Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

mu Space สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศสัญชาติไทย ประกาศการได้รับสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ดาวเทียมครอบคลุม 6 ประเทศได้แก่ไทย, เมียมาร์, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซียและเวียดนาม และเตรียมจะเริ่มเสนอให้บริการสัญญาณดาวเทียมแก่ภาครัฐ, โอเปอเรเตอร์และภาคธุรกิจต่างๆ เร็วๆ นี้

ดาวเทียมของ mu Space จะยิงขึ้นไปในปี 2561 โดยอาศัยจรวด New Glenn ของ Blue Origin ที่ Jeff Bezos เป็นผู้ก่อตั้ง ส่วนการใช้คลื่นความถี่ดาวเทียมที่ mu Space ได้จะอยู่ที่ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 50.5 องศาตะวันออก ซึ่งนอกจากดาวเทียมที่บริษัทจะยิงขึ้นไปเองแล้ว ยังเช่าคลื่นความถี่ในตำแหน่งวงโคจรนี้จากบริษัท New Skies Satellites สัญชาติเนเธอแลนด์ในเครือ SES บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดาววเทียมระดับโลกเป็นเวลา 30 ปีด้วย (เช่า 15 ปีและวางแผนจะต่ออีก 15 ปี)

alt="muspace"

ตอนนี้ mu Space ระบุว่าพร้อมจะให้บริการสัญญาณดาวเทียมในไทยทันที เหลือเพียงแค่รอขั้นตอนการอนุมัติจากภาครัฐเท่านั้น หลังได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 (มีโครงข่ายดาวเทียมเป็นของตนเอง) เป็นเจ้าแรกในไทยจาก กสทช. เป็นระยะเวลา 15 ปี

ขณะที่เป้าหมายของ mu Space คือการสร้างระบบอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในพื้นที่ห่างไกล และนำมาปรับใช้กับการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ อย่าง IoT หรือ Smart Cities

alt="Screen Shot 2561-06-19 at 17.35.43"
ตำแหน่งดาวเทียม ณ วงโคจร 50.5 องศาตะวันออก

Get latest news from Blognone

Comments

By: AleXius
iPhoneBlackberryUbuntu
on 19 June 2018 - 19:11 #1056243

มีแต่ให้เช่าสัญญาณ แต่ไม่มีประมูลเนาะ

By: A4
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 19 June 2018 - 21:10 #1056258
A4's picture

สงสัยครับ
ทำไมตำแหน่งดาวเทียม ไม่ได้อยู่ที่ลองติจูดของจุดที่ให้บริการครับ

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 21 June 2018 - 09:30 #1056546 Reply to:1056258

เอาคร่าวๆ นะครับ ตำแหน่งดาวเทียมมี ITU เป็นคนกำหนด

และแต่ละตำแหน่ง "รัฐบาล" ประเทศนั้นๆ ต้องไปขอกับ ITU ครับ
ของไทยที่ขอมาได้ก็จะมีอย่างเช่น 50.5E, 78.5E, 119.5E ไรงี้
และไทยคมก็ใช้ที่ 78.5 กับ 119.5

และถ้าประเทศนั้นๆ ไม่ยอมส่งดาวเทียมไปยังตำแหน่งที่ขอไปสักระยะหนึ่ง (จำไม่ได้ว่ากี่ปี แต่ไม่ค่อยนาน) ทาง ITU ก็จะปล่อยตำแหน่งนั้นให้กับประเทศอื่นที่มาขอจองต่อครับ

ดังนั้นถ้า mu Space ไม่เอาดาวเทียมขึ้นไป 50.5E สักที ตำแหน่งนี้ก็จะหลุดเป็นของประเทศอื่นได้เช่นกัน

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 19 June 2018 - 22:26 #1056268

ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า latency กระจายแน่นอน

By: obnetarena
Windows PhoneWindows
on 20 June 2018 - 23:52 #1056502 Reply to:1056268

ตอน IPSTAR นั่นก็ใช้งานได้นะครับ สำหรับเล่นเว็บนี่ผมว่าแทบไม่มีปัญหาดู YouTube ก็ยังได้
จะมีปัญหาก็พวกเกมออนไลน์เนี่ยแหละครับ

By: Mike26
iPhoneAndroidBlackberryRed Hat
on 20 June 2018 - 07:33 #1056311
Mike26's picture

ดูกันยาวๆครับ :)

By: IDCET
Contributor
on 21 June 2018 - 11:10 #1056578

อยากให้ไทยสามารถส่งจรวดปล่อยดาวเทียมได้เองมากกว่า น่าจะช่วยประหยัดงบและสร้างงานให้ไทยได้อยู่


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว