Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดียทำให้ความพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริง และการทำฟีเจอร์ให้คนรวจสอบข่าวได้เป็นสิ่งจำเป็น และแน่นอนว่าแพลตฟอร์มที่คนรู้จักและใช้กันเป็นประจำอย่างวิกิพีเดียก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่คนใช้ตรวจสอบเนื้อหากัน YouTube เองก็แสดงลิงก์วิกิพีเดียใต้คลิปเนื้อหาสมคมคิด ให้ผู้รับข่าวสารได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมด้วย

Wired เผยแพร่บทความของ Katherine Maher กรรมการบริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย เจ้าของวิกิพีเดีย ว่า Facebook และ Google ควรทำอะไรมากกว่านี้เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียในฐานะที่เป็นแหล่งตรวจสอบข้อมูล เธอบอกด้วยว่า ในแง่หนึ่ง ทีมงานวิกิพีเดียรู้สึกยินดีที่โซเชียลมีเดียตระหนักถึงคุณค่าของวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตาม แม้วิกิพีเดียจะเป็นรูปแบบอาสา ให้คนเข้ามาสร้างและแก้ไขเนื้อหาได้ แต่การดำเนินการหลายอย่างใช้ทั้งแรงงาน และเวลา และทรัพยากรอื่นๆ

เธอบอกเพิ่มเติมว่า ในฐานะที่วิกิพีเดียเป็นความรู้และเป็นป้อมปราการป้องกันข้อมูลเท็จ และมีคนสร้างข้อมูลความรู้ให้ฟรีๆ ทางบริษัทเชื่อว่าเราสมควรได้รับการสนับสนุนที่ยั่งยืน และการสนับสนุนดังกล่าวควรมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดบนเครือข่ายดิจิทัล

Maher ปิดท้ายบทความว่า ในฐานะที่วิกิพีเดียเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และสร้างคุณค่าแก่อินเทอรืเน็ต บริษัทก็ไม่ควรกลัวที่จะยืนหยัดขึ้นเพื่อความมีค่าของวิกิพีเดีย

No Description
ภาพจาก Shutterstock โดย Faizal Ramli

ที่มา - WIRED

Get latest news from Blognone

Comments

By: Gored on 18 June 2018 - 17:56 #1056058
Gored's picture

วิกิก็ใช่ว่าเชื่อได้ ข้อมูลก็แก้ไขได้ตลอดอาจเจอคนไม่ดีแก้ไขเนื้อหาด้วยข้อมูลปลอมก็ได้

By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 18 June 2018 - 18:23 #1056061 Reply to:1056058
Be1con's picture

+1


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: alonerii
AndroidUbuntuWindows
on 18 June 2018 - 19:38 #1056067 Reply to:1056058

wiki ภาษาอังกฤษ มีคนตรวจเข้มข้นกว่าภาษาไทยเยอะนะครับ

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 19 June 2018 - 08:37 #1056106 Reply to:1056067
Sephanov's picture

+1 เคยไป edit บทความของฝรั่งหลายปีมาแล้ว ตอนนั้นเห็นว่าทีมตรวจเค้าตรวจไวมาก แบบว่าพึ่งแก้ไปไม่ถึงชั่วโมงก็มีคนมา edit ต่อแล้ว

By: srps
iPhoneWindows
on 18 June 2018 - 17:59 #1056059
srps's picture

ถ้าน่าเชื่อถือจริง เขาก็เอาไปเป็นแหล่งอ้างอิงในงานวิจัยไปแล้ว
ผมเคยเอาไปเป็นแหล่งอ้างอิง โดนอาจารย์ตีกลับ และให้ไปหามาใหม่

By: zerost
AndroidWindows
on 18 June 2018 - 18:21 #1056060 Reply to:1056059
zerost's picture

ใช้ได้นะครับ​ แต่ใช้จาก ref ในบทความนะ ถ้าไม่มีก็จบ

By: jirathip
Contributor
on 18 June 2018 - 19:31 #1056066 Reply to:1056059
jirathip's picture

วิกิไทยกับต่างประเทศข้อมูลต่างกันมากนะครับ


Jirathip

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 19 June 2018 - 00:55 #1056084 Reply to:1056059
big50000's picture

ไปหาจากวิกิไทย ที่มีพวกป่วนอยู่เต็มไปหมด ก็ไม่แปลกครับ แต่ถ้าเป็นเรฟจากวิกิพีเดียต่างประเทศแล้วยังโดนตีกลับอีก อันนี้ต้องส่งอาจารย์ไปอบรมเรื่องโปรเจกต์ใหม่แล้วล่ะ

By: langisser
In Love
on 19 June 2018 - 11:00 #1056146 Reply to:1056084

ถ้าเป็นวิกิต่างไประเทศข้อมูลมันน่าเชื่อถือขนาดใช้ในระดับงานวิจัยได้หรอครับ ในเมื่อมันก็ระบบเดียวกัน ใครก็แก้ไขได้ ใคร approve ความถูกต้องก็ไม่รู้ ถึงแม้บทความนั้นมันจะถูกแน่ๆ แต่บทความอื่นล่ะ

ผมเห็นว่าวิกิต่างประเทศหลายตัวเขียนดูดีนะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าความถูกต้องมันจะใช้อ้างอิงในระดับงานวิจัยได้ แต่ความน่าเชื่อระดับทั่วๆ ไปใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้นผมคิดว่าเชื่อได้ครับ

ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่ถูกต้องนะครับ แต่ระดับงานวิจัยมันคงต้องถูกต้องแบบมีที่มาที่ไป อยู่ๆ เราไปอ้างว่าทฏษฏีนี้เอามาจากวิกิ มันก็แปลกๆ นะ เพราะวิกิเอามาจากไหนก็ไม่รู้(ซึ่งตัววิกิเองก็มีอ้างอิงนะนะ ซึ่งเราควรไปศึกษาจากสิ่งที่วิกิอ้างอิงมาอีกที)

By: TigerST
Contributor
on 19 June 2018 - 13:49 #1056190 Reply to:1056146

ขอยกตัวอย่างที่ผมเคยแก้ไขนะครับ เอาบทความนี้เลย
Cherprang Areekul
ผมเข้าไปแก้ที่เกิดน้องเพราะตอนแรกใส่ว่าเกิดกรุงเทพมหานคร(ข้อมูลตาม BNK48 Official) แต่ถ้าใครตามเฌอบ่อยๆจะรู้ว่าเฌอเกิดหาดใหญ่ ผมไปแก้ โดนถามหาหลักฐานทันทีครับว่าไปเอาข้อมูลมาจากไหน(ถามจริงจังมากครับ) จนต้องเอารายการที่น้องไปออกของครูลูกกอล์ฟชอตที่ครูลูกกอล์ฟบอกว่ามาจากหาดใหญ่ละเฌอตกใจมายันครับ

แต่ในวงการวิจัยเขาจะไม่รับนะครับ เพราะอย่างที่บอก แก้ได้

By: pepporony
ContributorAndroid
on 19 June 2018 - 11:02 #1056145 Reply to:1056059

ไม่ใช่ว่า ที่คนแนะนำกันคือให้เอา source จากที่วิกิใช้ไปเป็นแหล่งอ้างอิงเหรอครับ (ไม่ใช่ไปบอกว่าเอามาจากวิกิตรงๆ)

By: phenocalypse
ContributorAndroidWindows
on 18 June 2018 - 19:52 #1056068

ผมในฐานะผู้เขียนวิกิพีเดียภาษาไทย มองว่าหลายบทความแสดงถึงความไม่เข้าใจระบบระเบียบของวิกิ อย่างเช่น ประวัติส่วนตัวของบุคคลที่ไม่ได้เป็นที่โดดเด่น หรือการเขียนเล่นต่างๆ ในขณะเดียวกัน ผู้ดูแลเวอร์ชันไทยบางคนก็ดูหยุมหยิมและตึงกับกฎระเบียบมากเกินไป จนทำให้คนไม่กล้ามาเขียน มาปรับปรุงให้ดีขึ้น

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 18 June 2018 - 21:08 #1056071
mr_tawan's picture

แปลความหมายง่าย ๆ คือ ในเมื่อ Facebook, Google ใช้ระบบของเรา ก็น่าจะช่วยสนับสนุนเราเสียหน่อยนะ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 18 June 2018 - 22:52 #1056075

อ้าว... ไม่ใช่แหล่งรวมของข่าวปลอมหรอกเหรอครับ?? บางบทความแก้กันดื้อๆ ไม่มีอ้างอิง โดยเฉพาะวิกีพีเดียไทย?

By: TigerST
Contributor
on 19 June 2018 - 15:23 #1056203 Reply to:1056075

ถ้าอังกฤษมีคนคอยตรวจครับ

By: FutureLifePlus
iPhoneAndroid
on 19 June 2018 - 00:27 #1056080

คนรวจสอบ >> คนตรวจสอบ

By: foizy
AndroidUbuntuWindows
on 19 June 2018 - 01:04 #1056086

เอาตรงๆ เวลาตำหนิวิกิไทย ผมมองว่ามันเหมือนตำหนิบริบทโดยรวมของสังคมมากกว่านะ

  1. ระบบของ Wikimedia มีข้อมูลที่ถูกปรับถูกแก้บ่อย และมีระบบตรวจความบ่อยในตัว โดยเฉพาะการแก้แบบ Flipflop (ซึ่งจะเกิดกับบทความประเภทที่โดน I/O หรือโดนแกล้ง หรือโดนป่วน) ถ้ามันเป็นบทความที่แก้กลับไปกลับมา มันก็มีเตือนประมาณนึง (และยังมีผู้ดูแลคอยล๊อคบทความให้แก้ไขยากขึ้นไปอีกในเรื่องที่อ่อนไหว)
  2. Wikipedia เน้นและให้ความสำคัญกับ Contribution จากผู้ที่เกี่ยวข้อง(กับสาระเนื้อหานั้น/เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาระนั้นๆ) ค่อนข้างมาก ความถูกต้องของข้อมูลบนนั้นจึงขึ้นกับ Contribution โดยรวม ซึ่งเอาจริงๆ ถ้าคนไทยไม่เขียนเพิ่ม ข้อมูลภาษาไทยมันก็เพิ่มขึ้นไม่ได้ .. และถ้ามันผิด แล้วผู้ใช้ภาษาไทยไม่เข้าไปแก้เอง มันก็คงกลับมาถูกไม่ได้ ... ที่มันต่างกับภาษาอังกฤษก็เพราะคนที่สละเวลามา Contribute เนื้อหา หรือแก้ไขเนื้อหาให้ถูกต้อง อัพเดท หรือเป็นความจริง มันมีน้อยไง ... ยิ่งถ้าเป็นบทความบางอย่างคนที่รู้พอจะเขียนได้ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่
  3. ความน่าเชื่อถือของบทความมันมีระดับนึง (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) แต่ส่วนที่ไม่สามารถใช้เป็น Ref งานวิจัยได้ เป็นคนละเหตุผลกัน หลักๆก็เพราะข้อมูลมันเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เขาถึงให้ citation ไปหาบทความหลักที่อ้างมา (ซึ่งมักเป็นเปเปอร์ มีการตีพิมพ์แล้ว หรือมีบันทึกข่าวลงวันที่ไว้หมด) .. ผู้ที่ทำงานวิจัย หากลองคิดดูมากกว่านั้นไปอีกขั้นนึงว่า เมื่อขณะที่ทำงานวิจัยสักชิ้นได้เขียนไว้แบบนึงโดยอ้างอิงจากวิกิ แล้วผ่านไปอีกแค่ 3-6 เดือน ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในแง่สาระสำคัญ (ซึ่งอาจเกิดจากมีเปเปอร์อื่นวิจัยมา หรือมีการ Debunk ครั้งใหญ่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นปัจจุบัน) พอคนเปิดงานวิจัยที่ทำมา Citation ไปหา Wiki (ซึ่งเป็นการสรุปรวมจากทุกข้อมูลอ้างถึงประกอบแล้ว) บทความและวิกิมันจะติดลูปไหม .. /// หรือเคสง่ายๆ เราวิจัยงานทับวิกิ -> ไปลดน้ำหนักของวิกิที่เขียน -> citation ไปหาวิกิ -> คนมาแก้วิกิ เพราะงานวิจัยเรา ซึ่งอ้างไปถึงวิกิก่อนแก้ ซึ่งเป็น revision ไหนไม่รู้ -> ซึ่งอาจโดน archive ไปแล้ว ... แบบนี้มันก็จะเกิดลูป
  4. ส่วนประเด็นเรื่องบุคลลที่ดังแล้วหรือไม่ดัง ผมว่าแค่ขยับเป็น public figure ก็พอจะมีค่าควรใส่ใน localize wiki แล้วนะ

ส่วนในแง่เนื้อข่าว ผมว่าจริงๆก็ควรเป็นแบบนั้นนะ คือใช้ทั้ง resource/snippet ก็ควร contribute กลับไป ทั้งในแง่ของข้อมูล และค่าใช้จ่าย

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 June 2018 - 01:14 #1056087 Reply to:1056086
McKay's picture

โดยส่วนตัวผมมองว่าการ cite ไปหา wikipedia โดยตรงนั้น แสดงว่าผู้ที่เขียนงานวิจัย(หรือรายงานต่างๆ) ไม่เข้าใจแก่นของงานวิจัย และไม่ให้คุณค่างานวิจัย/งานเขียนของผู้อื่นด้วยครับ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: A4
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 19 June 2018 - 04:48 #1056096
A4's picture

ถ้าไม่ใช้วิกิไทย มีสารานุกรมไทยออนไลน์ แบบจ่ายเงินไหมครับ

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 19 June 2018 - 08:34 #1056104 Reply to:1056096
Sephanov's picture

ของไทยมีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เปิดให้เข้าถึงได้ฟรีครับ แต่บทความก็อย่างที่รู้ๆกันว่าไม่เยอะเท่าของตปท.
แต่ถ้าภาษาอังกฤษ เคยใช้ของ Britannica มีสวนประกอบสำหรับไว้อ้างอิงเพียบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นบทความ บทความจากวารสาร บทความวิชาการ รูปภาพสวยๆที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

By: aammmm
Windows PhoneSymbianWindows
on 19 June 2018 - 11:05 #1056150
aammmm's picture

และสร้างคุณค่าแก่อินเทอรืเน็ต -> และสร้างคุณค่าแก่อินเทอร์เน็ต