Tags:

กสทช. จับ BTS เป็นตัวประกัน

ความเห็นต่อความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ

เรื่องทำไมไม่มีใครประมูลคลื่น 900 MHz

อ้างถึง

https://www.blognone.com/node/104444

จากบทความของท่าน กสทช เข้าใจได้ทันทีว่า ต้องการยึดความถี่ย่าน 900 MHz คืน เพื่อไปประมูลขายให้บริษัทโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหาการรบกวนของ BTS ที่เป็นกระแส มาเป็นตัวประกัน มีเรื่องที่ย้อนแย้งที่ผมไม่เข้าใจอีกหลายประเด็น เช่น

เรื่องที่ 1 ความถี่ที่เป็นข่าวของ BTS เป็นความถี่ย่าน 2.4 GHz ซึ่งห่างไกลจาก 900 MHz มาก สำหรับผมแล้วเหมือนกับว่ามันเป็นคนละเรื่องกัน

เรื่องที่ 2 ตกลงปัญหาของ BTS เกิดจากอะไรกันแน่ ช่องสัญญาณข้างเคียงรบกวนกันจริงๆ หรือ เคยอ่านบทความของจุฬาฯ
ประมาณว่าเครื่องรับของ BTS เอาสัญญาณ DTAC เข้ามาแล้ว สร้าง Intermediate Frequency มาทับตัวเองพอดี ซึ่งถ้าหากแนวคิดในบทความของจุฬาฯถูก ก็แสดงว่าเป็นคนละเรื่องกับช่องสัญญาณข้างเคียงรบกวนกัน การใช้แต่ตัวกรองสัญญาณ อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด อยากเห็นข้อมูลและหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การคาดเดาเพียงอย่างเดียว

เรื่องที่ 3 มาตรฐานการใช้แบนด์วิธ
โดยปกติการใช้ช่องสัญญาณหรือแบนด์วิธ จะมีมาตรฐานระหว่างประเทศอยู่ว่าให้ใช้สัญญาณภายในแบนด์ได้เท่าไร สัญญาณล้นเกินออกมาที่ช่องข้างๆได้ไม่เกินเท่าไร ถ้าทุกคนรวมทั้ง DTAC ทำตามมาตรฐาน แล้ว BTS มีปัญหา ก็เป็นหน้าที่ของ BTS ที่ต้องแก้ไขระบบของตัวเอง ไม่ใช่ว่าคนที่อยู่มาก่อนจะได้สิทธิพิเศษกว่าคนอื่น ถ้าไม่มีมาตรฐานระหว่างประเทศ กสทช ก็มีหน้าที่ที่ต้องกำหนดมาตรฐานดังกล่าว ดังนั้น “เงื่อนไขภาระการต้องติดตั้งตัวกรองสัญญาณให้กับระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีน” จึงเป็นการผลักภาระให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

เรื่องที่ 4 ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ไม่รู้
บริษัทโทรศัพท์มือถือ จะไปรู้เรื่องทางเทคนิคของระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนได้ยังไง เมื่อไม่รู้ ก็มีความเสี่ยง ไม่มีใครกล้าเสี่ยงกับความไม่รู้หรอก และในกรณีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่เอาคอไปขึ้นเขียง

เรื่องที่ 5 ความเห็นท่าน >> "เรามีทางเลือกมากกว่า 1 ทางในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้รถไฟความเร็วสูง
การตัดสินใจจัดสรรคลื่น 900 MHz ที่ขาดแคลนเพื่อเทคโนโลยีที่กำลังจะตกยุคอาจเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันหาทางออกโดยเร็ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ไม่เช่นนั้น อีกไม่กี่ปีเราก็อาจจะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเปลี่ยนจากเทคโนโลยีที่จะตกยุค ทั้งที่เพิ่งลงทุนไปได้ไม่นาน">>

ผมไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหม คือ ระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีน ถูกกำหนดให้ผูกขาดโดยจีนอยู่แล้ว ให้แม้กระทั่ง ม.44 เราไม่ได้เป็นผู้เลือก จีนต่างหากที่เป็นผู้เลือก เทคโนโลยีจะทันสมัยหรือล้าสมัย ก็อยู่ที่ฝ่ายจีน เราไม่ได้มีทางเลือกอะไรเลย สิ่งที่ฝั่งไทยทำได้ก็เพียงแค่ ไม่ให้ซื้อน็อตตัวละ 20 ล้าน ก็เท่านั้นเอง

GSM-R 900 MHz เป็นระบบเก่าใช้กันทั่วโลกมาร่วมสามสิบปีแล้ว ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ระบบ BTS ต่างหาก ที่ว่าเป็นระบบทางสะดวกแบบใหม่ (Virtual Block) ใช้กับความถี่ย่าน 2.4 GHz WIFI หรือ ยุค 3G ที่ทันสมัยใหม่กว่า GSM-R 900 MHz แล้วทำไมระบบที่ทันสมัยกว่ามีปัญหาสาหัสกว่าระบบเก่าที่ล้าสมัยล่ะ ผมไม่เข้าใจจริงๆ

Get latest news from Blognone
By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 14 August 2018 - 00:41 #1065540
Be1con's picture

ผมขอเคลียร์อย่างนี้ครับ ผมพอเข้าใจที่คุณจะสื่ออยู่ แต่ผมเห็นหลายเรื่อง

ข้อแรก ที่ทาง กสทช. เขาหมายถึงคือ รถไฟความเร็วสูงจากจีน รวมถึงรถไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ ที่จะใช้คลื่น 900 MHz ในการสื่อสาร (ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับคลื่นของ BTS ที่ใช้เพราะใช้ที่คลื่น 2.4 GHz ซึ่งเป็นคลื่นสาธารณะอยู่แล้ว) แต่ที่ทาง กสทช. เขาอิงเรื่องนี้มา เพราะมันมีโครงการที่ผมว่ามาข้างต้น ซึ่งมันใหญ่โตกว่าเรื่องของ BTS เสียอีก และมันเป็นโครงสร้างความมั่นคงของชาติ ฉะนั้นจึงต้องมีกฎเหล่านี้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ข้อที่สอง กรณีของ BTS ตอนนี้มันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนนัก แต่ถ้าให้ผมแบ่งออกเป็น 2 เคสคือ

  1. เคสที่ BTS แอบไปจิ๊กคลื่น TOT (ที่ dtac เช่าใช้) มาใช้เอง ตรงนี้พอเป็นไปได้ถ้าหากเครื่องส่งอาณัติสัญญาณที่ BTS ใช้สามารถส่งและรับคลื่นช่วงนั้นได้
  2. เคสที่ BTS ไม่ได้ใช้คชื่น TOT แต่ใช้คลื่น 2.4 GHz ใน channel อื่น ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นไปได้ว่าอาจจะโดนสัญญาณกวน เพราะอย่าลืมว่าหลายเทคโนโลยีที่เด่น ๆ ทั้ง บลูทูธ, Wi-Fi b/g/n หรือแม้แต่สัญญาณจาก receiver รุ่นต่าง ๆ ที่อุปกรณ์หลายรายมักใช้กันก็ล้วนแต่อยู่ในคลื่น 2.4 GHz เพราะเป็นคลื่นเสรี แต่ต่างกันที่ว่าจะอยู่ใน channel ไหนแค่นั้น

ส่วนตัวผมผมมองว่า ถ้าหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่ว่าจริง ๆ ยังไงก็ต้องมีการกรองสัญญาณอยู่ดีครับ เพราะสุดท้ายมันก็มีการรบกวนของสัญญาณจากการระบบอาณัติสัญญาณเหมือนกัน

ข้อที่สาม โปรดอย่าลืมว่า รถไฟความเร็วสูงจากจีนมันเป็นสมบัติสาธารณะนะครับ และเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ (ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย) แม้ว่าจะมีการประมูลสำหรับเอกชน แต่สุดท้ายก็ยังต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของสาธารณะเหมือนกัน ซึ่งที่คุณว่ามา ผมว่ามันไม่ถูกสักเท่าไร

ข้อที่สี่ แม้ว่าผู้ให้บริการเครือข่ายจะไม่ทราบระบบการส่งสัญญาณ (ซึ่งควรจะปกปิดไว้เพราะเป็นข้อมูลที่มีผลต่อการให้บริการ และถ้าหากเปิดสู่สาธารณะย่อมส่งผลเสียต่อโดยรวมแน่) แต่อย่างน้อย การที่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้ทราบถึงสเปกว่าระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนมันใช้ "ช่องสัญญาณ" ไหน ย่อมมีประโยชน์ไม่ใช่หรือที่จะทำระบบกรองคลื่นในส่วนที่มีโอกาสที่จะรบกวนกันได้ง่าย

ข้อที่ห้า ที่มันมีปัญหาเพราะว่าการจัดการคลื่นที่ใช้ไงครับ อย่างที่ กสทช. แนะนำให้ใช้บล็อกท้าย ๆ ของคลื่น 2.4 GHz ด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือการ ลดปัญหาของการทับซ้อนกันของสัญญาณ ด้วยเหตุผลที่ผมว่าไว้ในข้อที่สอง เคสที่สอง

การที่ "เทคโนโลยีเก่า" ใช้งานได้ดีกว่า เพราะมันเป็นเทคโนโลยีที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน มีการพิสูจน์มาระยะหนึ่งแล้ว และเป็นคลื่นที่ถูกรบกวนต่ำ เพราะคลื่นอยู่ในโซนเดียวกันกับคลื่นที่ใช้ในส่วนของพาณิชย์ ซึ่งมันไม่ค่อยมีใครมาทำระบบกวนสัญญาณอยู่แล้ว (ไม่เหมือนคลื่น 2.4 GHz และ 5 GHz ที่เปิดเป็นสาธารณะแล้ว ซึ่งอันหลังเอาจริง ๆ คือคลื่นที่ใช้ในการทหารนะครับ แต่เพิ่งเปิดให้คนทั่วไปใช้งานคลื่นนี้ได้เพราะมันโล่งกว่ามาก)

หวังว่าคุณจะเข้าใจที่ผมสื่อนะครับ


Coder | Designer | Thinker | Blogger