Tags:
Node Thumbnail

เมื่อเร็วๆนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานว่า ในขณะที่บางประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและด้วยความเร็วสูง ทว่ายังมีอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศยากจน ยังไม่มีโอกาสแม้แต่การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ช่องว่างดิจิตอล” (digital divide)

จากรายงานที่เปิดเผยในคราวจัดงาน ITU Telecom Asia 2008 ที่กรุงเทพฯ ไม่นานมานี้ ได้ระบุว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เป็นตลาดบรอดแบนด์ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 39% ของตลาดโลก ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศยากจนยังมีปัญหาในเรื่องข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและความเร็วใช้งานค่อนข้างต่ำ

หากพิจารณาในแง่การเข้าถึงบริการ พบว่าภูมิภาคนี้มีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดด้วยจำนวนผู้ใช้มากขึ้นประมาณ 5 เท่าตัวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งเริ่มตั้งแต่ 27 ล้านรายเมื่อปี 2548 เป็น 133 ล้านรายเมื่อเริ่มต้นปี 2551

เกาหลีใต้เป็นประเทศที่นำหน้าของโลกในกรณีเปอร์เซ็นต์ของจำนวนครัวเรือนที่สามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ประจำที่ได้ (fixed broadband access) มากที่สุด ตามติดมาด้วยเขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน และญี่ปุ่น ที่นำหน้าด้วยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีการต่อเชื่อมด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสง ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญยิ่งในการรองรับโครงข่ายยุคใหม่ที่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงมากๆ

ในขณะที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ให้ความเห็นว่า บรรดาประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำของภูมิภาคนั้น การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังจำกัดอยู่เฉพาะในเขตเมือง แต่ทว่ามีค่าใช้จ่ายสูง และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้เกิดช่องว่างของการเข้าถึงบรอดแบนด์ โดยประเทศยากจนบางประเทศมีการสัดส่วนการใช้บรอดแบนด์ต่อจำนวนประชากรเกือบป็นศูนย์ เมื่อเทียบกับบางประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีความร่ำรวยนั้นมีจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ประมาณ 1 ใน 4 ทีเดียว

ช่องว่างในการให้บริการบรอดแบนด์ระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจนค่อนข้างชัดเจน ดังเช่น ความเร็วในการให้บริการบรอดแบนด์ในญี่ปุ่น เกาหลี และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงตามที่มีการโฆษณากันนั้นต่ำสุดยังเร็วกว่าความเร็วในการให้บริการเร็วที่สุดของกัมพูชา ลาว และบังกลาเทศ เสียอีก

อนึ่ง รายงานของยูเอ็นยังระบุด้วยว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ประจำที่เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งโลก แต่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้เพียง 42% (ของทั้งโลก) และยังเป็นตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนกว่า 1.4 พันล้านราย ทั้งนี้คาดกันว่าเฉพาะจีนและอินเดียซึ่งมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 600 ล้านรายและ 280 ล้านรายตามลำดับ รวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของตลาดรวมทั้งโลก

กรณีของการรับ-ส่งข้อความสั้น (text messaging) นั้น ฟิลิปปินส์ครองแชมป์โลกด้วยจำนวนการใช้งานโดยเฉลี่ยกว่า 650 ครั้งต่อรายต่อเดือน

รายงานได้แนะนำว่า รัฐบาลของประเทศต่างๆ ควรเร่งรีบพัฒนาและหาทางลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ให้แคบลงกว่านี้โดยเร็ว

ที่มา - UN

Get latest news from Blognone

Comments

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 21 November 2008 - 15:39 #72350
lew's picture

"ระบุ" พิมพ์ผิดครับ

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw