Tags:
Node Thumbnail

ตามความรู้เดิมที่มีอยู่คือ เชื้อ dengue virus ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกนั้นมี 4 สายพันธุ์ด้วยกัน และไข้เลือดออกนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปเป็นครั้งที่ 2 (secondary infection) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าเกิดจากการกระตุ้นสาร cytokines ที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมากเกินไป

ทีมนักวิจัยจากไต้หวัน จาก National Yang-Ming University ค้นพบกลไกที่เชื่อว่ามีส่วนทำให้เชื้อ dengue virus ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการของไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) และช็อค (dengue shock syndrome) ขึ้นผ่านทางปฏิกิริยาระหว่างตัวเชื้อไวรัสเอง กับโมเลกุลที่มีชื่อว่า CLEC5A ที่อยู่บนเซลล์เม็ดเลือดขาว

จากการทดลองให้การรักษาหนูที่ติดเชื้อ dengue virus ด้วย antibodies ที่ขัดขวางการจับกันระหว่างเชื้อ dengue virus กับ CLEC5A พบว่าสามารถลดกลไกการกระตุ้นอาการอักเสบได้ แต่ก็ยังมีการอักเสบที่เกิดจากกลไกภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามปกติอยู่

แม้ว่าการค้นพบนี้จะเป็นเพียงการทดลองในสัตว์ทดลองก็ตาม แต่ก็เป็นการเปิดทางให้กับการคิดค้นวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้เลือดออกนี้ต่อไป

ปัจจุบันมีผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เสียชีวิต 24,000 คน จาก 50 ล้านคน ต่อปี

ที่มา
Physorg

Get latest news from Blognone

Comments

By: macxide
iPhoneAndroid
on 23 May 2008 - 02:55 #52571

วัคซีนต่อไป จะเป็นอะไรน้าาาา

macXide กล้าคิดเพื่อโลกของความเป็นจริง - - - - -

By: pawinpawin
Writer
on 23 May 2008 - 07:03 #52577

ผมกลับคิดว่าส่วนใหญ่ Dengue ตายเพราะอะไร

  • Monitoring ไม่ดี?
  • Late diagnosis?
  • Host ไม่ดีอยู่แล้ว เช่นมีโรคประจำตัวเดิมเยอะมาก

การให้ Intravenous Immunoglobulin จะเป็นการยิ่งทำให้เรื่องวุ่นวายไปกว่าเดิมหรือไม่? เรื่องนี้น่าจะต่างจากการป้องกัน (ไม่ว่าจะป้องกันยุงหรือวัคซีน) ซึ่งน่าจะดีกว่าการแก้ครับ

By: DrRider
WriterAndroid
on 23 May 2008 - 08:50 #52578 Reply to:52577
DrRider's picture

เห็นด้วยเรื่องการป้ิองกันครับ ลดการเกิดโรค อย่างไรก็ดีที่สุด

เรื่องสาเหตุการตายในเคส Dengue นั้นมันก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างมาก

บางรายที่อาจจะแข็งแรงดี Monitor ดีหรือวินิจฉัยได้ตั้งแต่ต้น (ซึ่งยาก) ก็ตายได้เพราะว่า response ต่้อการอักเสบที่เกิดขึ้นมีไม่เท่ากันในแต่ละึคน เรื่องนี้ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกับการให้ยา antibiotic แล้วหาย เรื่องของ immunology ยังมีอะไรให้หากันอีกเยอะ การค้นพบกลไกนี้ก็เป็นการลดความรุนแรงของปฏิกริยาซึ่งก็น่าจะลดอัตราการตายได้

อีกอย่าง case Dengue ที่ตายนั้น ทุกคนก็จะ blame มาืที่แพทย์กันซะัเยอะุโดยที่ไม่ดูว่า

  1. ชุมชนได้ทำการกำจัดยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออกหรือเปล่า บางทีทำกันเอาหน้าตอนที่มีใครมาตรวจแค่้นั้น ไม่ได้ทำกันแบบยั่งยืน
  2. หลายครั้งแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ต้นนั้นเป็นเพราะว่าอาการของไข้เลืิอดออกตอนเริ่มต้นนั้น มันไม่ต่างจากไข้หวัด การมีไข้สูงไม่ได้บอกอะไร การตรวจเลือดช่วง 2-3 วันแรกก็ไม่สามารถบอกอะไรได้ กว่าจะรู้ตัวก็เริ่มช็อค แต่ตรงนี้เริ่มแก้ได้จากการที่ ถ้าแถวๆ นั้นไม่มีการกำจัดยุงลายแบบยั่งยืนและคนไข้สงสัยไข้เลือดออก หมอก็ควรจะสงสัยด้วย และนัดตรวจเพิ่มเติมให้บ่อยๆ หน่อย น่าจะแก้เรื่อง late diagnosis ได้บ้าง ยกเว้นหมอนัดแล้วไม่มา มาตอนช็อคก็ต้องเสี่ยงดวงเอา :P

สรุป คนไข้ตาย->หมอเข้าคุก->ยุงลายรอด!!

ได้ Wii Fit แล้ว เย้!!


We need to learn to forgive but not forget...

By: IceDagger on 23 May 2008 - 13:43 #52589

ได้ข่าวเมื่อวานว่าไทยก็ออกแถลงข่าวว่าวิจัยวัคซีนทั้ง 4 ชนิดได้แล้วนี่ มันเกี่ยวกับอันนี้ด้วยหรือเปล่า

By: zybernav
WriterAndroidUbuntu
on 24 May 2008 - 00:02 #52639 Reply to:52589

ปัญหาของวัคซีนไข้เลือดออกคือ ต้องทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อทั้ง 4 สายพันธุ์พร้อม ๆ กันเลยครับ ถ้าไม่ครบสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง แล้วเกิดโชคร้ายได้รับเชื้อสายพันธุ์นั้นพอดี ก็จะแสดงอาการของไข้เลือดออกทันทีครับ เรื่องของวัคซีน ผมได้ยินมาตั้งแต่เกือบ 10 ปีก่อน อาจจะยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองในห้องทดลอง หรือในสัตว์อยู่ครับ

By: kohsija
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 23 May 2008 - 15:32 #52596
kohsija's picture

ผมเคยเป็นมา 2 ครั้ง แสดงว่าโดนเชื้อมา 3 ตัวแล้วสินะครับ
หาสะสมอีกตัวดีกว่า...

Kohsija

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 23 May 2008 - 15:49 #52598 Reply to:52596

หนังเหนียวแฮะ -*-
ยังงี้น่าจะจับมาใช้เป็นต้นตอสร้างวัคซีนได้สินะ :P