Tags:

แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2008 โดยบรรดานักเขียนระดับ writer ตามที่สัญญากันไว้ (ช้านิดหน่อยเป็นความผิดผมเอง)

sugree

ปีหน้าผมฟันธง Mobile Integrated Service จะมาแรง บริการแนวนี้มีเยอะมาก เอาเท่าที่รู้จักกันดีก็มี Twitter และ Jaiku ทั้งคู่เป็น Microblog ที่สามารถใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ทั้งทาง SMS J2ME Web หรือแม้แต่ทาง IM

ในอนาคตอันใกล้ทุกคนจะเริ่มตระหนักว่า อีเมลช้าเกินไป IM หรือ IRC ก็ยังต้องรอให้เปิดเครื่อง Blog ซึ่งเคยเป็นทางเลือกที่มาแทนที่อีเมล IM และ IRC ในการสื่อสารหมู่มากก็มีความช้า Feed ทั้งหลายก็ต้องรอ แต่สำหรับ Twitter ไม่มีคำว่ารอ ทุกอย่างทันทีทันใด แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นกับจินตนาการเท่านั้น

ปีที่กำลังจะผ่านไป Google ได้ซื้อ Jaiku ไปฟูมฟัก ปีหน้า Jaiku จะต้องกลายเป็นอาวุธลับของ Google แน่

pruet

ตอนนี้เริ่มมี notebook ขนาดเล็กที่ใช้ SSD memory ออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมาก รวมถึงพวกอุปกรณ์พกพาที่มี Wireless connection อยู่ในตัว (เช่น iPhone หรือว่ากล้องถ่ายรูป) แต่ว่าเมื่อมันมีพื่นที่เก็บข้อมูลเล็กมาก จนเมื่อลง OS แล้ว ก็เหลือที่นิดเดียว ในทางกลับกัน ความเร็วเครือข่ายโดยเฉลี่ยก็เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Wireless (ปีหน้า 802.11n น่าจะเริ่มใช้กัน
เยอะ หรือแม้แต่ WiMax อาจจะได้เห็นหน้าค่าตากันจริงๆ) หรือว่า roadband ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ใน remote storage ไม่ใช่เรื่อง ลำบากอีกต่อไป

ดูแนวโน้มของการพัฒนา Hardware และ Network แล้ว น่าจะเห็นได้
ไม่ยากว่า remote storage คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ย้อนกลับมาดูผู้ให้บริการบ้าง ปีหน้า เราน่าจะได้เห็น GDisk จาก Google กันสักที ส่วน Amazon นั้นก็น่าจะขยาย S3 ของตัวเองให้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น และไม่แน่Yahoo ซึ่งหลัง ๆ ก็อาการไม่ค่อยดี ก็อาจจะโดดมาร่วมด้วย หลังจากประกาศเปิดให้ใช้ Yahoo mail ได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ และ Microsoft/MSN ที่หลัง ๆ เน้น ใครทำอะไร ขอ Microsoft ทำด้วย ก็น่าจะโดดมาร่วมได้
ไม่ยาก รวมถึงผู้ให้บริการรายย่อยอื่น ๆ เช่น Apple (ที่มีให้บริการอยู่
แล้วผ่าน .Mac แต่ก็ยังไม่เต็มที่) หรือว่า Box.com ด้วย

มองข้ามไปอีก (อาจจะเป็นปีถัดไป) ด้วยมาตรฐานที่เริ่มเปิดมากขึ้นเรื่อย ๆ (เช่น จาก Google หรือว่า Facebook) เราน่าจะเห็นการประสานกันของบริการต่าง ๆ ที่เนียนมากขึ้น ผมลองนึกภาพแบบนี้นะครับ เดี๋ยวนี้เวลาถ่าย
รูป กล้องถ่ายรูป ก็จะเก็บรูปไว้ใน memory card พอกลับถึงบ้าน เราก็ต้องมา upload รูปจาก memory card เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วก็ต้อง upload
ขึ้นไปไว้บน Flickr อีกที พอ upload เสร็จ อยากจะส่งรูปไปให้เพื่อน ๆ ดู เราก็มีทางเลือกสองทางคือ ส่งจาก Flickr ซึ่งก็ไม่สะดวกเท่าไหร่ เพราะว่า Flickr ไม่มีบริการส่งรูปผ่าน email (ผมหาไม่เจอแหะ) ก็อาจจะต้องมานั่ง copy link ของรูปจาก Flickr มาใส่ email (หรือว่าทำ set ก็ว่าไป) หรือ
ไม่ก็ต้องใส่รูปจากในเครื่องเราเข้า email client แล้ว ก็ต้องรอมัน upload รูปขึ้น email server .... จะเห็นว่ามันมีการ upload หรือว่าย้ายข้อมูลจำนวน
มหาศาลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหลายๆ ครั้ง

ปีหน้าเราอาจจะไม่ต้องทำแบบนี้ก็ได้ครับ พอถ่ายรูปปุ๊บ กล้องถ่ายรูปของ
เราก็ upload รูปผ่านทาง Wifi ของร้านกาแฟที่อยู่ใกล้ ๆ (Starbuck?) แล้วรูปของเราก็ขึ้นไปเก็บไว้ใน remote storage สักที่ที่เราเช่าไว้ เราอาจจะสามารถสร้าง action ให้รูปมันไปโผล่ที่ flickr เลยก็ได้ หรือว่า พอกลับมาถึงบ้าน ก็ไปสั่งให้ flickr ไปเรียกรูปมาจาก remote storage มาแสดง (ซึ่ง
แน่นอน ไวกว่า upload จากในเครื่อง) แล้วก็สั่งให้ share รูปให้เพื่อน ๆ เราสามารถเข้ามาดูรูปได้ ผ่านทาง email ทั้งหมดนี้ มีการ upload รูปแค่
ครั้งเดียวคือจากกล้องถ่ายรูปไปยัง remote storage แม้แต่flickr เอง ก็ไม่อาจจะไม่ทำการเก็บรูปของเราที่ server ของflickr แต่ทำตัวเหมือน "proxy" จากหน้าเว็บของ flickr ไปยัง remote storage ของเรา

สรุปว่า ปีหน้า เราอาจจะเลิกคุยกันว่า harddisk ใน notebook เรามีขนาดเท่าไหร่ แต่เป็นว่า ใช้ remote storage ที่ไหนอยู่ แล้วมี bandwidth เท่าไหร่แทน

elixer

ผมว่าปีหน้า sub notebook หรือ portable pc น่าจะมาแรงหลังจากที่ Eee Pc
วางตลาดทั่วโลกรวมทั้งไทย ไหนจะ Classmate PC และ OLPC
ตัวที่ทำตลาดผู้ใช้ทั่วไปอีก ถึงตัวเลือกจะยังดูน้อยอยู่
แต่คาดว่าบริษัทอื่นๆ คงกระโดดเข้ามาร่วมวง
และปรับลดราคาลงมาจากที่เคยสูงมากจนเกินเอื้อมหลายๆ คน
แต่ต่อไปผู้ใช้ระดับล่าง และกลางคงจะเข้าถึงผลิตภัณฑ์พวกนี้ได้มากขึ้น
เหมือนกับที่ Notebook ได้ทำไปแล้วในปีที่ผ่านๆ มาครับ

teedech

ผมคิดว่า iphone ยังคงตกเป็นข่าวให้ทั่วโลกกล่าวถึงมากที่สุด เพราะใน ปี 2008 iphone จะสามารถใช้ได้จริงในประเทศต่างๆ มากมาย จนเป็นที่นิยมและพูดถึงทั้งในทีวี หนังสือพิมพ์ (ยังไงดู ZunePhone ไว้หน่อยก็ดีครับ)

(แต่ถ้าเป็นในอเมริกา ผมคิดว่ากลับเป็นเรื่อง Android บนความถี่ 700 MHz)

lew

ในปีนี้เรากำลังเข้าถึงโลกของเทคโนโลยีในด้านที่ต่างออกไป เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถรองรับการเข้าใช้งานได้มากขึ้นจนแทบไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกับก็มีค่าใช้จ่ายต่ำมากเมื่อมีการใช้งานไม่มากนัก เทคโนโลยีจำนวนมากเช่น โดยเฉพาะจากค่าย Amazon เช่น EC2, S3, และ SimpleDB เป็นบริการที่เข้ามาสู่โลกธุรกิจ ภาษาโปรแกรมแบบใหม่ๆ เช่น Erlang และ Stackless Python กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เนื่องจากความสามารถในการทำงานบนเครื่องที่มีหลายซีพียูได้เป็นอย่างดี

ทางด้านฮาร์ดแวร์เองก็มีทิศทางที่ชัดเจนที่จะเพิ่มจำนวนคอร์ในซีพียูให้มากขึ้น เช่น ชิป Cell ที่ใช้งานในเครื่อง PS3 หรืออินเทลเองก็กำลังวิจัยชิปที่ทำงานได้ในระดับ Teraflop ในชิปเดียว โดยมีจำนวนคอร์ภายในอยู่หลายสิบคอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ขายจริงอยู่บ้างแล้วเช่นชิปจากบริษัท Clearspeed ทิศทางเช่นนี้เป็นไปในทางเดียวกับโลกงานวิจัยที่กำลังสนใจในเรื่องของ Network-on-Chip ที่มุ่งเน้นการรวมของคอร์หลายๆ รูปแบบแล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยเครือข่ายภายใน

tr

สถาปัตยกรรม "Nehalem" (โค้ดเนม) เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่หลังจากที่
Core ได้ออกมาแทนที่ Pentium (NetBurst) ได้อย่างสวยงาม (กู้หน้าสำเร็จ)
ในทางเทคนิคแล้ว Nehalem ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีของ PC โดยรวม อย่างเช่น รุ่น Desktop/Mobile มี 4 คอร์, ใช้ Triple Channel DDR3, 8 MB Cache,QuickPath Interconnect ที่มาแทนระบบ FSB, ฯลฯ
แต่ก็ต้องดูว่า Intel จะต่อยอดสายการผลิตระดับ 45 นาโนเมตรจาก Penryn
ไปได้ดีแค่ไหน (ร้อนป่าว)

infernohellion

  1. การยกเลิก DRM ทิ้งไป รวมไปถึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเดียวกันกับเทคโนโลยีคล้าย ๆ กันบน HD DVD และ Blu-ray ก็เป็นไปได้
  2. เรื่อง Blu-ray กับ HD DVD อาจจะถึงเวลาที่ตัดสินได้ว่าใครแพ้และใครชนะในปีนี้ค่อนข้างจะแน่นอน
  3. เรื่อง Internet ที่จะช้าลงเรื่อย ๆ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมไปถึงการรับส่งวีดีโอขนาด HD
  4. Subnotebook ที่อาจจะมาแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลาย ๆ บริษัทรวมไปถึงIntel, Microsoft แม้กระทั่ง Apple เริ่มให้ความสำคัญในจุดนี้
  5. โทรศัพท์มือถือที่อาจจะมีพัฒนาการการดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
    อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากจำเป็นต้องพร้อมสู้กับ iPhone และรวมไปถึงแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Android ด้วย

mk

  1. การประมูลความถี่ 700MHz ของสหรัฐภายในเดือนมกราคมนี้ เป็นข่าวที่ปีที่แล้วผมพลาดไม่ได้เล่นไปอย่างแรง เรียกได้ว่ามันเป็นจิ๊กซออีกครึ่งหนึ่งของแผนการมือถือของกูเกิลเลยก็ว่าได้ (อีกครึ่งคือ Android) ถ้ากูเกิลประมูลชนะ เราจะเห็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอเมริกันครั้งใหญ่
  2. RIA จะเริ่มแพร่หลายหลังจากพ้นระยะทดลองของนักพัฒนาในปีที่แล้ว โดยจะถูกกระตุ้นด้วย Silverlight 2.0 และ AIR 1.0 ตัวจริง ส่วน JavaFX คงตายสนิทตามคาด
  3. การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตจะรุนแรงขึ้นเกือบทุกที่ทั่วโลก เป็นสัญญาณว่าอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นสื่อชนิดใหม่ที่มาท้าทายสื่อเก่าที่โดนควบคุมโดยรัฐมายาวนาน

ความเห็นเหล่านี้เป็นของนักเขียนระดับ writer เท่านั้น สมาชิกท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร เขียนกันได้ในคอมเมนต์ได้เลยครับ (ส่วนใครอยากมีชื่อขึ้นในตัวเนื้อหาหลัก ปีนี้ยังมีเวลาอีกมาก ทำยอดให้ได้เป็น writer นะ)

Get latest news from Blognone

Comments

By: wiennat
Writer
on 12 January 2008 - 20:45 #39143

ปีหน้าฟันธง RIA, Social Network, Multi-core Processor และสุดท้าย ตลาดมือถือและอุปกรณ์พกพาที่โดน iPhone เขย่ามาทั้งปี ในปีหน้าจะมี Android และ Windows Mobile มาร่วมเขย่าด้วยแน่นอน

ส่วน JavaFX ถึงจะตายแต่อาจจะไม่สนิท ขึ้นอยู่กับว่าซันจะต้านทานแรงเขย่าได้มากขนาดไหน


onedd.net

By: pt on 12 January 2008 - 20:46 #39144

สุดยอด

By: iWindows7 on 12 January 2008 - 21:27 #39153

+1 ทุกเรื่องครับ โหวดให้ก่อน

!(*_*)o-

By: AdmOd
iPhoneWindows
on 12 January 2008 - 21:46 #39161

ลองนึกดูการเข้ามาของเทคโนโลยีของระบบต่างๆ อย่างเช่น CPU, Notebook, Handheld รวมถึงเทคโนโลยีประเภท Software ไม่ว่าจะเป็น App, Web App ต่างๆมากมาย เป็นสิ่งที่ดีที่มีการเปิดตัวและพัฒนาอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา

จุดประสงค์ของสิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อ Beta Tester หรือ Developer คนใด หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ที่ผมคิดคือ ปีนี้น่าจะเป็นปีที่ทุกคนจะสามารถนำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้สูงสุด แทนที่จะมัวแต่จะเทียบว่าอะไรดีสุด แล้วไม่เลือกใช้งานกันสักที

By: Mr.JoH
Writer
on 12 January 2008 - 21:53 #39163

เหอๆ แต่ละคนฟันธงกันเก่งๆ ทั้งนั้นเลย
สำหรับผม Social Network จะเปิดตลาดบริการใหม่ๆ ที่เราไม่คาดคิดอีกมาก และเมื่อกระแสมาแรงมากขึ้น ก็จะทำให้ถูกสังคมส่วนใหญ่จับตามองด้วยความกังวล รวมถึงปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวบน social network ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งในระยะยาว อาจทำให้รูปแบบของมันเปลี่ยนไป
ส่วนอีกเรื่อง คิดว่าน่าจะเป้นในระยะยาว น่าจะเป้นการรวมกันของศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ในหลายๆสาขา การวิจัยจะมุ่งเน้นไปทางนำความรู้ของสาขาต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
พูดไปพูดมา ไม่รู้จะทายถูกบ้างป่าวเนีย่

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: bankkung
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 12 January 2008 - 23:53 #39176

มองว่าอนาคตค่าฮาร์ดแวร์ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป

ระบบ OS เสมือนจะติดตัวไปทุกที่ ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหน ใส่โดเมนหรือไอพีที่คุณใช้บริการ แล้วระบบก็จะซิงโครไนส์ค่าการติดตั้งลงมา

ค่าฮาร์ดแวร์ก็คงจะเหลือแค่ค่าพลังประมวลผลกับค่าแบนด์วิธ

เพื่อการนั้น แบนด์วิธที่ใหญ่กว่าปัจจุบันมากๆจะต้องเกิดขึ้น

แอพพลิเคชันไม่ยึดกับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง สุดท้ายจะขึ้นกับเว็บ2.0 (หรืออาจจะ 3.0)ว่าเว็บใหนจะมีแอพอะไรให้ใช้มั่ง

By: audy
AndroidUbuntu
on 13 January 2008 - 10:40 #39210 Reply to:39176
audy's picture

เนี่ยแหละครับแนวคิดของ S3,EC2

By: panuta
iPhone
on 12 January 2008 - 23:54 #39178

ลองเขียนบ้าง

ในปี 2008 จะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของผู้ผลิตมือถือ ระหว่าง Apple, Nokia, Samsung, LG ฯลฯ หลังจากที่ iPhone ออกมาจุดไฟให้ตลาดที่เคยน่าเบื่อมานาน แต่ในส่วนของ Google แล้ว ปี 2008 ยังไม่เกิดมากนัก เนื่องจาก Android ยังไม่มีตัวจริงๆออกมา การมีแต่ SDK แห้งๆ ไม่สามารถกระตุ้น developer ในวงกว้างได้ อีกทั้งการประมูลความถี่ยังจะไม่เกิดผลในปีนี้ ต้องเป็นปี 2009 จึงจะเริ่มมีการใช้ความถี่ 700MHz และยังไม่รวมเวลาที่ต้องจัดวาง infrastructure และการพัฒนาระบบอีก (นอกจาก Google จะเริ่มทำแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า Google เอาจริงแค่ไหน)

Home entertainment center มาแน่นอนในปีนี้ ทั้ง Amazon, Netflix และ Apple ต่างก็จะเริ่มเปิดให้บริการดาวโหลดหนังตรงไปยังทีวีเลย (อาจจะผ่านพวก TiVo หรือ Set-top-box อื่นๆ) มีผู้ผลิตหลายเจ้าให้ความสำคัญกับตรงนี้พอสมควร ดูได้จาก CES 2008 ที่เพิ่งจัดไปก็ได้ หลายคนก็เริ่มจะเอาคอมพิวเตอร์มาตั้งไว้ข้างทีวี ไว้เปิดเน็ทดู youtube เล่นเพลง หรือ access ไปที่ home storage server ตัว AppleTV ก็คงจะเริ่มไม่เป็นแค่ hobby ของ Steve อีกต่อไป (ตรงนี้เดี๋ยวรอดู MacWorld)

เว็บที่ให้บริการต่างๆ ทั้งเก็บรูป ส่งข้อความ ดูวีดีโอ ฯลฯ รวมถึงเว็บที่มีคำว่า Social ทั้งหลาย จากที่มีมากอยู่แล้วในปี 2007 นี้ ก็จะมีมากขึ้นไปอีกในปี 2008 ทั้งนี้ก็เพราะต้นทุนการทำที่ต่ำลงเรื่อยๆ Amazon S3 ก็มีส่วนตรงนี้ด้วย จ่ายตามการใช้งาน ไม่ต้องลงทุน hardware เอง รวมถึง web-related library และ framework ทั้งหลายก็จะช่วยให้การพัฒนาเว็บทำได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จะมีไม่กี่เว็บที่ประสบความสำเร็จ (ทำแล้วคุ้มทุน) และมีน้อยมากที่จะขึ้นมาดังได้อย่างเว็บรุ่นแรกๆ คนใช้เน็ทถึงแม้จะมีทางเลือกค่อนข้างเยอะ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังจะกระจุกอยู่ที่เว็บไม่กี่เว็บเหมือนเดิม

http://www.seasandsong.com/

By: fujitarc on 13 January 2008 - 00:21 #39181

มาอ่านแบบงงๆ ประดับความรู้^^"

By: oakyman
ContributorAndroid
on 14 January 2008 - 02:52 #39316

ยังรู้สึกว่า Twitter เป็นแค่ของเล่นอยู่

Oakyman.com

By: khajochi
WriteriPhoneIn Love
on 14 January 2008 - 09:56 #39327
khajochi's picture

ช่วงปีใหม่งานยุ่งเลยไม่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ขอมาเขียนตรงนี้แทนละกันนะครับ

  1. ปีนี้น่าจะเป็นการพิสูจน์ตัวเองของโครงการ opensource ต่างๆ อย่างเช่น cms ทั้งหลายที่มีมากมายเหลือเกิน เวลาผ่านไปมากขึ้นตัวที่มีสายป่านยาวและเป็นที่นิยมจะยังคงอยู่ ที่เหลือก็จะค่อยๆหายไปตามกาลเวลา
  2. RIA ก็น่าสนใจ Flex 3.0 จะทำได้ดีขนาดไหน และ Silverlight กับ JavaFX จะไปรอดหรือเปล่า
  3. แอปเปิลกับกูเกิลจะยังคงมีสีสันให้พูดถึงกันต่อไป
  4. เมืองไทยผมว่าปีนี้น่าจะมีนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องภาครัฐ ทั้งการเซนเซอร์ โครงการ CDMA และการจัดการคลื่นความถี่ทั้งวิทยุและโทรศัพท์ :)

---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature


แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com