Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติในชื่อกลุ่ม Event Horizon Telescope (EHT) เปิดเผยภาพหลุมดำที่ถ่ายได้เป็นภาพแรกของโลกซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซี่ M87 ที่ห่างออกไปจากโลก 55 ล้านปีแสง ภาพที่ได้นี้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุจาก 8 ที่ในการถ่าย

จากภาพถ่ายที่ปรากฎศูนย์กลางวงกลมสีดำเป็นขอบของ event horizon ซึ่งเป็นบริเวณที่วัตถุหรือแม้แต่แสงไม่สามารถหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้และขอบสว่างโดยรอบที่เรียกว่า ring of fire เกิดจากแก๊สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งตรงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้

กลุ่ม EHT อาศัยเทคนิคที่เรียกว่า very-long-baseline interferometry (VLBI) ที่ต้องนัดจังหวะเวลาจับภาพระหว่างกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มให้พร้อมกัน และอาศัยการหมุนตัวของโลกเพื่อให้ได้ภาพที่เหมือนมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลกทั้งใบ โดยกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่น 1.3 มิลลิเมตร

กล้องโทรทรรศน์ที่ร่วมสร้างภาพครั้งนี้ได้แก่ ALMA, APEX, IRAM 30-meter telescope, James Clerk Maxwell Telescope, Large Millimeter Telescope Alfonso Serrano, Submillimeter Array, Submillimeter Telescope, และ South Pole Telescope (ดูแผนที่ตำแหน่งกล้องท้ายข่าว) กล้องแต่ละตัวจับคลื่นความแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่นที่กำหนดในช่วงเวลา 10 วันในปี 2017 โดยกล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวสร้างข้อมูลวันละ 350 เทราไบต์ ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้จึงต้องส่งข้อมูลที่บรรจุในฮาร์ดไดร์ฟเพื่อนำไปประมวลผลภาพ

ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปประมวลผลโดยใช้ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบันวิทยุดาราศาสตร์ Max Planck และ MIT Haystack Observatory ร่วมกัน

ที่มา - Event Horizon Telescope, BBC

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 10 April 2019 - 23:27 #1105434
hisoft's picture

10 วัน = 3.5 เพตาไบต์ * 8 ตัว

ก็ควรแล้วที่ประมวลผลตั้งแต่ปี 2017

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 00:10 #1105438 Reply to:1105434
Holy's picture

ตอนอ่านถึง 2017 ก็สงสัยว่า เอ๊ ทำไมเพิ่งเปิดเผยตอนนี้ แล้วก็คิดต่อว่าแบบนี้ถ้าทำโครงการไปเรื่อยๆ เป็นปีๆ ได้ภาพมาหลักหลายร้อยหลายพันภาพจะประมวลให้เห็นภาพชัดๆ ได้มั้ย

พอถึง 350 TB ก็.... บาย

ปล. ว่าแต่ต้องส่งฮาร์ดดิสก์ทีละกี่ตัวกันนะ

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 11 April 2019 - 00:26 #1105441 Reply to:1105438
Perl's picture

น่าจะส่งทั้งตู้ SAN เลย

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 09:01 #1105471 Reply to:1105441
TeamKiller's picture

ไม่รู้คือทั้งหมดเลยเปล่าน ทำไมดูน้อยๆ

By: Bugbear
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 11 April 2019 - 10:27 #1105485 Reply to:1105471
Bugbear's picture

ของสถานีเดียวรึเปล่าครับ ปีนั้นHDD ที่ใหญ่ที่สุดน่าจะ 16TB แต่น่าจะใช้ตัวที่รองลงมาคือ 12 หรือ 10 มากกว่า
ดูจากที่มีแล้วน่าจะแค่ 800-960TB เป็นอย่างมาก
แล้วข้อมูลขนาดนั้นไม่แน่ใจว่ามีเทคนิคในการบีบอัดด้วยรึเปล่า

By: sian
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 10:58 #1105493 Reply to:1105471
By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 13:01 #1105525 Reply to:1105493
TeamKiller's picture

ขอบคุณครับ

Disk เยอะขนาดนี้จะเอาเข้าเครื่องไหนอ่านเนี่ย

By: sian
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 16:42 #1105571 Reply to:1105525
sian's picture

ในหน้า Technology หัวข้อ Data Collection at Wide Bandwidths ของเว็บ EHT บอกว่าใช้เครื่อง Mark 6 ครับ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 20:40 #1105615 Reply to:1105571
TeamKiller's picture

ขอบคุณครับ

ดูเป็นเครื่องทำมาเฉพาะทางเลย

By: vipatter
Windows Phone
on 11 April 2019 - 11:46 #1105511 Reply to:1105438

350TB ในอีก 30 ปี ข้างหน้ามองกลับมา จะเหมือนเรามอง Harddisk เมื่อ 30 ปีที่แล้วไหม

By: deaknaew on 11 April 2019 - 12:54 #1105523 Reply to:1105511

คิดว่า hdd จะเหมือน floppy disk นะ ส่วน ssd อาจจะแทนที่ hdd

By: genocide on 11 April 2019 - 18:05 #1105593 Reply to:1105511
genocide's picture

ผมคิดว่าตอนนั้นเราคงไม่ต้องใช้หน่วยความจำแล้วครับ cloud อย่างเดียว

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 20:41 #1105614 Reply to:1105593
TeamKiller's picture

แล้ว cloud ก็ต้องใช้หน่วยความจำอยู่ดีนะครับ แถมมีกรณีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Cloud หรือ ไม่สามารถใช้ Cloud ได้อีกนะครับ

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 10 April 2019 - 23:37 #1105435
wisidsak's picture

55ล้านปี ป่านนี้ตรงนั้น ณ เวลาเดียวกับเรา จะเป็นยังไงบ้างนะ

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 00:36 #1105444 Reply to:1105435
darkleonic's picture

ผมว่ามันอาจจะใหญ่กว่าเดิมนะครับ


I need healing.

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 01:28 #1105448
PandaBaka's picture

ทำไมจ้องดูภาพนานๆ แล้วเหมือนภาพมันเคลื่อนไหวได้ด้วย O_O

By: sdc on 11 April 2019 - 06:45 #1105450

อ่านผ่านๆนึกว่าเป็นกาแลกซีเดียวกับมนุษย์ยักษ์สีแดง 5555

By: wanat11 on 11 April 2019 - 06:50 #1105451

ถามเอาความรู้หน่อยครับ ทำไมหลุมดำที่แม้แต่แสงก็หนีไม่พ้น แต่กลับถูกถ่ายด้วยกล้องได้ครับอยากรู้ ในทางปฏิบัติกล้องที่ใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวช่วยบันทึกภาพไม่น่าจะถ่ายติดหลุมดำได้ ความคิดผมหลุมดำมีสภาพเหนือกว่าพลังงานหรือวิญญาณในลัทธิความเชื่อ

By: tg-thaigamer
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 11 April 2019 - 07:09 #1105453 Reply to:1105451
tg-thaigamer's picture

กล้องน่าจะเป็นกล้องจับภาพที่เฉพาะแสงที่เราเห็นหรือเปล่าครับ แล้วความถี่แสงที่ปล่อยออกมาอาจจะอยู่ในย่านที่ตาเรามองเห็น

ส่วนทำไมเห็นแสงได้ เพราะมันอยู่ในขอบฟ้าเหตุการณ์ แสงยังออกมาได้


มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ

By: pepporony
ContributorAndroid
on 11 April 2019 - 07:18 #1105454 Reply to:1105451

เดา:

เราไม่ได้ถ่ายหลุมดำ เราถ่ายแสงรอบๆ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2019 - 08:15 #1105459 Reply to:1105454
hisoft's picture

ตามนี้ครับ ในเนื้อข่าวก็มีอธิบายว่าตรงกลางที่ดำๆ คือในเขต event horizon

ว่าแต่ ring of fire นี่มันบางจนถ่ายตรงกลางได้มืดขนาดนั้น

By: AlninlA
ContributorAndroidUbuntu
on 11 April 2019 - 08:36 #1105464 Reply to:1105459
AlninlA's picture

ลองเปรียบหลุมดำเป็นดาวเสาร์ ring of fire = accretion disk เสมือนวงแหวนดาวเสาร์ แล้วมองไกลๆ จากบริเวณขั้วดาวเสาร์ คงจะได้ภาพทำนองนี้ครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2019 - 15:53 #1105563 Reply to:1105464
hisoft's picture

ขอบคุณครับ ผมก็ลืมไปว่ามันต้องวิ่งรอบด้วยไม่ใช่แค่ไปคลุมเป็นฟองสบู่

By: terdsak.s on 11 April 2019 - 08:23 #1105460 Reply to:1105451

หลุมดำเมื่อเริ่มดูดสสารรอบข้างเข้าสู่ตัวเองมากขึ้น มวลก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆครับ มวลที่เพิ่มสูงมากขึ้น ก็ส่งผลให้แรงดึงดูดสูงขึ้นตามเช่นกัน มวลมันมากจนสร้างแรงดึงดูดที่แม้แต่แสงที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ยังต้องถูกดูดกลับดข้าไปครับ แล้วแสงที่ถ่ายได้โดยรอบคือพลังงานในพื้นที่ส่วนที่ยังไม่เข้าไปสู่จุด No Return Point

By: titleds
AndroidUbuntuWindows
on 11 April 2019 - 12:25 #1105517 Reply to:1105460

จริงๆ แล้ว แสงเป็นทั้งคลื่นและอนุภาคครับ และด้วยสมบัติของการเป็นอนุภาค แสงจึงสามารถตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามโน้มถ่วงได้

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2019 - 15:53 #1105564 Reply to:1105517
hisoft's picture

แสงเป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล ไม่น่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามโน้มถ่วงหรือเปล่าครับ?

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 16:19 #1105567 Reply to:1105564
tekkasit's picture

ไม่ถูกครับ แสงเองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลจากสนามโน้มถ่วงครับ ดูเรื่อง Einstein ring ก็ได้ครับ

ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพแล้วแรงโน้มถ่วงเป็นแรงเสมือนจากกาลอวกาศที่บิดโค้งครับ ดังนั้นเมื่อกาลอวกาศบิดตัว แสงที่เดินทางก็จะต้องบิดตามเช่นกันครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2019 - 17:28 #1105589 Reply to:1105567
hisoft's picture

ซึ่งถ้ามองในแง่กาลอวกาศบิดโค้งนั้นก็ไม่น่าเกี่ยวกับว่าเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค เพราะแม้แต่คลื่นล้วนๆ เองก็ต้องบิดโค้งไปด้วยหรือเปล่าครับ? จะว่าไปคลื่นความโน้มถ่วงนี่จะถูกบิดได้ด้วยหรือเปล่า

By: kurosame
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 16:48 #1105575 Reply to:1105564
kurosame's picture

อิทธิพลของสนามโน้มถ่วง ถ้ามองแบบ Newtonian ก็คือ w=mg ก็เลยทำให้ Newtonian physics คิดว่าไม่มีผลต่อแสง

อิทธิพลของสนามโน้มถ่วง ถ้ามองแบบ Einsteinian มันคือ space time curvature ที่วัตถุจะไหลไปสู่สุดที่ potential energy ต่ำสุด รวมถึง photon ด้วย


{$user} was not an Imposter

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 11 April 2019 - 08:24 #1105462 Reply to:1105451

ถ่ายเพื่อให้ติบขอบด้านข้าง (ขอบฟ้าเหตุการณ์) ซึ่งแสงยังคง ลอดออกมาได้อยู่
จากนั้นจุดที่ถ่ายไม่ติด แต่มีแสงอยู่รอบๆตัวมัน มันก็คือหลุมดำนั่นเอง

By: zionzz on 11 April 2019 - 10:02 #1105483 Reply to:1105451

https://youtu.be/omz77qrDjsU?t=835 ประมาณนี้ครับ

By: bluezip
AndroidUbuntuWindows
on 11 April 2019 - 10:37 #1105486 Reply to:1105451

ดาวฤกษ์มันไปติดรอบๆ ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) มันหมุนเร็วมากๆ (คล้ายๆกับโลกที่หมุนรอบดวงอาทิตย์) ภาพที่เห็นน่าจะเป็นดาวฤกษ์

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 11:10 #1105497 Reply to:1105451
mr_tawan's picture

หลุมดำน่าจะเป็นส่วนที่เป็นสีดำตรงกลางครับ ส่วนสีแดง ๆ โดยรอบคือแสดงที่เกิดจากความร้อน เป็นส่วนที่ยังไม่ถูกดูดเข้าไป


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 11 April 2019 - 13:16 #1105534 Reply to:1105451

ขอเสริมจากเม้นท์บนๆ ลองดูคลิปนี้เป็นตัวอย่าง ring of fire ที่สปินรอบๆ หลุมดำครับ

By: waroonh
Windows
on 11 April 2019 - 16:30 #1105569 Reply to:1105451

https://www.youtube.com/watch?v=zUyH3XhpLTo

ที่ผมดูมา อันนี้อธิบายได้ชัดเจน มากที่สุด

แต่ถ้าถามความเชื่อส่วนตัว ผมว่าถ่ายติดปรากฏการณ์ Einstein cross มากกว่า เพราะมันมี Signature ของภาพอยู่คือ ฉากหลังมืด มีจุดแสงสามจุด บนวงแสงด้านหนึ่ง ทำมุมกัน 60 องศา
ด้านตรงข้าม มี กลุ่มแสงอีก จุดหนึ่ง สว่างต่ำๆ

By: kurosame
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 16:49 #1105577 Reply to:1105569
kurosame's picture

+10^10


{$user} was not an Imposter

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 07:00 #1105452

ทฤษฎีสัมพัธภาพ

นึกถึงหนังเรื่อง interstellar เลย เหมือนเปี๊ยบ
https://www.youtube.com/watch?v=MfGfZwQ_qaY

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 08:28 #1105463
TeamKiller's picture

หลุมดำเหมือนเป็น Bug ของจักรวาลเลย พี่แกจะดูดๆ ทุกอย่างไปเรื่อยๆ สะสมมวลเข้าไปอีกจนทุกอย่างดับสูญหมด

By: tkmzaa on 11 April 2019 - 08:46 #1105467 Reply to:1105463
tkmzaa's picture

อาจจะเป็นฟีเจอร์ที่พระเจ้าสร้างไว้ ตั้งเวลาเพื่อล้างขยะทั้งหลายในจักรวาล เพิ่มพื่นที่ว่างไว้สร้างสิ่งใหม่ๆ วันนึงเราอาจเป็นหนึ่งในขยะเหล่านั้น

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 13:04 #1105527 Reply to:1105467
TeamKiller's picture

กลัวว่ามันล้างจนไม่เหลือ แบบไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ได้เลย พอมีสิ่งเกิดใหม่ก็โดนดูดหายไป รอจนกว่ามันจะระเบิดล้างเริ่มต้นกันใหม่

By: ween
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 11 April 2019 - 22:32 #1105627 Reply to:1105527
ween's picture

ของที่ถูกดูดเข้าไป อาจจะกลายเป็น Resource ในการสร้างจักรวาลใหม่ภายในหลุมก็ได้นะ

By: Alios
iPhoneAndroidWindows
on 11 April 2019 - 11:02 #1105494 Reply to:1105463

มีทฤษฎีว่า สสารที่ถูกดูดไม่ได้หายไปไหนครับ ไม่ได้ดับสูญแต่เป็นกบายข้อมูลอยู่บริเวณอีเวนท์ฮอไรซันครับ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 13:03 #1105526 Reply to:1105494
TeamKiller's picture

ข้อมูลนี่ บิต 0, 1 งี้เลยหรอครับ แต่ผมว่ามันน่าจะเป็นสะสารสักอย่างสะสมๆ ในหลุมดำทำให้หลุมดำขยายไปเรื่อยๆ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 09:00 #1105469
tekkasit's picture

ขอเสริมครับ ส่วนวงมืดตรงกลางนั้นไม่ใช่แค่ตัวขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) พอดีครับ แต่มันยังรวมพื้นที่รอบขอบฟ้าเหตุการณ์ที่แสงจากตาเราโดนเลี้ยวเบน (unstable circular photon orbits) ซึ่งรัศมีประมาณ 2-3 เท่าของขอบฟ้าเหตุการณ์

ส่วนแสงที่เห็นคือแสงจานพอกพูนมวล (accretion disk) ที่เกิดจากมวลสารก่อนที่จะตกเข้าสู่หลุมดำ มันจะต้องชนกับมวลสารอื่นๆ เพื่อเสียพลังงานเชิงมุมก่อนจะตกเข้าสู่หลุมดำ พลังงานที่เสียไปส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในรูปพลังงานความร้อน เป็นล้านองศา ทำให้มวลสารเปล่งแสงในช่วงความถี่ต่างๆออกมาให้เราบันทึกไว้ได้

บางคนตั้งข้อสงสัย ทำไมภาพมันดูเบลอๆ ไม่ชัด ต้องบอกว่า หลุมดำมีขนาดเชิงมุมเล็กมากจากโลก อย่างรูปหลุมดำ M87 นี้ มันเล็กเสมือนพยายามถ่ายรูปแผ่นซีดี ที่วางบนดวงจันทร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาเทคนิคและความร่วมมืออย่างมากมายในการถ่าย/และสร้างรูปนี้ขึ้นมาให้สำเร็จ

ส่วนที่เป็นเหตุการณ์ใหญ่ เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพหลักฐานโดยตรงของการมีอยู่ของหลุมดำ ก่อนหน้านี้เป็นการอนุมาน จากการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่รอบๆพื้นที่ต้องสงสัย แต่ไม่เคยถ่ายรูปตรงๆสำเร็จ

By: TakeshiBoy on 11 April 2019 - 09:19 #1105475 Reply to:1105469
TakeshiBoy's picture

+1

By: tuttap
Android
on 11 April 2019 - 09:22 #1105476 Reply to:1105469
tuttap's picture

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

By: loptar on 11 April 2019 - 10:49 #1105489 Reply to:1105469
loptar's picture

ขอบคุณครับ หายสงสัยไปเยอะเลย

By: illuminator
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 11 April 2019 - 09:55 #1105481
illuminator's picture

#InsertBlackHoleMemeHere

By: delete on 11 April 2019 - 09:59 #1105482

ขนาดของข้อมูลยังไม่สามารถที่จะส่งทางอินเตอร์เน็ทได้

ตรงนี้น่าสนใจ ว่าอนาคตจะทำได้หรือไม่ และจะทำได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 11:12 #1105496 Reply to:1105482
tekkasit's picture

กล้องโทรทรรศน์ตัวหนึ่ง อยู่ที่ขั่วโลกใต้ครับ จริงอยู่ว่าอาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งานได้ แต่ bandwidth น่าจะต่ำ (ผู้ให้บริการปกติคงไม่มีใครจะไปลงทุนตั้งโครงข่ายเน็ตความเร็วสูงบนนั้น? - เท่าที่เคยดูสารคดี ไม่มีบริการมือถือที่นั่นนะ) จนไม่คุ้มที่จะถ่ายโอนข้อมูลปริมาณ 3500 TB จากกล้องฯผ่านเน็ต

สู้โอนลง HDD แล้วรอหน้าร้อน (ซึ่งเอาจริงก็ไม่ได้ร้อนสักเท่าไร แต่สภาพอากาศจะทารุณน้อยกว่าหน้าร้อนมาก) แล้วค่อยขนส่งมา น่าจะไวกว่าส่งผ่านหลอดยาคูลท์ครับ

ปัญหาคือ ใครจะไปลงทุน infrastructure ครับ ไหนจะค่า maintenance ในสภาพอากาศที่ทารุณขนาดนั้นอีก

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2019 - 13:06 #1105528 Reply to:1105496
lew's picture

จริงๆ ทุกวันนี้ ข้อมูล 1TB+ นี่ผมว่าส่งฮาร์ดดิสก์คุ้มกว่าทั้งนั้นนะครับ พวกคลาวด์ส่งระหว่าง datacenter ในเมืองก็แบบนี้ทั้งนั้น


lewcpe.com, @wasonliw

By: terdsak.s on 11 April 2019 - 11:24 #1105503

รบกวนแก้ไข"สัมพันธภาพ" เป็น "สัมพัทธภาพ" ด้วยนะครับ คนไทยยังคงใช้คำนี้ผิดอยู่มาก สายวิทยาศาสตร์เห็นแล้วหงุดหงิดมากๆ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2019 - 15:02 #1105555 Reply to:1105503
tekkasit's picture

แก้สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลีี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 11 April 2019 - 16:04 #1105566
btoy's picture

ชื่นชมในความพยายามและความเก่งกาจของนักวิทยาศาสตร์ทุกๆท่านครับ ถ้าไอสไตน์ยังอยู่ แกคงดีใจเนอะ


..: เรื่อยไป

By: Pingz
ContributoriPhone
on 11 April 2019 - 17:15 #1105586

คลิปนี้อธิบายไว้ดีมากเลยครับ

By: Xeon on 11 April 2019 - 18:57 #1105603

อวกาศที่ระยะทางเป็นอนันต์ หาที่สิ้นสุดไม่ได้ หรือว่าเราก็อยู่ในหลุมดำหลุมนึง ที่ไม่สามารถออกไปนอก Event Horizon ได้