Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาความปลอดภัยรอบล่าสุดของ Facebook ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อย่างน้อย 50 ล้านคน อาจเป็นเหตุให้ Facebook โดนปรับเป็นเงินถึง 1.63 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5.1 หมื่นล้านบาท)

ประเด็นที่เป็นปัญหาคือข้อมูลของผู้ใช้รั่วไหลไปด้วย ซึ่งมีความผิดตามกฎ GDPR ของสหภาพยุโรป ที่กำหนดเพดานค่าปรับไว้ที่ 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของรายได้ทั่วโลกของบริษัทนั้น ขึ้นกับตัวเลขไหนสูงกว่า ซึ่งกรณีของ Facebook คืออย่างหลัง และสามารถคำนวณออกมาได้ที่ 1.63 พันล้านดอลลาร์

ที่ผ่านมา EU ยังไม่เคยใช้ GDPR เป็นเครื่องมือลงโทษเรื่องค่าปรับมากนัก กรณีนี้จึงเป็นที่น่าจับตาว่า EU จะลงโทษ Facebook หรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน

ตอนนี้ Data Protection Commission (DPC) หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลกรณี Facebook ได้ร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทแล้ว

ที่มา - Wall Street Journal, Fortune, Gizmodo

Get latest news from Blognone

Comments

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 2 October 2018 - 00:07 #1073817

ใจนึงก็อยากให้โทษนี้ไม่หนักมากในเบอร์นี้ (ด้วยเหตุเป็นเหตุสุดวิสัยพอควร คือเจตนาให้เกิดนั้นไม่มี)

แต่อยากให้โทษในการเอาข้อมูลมา Cross-matching เป็น Shadow identity ที่ใช้ชี้ไปหาบุคคลได้ นั้นมีโทษสองสามเท่าของเหตุแบบนี้ (ด้วยว่าเหตุนั้นเป็นเหตุที่เกิดโดยเจตนา)

By: thearm on 2 October 2018 - 09:08 #1073850
thearm's picture

EU นี่ปรับแต่ละทีนี่แพงมากๆ

By: HMage
AndroidWindows
on 2 October 2018 - 10:08 #1073869

บางทีผมก็สงสัยระบบลงโทษโดยการปรับเงินนะ หมายความว่า "ยิ่งมีโจรมาก => EU ยิ่งรวย" มันใช่หรอ?

คือเข้าใจนะครับว่าวิธีการที่คนอื่นจะกดดันจากภายนอกบริษัทโดยใช้ระบบเงินมันสะดวกดี
แต่ตรรกะการไหลของการแลกเปลี่ยนและชดเชยมันแปลกๆ
เพราะปกติโทษปรับ จะมีเหตุผลจากการ ริบคืนในสิ่งที่ไม่ควรได้ไป หรือ ปรับเงินเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิด เช่น ปรับโรงงานยาสูบเพื่อไปใช้รักษาคนป่วยจากบุหรี่
แต่ข้อมูลที่รั่วนี่ประเมิณมูลค่ายังไง แถมรั่วทั่วโลกไม่ใช่แค่ยุโรป ทำไม EU จึงควรได้เงิน

By: WarHammeR_TH
iPhone
on 2 October 2018 - 11:03 #1073884 Reply to:1073869
WarHammeR_TH's picture

ติดใจตรงนี้เหมือนกัน ข้อมูลรั่วทั่วโลก ทำไม EU ถึงได้เงินโดยคำนวณจากรายได้ทั่วโลก???

ถ้าคิดจาก 4% ของรายได้ในยุโรปจะไม่ติดใจเท่าไหร่

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 2 October 2018 - 12:13 #1073900 Reply to:1073869

อันนี้ผมรู้นะ แต่พูดไม่ได้มาก แต่ใบ้ได้แค่ว่า เป็นการเมืองระหว่างทวีป ประเด็นจริงๆ ต้องการแค่นั้น แต่เขียนทีนึงก็เอาเยอะๆ เพราะกว่าจะได้โอกาสแก้อีกมาอีกนาน... มันเลยคลุมไปหมด เว็บเล็กๆ ก็โดนด้วย...แค่เขียนเว็บ แล้วมีการสมัครอีเมล์โฆษณาแล้วเกิดโดนแฮก ไมว่าข้อมูลนั้นจะเข้ารหัสหรือไม่? ก็มีสิทธิเสียเงินเสียทองได้แล้วประเด็นที่พีคกว่าคือ ผู้ที่สั่งให้จ่ายเงินค่าปรับเป็นกลุ่มบุคคลเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เหมือนสไตล์แถวๆ นี้เลย

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 2 October 2018 - 12:01 #1073898

จริงๆ แล้วโทษปรับ GDPR ไม่ควรให้มีด้วยซ้ำไปในบางกรณี ถ้าบริษัทนั้นแสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ได้มีการจัดการป้องกันข้อมูลอย่างแน่นหนาตามมาตรฐานหรือมากกว่าที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้กำหนดว่าใช้เครื่องมือนี้แล้วข้อมูลจะปลอดภัย แล้วมาตรฐานนี้ได้รับการปรับปรุงและต่อเนื่องตามกาลเวลา

อย่างกรณีนี้ผมว่า เฟสบุ๊คออกมาค่อนข้างเร็วนะ ออกมายอมรับและแก้ไขโดยเร็ว ถึงแม้จะมีการใช้ช่องโหว่นั้นในการใช้งานไปแล้วก็ตาม

อย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับว่าในโลกวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่มีอะไรปลอดภัยไปทั้งหมด เราพัฒนาซอฟตแวร์หรือฮาร์ดแวร์ออกมามันก็ต้องมีกันบ้างที่มีช่องโหว่ แต่หลังจากนั้นเราก็แก้ไขกันไป อย่างที่เราเจอๆ กันที่ผ่านมา ซึ่งช่องโหว่บางตัวเหนือการควบคุมของตัวเราด้วยซ้ำ เป็นช่องโหว่ของผู้ผลิต ซึ่งเราใช้สินค้าชิ้นนั้นอยู่ แต่เราถูกแฮกและโดนปรับเงิน แบบนี้มันคุ้มค่ากันหรือเปล่า? GDPR กำหนดแบบลอยๆ ไม่มีมาตรฐาน บอกแค่ว่าถ้าถูกแฮกได้ก็โดนปรับ...หรือบางประเทศถึงขั้นเป็นคดีอาญา แบบนี้โอเคเหรอครับ? ใครเข้าออนไลน์ขาข้างหนึ่งอยู่ในคุกในตารางแล้วนะครับ

จากประสบการณ์ทำงานกับ GDPR ของผมนะ เพราะธุรกิจผมเป็นขนาดเล็ก และค้าขายกับยุโรปเป็นหลัก ผมเห็นด้วยกับ GDPR ในบางเรื่องนะ เช่นความเป็นส่วนตัว การส่งต่อคุ๊กกี้ หรือข้อมูลส่วนตัวให้บุคคลที่สาม หรือเรื่อง bad cookie แต่เราไม่มีพฤติการณ์ และไม่มีความประสงค์ที่จะทำแบบนั้นไง GDPR มันก็ควรจะจบ แต่มันไม่จบตรงที่มีเรื่องของความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แล้วคุ้มครองถึงข้อมูลที่ไปหลุดไม่ว่าจะเข้ารหัสหรือไม่เข้ารหัสคุณจะยังแฮปปี้อยู่ไหม?

เรื่องนี้โดนแฮกนี่คือประเด็นใหญ่ครับ โดนแฮกยังไม่พอแล้วแล้วถูกปรับเงินอีกต่างหาก หรือบางประเทศถึงขั้นจะเอาผิดทางอาญา ผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่นะครับ ไม่มีเว็บไซต์ไหน บริษัทไหนที่ต้องการให้ถูกแฮกเพราะกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า และความปลอดภัยของเว็บไวต์นั้นๆ อีกด้วย เหมือนกฎหมายนี้เขียนนี้ขึ้นมาเพื่อกลั่นแกล้ง บังคับ บางบริษัทมากกว่าเพื่อจะคุ้มครองตามความเป็นตัวของผู้ใช้ มันเหมือนเคสมันเหมือนร้านขายของไม่รับบัตรเดบิต ถ้าเราต้องการจ่ายผ่านบัตรแต่ร้านไม่รับก็ไปซื้อร้านอื่นจบ ไม่ใช่ไปยัดเยียดว่า เขาต้องติดตั้งเครื่องรับบัตรโน้นนั้นนี่ สร้างข้อจำกัดให้เขาเข้าตลาดไม่ได้...เหมือนกันครับ GDPR กับ ธุรกิจรายเล็กๆ ย่อยๆ ของยุโรปเขาก็โวยกันนะครับ บางเว็บนี่คือนิ่งไปเลย บางเว็บกลายเป็นเว็บแนะนำเฉยๆ ดังนั้นผมว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทยน่าจะเอาเคสนี้มาเป็นตัวอย่างนะครับ เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นเหมือนดาบ 2 คม ที่จะชี้วัดว่า Thailand จะ 4.0 หรือ 0.4 กันแน่? แรงไปคนไม่กล้าก็ 0.4 กันต่อไปนะครับ ฝากผู้เกี่ยวข้องลองพิจารณาดูครับ

By: IDCET
Contributor
on 2 October 2018 - 13:13 #1073913

กฎหมาย GPDR กลายเป็นทำพิษกับบริษัทรายย่อยโดยปริยาย โดนแฮ็กทีวายวอด กลุ่มนี้ไม่มีงบประมาณสูงไว้ป้องกันเหมือนบริษัทใหญ่นะ แล้วไม่อยากโดนแฮ็คให้เสียชื่อด้วย


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 2 October 2018 - 20:08 #1073997

ผมว่า GDPR ควรมีและการปรับแบบนี้ถือว่าเบาแล้ว เพราะเบากว่านี้ก็จะมีคนบ่นเหมือนกสทช. ว่าเสือกระดาษปรับเบายังไม่เท่ากำไรบริษัทในหนึ่งวันเลย ส่วนทำไมต้องปรับ EU อยากรวยหรอ บอกเลยว่าไม่ใช่ครับเพราะเขาอยากให้บริษัทมองว่าต้นทุนในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญ และแพงถ้าโดนปรับครับไม่ใช่ค่าปรับถูกงั้นก็ปรับไปสิแบบประเทศไทย ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลทำไป EU ต้องคุ้มครองหนักหนา ถ้ามันตกอยู่ในมืออาชญากร คนของเขาอาจตายได้ครับ สมัยผมเด็กๆครอบครัวโดนตามฆ่า ก็ต้องปิดมือถือหนีเพราะไอพนักงานบริษัทให้บริการมือถือมันขายข้อมูลให้มาเฟีย จนไม่กี่ปีก่อนก็มีข่าวนั้นไงคือสาเหตุ กสทช.ก็โคตรเสือกระดาษไม่ทำอะไรเลย