Tags:
Node Thumbnail

GSMA สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เผยรายงานเรื่องการส่งข้อมูลข้ามพรมแดน หรือ Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows ระบุว่าการปล่อยให้ข้อมูลไหลเวียนอย่างเป็นอิสระ จะช่วยเพิ่มจีดีพีโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศยังมีการจำกัดการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, กังวลเรื่องการสอดแนมจากต่างชาติ และ ความมั่นคงของชาติ

No Description

ด้านข้อกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล บอริส วอยแทน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคล GSMA ระบุว่า การทำให้การไหลเวียนข้อมูลเป็นอิสระนั้นสามารถทำควบคู่ไปกับกฎระเบียบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้ คือทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน APEC's Cross Border Privacy Rules และ EU's Binding Corporate Rules ที่กำหนดเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ และยังระบุด้วยว่า การเก็บข้อมูลไว้ในที่เดียวนั้นปลอดภัยน้อยกว่า เพราะคนร้ายรู้ว่าต้องโจมตีที่ไหน หรืออย่างกฎ GDPR ก็มีกลไกและหลักปฏิบัติที่ชัดเจน ที่เอื้อให้เกิดการส่งข้อมูล (ข้อแม้คือบริษัทหรือประเทศปลายทางต้องมีมาตรฐานการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลดีเทียบเท่า GDPR)

ส่วนข้อกัลวลเรื่องการสอดแนมต่างชาติ ความมั่นคงของชาติ จุดนี้ไม่มีทางออกที่ตายตัว แต่รัฐบาลกับบริษัทที่จัดการเทคโนโลยีต้องมาหาทางออกร่วมกันว่าจะสามารถปกป้องข้อมูลของชาติได้อย่างไรโดยไม่กระทบต่อการไหลเวียนข้อมูลที่จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอนาคต

GSMA มีข้อแนะนำแก่ประเทศในอาเซียนและเอเชียดังนี้

  • รัฐบาลประเทศสมาชิกเอเปคและอาเซียนควรร่วมกันพิจารณาทางเลือกเพื่อปิดช่องว่างความแตกต่างด้านข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศตนเอง และเชื่อมโยงกับกรอบข้อกำหนดในระดับภูมิภาคมากขึ้น
  • พัฒนากฎข้อบังคับด้านข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ศึกษาประสบการณ์ของรัฐบาลในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และกำหนดทิศทางในอนาคตร่วมกัน
  • ผู้กำหนดนโยบายในภาครัฐและผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในระดับภูมิภาค
  • รัฐบาลควรชี้แจงแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งจากภาคเอกชนและภาควิชาการด้านข้อมูลส่วนบุคคลถึงแนวทางการปฏิบัติต่างๆ

No Description

ส่วนประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการออกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเป็นผู้นำอาเซียนเรื่องนี้ โดย GSMA แนะนำว่าไทยควรหารือ หาแนวทางที่คู่ขนานและสอดคล้องกับมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนตัวในระดับสากลอย่าง APEC's Cross Border Privacy Rules เชื่อว่าถ้าไทยริเริ่มทำได้จะเป็นแบบอย่างของภูมิภาคอาเซียนได้

ผู้อ่านสามารถอ่านรายงานของ GSMA ฉบับเต็มได้ มี 2 ฉบับคือ

Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows
Cross-Border Data Flows: Realising Benefits and Removing Barriers

Get latest news from Blognone

Comments

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 6 September 2018 - 20:12 #1069330

ไทยเป็นผุ้นำด้านข้อมูลหลุด ระบบล่ม แล้วไม่ยอมรับ ไม่แจ้งเตือน ไม่ออกมาตรการควบคุมเหรอครับ 555


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: IDCET
Contributor
on 6 September 2018 - 20:58 #1069339 Reply to:1069330

วิธีแก้: ไล่คนเก่าๆ ออก ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย > จ้างผู้เชี่ยวชาญทำงานแทนทั้งหมด > ออกกฎหมายที่เข้มงวดและบังคับรับผิดชอบต่อความเสียหายของบริษัทในทุกกรณี


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว