Tags:
Node Thumbnail

เมื่อเดือนกันยายนปี 2017 Elon Musk ได้เปิดตัวคอนเซ็ปต์จรวดรุ่นใหม่ในชื่อ BFR โดยระบุว่าสามารถใช้เดินทางได้ทั้งจากโลกไปดาวอื่น และจากเมืองสู่เมืองในโลก

ล่าสุด Gwynne Shotwell ประธานและซีโอโอของ SpaceX ได้ไปพูดในงานสัมมนา TED2018 ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ว่าจรวด BFR จะพร้อมใช้ภายใน 10 ปี จากนั้นพิธีกรได้บอกว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเธอก็ยืนยันกลับว่ามันจะเกิดขึ้นแน่นอน

จรวด BFR จะมีขนาดใหญ่กว่าจรวด Falcon Heavy ราวสองเท่าครึ่ง โดยในคอนเซ็ปต์จะตั้งสถานีไว้นอกเมืองใหญ่ทั่วโลก จากนั้นก็บินจากเมืองสู่เมือง โดยเดินทางไปที่ไหนในโลกก็ใช้เวลาไม่เกิน 60 นาที ซึ่ง Shotwell บอกว่าเธอเดินทางเยอะมากแต่จริงๆ แล้วเธอไม่ชอบมัน ทำให้การที่เธอได้ไปพบลูกค้าที่กรุงริยาดประเทศซาอุดิอาระเบีย แล้วกลับมากินข้าวเย็นที่บ้านทันจึงเป็นเรื่องที่เธอชอบมาก

สุดท้ายเธอระบุว่าค่าตั๋วหนึ่งใบจะอยู่ระหว่างค่าตั๋วเครื่องบินพาณิชย์ชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจ ซึ่งเหตุผลที่ราคาตั๋วไม่แพงมากเป็นเพราะจรวด BFR สามารถเดินทางได้หลายเที่ยวใน 1 วัน ในขณะที่เครื่องบินไฟลท์ไกลๆ ทั่วไปสามารถบินได้เพียง 1 เที่ยวนั่นเอง

ที่มา - Recode, TED Blog

Get latest news from Blognone

Comments

By: freeriod on 12 April 2018 - 19:36 #1043723
freeriod's picture

กลัว

By: the mee
iPhoneAndroidWindows
on 12 April 2018 - 22:25 #1043734

ด้วยความเร็วขนาดนั้น ด้วยค่าซ่อมบำรุง มหาศาลเลยนะ
....จะดับตาม Concorde หรือเปล่านะสิ

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 12 April 2018 - 22:31 #1043735
MaxxIE's picture

แค่นึกถึงจังหวะออกตัวก็เสียวแล้ว

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 13 April 2018 - 01:40 #1043749 Reply to:1043735
TeamKiller's picture

อีกหน่อยคงเป็นเรื่องธรรมดาแบบเครื่องบินที่บินกันอยู่ทุกวันนี้ละครับ ถ้าเทคโนโลยีใช้แบบนี้ต่อไปนะครับ

By: peakna
Android
on 12 April 2018 - 23:48 #1043741
peakna's picture

ถ้าถึงยุคนั้นจริงจากพลังงานจรวดอาจกลายเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าหรือพลังงานใหม่ๆที่ให้กำลังขับเคลื่อนได้ดีกว่าและเร็วกว่านุ่มนวลกว่า คิดเล่นๆนะ

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 13 April 2018 - 01:00 #1043745
aeksael's picture

ความล่าช้าของเครื่องพาณิชย์ไม่ได้มาจากความเร็วเครื่องบินอย่างเดียวน่ะซี่


The Last Wizard Of Century.

By: torploysaeng
iPhone
on 13 April 2018 - 08:50 #1043763 Reply to:1043745

คิดเหมือนกันเลยครับ ถ้าจะให้เร็วจริง พวกพิธีการผ่านแดนจะต้องรวดเร็วตามไปด้วย

By: porple on 14 April 2018 - 14:55 #1043968 Reply to:1043763

Face recognition

By: Pingz
ContributoriPhone
on 13 April 2018 - 02:11 #1043750

สงสัยเรื่องราคาไม่แพงจะทำได้จริงเหรอ

เคยดูคลิปนึงใน youtube เค้าสังเกตว่าทุกวันนี้สายการบินใช้เวลาบินนานกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ทั้งๆที่เทคโนโลยีดีขึ้นน่าจะเดินทางได้เร็วขึ้น เค้าสรุปว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เดินทางได้เร็วขึ้นมันไม่คุ้มกับเวลาที่ลดไปได้

By: tstcnr1u
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 13 April 2018 - 08:32 #1043762 Reply to:1043750

เป็นเรื่องการบริหารสนามบินด้วยหรือเปล่าครับ อย่างที่ไทยนี่ก็ล้นเลยต้องเผื่อ delay ต้นทางไว้ เจอ delay ลงไม่ได้หลายทีละ เคยเห็นแบบออกช้ากว่าปกติเหมือนเครื่องมันทำความเร็วเพิ่มได้อีกจากเวลาที่แจ้งไว้

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 April 2018 - 09:16 #1043768 Reply to:1043750
illusion's picture

ผมว่ามันเป็นไปได้ครับ

เครื่องบินทุกวันนี้ไม่สามารถบินเร็วไปได้กว่านี้ เพราะติดเรื่องกำแพงเสียงครับ ถ้าเครื่องบินบินเร็วเหนือเสียงเมื่อไหร่ (เกิน 1 มัค) จะเกิด Sonic boom หรือเสียงดังปังสนั่นไปทั่วท้องฟ้า กระทบหนักไปถึงชุมชนด้านล่าง สมัย Concorde เริ่มบินใหม่ๆ ก็มีปัญหานี้มาก จนหลายๆ ประเทศสั่งห้ามเครื่องบินบินเร็วเหนือเสียงเหนือน่านฟ้าของตน ทำให้ Concorde สามารถบินเร็วเหนือเสียงได้เฉพาะบริเวณเหนือมหาสมุทรเท่านั้น บริเวณที่เป็นแผ่นดินต้องบินด้วยความเร็วต่ำกว่าเสียงทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากเพราะเครื่อง Concorde เป็นแบบ turbojet แบบเครื่องบินรบ ซดน้ำมันเลยแหละ (เครื่องบินไอพ่นทุกวันนี้ เป็นเครื่องแบบ turbofan) อีกอย่างการบินเร็วเหนือเสียงได้เฉพาะเหนือมหาสมุทรก็ตัดเส้นทางที่จะบินคุ้มไปได้อีกเยอะ เช่นลอนดอน-ปักกิ่งนี่ตัดทิ้งไปได้เลย ก็เลยเหลือแต่เส้นทางอเมริกา-ยุโรปเท่านั้นก่อนที่จะยุติการบินไปในที่สุด

เครื่องบินยุคปัจจุบันเลยทำความเร็วสูงสุดให้เฉียดๆ ความเร็วเสียง อย่าง 787 ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 0.90 มัค ในโลกของเครื่องบินพาณิชย์ก็คงจะไม่มีทางเร็วไปกว่านี้ได้อีกแล้ว เพราะติดข้อจำกัดเรื่องกำแพงเสียงอย่างที่ว่า เลยเน้นไปที่ความประหยัดและความสะดวกสบายบนเครื่องดีกว่า

แต่กับจรวด BFR นี่มันคือเทคโนโลยีต่างออกไปจากเครื่องบิน มันคือการบินออกไปเหนือชั้นบรรยากาศของโลกเลย ซึ่งตัดปัญหาเรื่องของ Sonic boom ไปได้ แถมประหยัดเชื้อเพลิงและบินได้เร็วสุดๆ ด้วยเพราะเหนือชั้นบรรยากาศของโลกไม่มีแรงต้าน

เหตุที่เครื่องบินพาณิชย์ยุคใหม่เป็นที่นิยม ทั้งๆ ที่เราต้องเอาเหล็กยักษ์หนักเป็นร้อยๆ ตันบินขึ้นฟ้าสูงๆ เป็นสิบกิโลเหนือพื้นดิน แถมต้องมาปรับความดันอากาศในห้องโดยสารอีก เพราะยิ่งเหนือฟ้าสูงจะยิ่งมีแรงต้านต่ำ ทำให้เครื่องบินบินได้ประหยัดเชื้อเพลิงและบินได้ด้วยความเร็วสูงกว่าการบินต่ำๆมาก ดังนั้นหัวใจที่การบินพาณิชย์มันเกิดความคุ้มค่าเพราะเอาเครื่องบินไปบินสูงๆ ที่มีแรงต้านต่ำกว่าบริเวณเหนือพื้นดินนี่เองทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง

คือบินเหนือชั้นบรรยากาศแบบ BFR ยังไงก็คุ้ม แต่ต้องหาทางบินแบบจรวดขึ้นไปเหนือชั้นบรรยากาศก่อนให้ได้ ซึ่ง Space X เค้าก็ทำให้การบินด้วยจรวดมีต้นทุนและความยุ่งยากที่ลดลงเรื่อยๆ และเอาอุปกรณ์มาใช้ซ้ำใหม่ได้ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ

และผมเห็นด้วยนะที่เค้าบอกว่า ทุกวันนี้การบินด้วยเครื่องบิน ต้นทุนหลักส่วนหนึ่งก็คือค่าเครื่องบินที่สำหรับไฟลต์ไกลๆ แล้วทำให้เครื่องบินลำนั้นใช้ได้แค่วันละ 1-2 เที่ยวบินเท่านั้น (ส่วนใหญ่อยู่บนฟ้า) กับเครื่องอย่าง A380 ที่ราคากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ต้นทุนค่าโดยสารมันก็หารเฉลี่ยราคาเครื่องบินไปแล้วแหละ (เคยตีราคาเล่นๆ เฉพาะค่าต้นทุนเครื่องบินต่อที่นั่ง/ชั่วโมง มันก็ตกหลายร้อยบาทแล้วแหละ) แต่ถ้า BFR มันทำให้การเดินทางระหว่างเมืองไกลๆ ใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว ดังนั้นวันนึงก็ใช้ได้หลายเที่ยว มันก็จะทำให้เกิดความคุ้มค่าขึ้นไปอีก

By: tfctaf
Windows PhoneUbuntuWindows
on 13 April 2018 - 10:25 #1043774 Reply to:1043768

คำว่าประหยัดเชื้อเพลิงกับจรวดเมื่อเทียบกับเครื่องบินไอพ่นนั้นลืมไปได้เลยครับ เครื่องบินบินด้วยแรงยกจากอากาศโดยใช้ปีก นอกจากนี้เครื่องเทอร์โบแฟนในปัจจุบันก็ประหยัดกว่าเทอร์โบเจ็ทหลายเท่า ส่วนจรวดบินด้วยแรงดันจากแก๊สเท่านั้นครับ เปลืองกว่าเครื่องบินไอพ่นแบบเก่าพวก turbojet กี่เท่าต่อกี่เท่าไม่รู้

นอกจากนี้ระดับการบินของเครื่องบินพาณิชย์ยุคใหม่ ผมว่าน่าจะเรียกว่าบินที่ระดับที่เหมาะสม optimum ที่สุดโดยคำนวนหลายอย่าง เช่นสูงเกินไปไม่มีอากาศพอที่จะบินที่ความเร็วต่ำกว่าเสียงและคนนั่งจะหายใจไม่ออก ต้องใส่หน้ากาก บินต่ำเกินไปก็จะเจอหลุมอากาศเยอะ และต่ำมากๆ จะเปลืองเชื้อเพลิงกว่า หนวกหูคนบนพื้น และอันตรายกว่าเป็นต้น การที่เครื่องบินเจ็ทยุคนี้ประหยัดกว่ายุคก่อนน่าจะมาจากพัฒนาการด้านเครื่องยนต์มากกว่าระดับการบิน เพราะเราก็บินกันสูงมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

BFR ยังไงก็เปลืองกว่าเครื่องบินครับ อย่างประเด็น turnover นั้นเครื่องบิน ณ สนามบินหนึ่งๆ ปล่อยเครื่องออกทุกๆ นาทีถึงสองนาที BFR นั้นคงทำไม่ได้จากเปลวไฟที่ปล่อยออกมาพวยพุ่งรัศมีกว้างไกล ดังนั้นความถี่ในการปล่อยก็ตัดออกไป ก็จะได้เฉพาะความเร็วในการเดินทางที่เร็วกว่าหลายเท่า ที่เจ๊แกอ้างนั้นก็ไม่ได้พูดถึงว่าอายุการใช้งาน เครื่องบินลำนึงใช้ได้นานกว่าแน่ๆ MRO ก็น้อยกว่าแน่ๆ ความปลอดภัยก็สูงกว่า (เช่นเครื่องยนต์ดับ สามารถหาวิธีร่อนลงได้ ฯลฯ ขณะที่จรวดตายยกลำ) ดังนั้นหากคำนวณตลอดอายุการใช้งานเผลอๆ ยานทั้งสองประเภทอาจจะรวมระยะทางที่บินได้เท่ากันในช่วงอายุที่เท่ากันด้วยซ้ำ

ยังมีอีกประเด็นคือคนนั่ง BFR ต้องอ้วกแตกกันสนุกเลยจาก motion sickness ที่เพิ่มเท่าทวีคูณจากความเร็ว เคยมีผู้เชี่ยวชาญออกมาพูดถึงประเด็นนี้แล้ว แต่ Space X ยังไม่เคยพูดถึง และอีกอันคือการโดนรังสีจากอวกาศหากบินสูงมากๆ

สรุป BFR ดีอย่างเดียวคือความเร็วครับ ความสบาย ความประหยัดตัดไปได้เลย ราคากี่ยุคๆ ก็ไม่ถูกกว่าเจ็ทแน่นอน เพราะอีกสิบปีร้อยปี เครื่องบินเจ็ทก็ต้องมีพัฒนาการต่อไป เปรียบเทียบกับเรือเดินสมุทรทุกวันนี้ขนสินค้าถูกกว่าเครื่องบินเป็นสิบร้อยเท่า ต่อให้ใช้เวลานานกว่าสามสิบเท่าก็ตาม หรือเครื่องบินใบพัดที่ทุกวันนี้ก็ถูกกว่าเจ็ทและเสียงเบากว่า

ต้องอย่าลืมครับว่าสาเหตุนึงที่คอนคอร์ดเลิกบิน เพราะว่าค่าน้ำมันแพง ลำเล็ก คนนั่งได้น้อย ทำให้ตั๋วแพงระเบิด และบินได้ไม่ทุกสนามบินทั่วโลก ซึ่งอาการเหมือน BFR เป๊ะๆ ทุกข้อเลยครับ BFR มีแถมอีกข้อคือคนนั่งเมาอ้วกเละ อย่าลืมว่ายังไงๆ BFR ก็มีโซนิคบูมเหมือนกัน

By: Kimi4ne
AndroidUbuntuWindows
on 13 April 2018 - 02:20 #1043751

บิน 6 ชั่วโมง แต่ติดอยู่สนามบิน 3 ชั่วโมง

By: akira on 13 April 2018 - 08:53 #1043765

ถ้าปัญหาอยู่ที่สนามบิน ขึ้นลงทางดิ่งได้ก็เป็นจุดแข็งทันที เพราะทำลานขึ้นลงชั่วคราวบนทะเลได้ แล้วใช้เฮลิคอปเตอร์ส่งเข้าฝั่งอีกที แต่ยังข้องใจในเรื่องจำนวนการบรรทุกผู้โดยสาร ว่าทำอย่างไรให้คุ้มทุน ทรงจรวดแบบปัจจุบัน มันบรรทุกได้ไม่มาก ขยายใหญ่ก็เจอปัญหาอื่่นอีก จุดท้าทายคือเรื่องการออกแบบเพื่อบรรทุกจำนวนมาก แต่ยังคุณสมบัติของจรวดไว้ได้นี่แหล่ะ

By: derega
AndroidWindows
on 13 April 2018 - 09:48 #1043769 Reply to:1043765

ดูจากรูปโครงสร้างข้างในน่าไหวอยู่นะ BFR Upper Stage พื้นที่ Payload กินไป 1/3 แถมบินแค่สักชม.นี่ไม่ต้องมีส่วนเตรียมอาหารเผลอๆห้องน้ำก็ไม่ต้อง พื้นที่ส่วนกลางของรุ่นไปดาวอังคารก็เอาผู้โดยสารไว้ตรงนั้นสำหรับรุ่นบนโลกได้อีก ส่วนสัมภาระก็เอาเคบินชั้นล่างสุดไปทำได้สบาย

By: tfctaf
Windows PhoneUbuntuWindows
on 13 April 2018 - 10:28 #1043775 Reply to:1043765

จะให้มีลานบินชั่วคราวนั้นคงยาก เพราะระบบเติมเชื้อเพลิงคงวุ่นวายน่าดู ไม่เหมือนเครื่องบินที่เอารถบรรทุกขนาดมาตรฐานวิ่งบนถนนมาเทียบเติมน้ำมันได้
ส่วนเรื่องคุ้มทุนนั้นง่ายๆ เลยครับว่าต้องคิดตั๋วแพงๆ ก็คุ้มทุนแล้ว ฮา

By: akira on 13 April 2018 - 11:05 #1043779 Reply to:1043775

ทำไมคิดอย่างนั้นล่ะครับ ทุกอย่างมันต้องมีจุดเปลี่ยนผ่านถ้าอะไรก็เป็นไปไม่ได้ แล้วมันจะพัฒนาอย่างไร แนวคิดฐานบินลอยน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แล้วถ้าคุณคิดว่าอะไรก็เป็นไปไม่ได้ แล้วเรือบรรทุกเครื่องบินมันก็ไม่สมควรมีอยู่จริง เรือส่งกำลังบำรุง เติมเชื้อเพลิงให้เครื่องบินก็คงไม่มีอยู่จริง แล้วถ้าวันหนึ่งเราสามารถผลิตไฮโดรเจนจากน้ำทะเลได้ล่ะ จำเป็นหรือที่ต้องส่งจากฝั่ืง