Tags:

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎหมายสองฉบับที่จะเข้ามาควบคุมการซื้อขายเงินคริปโต, โทเค็น, และการระดมทุน ICO

ตัวร่างมีรายละเอียดจำนวนมาก และกำลังจะมีประกาศอื่นๆ ออกตามมาจากก.ล.ต. อีกหลายฉบับ แต่จากกฎหมายที่ออกมา เรามาดูผลกระทบกันก่อนครับ

No Description

กฎหมายควบคุมเรื่องเดียวกันแต่แยกออกเป็นสองฉบับ เพื่อแก้ไขเรื่องภาษีโดยเฉพาะ

No Description

ประเด็นสำคัญของการเข้าควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลคือการเก็บภาษี โดยใช้แนวทางภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้ให้บริการรับแลกเปลี่ยนต้องส่งภาษีให้สรรพากร

No Description

แม้จะหัก ณ ที่จ่าย 15% แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเสียภาษีเท่านี้พอดี หากฐานรายได้ไม่ถึง 15% ก็อาจขอคืนภาษีได้

No Description

กฎหมายฉบับที่สองเป็นการควบคุมดูแลกิจการต่างๆ โดยยกให้ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหมด

No Description

การออก ICO ที่ผ่านมาบางโครงการอาจจะสร้างความงุนงง ข้อมูลไม่ครบถ้วน หลังจากนี้ก.ล.ต. จะเป็นผู้อนุมัติเอกสารชี้ชวน ว่าต้องมีข้อมูลครบถ้วนจึงระดมทุนได้

No Description

สำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ก็ถูกควบคุมดูแลเช่นกัน โดยต้องขออนุญาตทั้งหมด น่าสังเกตว่ากฎหมายระบุรวมถึง “ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล” ที่เป็นบุคคลทั่วไปเอาไว้ในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย ต้องรอดูต่อไปว่าคนที่ซื้อขายเงินคริปโตหรือโทเค็นนอกตลาด จะถูกควบคุมอย่างไรหลังจากนี้

No Description

หลักเกณฑ์การขออนุญาตเปิดให้ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนด แต่มาตรา 30 วางหลักไว้ว่าต้องมีเรื่องอะไรบ้างต้องคำนึงถึงในหลักเกณฑ์

No Description

มาตรา 57 เป็นมาตราแรกของหมวดโทษอาญา และกำหนดโทษสำหรับการระดมทุน ICO โดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ค่อนข้างแรง

No Description

มาตรา 66 กำหนดโทษของการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไว้โดยโทษจำคุกหนักกว่า แต่โทษปรับเบากว่า คือไม่เกิน 500,000 บาท

No Description

มาตรา 100 เป็นมาตราสุดท้าย เปิดโอกาสให้ธุรกิจเดิมที่เปิดมาก่อนมีกฎหมาย สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยต้องยื่นขออนุญาตภายใน 90 วัน

No Description

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก

Get latest news from Blognone