Tags:
Node Thumbnail

ต่อจากทรูและดีแทค เอไอเอสก็ได้แจ้งสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz ของ กสทช. มีรายละเอียดดังนี้

  • เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz โดยให้บริษัทในเครือ AWN เป็นผู้เข้าประมูล
  • ไม่เข้าร่วมประมูล คลื่น 900 MHz

เอไอเอสก็ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างเป็นทางการที่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz เช่นเดียวกับสองค่ายมือถือก่อนหน้านี้ ทำให้การประมูลครั้งนี้ มีเฉพาะคลื่น 1800 MHz ซึ่งมีผู้ประกาศจะเข้าร่วมประมูล 2 รายคือ ดีแทค และเอไอเอส แต่ทั้งนี้ต้องรอให้ กสทช. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติการเป็นผู้เข้าร่วมประมูลตามขั้นตอนก่อน

ทั้งนี้คลื่น 1800 MHz ที่ กสทช. จัดให้มีการประมูลนั้น จะแบ่งออกเป็น 9 ช่วงความถี่ย่อย ใบอนุญาตละ 5 MHz โดยผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ใบหรือ 20 MHz ราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 12,486 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท

สำหรับคลื่น 900 MHz ซึ่งตอนนี้ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลนั้น ตามประกาศของ กสทช. ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ระบุว่า กสทช. สามารถยกเลิกการประมูล แล้วพิจารณากำหนดการประมูลครั้งต่อไปตามความเหมาะสม

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

AIS

Get latest news from Blognone

Comments

By: IDCET
Contributor
on 8 August 2018 - 13:08 #1064682

แบบนี้ DTAC จะแพ้ประมูลไม่ได้อีกแล้วนะ ต้องสู้อย่างเดียวเท่านั้น ต่อให้มีคลื่น 2300 ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้ 1800 ไม่ใช่ 2300 แถมพื้นที่บริการ 2300 ยังแค่เริ่มต้นจาก 0 ด้วยซ้ำ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 8 August 2018 - 13:12 #1064683 Reply to:1064682

9 ช่วงความถี่ย่อย ใบอนุญาตละ 5 MHz โดยผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ใบหรือ 20 MHz

มีสองเจ้ายังเหลือด้วยซ้ำครับไม่ต้องคิดมากเลย

By: IDCET
Contributor
on 8 August 2018 - 13:26 #1064685 Reply to:1064683

ปัญหาคือ DTAC กับ AIS สามารถบอกได้หรือเปล่าว่าจะจองประมูลช่วงคลื่นไหนก่อนประมูลจริง ถ้าเกิดเลือกคลื่นเดียวกันทั้ง 4 slot ทั้งคู่แล้วและไม่ชนะประมูลสักช่วงคลื่น แถมไม่สามารถเลือก Slot อื่นที่ยังไม่ได้เลือกประมูลได้อีก ก็งานหนักเลยนะ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: magnamonkun
WriterAndroidWindows
on 8 August 2018 - 13:36 #1064688 Reply to:1064685
magnamonkun's picture

กติกาคือ กดมาก่อนแล้วค่อยมาเลือกช่วงกันเหมือนตอน 2100 ครับ
แต่การเลือกช่อง มีข้อกำหนดเสริมออกมาเป็นประกาศ กสทช. ว่า ถ้า dtac ชนะด้วยราคาสูงสุด (สมมติว่ากดมา 4 ใบ คือให้ราคาสูงที่สุด) dtac ห้ามเลือกช่องที่ติดกับ AIS (ช่องที่ 1) เด็ดขาด ส่วน dtac อาจจะเลือกช่อง 6/7/8/9 ซึ่งเป็นช่องเดิมที่ใช้งานอยู่เดิมก็ได้ แต่ไม่ใช่ช่อง 1 ช่องเดียว

แต่ขณะเดียวกัน ถ้า AIS กดมาได้สูงที่สุด (คือให้ราคาสูงกว่าทุกใบของ dtac รวมกัน) แล้ว AIS ต้องการย้ายคลื่นความถี่เพื่อเปิดทางให้ True มาประมูลเพิ่มในอนาคต AIS สามารถขอย้ายคลื่นความถี่ทั้งชุด "ไปช่องไหนก็ได้" ตามที่ต้องการ

By: FutureLifePlus
iPhoneAndroid
on 8 August 2018 - 13:45 #1064691 Reply to:1064688

แล้วแบบนี้ dtac เลือกช่องสัญญาณ 2 3 4 5 ได้มั้ยครับ

By: magnamonkun
WriterAndroidWindows
on 8 August 2018 - 13:59 #1064698 Reply to:1064691
magnamonkun's picture

เลือกได้ครับ แต่ต้องดูฝั่ง AIS ด้วยว่า AIS กดมาเท่าไหร่ เช่นถ้า AIS กดมาอีก 10 ก็เลือก 1/2 ไม่ได้ ประกาศนี้คือการเอื้อประโยชน์ให้ AIS ในกรณีที่ AIS ต้องการคลื่นจำนวนน้อยเพื่อเอาไปต่อกับของเดิมให้ครบ 20 ตามสเปคของ LTE ครับ

By: sukjai
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 8 August 2018 - 13:43 #1064690

ให้ dtac ได้เถอะครับ ถ้ามีแค่ 3 เจ้านี่แย่

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 8 August 2018 - 13:56 #1064697
nessuchan's picture

Dtac กดมาแต่ 5mhz พอแล้ว ชิว ๆ ใช้ 2300 อย่างเดียวพอ

ผมจะได้ย้ายไปใช้ค่ายอื่นอย่างไม่ต้องคิดมาก

By: NiNeMarK
AndroidWindows
on 9 August 2018 - 13:54 #1064908

คิดถึง JAS ขึ้นมาเลย

By: IDCET
Contributor
on 9 August 2018 - 16:29 #1064966 Reply to:1064908

อันนั้นจะเกิดได้ครับ ถ้า JAS ไม่เล่นตัวเป็น Troll มาปั่นราคาในตอนนั้น และมายืนยันจ่ายค่าประมูลตั้งแต่แรก เราจะได้เจ้าใหม่มาแข่งไปนานแล้วครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว