Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อวานนี้ช่วงบ่ายโมงครึ่งตามเวลาประเทศไทย SpaceX ได้ยิงจรวด Falcon Heavy ออกสู่ห้วงอวกาศเป็นครั้งที่สาม ภายใต้ภารกิจชื่อ STP-2 ซึ่งเป็นภารกิจที่ยากที่สุดเท่าที่ SpaceX เคยทำมา

จรวด Falcon Heavy ประกอบไปด้วยแกนจรวด Falcon 9 จำนวน 3 ลำมัดติดกัน มีเครื่องยนต์ Merlin รวม 27 เครื่อง พาจรวดทะยานผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืนของรัฐฟลอริดาออกสู่ห้วงอวกาศ หลังจากนั้นไม่กี่นาที บูสเตอร์ซ้ายและขวาก็แยกตัวออกจากบูสเตอร์หลักตรงกลาง และพาตัวเองบินกลับมาลงจอดที่เดิมได้สำเร็จ

No Description

No Description

ต่อมาจรวดส่วนหัวที่บรรทุก payload อยู่ก็แยกตัวออกจากบูสเตอร์หลักเพื่อไปทำภารกิจปล่อยดาวเทียม ส่วนบูสเตอร์หลักก็กลับตัวและร่อนกลับมายังมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากจุดยิงจรวดราว 1,200 กิโลเมตร ที่ซึ่งโดรนลอยน้ำ Of Course I Still Love You จอดรออยู่ แต่กลับเกิดเหตุไม่คาดคิด เมื่อบูสเตอร์ลอยเข้ามาใกล้โดรนลอยน้ำแล้วกลับไถลออกนอกเป้าหมาย ค่อยๆ ดิ่งลงทะเลพร้อมเกิดระเบิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดถูกกล้องบนโดรนลอยน้ำจับไว้ได้และถ่ายทอดสดให้คนทั้งโลกเห็นพร้อมกัน

No Descriptionจังหวะที่บูสเตอร์ตัวกลางดิ่งลงทะเลและเกิดระเบิด

นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่บูสเตอร์ตัวกลางของจรวด Falcon Heavy พลาดเป้าและดิ่งลงทะเล (ครั้งแรกคือตอนทดสอบยิง) โดยคราวนั้นที่พลาดเป้า Elon Musk ให้ข้อมูลว่าเพราะเชื้อเพลิงหมดก่อน และคราวนี้ก็คาดว่าเพราะเหตุผลเดียวกัน เนื่องจากภารกิจนี้ต้องใช้เชื้อเพลิงสูงมากจากการที่ payload มีน้ำหนักเยอะ แต่ก็ยังไม่มีคำแถลงอย่างเป็นทางการออกมาถึงสาเหตุ

ด้านจรวดส่วนหัวก็บรรทุกดาวเทียมจำนวน 24 ดวง เป็นของหลายหน่วยงานจากสหรัฐอเมริกาแชร์กันมา เช่นกองทัพสหรัฐฯ, NASA, NOAA (กรมอุตุฯ) ซึ่งสิ่งที่ทำให้ภารกิจคราวนี้ "ยากที่สุด" คือดาวเทียมทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดต้องปล่อยที่วงโคจรคนละจุดกัน รวม 3 จุด ทำให้จรวดส่วนหัวต้องติดและดับเครื่องถึง 4 ครั้งด้วยกัน โดยดาวเทียมถูกปล่อยออกและเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้สำเร็จทั้งหมด

No Descriptionดาวเทียม COSMIC-2 ของกรมอุตุฯ สหรัฐฯ | ภาพจาก NOAA

นอกจากนี้ภารกิจนี้ยังมีความพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือเรือติดตั้งตาข่ายดักจับเปลือกของส่วนหัวจรวด หรือ fairing สามารถดักจับชิ้นส่วนดังกล่าวได้เป็นครั้งแรกแล้ว หลัง SpaceX พยายามดักจับชิ้นส่วนนี้มาหลายครั้งแต่ก็ล้มเหลวมาโดยตลอด (ก่อนหน้านี้ Elon Musk ตั้งชื่อเรือว่า Mr. Steven แต่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Ms. Tree แล้ว) สามารถอ่านเกี่ยวกับเรือ Ms. Tree ได้ที่นี่

No Descriptionชิ้นส่วน fairing ถูกจับโดยตาข่ายของเรือ Ms. Tree

สาเหตุที่ SpaceX พยายามจับ fairing ที่ตกกลับมายังโลกให้ได้ เนื่องจากชิ้นส่วนดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว และจะเสียไปเลยหากตกลงน้ำ ซึ่งถ้านำ fairing กลับมาใช้ใหม่ได้ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกมาก

ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอตัวเต็มได้ที่ช่องของ SpaceX บน YouTube

ที่มา - CNET, Ars Technica

No Descriptionบูสเตอร์ซ้ายและขวากำลังกลับมาลงจอดบนพื้นโลก

No Descriptionบูสเตอร์ทั้งสองกำลังลงจอด

ภาพทั้งหมดจาก SpaceX Flickr

Get latest news from Blognone

Comments

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 26 June 2019 - 15:53 #1117162
darkleonic's picture

จรวดกลับลงมาได้นี่น่าทึ่งแล้ว ไอ้การรับขิ้นส่วน firing นี่สุดกว่าแหะ


I need healing.

By: derega
AndroidWindows
on 26 June 2019 - 16:09 #1117172

สาเหตุ​ Core ลงจอดผิดพลาดมาแล้ว​ ความร้อนจากการ Reentry ทำให้เกิดความเสียหายกับ​ Engine Bay และ​ TVC (Thrust Vector Control) เพราะคราวนี้กลับลงมาด้วยความเร็วที่สูงกว่าปกติ

https://twitter.com/elonmusk/status/1143690145255841797?s=19

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 26 June 2019 - 16:12 #1117175 Reply to:1117172
TeamKiller's picture
By: IDCET
Contributor
on 26 June 2019 - 19:08 #1117220

น่าแปลกที่ของมันเสี่ยงตกลงน้ำทุกครั้งที่ทำการปล่อยจรวด ทำไม่ไม่ใช้ชั้นป้องกันความชื้นหรือวัสดุที่ทำงานได้แม้โดนน้ำ แบบนี้โดนน้ำก็ต้องทิ้งเลยสิ กลายเป็นขยะอีก เอามาซ่อมก็ไม่ได้ เฮ้อ....

ถ้าสามารถเอามาล้างทำความสะอาด ขจัดเกลือแล้น้ำเค็ม กันน้ำ และเสริมชั้นป้องกันให้ใช้งานได้อีกครั้งก็ยังว่าไปอย่าง ของพวกนี้ควรใช้ซ้ำได้แม้โดนน้ำด้วยซ้ำ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Anonymous on 26 June 2019 - 19:49 #1117229 Reply to:1117220
Anonymous's picture

เหมือนง่าย...

By: IDCET
Contributor
on 26 June 2019 - 19:55 #1117230 Reply to:1117229

ผมว่าสำหรับพวกเขา และบริษัท เป็นงานง่ายครับ มีทั้งงบประมาณมหาศาล บุคลากร ทักษะ การออกแบบ การผลิต ความชำนาญ พวกเขามีอยู่แล้ว แถมพัฒนาตลอดด้วย แค่จะทำหรือเอามาใช้จริงๆ เพื่อลดต้นทุนหรือเปล่าก็แค่นั้น

ถ้าเสียดายค่าสร้าง 6 ล้านเหรียญ ก็ควรจะทำให้ดีที่สุดไปเลย ให้สามารถเอามาใช้ใหม่ได้ในทุกกรณี ซึ่งมันควรจะมีมาตั้งนานแล้ว เพราะของพวกนี้ลงทะเล ก็เป็นมลภาวะและขยะทำลายสิ่งแวดล้อมอีก


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: langisser
In Love
on 26 June 2019 - 23:46 #1117262 Reply to:1117230

แล้วทำไมคิดว่าเขาทำยังไม่ดีที่สุดล่ะครับ

หรือบางทีอาจจะต้องเสียงบวิจัยอีก 1000 ล้าน เพิ่มต้นทุนสร้างอีก 50ล้านใช้ได้ 1 ปี กับการปล่อยจรวดปีละ 10 ครั้ง

ผมใส่ตัวเลขไปงั้นแหละ บางทีทำได้ครับแต่มันไม่คุ้ม เลยใช้วิธีอื่นก็เป็นได่

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 26 June 2019 - 20:11 #1117232 Reply to:1117220
devilblaze's picture

โดนน้ำอาจไม่ใช่สิ่งที่เขากังวลมั่งครับ

ที่กังวลคือแรงปะทะเมื่อตกลงไปในน้ำ อาจทำให้วัตถุเสียสภาพได้

By: wklk
ContributorAndroid
on 26 June 2019 - 20:17 #1117235 Reply to:1117220

fairing คือปลอกตรงหัวจรวดที่ทำหน้าที่ป้องกันสินค้า ยาน ดาวเทียม ฯลฯ เฉย ๆ
เวลาถูกสลัดออก มันก็จะตกกลับสู่โลกโดยไม่มีอะไรช่วยชะลอ ฉะนั้นที่บอกว่าลงน้ำแล้วเสียหายคือเกิดจากการกระแทกกับผิวน้ำ ไม่ใช่เพราะเปียก

By: PriteHome
ContributorAndroidWindows
on 26 June 2019 - 21:27 #1117241 Reply to:1117235
PriteHome's picture

+1

By: dtobelisk
AndroidWindows
on 26 June 2019 - 23:12 #1117251 Reply to:1117220
dtobelisk's picture

จะเปิดบริษัทแข่งกับ Elon เมื่อไหร่ครับเนี่ย จะได้ร่วมหุ้นด้วย

By: mkcd_toy
AndroidRed HatUbuntu
on 27 June 2019 - 00:04 #1117268 Reply to:1117220
mkcd_toy's picture

http://www.collectspace.com/ubb/Forum14/HTML/001305.html

By: Pingz
ContributoriPhone
on 26 June 2019 - 22:10 #1117245

อ้าว Daddy DotCom หายไปไหนแล้ว

By: surawat_n
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 26 June 2019 - 22:23 #1117247

ใน fairing หัวจรวด มันก้อมีมีอุปกรณ์อิเลคโทรนิคอีกเยอะนะเท่าที่ดูในรูป มี thruster บังคับทิศทางด้วย มีร่มชูชีพ โดนน้ำก้อต้องมาเสียเวลาคัดทำให้แห้งตรวจสภาพกันอีกที

By: pepporony
ContributorAndroid
on 27 June 2019 - 05:22 #1117279

Live thread คุยกัน Center Core ลงมาเร็วไป เห้นว่าไม่รอดแน่ๆไดเรคเตอร์เลยบอกงั้นบังคับให้มันลงทะเลผ่านหน้ากล้อง จะได้เห็นมุมสวยๆ :D

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 27 June 2019 - 07:28 #1117285 Reply to:1117279
TeamKiller's picture

ถ้าลงกระแทกเรือพังด้วย เสียสองต่อเลย