Tags:
Node Thumbnail

ประเทศนอรเวย์มีการตรากฏหมายภาษีคาร์บอนมาตั้งแต่ปี 1991 ทำให้บริษัทจำนวนมากต้องพบกับต้นทุนที่สูงขึ้นเมื่อมีการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศจากก๊าซที่มีคาร์บอนปนเปื้อนมา ทำให้แท่นขุดเจาะน้ำมัน Sleipner บริเวณทะเลเหนือตัดสินใจติดตั้งเทคโนโลยีใหม่กลับลงใต้พื้นโลกในความลึกหนึ่งกิโลเมตรแทนการปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศ

มีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้มาตั้งแต่ปี 1996 และหลังจากครบรอบ 12 ปีมานี้อุปกรณ์ชุดนี้ทำหน้าที่อัดคาร์บอนกลับลงใต้พื้นโลกไปแล้วกว่า 10 ล้านตัน คิดจากภาษีคาร์บอนล่าสุดที่ 66 ดอลลาร์ต่อตันแล้วแท่นขุดเจาะนี้ประหยัดภาษีไปได้กว่า 600 ล้านดอลลาร์ (ประมาณสองหมื่นล้านบาท) หักลบกลบหนี้กับการลงทุนแล้วก็น่าจะคุ้มค่าดีไม่น้อย

อย่างไรก็ตามคาร์บอนจากการปั่นไฟบนแท่นและจากกระบวนการผลิตน้ำมันอื่นๆ ก็ยังคงปล่อยคาร์บอนในอัตรา 900,000 ตันต่อปี พอๆ กับที่แท่นขุดเจาะสามารถอัดกลับลงสู่ใต้ดินได้

แนวทางการเก็บกักคาร์บอนลงสู่ใต้ดินเป็นแนวทางที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่มากว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลในอนาคตได้

ที่มา - PhysOrg

Get latest news from Blognone

Comments

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 25 May 2008 - 23:00 #52750

อืมม เพิ่งจะดูสารคดีจากช่อง Discovery เรื่องนี้พอดีเลย

ว่าอาจจะเป็นอีกวิธีที่จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

By: Mr.JoH
Writer
on 25 May 2008 - 23:15 #52756

สงสัยเรื่องรั่วไหลครับ มันจะเป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมในระดับไหนครับ ?

ถ้าเป็นพวกยูเรเนียมก็ว่าไปอย่าง

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: ABZee on 26 May 2008 - 00:33 #52779 Reply to:52756

ผมคิดว่าถ้ารั่วมันก็เหมือนกับไม่ได้อัดลงไปตั้งแต่แรกนะครับ
คือถ้ารั่วไหล มันจะเป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมพอๆกับการที่เราไม่อัดมันลงไปตั้งแต่แรก

PoomK

By: papercut
Android
on 25 May 2008 - 23:19 #52759

้ต่อไปมันจะกลายเป็นเพชรใช่มั้ย???

By: bankkung
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 25 May 2008 - 23:27 #52762 Reply to:52759

มันไม่ได้กักเก็บเป็น C ลงไปใต้ดินนิครับ มันอยู่ในรูปอื่นไม่ใช่เหรอ (แต่ไม่รู้ว่าอยู๋ในรูปไหน แต่ไม่ใช่คาร์บอนเพียวๆมั้งครับ)