Tags:
Forums: 

เกิดมา มีโอกาสทำงานกับ Bare Fiber อยู่สองปีจ๊ะ ผลิตอุปกรณ์สื่อสารผ่านใยแก้ว โดยเอา Bare Fiber มายิงลายทำเกรตติ้ง

หูยขายดีมั๊กๆ ส่งออกอาทิตย์ละเป็นล้าน ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ

แต่อย่างว่าบางที Purchase ก็ไม่ค่อยทันเทคโนโลยีเท่าใด กำไรที่ควรได้ก็หดไป เพราะซื้อของแพง

ข่าวล่าสุดยังออก PO ซื้อ Bare Fiber 1 USD/Metre อยู่เลยนะจ๊ะ ทั้งๆ ที่ราคาตลาดตอนนี้เปิดอยู่ที่ 0.06 USD/Metre ไปแล้ว....

คิ๊กๆ เอิ๊กๆ ของถูกแล้วหละ เครือข่าย fiber optic to home คงใกล้ๆ เร็วๆ นี้

แต่อีกใจอยากได้ 3G/4G มากกว่านะจ๊ะ จุ๊บ จุ๊บ

Get latest news from Blognone
By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 14 October 2009 - 19:59 #131319

ว่าจะไม่โพสต์ตอบแล้วนะ แต่ใช้ภาษาได้กวนอวัยวะเบื้องต่ำมากครับ ไทยคำอังกฤษคำ ศัพท์วัยรุ่นปนเปไปหมด หากคิดจะทำการค้าการขาย ใช้ภาษาที่ดูเป็นการเป็นงานกว่านี้เถอะครับ เตือนด้วยความหวังดี

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 14 October 2009 - 22:38 #131339
Nozomi's picture

เก่งเนอะ เข้าใจได้เนี่ย

พูดไทยคำ อังกฤษคำทุกวันแบบเรายังฟังไม่เข้าใจเลย เหอะๆ

By: tchanokt on 15 October 2009 - 13:10 #131475

ดุจัง ตั้งกระทู้แรกก็โดนซะแล้ว ก๊ากกกกกก

ที่มาของปัญหา
ระบบจัดซื้อของอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเป็นจุดบอดในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจที่ขาดการเอาใจใส่เรื่องราคาของวัสดุที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด

กรณีศึกษา
บริษัท A สั่งซื้อวัสดุจากบริษัท B โดยตกลงราคา ณ. วันทำสัญญาครั้งแรก หลังจากนั้นบริษัท A จัดซื้อวัสดุที่ราคาเดิมซึ่งถูกจัดเก็บในระบบสั่งซื้อ โดยไม่ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุในตลาด

วิเคราะห์ปัญหา
ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐานมาก แต่มักจะเกิดและสร้างความเสียหายในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุจำนวนมากชนิดในการผลิตสินค้าของตน ทำให้ยากต่อการดูแลให้ทั่วถึง

ความท้าทาย
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงเพื่อการสื่อสาร เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เนื่องความต้องการในงานภาคเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ หากผู้ผลิตสามารถเข้าถึงวัตถุดิบราคาต่ำ จะสามารถส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ตลาดมีราคาต่ำลง จนถึงจุดที่มีเหตุผลให้เกิดการใช้งานได้อย่างหลากหลาย

  1. การจัดวางระบบจัดซื้อ / สินค้าคงคลัง ---- (ERP-Like)
  2. การสร้างความหลากหลายของผู้จัดจำหน่ายวัสดุ/วัตถุดิบ
  3. การเพิ่มความสามารถของผู้ผลิตในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะด้านของราคาวัตถุดิบและความหลากหลายของผู้จัดจำหน่าย

เสวนา
อุปกรณ์ใยแก้วนำแสงเพื่อการสื่อสารมีประสิทธิภาพสูง แต่ราคายังแพง; หากต้องการให้เกิดเครือข่ายใยแก้วที่เข้าถึงทุกบ้านเรือน จำเป็นต้องให้ราคาอุปกรณ์ลดต่ำลงในระดับที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้(Reasonable Value) และสามารถต่อสู้กับราคาของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีอื่นได้อย่างเหมาะสม (3G/4G)

คู่ฟัด Fiber Optics VS 3G/4G
ใยแก้วนำแสงสู่บ้านเรือนดีกว่า 3G/4G ในด้านประสิทธิ์ภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็ว ความเสถียร ข้อเสียที่ติดอยู่คือเรื่องของราคา กับความคุ้มทุนในระยะสั้น เดาว่าผู้ให้บริการคงชอบ 3G/4G มากกว่า จะได้คิดค่าโทรแบบที่ขูด ขูด กันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง
ส่วน fiber optics คงไม่ปล่อยไปตามบ้าน เอาไว้ใช้กันเองก็พอ 555

By: lancaster
Contributor
on 15 October 2009 - 13:18 #131477

คาดว่า จขกท. เข้าใจผิดว่าที่นี่เป็น blog hosting นะครับ ไม่ได้เจตนาจะขายของขนาดนั้น... มั้ง

By: tchanokt on 15 October 2009 - 13:49 #131482

555 ไม่ได้ขายของหรอกครับ

เอาไอเดียมาแชร์เฉยๆ ผมเพี้ยนเองที่เขียนกระทู้สั้นเกินที่จะทำความเข้าใจ แถมยังเอามาลงผิดที่ผิดทางอีก 555

บนหัวกระทู้ผมชี้ให้เห็นสองสามประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสารครับ ได้แก่ทำไม Fiber optics to Home ไม่เกิดทั้งๆ ที่อดีตนายก สนับสนุนแทบตาย อันนี้ผมตีประเด็นว่าเพราะราคามันแพงไม่คุ้มทุน(ในระยะสั้น) เลยไม่มีใครกล้าลงทุน ถัดมาถ้าอยากให้มันเกิดมันก็ต้องอาศัยกลไกตลาด; ของดี ราคาถูก คนก็ต้องการ; แล้วผมก็ชี้ต่อไปว่า; ถ้าจะทำให้ของถูก กันก็ต้องใช้วัสดุราคาต่ำ; แล้ววัสดุราคาต่ำ ก็ต้องหาว่าอยู่ที่ไหน; ถ้าหาไม่ได้ ก็จัดให้เค้าซะ; มันเลยกลายเป็นว่ามาขาย Bare Fiber กันดีกว่า โอ้ โอ้ ซับซ้อนเนอะ

ไอ้ตัว Bare Fiber คือใยแก้วเปล่าที่ยังไม่ได้หุ้มเปลือกเสริมความแข็งแรงนะครับ เอาไว้ใช้ในงานผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเครื่องมือสื่อสารผ่านใยแก้ว ซึ่งตอนนี้ราคามันต่ำกว่าเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วเยอะพอสมควร ดังนั้นตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายใยแก้วมันควรลดลงได้แล้วบ้างหละ ไม่ใช่ยังถีบตัวอยู่สูงเข้าไม่ถึง ซึ่งหากพิจารณาตามความเป็นไปโดยกลไกแล้ว ต้นทุนทำเครือข่ายใยแก้วสู่บ้านเรือน(Fiber optics to HOme) มันควรจะลดลงเยอะแล้ว และน่าจะเกิดขึ้นได้แล้วจริงๆ ถ้ามีการสนับสนุกันอย่างต่อเนื่อง แต่..........

มันก็ยังไม่เกิด ยิ่งตอนนี้ 3G/4G ซึ่งเป็น Wireless พัฒนาไปไกลอีกแล้วด้วย ใครๆ เค้าก็คงเลือกเทคโนโลยีนี้กันหมด แล้ว Fiber to Home ก็คงเป็นฝันกันอีกนานนน.......

ออ มีอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวกับผู้พัฒนา Software ทั้งหลายนะครับ
อย่างเช่นระบบจัดซื้อวัสดุ ระบบตรวจสอบราคาวัสดุ ระบบค้นหาวัสดุ+ราคา เครื่องมือเหล่านี้ หากคุณพัฒนาให้อยู่บนอินเทอร์เนตได้ ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่น่าสนใจ เหมือนกัน.........

ลองดูครับ ลองดู ผมก็ยังลองดูอยู่เรื่อยๆ เช่นกัน ^^

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 October 2009 - 21:09 #131576 Reply to:131482

ถ้าเขียนแบบนี้ (และด้านบนนี้) ตั้งแต่แรกก็ได้คุยกันเป็นเรื่องเป็นราวไปแล้วครับ (แถมยังเขียนดีซะด้วย)

ผมเห็นด้วยนะ ระยะยาว F/O น่าจะดีกว่าเห็นๆ อยู่แล้ว ปัญหามันอยู่ที่ราคามันนี่แหละ ราคาแพงจนไม่มีใครกล้าเสี่ยงลงทุนจริงๆ ว่าแต่ถ้าเอามาขายมีนจะมีคนซื้อจริงๆ เหรอครับ จังหวะนี้ไม่ใช่ว่ามันไม่เหมาะเหรอ? คู่แข่งกำลังดังขนาดนี้จะมีคนไปลงทุนกับ F/O จริงๆ เหรอครับ? ไปถามคนทั่วไปว่า F/O กับ 3G รู้จักอันไหนมากกว่ากัน ผมว่าร้อยทั้งร้อยรู้จัก 3G แล้วยังแดกดันกลับมาอีกว่า F/O เหรอ เคยได้ยินนานแล้วนะ เทคโนโลยีเก๊าเก่า = =' เป็นงั้นไป!


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 16 October 2009 - 22:35 #131738 Reply to:131576
bow_der_kleine's picture

คนที่บอก Fiber Optic เก่านี่แสดงว่าขาดความรู้อย่างมาก มันไม่มีอะไรส่งข้อมูลได้มากกว่า Fiber Optic แล้วนะ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 20 October 2009 - 18:24 #132386 Reply to:131738

ก็นั่นแหละครับ ผมถึงใช้คำว่า "คนทั่วไป" ซึ่งผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าคนพวกนี้มีมากกว่าคนที่รู้ว่า "Fiber Optic เร็วที่สุด" อยู่เยอะมากๆ ซึ่งมีผลไม่น้อยในแง่การตลาด


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 16 October 2009 - 22:32 #131737 Reply to:131482
bow_der_kleine's picture

แก้นิดหน่อยครับ อาจดู pedantic แต่เพื่อความถูกต้อง เขาเรียก Fiber to the home (FTTH) ครับ ไม่ใช่ Fiber optics to Home

จริง ๆ ตลาด 3G/4G กับ FTTH มันอยู่คนละส่วนกันครับ หากจะเปรียมมวยจริง ๆ ก็คือ 3G/4G vs. Radio over Fiber แล้วก็ DSL vs. FTTH ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นการเปรียบที่ไม่แฟร์เท่าไร เพราะ FTTH กับ Radio over Fiber มันเป็นรุ่นถัดไปของ DSL กับ 3G/4G มากกว่า

ปัญหาของ FTTH ไม่น่าจะอยู่ที่ราคาสายอย่างเดียวครับ มันยังมีเรื่องของสัมปทาน เรื่องต้นทุนในการติดตั้ง (ซึ่งน่าจะสูงกว่าค่าสายอีก) แล้วก็เรื่องของโครงสร้างระบบเครือข่ายที่จะมารองรับ เพราะก่อนจะมี FTTH ได้ พวก Metro Network กับ Long Haul Network มันต้องเป็นเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงก่อน ซึ่งผมเข้าใจว่า ตอนนี้ในไทยยังไม่มีอะไรสักอย่าง FTTH ก็คงอีกนาน

หากลงลึกในทางเทคนิคไปอีก ตอนนี้ Transceiver สำหรับ FTTH ยังไม่พร้อมเท่าที่ควรครับ ยังทำให้อยู่ในระดับคุ้มทุนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในต่างประเทศเอง FTTH ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เหมือนกัน

By: nuclearlab
In Love
on 20 October 2009 - 17:58 #132381 Reply to:131737
nuclearlab's picture

เท่าที่สอบถามคนในวงการมา ตอนนี้ค่าลากไฟเบอร์ไม่ได้แพงกระจุยต่างจากการลากสายทองแดงมากมายเหมือนเมื่อก่อนแล้วนะครับ

แต่ราคาเท่าไหร่นี่ เค้าไม่ยอมบอกผมเหมือนกัน

By: tchanokt on 21 October 2009 - 13:52 #132603 Reply to:132381

ราคา(เฉพาะสาย) ถ้าเป็นแบบ Outdoor/dropwire อยู่ที่ราวๆ 30-60 บาท/เมตรครับ(คิดแบบแพง)เพราะงั้นกิโลละ 30000-60000 บาท เทียบกับสายทองแดง(สายโทรศัพท์ไว้เล่น ADSL)กิโลละ 10000 บาท แพงกว่า 3-6 เท่า

เทียบความเร็วเล่นๆครับ
สายทองแดง 1 สาย 8 เมก/1คู่สาย
ส่วนสายใยแก้ว กระจายได้อย่างน้อย 20 คู่สาย/1เส้น

เพราะงั้นเดี๋ยวนี้ตามหอพัก/คอนโด ในกรุงเทพ เดินใยแก้วถึงอาคารกันแล้วครับแล้วค่อยกระจายเข้าสายทองแดงเอา

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 27 October 2009 - 07:11 #133922 Reply to:132603
bow_der_kleine's picture

หากมันง่ายขนาดนั้น นักวิจัยอย่างผมตกงานไปแล้วครับ อย่างที่บอกไปครับ ปัญหาไม่ได้อยู่ราคาสายอย่างเดียว

By: tchanokt on 27 October 2009 - 16:30 #134044 Reply to:133922

หนึ่งในประเด็นที่มีการพูดคุย << เมื่อสัก 2-3 ปีก่อนครับ ช่วงที่เราน่าจะเริ่ม
http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=71100

ต้นทุน

ที่ผ่านมามีหลายบริษัทและหลายประเทศที่มีการทดลองในการให้บริการด้าน FTTH เช่น ญี่ปุ่น แคนนาดา ฝรั่งเศส ซึ่งการทดลองสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่ว พื้นที่ในการให้บริการนั้นต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมาก เนื่องจากราคาของ Fiber ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาของสาย Copper ในปัจจุบัน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องงบประมาณด้านการลงทุนของ Fiber network. ประเด็นคือการใช้ Fiber Optic ในรูปแบบของ Fiber Optics to the business(FTTB) ที่ปัจจุปันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ แต่ขนาดของตลาดก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะทำให้ราคาของ Fiber Optic ลดลงมากนัก ดังนั้นในอนาคตการเติบโตของ Fiber Optics to the business(FTTB) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่ตามมาคือ ราคาของ Fiber Optic และอุปกรณ์ จะมีราคาลดลง ปัจจัยนี้น่าจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ต้นทุนในการให้บริการในโครงข่ายของ FTTH ลดลงด้วย อีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาด้านการวางโครงข่ายใหม่เข้าไปในย่านพักอาศัยมักจะมี อุสรรคจากการขุดถนนเพื่อวางแนว Fiber ที่มักจะทับซ้อนกับระบบไฟฟ้าและระบบสาย copper ปัญหานี้ก่อให้เกิดต้นทุนสูงในการก่อสร้างอีกด้วย

การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด

ปัจจุบันผู้ให้บริการด้านโครงข่ายมากมายทั้งแบบ Wireline และ Wireless ที่สามารถสร้างวงจรการใช้งานเข้าไปสู่การใช้งานภายในบ้านพักอาศัย การที่ผู้ให้บริการด้าน FTTH จะเข้ามาแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักมีหลายปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการ แข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดกับผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการอยู่เช่น ด้านการลงทุนโครงข่ายที่ต้องใช้เวลาและเงินลงทุนที่สูงในขณะที่ผู้ให้บริการ รายเดิมมีการวางโครงสร้างไว้แล้วสิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นได้ในเรื่องของราคา การให้บริการ มีการแข่งขันกันด้านราคา หรือเกิดจากผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการโครงข่ายเก่าอยู่และมีแนวคิดที่ จะให้บริการด้าน FTTH อาจจะเกิดความลังเลในการให้บริการเนื่องจากมีการลงทุนในระบบเก่าไปแล้วแต่ ยังไม่สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา

แล้วก็อันนี้ http://www.eng.mut.ac.th/upload_file/article/398.pdf <<<เขียนครอบคลุมมาก เป็น pdf โหลดเก็บได้เลย

สรุปนะครับ
FTTH ถ้าผลักดันให้เกิดก่อน ผลตามมาคือเทคโนไร้สายต่างๆ ที่จะเชื่อมเข้าระบบจะ เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ตอนนี้ เราไล่ตาม เทคโนโลยี A B C D ดังนั้นทุกครั้งที่ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ลงไปคือต้นทุน

การมีเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมามันทำให้ตื่นเต้นได้เรื่อยๆ แต่ต้นทุนซ้ำซ้อนไม่เคยหนีไปไหน
เหมือนกรรมที่คอยตามโดยที่ไม่เคยทำเวรไ้ว้..

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 28 October 2009 - 06:58 #134097 Reply to:134044
bow_der_kleine's picture

FTTH ถ้าผลักดันให้เกิดก่อน ผลตามมาคือเทคโนไร้สายต่างๆ ที่จะเชื่อมเข้าระบบจะ เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ตอนนี้ เราไล่ตาม เทคโนโลยี A B C D ดังนั้นทุกครั้งที่ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ลงไปคือต้นทุน

ดีแล้วครับที่อยากผลักดันและไม่อยากไล่ตาม งั้นมาเริ่มต้นด้วยการไป Conference กันเลยดีกว่าครับ จะได้ระบุปัญหาได้ถูกต้อง จากนั้นก็หาทางวิจัยกัน ผมไม่แน่ใจครับว่างบวิจัยจะตกประมาณปีละเท่าไร หนทางอื่นนอกจากนนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะเลิกตามเขาได้ยังไงครับ

By: tchanokt on 28 October 2009 - 09:47 #134100 Reply to:134097

เรื่องงานวิจัย
http://ncoa.engr.tu.ac.th/index-en.html

ของเมืองไทยครับปีนี้จัดครั้งที่ 5 สนับสนุนโดย
IEEE-LEOS (Photonics) Thailand Chapter
OSA Thailand Chapter
SPIE Thailand Chapter

ถ้ามีโอกาส เชิญชวนส่งบทความ เข้าร่วมนะครับ
ถือว่าสนับสนุนการตื่นตัวของงานวิจัยด้านนี้ในไทย
งานของไทยเราเพิ่งเริ่ม(รวมกลุ่มกัน) แต่ก็ยังไม่หยุดครับ
บุคลากร/นักวิจัย ก็ยังทยอยกันออกมา แม้ว่ายังน้อย

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 28 October 2009 - 15:29 #134127 Reply to:134100
bow_der_kleine's picture

น่าสนครับ แต่งานนี้ Prof. ของผมคงไม่จ่ายให้ เพราะไกล (ทำให้ใช้เงินเยอะ) + ไม่ใช่ international รอปีหน้าครับ ผมกลับไปคงได้ส่งแน่ ๆ เพราะไม่มีเงินไปต่างประเทศ (เงินมีผลกับทุกเรื่องแฮะ)

พอจะมีตัวอย่างเปเปอร์ปีก่อน ๆ ให้ดูไหมครับ (เป็นโปรแกรมงานก็ได้ครับ) คืออยากรู้ครับว่า เมืองไทยเขาสนใจเรื่องอะไรกัน

อันนี้ไม่เกี่ยวกับประเด็น ตอนนี้ LEOS เปลี่ยนชื่อเป็น IEEE Photonics Society แล้วครับ เพิ่งเปลี่ยนปีนี้เอง แต่คนส่วนมากก็ยังเรียก LEOS อยู่

By: tchanokt on 19 October 2009 - 16:32 #132133

จ้า ^^