Tags:
Topics: 

ประเด็นน่าปวดหัวในช่วงนี้เกิดขึ้น จากการพัฒนาการของซีพียูในช่วงนี้ที่นิยมการพัฒนาให้มีแกนซีพียูอยู่ถึงสองชุดในชิปเดียวกัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้โดยไม่ต้องไปเพิ่มความถี่กันแบบบ้าเลือดเหมือนเมื่อก่อน

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อมีคนถามว่า แล้วไอ้ซอฟท์แวร์แพงๆ ที่ขายกันเป็นราคาตามจำนวนซีพียูล่ะ จะคิดราคากันยังไง?

ซอฟท์แวร์ที่ขายแบบคิดเงินตามจำนวนซีพียูนั้น มีมากมายโดยเฉพาะในตลาดงานระดับองค์กรณ์ เช่น Oracle, RedHat, Microsoft SQL server

เมื่อวานนี้ทาง AMD ก็ได้ออกมาให้คำแนะนำว่าผู้ผลิตซอฟท์แวร์ควรยอมคิดราคาตามจำนวนซีพียูที่เสียบบนซ๊อกเก็ต ซึ่งจะนับได้สะดวกกว่าการไปนับแกนซีพูยูในชิป

ทาง HP และ Sun ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวแล้ว ส่วนทางอินเทลยังไม่แสดงความเห็นใดๆ

ตลาดซีพียูกำลังเคลื่อนไปในทิศทางของการใส่แกนซีพียูจำนวนมากกว่าหนึ่งแกน ลงไปในชิปเดียว ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2001 นำโดย IBM

ทางบริษัทการ์ตเนอร์ซึ่งเป็นผู้วิเคราะห์ตลาดรายใหญ่ ทำนายว่าในปีหน้า มีโอกาสถึง 70 เปอร์เซนต์ ที่ซีพียูส่วนใหญ่ในตลาดจะมีมากกว่าหนึ่งแกนซีพียุในชิปเดียว พร้อมทั้งแนะนำให้ระวังปัญหาเรื่องราคาซอฟท์แวรไว้ด้วย

อ้างอิง Gartner Research C|Net News.com theINIQUIRER

Get latest news from Blognone

Comments

By: bact' on 8 September 2004 - 22:31 #48

as I know Sun, IBM, Oracle calculate the licence fee from the actual physical cpu running (1 cpu package/socket = 1 physical cpu).

So if you have a machine with 16 cpus, but run Oracle db on only 8 cpus, you pay only for 8 cpus.