจริงก็ค่อยล้มโต๊ะเริ่มกันใหม่ครับ

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 23 October 2012 - 09:15 #494950 Reply to:494851

ที่ถามอย่างนี้เพราะเห็นมีบางกลุ่มโวยว่าทำให้รัฐฯเสียผลประโยชน์ไปเยอะ ทำนองว่า "ยอดไม่เข้าเป้า" ทำให้ประชาชนเขวว่าตกลงบทบาทของ กสทช. คืออะไร บริหาร จรรสรรการสื่อสาร หรือหาเงินเข้ารัฐฯ.

By: kamikazat on 23 October 2012 - 04:19 #494892

กสทช เปลี่ยนประเด็นให้ทุกคนแล้วครับ 555 ให้ไปดูที่โปรลด20%แทน

By: sunback
Contributor
on 23 October 2012 - 08:42 #494934 Reply to:494892
sunback's picture

เขามีมาให้อ่านตั้ง 3 ฉบับครับ คุณอ่านไปแล้วกี่บรรทัด?

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 23 October 2012 - 10:34 #494998 Reply to:494934
PaPaSEK's picture

แล้วก็ต้องแนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านหัวข้อกันอีกรอบ

จริงๆ แล้วผมว่ากสทช.ให้โจทย์มากว้างเกินไป คงต้องระบุด้วยว่า "วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์" คืออะไร

เช่น

  • พกความรู้มาอ่าน อย่านั่งเทียน

  • ใช้เหตุผลพิจารณา, ดูจากความเป็นจริง, สภาพแวดล้อม, ยุคสมัย, เทคโนโลยี ฯลฯ

  • ศึกษาเอกสารและข้อมูลสารสนเทศก่อนการวิจารณ์

  • อย่าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เจริญไปก่อนหน้าเรานานแล้ว และมีค่าครองชีพห่างจากเรา ฯลฯ

  • ฯลฯ

ถ้าไม่ตีกรอบ ดูท่าทางว่าคนส่วนใหญ่จะใช้ความ "สร้างสรรค์" กันอย่างเดียว สร้างสรรค์ข้อมูลเอง สร้างสรรค์เทคโนโลยี (จากจินตนาการ) และอื่นๆ (ที่เรียกว่านั่งเทียน)

By: annanpan on 23 October 2012 - 08:48 #494937

จริงๆ แล้ว ระบบสามจีรอบใหม่นี้เค้าเปลี่ยนระบบให้เป็นสากลครับ ทั้งตัวคลื่น และการสรรหาคลื่น สมัยโบราณเค้าให้ใช้เป็น
สัญญาสัมปทาน หมายถึง รัฐบาลเป็นเจ้าของ เช่น CAT หรือ TOT เป็นเจ้าของครับ ให้เอกชนมาเช่าคลื่นที่ลอยอยู่ในอากาศนี่แหละมาเช่าใช้คลื่นตามกำหนดระยะเวลา รัฐบาลอยากได้กี่บาท คิดเงินเท่าไหร่คนที่เค้าอยากเปิดบริการ อยากจะเช่าเค้าก็จำเป็นต้องจ่าย คนที่มีรายได้มากมายก็คือรัฐบาลครับ นี่แหละเรียกสัญญาสัมปทานซึ่งมุ่งหวังให้รัฐบาลมีรายได้เยอะผูกขาดการแข่งขัน

รอบนี้เค้าเปลี่ยนเป็น ระบบใบอนุญาติ หมายถึง คลื่นสาธารณะนี้จะต้องให้องค์กรอิสระเป็นผู้จัดสรรในการใช้คลื่น ทางกฎหมายกำหนดให้เกิดการจัดสรรด้วยการประมูลคลื่น เค้าก็ทำการประมูลเรียบร้อยครับ รอบนี้คลื่นไม่ได้ถูกมองว่ารัฐบาลเป็นเจ้าของอีกแล้ว แต่กลายเป็นทรัพยากรของชาติที่ต้องมีองค์กรกลางทำการจัดสรรครับ ซึ่งสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับเอกชนและประเทศ เพราะในไม่ช้าการเปิดเสรีทางด้านโทรคมนาคมจะเกิดขึ้นเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะเปิดขึ้น
ทั่วโลกเค้าเปลี่ยนมาใช้ระบบใบอนุญาติกันหมดแล้ว ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศโลกที่สาม เค้าก็ใช้ระบบใบอนุญาติเหมือนกันหมดตั้งนานแล้วครับ แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานคล้ายๆ กับ กสทช.ในบ้านเรานี่แหละเป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่ ผมว่าเค้าก็ทำถูกแล้วล่ะที่จัดสรรแบบนี้เพราะใครๆ เค้าก็ทำกัน
แต่ประเทศเราเคยชินกับระบบสัญญาสัมปทานที่รัฐได้รับรายได้เยอะไงครับ จริงๆ ผมจำได้ขึ้นใจมากๆ ว่าคลื่นนี้ TOT เอาไปนอนกอดมาชาตินึงแล้วนะครับ เอามาเปิดแล้วก็ทำ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) คือ ทีโอที เปิดแล้ววางเสา ให้ชาวบ้านมาเช่าเสาสัญญาณแล้วเปิดใช้บริการไป ความนิยมอยู่ในวงจำกัดมากๆ เพราะความครอบคลุมก็ไม่มีอย่างแพร่หลาย นี่ถ้าคลื่นสัญญาณมันเน่านะ ป่านนี้ก็คงเน่าเปื่อยผุพัง หมดสภาพไปแล้วล่ะ จำวันที่ โนเกีย N70 เปิดตัวได้อย่างแม่นยำมากๆ เหมือนจะเป็นเครื่อง 3G ที่มีในประเทศรุ่นแรกๆ เมื่อก่อนโทรสัพมีกล้องหน้าเป็นที่ฮือฮา ตื่นเต้นมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ใครๆ ก็อยากใช้ มันผ่านมานานนับสิบปี ตอนนี้ N70 ก็ไม่มีใครอยากได้ อยากใช้แล้วล่ะ สมัยใหม่ๆ มือถือส่วนใหญ่ก็รองรับ 3G กันหมดแล้วล่ะ เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ทุกคนลองมองถึงหลักความเป็นจริงๆ นะครับ ว่าโลกยุคใหม่ สมัยมันเปลี่ยนไปแล้วนะครับ เราจะต้องยอมรับบางสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ไปฟังอย่างเดียวว่า ถ้าทำการประมูลแบบตอนนี้แล้วประเทศชาติจะเสียหาย จะสูญเสีย ลองคิดโดยวิจารณญาณของท่านเองครับ บัณฑิตทั้งหลายในประเทศชาตินี้ก็มีอยู่มากนะครับ ให้ท่านคิดและตรองดูถึงความเป็นจริงๆ ที่เกิดขึ้นครับ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้หลายข้อเกี่ยวกับการเชื่อ ท่านให้ใช้สติปัญญาของตนนั่นแหละเป็นที่ตั้ง ในการที่จะนึกหรือเชื่อ ตามกระแสบางสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น คนที่บอกว่าสัญญาสัมปทานบอกว่าทำให้รัฐสูญเสียรายได้นั้นก็คงจะเป็นคนรุ่นเก่าๆ หรืออาจเป็นกลุ่มที่เคยได้รับค่าเช่าจากตรงนี้มาอย่างมหาศาล พอเค้าทำระบบใหม่ๆ ให้เป็นสากลท่านเองจะรับไม่ได้ แล้วมาบอกว่าชาติจะเสียผลประโยชน์ โดยไม่ได้มองว่าสิ่งที่เค้าทำอยู่ตอนนี้ "ใครๆ เค้าก็ทำกันแบบนี้หมดแล้ว"