Tags:
Node Thumbnail

(คัดลอกเนื้อความบางส่วนมาตรงๆ โดยไม่ได้แก้ไข ต้องการอ่านฉบับเต็ม ดูได้จากลิงก์ข้างล่าง)

ดร. บอนนี่ ดอคเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม

...ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน

เนื่องจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมดนั้น กระทำอย่างปกปิดเป็นความลับ เราจึงตั้งใจอย่างจดจ่อที่จะรอรับฟังเสียงตอบรับจากรัฐบาลไทย ต่อการพิจารณาอย่างละเอียดระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างฮาร์วาร์ด...

ที่มา - FACT - Freedom Against Censorship Thailand

Get latest news from Blognone

Comments

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 2 January 2007 - 20:29 #15118

จุดจบแห่งโครงการตาวิเศษ?

By: AdmOd
iPhoneWindows
on 2 January 2007 - 21:24 #15122

เป็นการเป็นงานสักที หึหึ

By: Conductor
WriterAndroid
on 2 January 2007 - 22:06 #15124

สาธุ

เรื่องการเซ็นเซอร์ข้อความ อาจจะไม่ได้ผิดกฏหมายระหว่างประเทศ แต่ค่อนข้างคาบลูกคาบดอกเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 18 19 20 22 27 28 และ 30

ถ้าถามว่าการเซ็นเซอร์ผิดกฏหมายไทยไหม ตอบว่าไม่รู้ (เคยคิดว่าผิดเพราะขัดรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 39 40 และ 41 แต่รัฐธรรมนูญตอนนี้ไปพักผ่อน) มีความเห็นซึ่งต้องอธิบายยาวหน่อย คือมีบางอย่างทำให้บางคนไม่สบายใจ บางอย่างอันนั้นบางทีอาจผิดกฏหมายด้วยซ้ำไป แต่การเลือกที่จะเซ็นเซอร์เหมือนเป็นการซุกขยะไว้ใต้พรม ทำเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากบางอย่างนั้นเป็นการละเมิดกฏหมาย แทนที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมาย กลับเลือกที่จะปิดบังไม่ให้คนรู้เห็น-แล้วปล่อยให้การกระทำผิดดำเนินต่อไป ผมว่าอย่างนี้แหละผิด...แต่มันก็แค่ความเห็นนะ

By: lancaster
Contributor
on 2 January 2007 - 22:08 #15126

จุดจบของ favicon.ico not found แหกตาเด็ก

By: ibirdboy
AndroidBlackberryWindows
on 2 January 2007 - 23:25 #15133
ibirdboy's picture

^^

By: prugsadee on 2 January 2007 - 23:32 #15137

ตลกดี จริง ๆ แล้วหลาย ๆ ประเทศก็มีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว เพื่อความมั่นคงของประเทศหรือเพื่ออะไรหลาย ๆ อย่างซึ่งบางเหตุผล คิดว่ามีนสมเหตุสมผลอยู่พอสมควร เช่น ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยุยงส่งเสริมให้เกิดการแตกแยกระหว่างประเทศหรือภายในประเทศเอง สมควรที่จะัปิดกั้นเป็นอย่างยิ่ง ให้ประเทศที่พูดภาษาไทยอ่านภาษาไทย ไม่คล่องหรือว่าไม่แตกฉานมาพิจารณาว่าอันไหนควรหรือไม่ควร ผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่

By: Conductor
WriterAndroid
on 2 January 2007 - 23:56 #15139

กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ผิดกฏหมาย เรื่องของความมั่นคงก็มีกฏหมายเกี่ยวกับความมั่นคง ก็ทำไปตามนั้นซิครับ ไม่ได้ว่าอะไรเลย

เมืองไทยมีกฏหมายไทยเป็นกติกาสังคม ที่รับไม่ได้คือการที่เห็นสิ่งผิดกฏหมายแล้วไม่ทำให้เป็นไปตามกฏหมาย แต่เลือกใช้วิธีซุกไว้ แล้วหลอกตัวเองว่าแก้ปัญหาไปแล้วต่างหาก

* "ไทย"อันดับ 5 โลกแพร่เว็บ"ลามก" -- ข่าวมติชน * นายตำรวจวิจารณ์การปิดกั้นเว็บ -- ข่าวไทยโพสต์

By: bact
Contributor
on 3 January 2007 - 01:14 #15146
bact's picture

ได้ยินกับหู เมื่อครั้งไปสัมมนาร่างพรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ท่าน ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังยอมรับเองเลย ว่าการเซ็นเซอร์เว็บทุกวันนี้ ไม่มีกฎหมายรองรับ -- เลยจำเป็นต้องมีพรบ.ที่่ว่าออกมา จะได้ทำได้อย่างถูกกฎหมาย ... พูดง่าย ๆ ทุกวันนี้ที่ทำ ทำเกินอำนาจ เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้

By: godzilla
Android
on 3 January 2007 - 07:13 #15151
godzilla's picture

รัฐบาลคงไม่ตอบรับมั๊ง ไม่งั้นเดี๋ยวทำอะไรไว้โดนแฉหมด หน้าแตกหมอไม่รับเย็บอีก :p

By: prugsadee on 3 January 2007 - 09:00 #15153

หมายความว่าหากว่ากฎหมายยังไม่รองรับ เราไม่สามารถจะจัดการอะไรได้เลย รอจนกระทั่งกฎหมายออกมาก่อนค่อยว่ากัน ผมว่าแบบนี้มันเป็นการทำแบบวัวหายล้อมคอกมากกว่า สิ่งไหนที่ไม่ดีก็กันไว้ก่อนไม่ดีกว่าหรือแล้วค่อยเอากฎหมายมาว่ากัน มันจะดีกับคนทั้งประเทศมากกว่า ไม่ใช่เอะอะอะไรก็เสรีภาพ มันน่าจะมีขอบเขตที่เหมาะสมมากกว่า ถ้าพูดถึงอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคิดได้ หรือว่าคิดเป็นว่าอันไหนดีไม่ดีเมือน ๆ กันหมด ผู้ใหญ่ต้องคอยสอดส่องดูแลร่วมด้วยเพื่อให้เด็ก ๆ นั้นปลอดภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนที่มาตรวจสอบนั้นมาด้วยจิตใจที่มีความเที่ยงตรงหรือว่ามีเลศนัยแอบแฝงอยู่

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 January 2007 - 09:30 #15156
lew's picture

prugsadee - แล้วอะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่ไม่ดีล่ะครับ ใครเป็นคนติดสินใจในเรื่องนี้หรือ ครึ่งปีก่อนเราโวยวายว่ารัฐบาลแทรกแซงสื่อ วันนี้เราก็มองเห็นว่ามันเป็นความชอบธรรม แล้วรอให้อีกสามสี่ปีเราออกมาโวยวายรัฐบาลอีกครั้งเป็นวนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ น่ะหรือครับ

คุณบอกว่าจะแน่ใจได้ยังไงว่าคนตรวจสอบนั้นเที่ยงตรง แต่ตอนนี้น่ะไม่มีใครรู้กระทั่งว่าคนตรวจสอบเป็นใคร ไม่มีใครรับผิดชอบอะไรเมื่อเกิดความผิดพลาดและความเสียหายจากการบล็อกแบบเหมารวม

ถ้ารัฐเองมีข้ออ้างจะทำโน่นทำนี่เกินกฏหมายได้เรื่อยๆ แล้วเราจะมีกฏหมายไปทำไมกันล่ะครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: freeman
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 3 January 2007 - 09:44 #15158
freeman's picture

ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณ prugsadee นะ อาจเป็นเพราะผมไม่ได้รับความเสียหายจาก มาตรการ ที่รัฐทำอยู่ แต่รัฐก็ควรทำให้เปิดเผย หรือมีช่องทางในการให้ผู้ใช้บริการเวบไซต์นั้น หรือผู้ที่รับผิดชอบได้มีโอกาสได้ อธิบายหรือ ชี้แจง ก่อน ส่วนประเด็นการเข้ามาตรวจสอบของ ฮาร์วาร์ด นั้น ขอถามว่า ได้รับมอบอำนาจ จากหน่วยงานใด

By: mk
FounderAndroid
on 3 January 2007 - 10:07 #15159
mk's picture

prugsadee: โดยส่วนตัวผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าเนื้อหาบางส่วนควรจะเซ็นเซอร์ (ตัวอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนเห็นตรงกันเกือบหมดคือการทำอนาจารเด็ก) เพียงแต่วิธีการของรัฐบาลไทย (ในที่นี้คงเป็นกระทรวง ICT) ทำมันไม่โปร่งใสเท่านั้นเอง ถ้าอธิบายได้ว่าทำไมต้องเซ็นเซอร์เว็บนั้นเว็บนี้ ผมเชื่อว่าไม่มีปัญหา อันที่มีปัญหาคือโมเมเอาเว็บอื่นๆ ไปเซ็นเซอร์ด้วยต่างหาก

freeman: คิดว่าคงออกมาในรูปการวิจัยครับ เผอิญมีชื่อฮาวาร์ดแปะมาด้วย เลยทำให้มันมีน้ำหนักในวงกว้างเท่านั้นเอง

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 January 2007 - 10:17 #15161
lew's picture

freeman - ผมไม่เชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่ "ควร" ทำให้เปิดเผยนะครับ แต่มันเป็นเรื่องที่ "ต้อง" ทำให้เปิดเผย ต้องมีช่องทางและกระบวนการในการตวจสอบที่ชัดเจน และเชื่อถือได้

ผมไม่เชื่อในกระบวนการของ ICT ทุกวันนี้ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง ในเชิงเทคนิคแล้วผมเชื่อว่าคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ขาดความรู้ความสามารถในเชิงเทคนิคอย่างรุนแรง เคยมีการบล็อกจนสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกเซิร์ฟเวอร์บางตัวของกูเกิล หรือจะเป็นการใช้คำสำคัญที่ทำให้เว็บที่ไม่เกี่ยวข้องถูกบล็อกไปเป็นจำนวนมาก

ในแง่ของการเมืองและประชาธิปไตยก็อย่างที่ผมบอกไป ว่าหากรัฐเพิ่มอำนาจให้ตัวเองได้ตามใจชอบอยู่เรื่อยๆ คงอีกไม่นานที่เราจะปกครองกันด้วยระบบเผด็จการ แล้วบอกว่านั่นคือประชาธิปไตย์เหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อน

ในแง่ของสังคมแล้ว ผมว่าพ่อแม่ควรเข้าใจไว้ให้ชัดเจนว่าการที่ ICT บล็อกเว็บมันไม่ได้ทำให้ลูกของเขาไม่สามารถเข้าถึงสื่อลามกได้ มันอาจจะยากขึ้นอีกสักหน่อย แต่เทคนิคการเข้าถึงเว็บเหล่านั้นโดยหลบกระบวนการของ ICT ทั้งไม่ได้ยากเกินที่เด็กมัธยมจะทำได้ ไม่รู้ว่าเป็นผมคนเดียวรึเปล่าที่เคยได้เห็นเด็กตามร้านเน็ตบอกต่อๆ กันถึงวิธีการหลีกเลี่ยงกระบวนการพวกนี้ไปอย่างง่ายดาย ผมไม่เชื่อว่าการแก้ปัญหาแบบนี้จะช่วยอะไร ตรงข้ามมันไปสร้างความหวังลมๆ แล้งๆ ให้กับพ่อแม่ว่าปัญหานี้ได้รับการจัดการโดยรัฐไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องทำอะไร

ถ้าพ่อแม่จะกังวลเรื่องที่ว่าลูกดูสื่อลามก ผมว่ามันก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เองล่ะครับที่จะต้องดูแลและตรวจสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกอย่างต่อเนื่อง ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: freeman
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 3 January 2007 - 11:56 #15166 Reply to:15161
freeman's picture

ผมเห็นด้วยกับ lew ในเรื่องของวิธีการที่ ต้องทำให้เปิดเผย ช่องทางหรือกระบวนการที่ชัดเจน ครับ และ ประเด็นเรื่อง ฝีมือ ของคนที่รับผิดชอบ ใน กระทรวง ICT แต่ประเด็นเรื่องสังคมนั้น การที่รัฐได้สร้างเกราะหรือภูมิคุ้มกันให้เยาวชนของเรา ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับตัวเค้านั้น เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าควรทำครับ การที่เราจะบังคับให้พ่อแม่ ต้องเข้าใจหรือให้ตรวจสอบการใช้งานของบุตรหลานเองนั้น ผมคิดว่า ถ้าท่านเหล่านั้นทำได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าเรายังมีช่องว่างระหว่างคนที่รู้ กับคนที่ไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยี อยู่อีกมากพอสมควร ครับ

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 3 January 2007 - 11:10 #15163

ในเรื่องของสื่อลามก (อบายมุข ฯลฯ) ผมก็ยังเชื่ออยู่ว่า การเปิดเผยในที่แจ้ง ดีกว่าปิดๆ ให้อยู่ในที่ลับ เพราะมันจะควบคุมไม่ได้เลย

---------- iPAtS


iPAtS

By: prugsadee on 3 January 2007 - 11:53 #15165

LewCPE ผมว่ารัฐมีหน้าที่ปกป้องประชาชนจากสิ่งที่อาจจะทำอันตรายหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนส่วนมาก พูดง่าย ๆ คือยอมเสียส่วนน้อยเพื่อคนส่วนมาก มันอาจจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนส่วนน้อยแต่ถ้าทำได้แล้วคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์คิดว่ามันคุ้มค่ามากกว่า ถูกผิดก็ว่ากันไปทางกระบวนการของศาล เพราะเราเองก็มีกฎหมายใครใช้อำนาจเกินขอบเขตก็ฟ้องร้องกันได้ บางครั้งข้ออ้างก็ฟังขึ้น ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ากฎหมายไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ คนออกกฎหมายอาจจะไม่สามารถแก้ไขหรือออกกฎหมายให้ืทันกับอินเทอร์เน็ต

By: bact
Contributor
on 3 January 2007 - 11:58 #15167
bact's picture

เอาแค่ให้ยอมรับว่า ปิดกั้น ยังกระมิดกระเมี้ยนเลย ไม่งั้นคงไม่ต้องมีท่า favicon ออกมาหรอก - -"

By: lastone
Android
on 3 January 2007 - 12:00 #15168

ที่อพาร์ทเมนต์ผมบล๊อกเองเลยครับ เซ็งมาก... ขนาดใช้ google หาคำว่า bit ไม่ได้เลย

ใช้รู้โปรแกรมให้มัน bypass ออกไปได้มั่งมีไหมอ่ะครับ

By: godzilla
Android
on 3 January 2007 - 12:31 #15169
godzilla's picture

คงถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลเดิมๆ แน่นอน "ความมั่นคง" เห็นด้วยว่า "ต้อง" ทำให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ปกๆ ปิดๆ อยู่เหมือนปัจจุบันนี้ บาง link เป็น host ฝากรูปธรรมดาก็โดน ban ไปกับเค้าด้วย เศร้าจริงหนอ ICT กระทรวงอาถรรพ์จริงๆ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 January 2007 - 12:49 #15171
lew's picture

prugsadee, freeman - ประเด็นเรื่องการป้องกันเยาวชนนั้น อย่างที่ผมบอกในข้อความข้างบนนะครับ ว่าในเชิงเทคนิคแล้วไม่มีทางเลยที่ ICT จะป้องกันเยาวชนจากเว็บลามกได้เต็มร้อย ผมบอกได้เลยว่าแม้มันจะเหลือช่องทางอีกแค่ 5 เปอร์เซนต์ เมื่อมีเด็กคนหนึ่งพบช่องทางการกระจายข่าวนั้นเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ และเด็กจำนวนมากจะใช้ช่องทางนั้นไปอีกพักใหญ่ๆ กว่า ICT จะรู้ตัว และแก้ไขได้

ตรงนี้คงไม่ถึงขนาดที่จะไปบังคับให้พ่อแม่มาเรียนรู้เทคโนโลยีกันหรอกครับ แต่ผมว่าเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจกับพ่อแม่ว่าถ้าเขาซีเรียสกับการที่ลูกของเขาอาจจะเข้าถึงสื่อลามกอย่างจริงจัง ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่เขาจะต้องเรียนรู้เพื่อสอดส่องดูแลลูกของเขาเอง ตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าพ่อแม่แต่ละคนก็มีความซีเรียสแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุของลูก พื้นฐานในบ้าน ฯลฯ ถ้าพ่อแม่คิดว่าปล่อยอิสระให้ลูกได้ เขาก็ไม่ต้องไปเรียนรู้อะไร

เรื่องการเรียนรู้นี่ผมว่ามันมีทางออกอื่นๆ อีกเยอะเช่นการบังคับให้ ISP ต้องส่งคู่มือกับโปรแกรมตรวจสอบ ป้องกัน หรือเก็บประวัติการใช้งาน ให้พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้

การตรวจสอบการใช้งานจริงๆ อาจจะลำบากกับพ่อแม่ในทุกวันนี้หลายๆ คน แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ การที่พ่อแม่จะตระหนักว่าถ้าจะซีเรียสเรื่องนี้จริงๆ พ่อแม่เองต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่ว่าบอกว่า ICT บล็อกไปหมดแล้ว พ่อแม่ไม่ต้องทำอะไร

ที่สำคัญกว่าคือความรับผิดชอบครับ ICT "ต้อง" มีระบบการตรวจสอบที่แน่นอนว่าเว็บใดที่ไม่สามารถเข้าได้เนื่องจาก ICT การกระทำแบบกระมิดกระเมี้ยนแอบๆ เหมือนตัวเองเป็นโจรซะเองในทุกวันนี้ดูจะไร้ความรับผิดชอบไปซักหน่อย

สิ่งที่ตามมาจากการแสดงความรับผิดชอบเช่นนี้คือเมื่อ ICT มีการกระทำผิดพลาด เช่นไปบล็อกเอาเว็บที่ไม่เข้าข่าย จะเปิดโอกาสให้เอกชนที่ถูกการดำเนินงานของ ICT ที่ผิดพลาดสามารถฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับทาง ICT ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัว ICT เองระบบภายในหากมีความผิดพลาดก็สามารถเอาผิดทางวินัยกับคนของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิค หรือคนเซ็นคำสั่งบล็อกก็ตาม ไม่ใช่แบบทุกวันนี้ที่บล็อกกันแบบแอบๆ แล้วทำไม่รู้ไม่เห็นอย่างน่ารังเกียจ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: chakrit
ContributoriPhone
on 3 January 2007 - 13:15 #15173
chakrit's picture

เคยส่งจดหมายไปที่ EFF.org แต่ว่าได้รับตอบกลับมาว่าไม่มีเจ้า่หน้าที่อยู่ในประเทศไทย คราวนี้อาจารย์จากฮาวาร์ดมาเองเลยแฮะ ^^" ดีมากๆเลย

ป.ล. แอบคิดว่าชุมชน B|N น่าจะทำอะไำรได้บ้างนะ??

By: Conductor
WriterAndroid
on 3 January 2007 - 13:58 #15175

> หมายความว่าหากว่ากฎหมายยังไม่รองรับ เราไม่สามารถจะจัดการอะไรได้เลย

"เรา"สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง แต่ปัญหาคือแล้วเราได้ทำอะไรกันบ้างนอกเหนือจากการวิจารณ์ ถ้าจะให้สังคมดีก็ต้องช่วยกันทำให้มันดีครับ มัวแต่ชี้นิ้ว-ปัดให้คนอื่นรับผิดชอบนี่คงไม่ช่วยเท่าไหร่

แต่ถ้าคำว่าเราหมายถึงรัฐ รัฐไม่ได้มีอำนาจที่นึกจะทำอะไรก็ทำได้ รัฐมีอำนาจอยู่สองอย่างคืออำนาจที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนในประชาคมระหว่างประเทศ อีกอย่างหนึ่งคืออำนาจทางการเมืองภายในสังคมหนึ่งๆ ซึ่งแยกเป็นสามส่วนย่อยๆคือ (1) อำนาจในการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม (2) อำนาจในการโนมน้าว-ชี้นำสังคม และ (3) อำนาจในการควบคุมสังคมให้อยู่ในระเบียบ คิดว่าประเด็นของฮาร์วาร์ดคือเรื่องหลังสุดนี้

มาตรการทางฝั่งรัฐมีได้หลายอย่าง แต่การงุบงิบทำโดยไม่มีกฏหมายรับรองนั้น ไม่ได้รวมอยู่ในสิ่งที่รัฐทำได้ (พอๆกับการเนรมิตให้คนหายตัวไปนั่นแหละ)

  • สำนักงานกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ ๓๔๓/๒๕๔๙ ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจสั่งปิดเว็บหรือขอให้ศาลสั่งปิดเนื่องจากไม่มีกฏหมายให้อำนาจไว้
By: godzilla
Android
on 3 January 2007 - 15:32 #15179
godzilla's picture

Conductor: แล้วถ้ารัฐทำ จะเกิดอะไรขึ้น

By: Conductor
WriterAndroid
on 3 January 2007 - 15:39 #15180

ทำผิดกฏหมายหรือครับ ก็ผิดกฏหมายนะซิ แล้วเมืองไทยก็จะมีลูกแพะเพิ่มขึ้นอีก ตัวใหญ่ๆรอดหมด

เราเป็นเจ้าของบ้าน รัฐเป็นแม่บ้าน รัฐบาลเป็นหัวหน้าแม่บ้าน เจ้าของบ้านจ้างแม่บ้านผ่านเงินภาษี เราจะเอาอะไรก็ต้องบอก-เรียกว่ามีส่วนร่วม บางทีแม่บ้านดันนึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของบ้าน แล้วคิดว่าเจ้าของบ้านเป็นผู้อาศัย ก็เลยยุ่งกันใหญ่

By: godzilla
Android
on 3 January 2007 - 15:47 #15181
godzilla's picture

หมายถึงทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ อย่างสั่งปิดเว๊บแบบนี้ ถามว่าผิดกฏหมายหรือไม่ ถ้าผิดฟ้องแพ่ง/อาญาได้หรือเปล่า

By: Conductor
WriterAndroid
on 3 January 2007 - 16:12 #15183

นี่เหมือนตีปิงปองกันเลยนะเนี่ย: ผมคิดว่าก่อนรัฐจะทำอะไรก็คงมั่นอกมั่นใจอยู่แล้วว่าทำได้ถูกต้อง (หรือไม่มีใครตรวจพบ) แต่ความมั่นใจก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกเสมอไป

เรื่องการปิดกั้นเว็บ คลับคล้ายคลับคลาว่ามีมติ ครม.ของรัฐบาลที่แล้วอันนึงที่พูดเรื่องโครงการไซเบอร์คลีน หรืออะไรทำนองนั้น มติ ครม.มีความหมายต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เหมือนกับเป็นทิศทาง บางทีก็เป็นคำสั่งอนุมัติ แต่การกระทำการใดๆของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย เพราะเป็นอำนาจที่ประชาชนให้ผ่านสภาไปเพื่อทำให้สังคมส่วนรวมสงบสุขอยู่ในระเบียบ

เรื่องการสั่งปิดเว็บ ผมไม่เคยเห็นคำสั่ง!!! แต่ยืนยันได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีมาตรการอื่นๆหลายอย่างที่ใช้ได้ผล การดูแลคนหมู่มาก ขืนใช้แต่คำสั่งอย่างเดียว ก็จะไปไม่รอด

การปฏิบัติเกินอำนาจก็ผิด การละเว้นการปฏิบัติก็ผิดเหมือนกัน

By: ม่อน on 3 January 2007 - 16:18 #15184

ด้วยความเคารพ ขอเสนอลบ ข้่อความ"ที่ซึ่งเชื้อพระวงศ์ไทยจำนวนมากเคยศึกษา"

By: Patrickz
WriterSymbian
on 3 January 2007 - 16:44 #15188

การ block บางอย่าง มันก็เกินไป ลองอ่าน http://www.narisa.com/blog/patrickz/index.php?cmd=showentry&eid=320


Patrickz's blog|
linkedin

By: mk
FounderAndroid
on 3 January 2007 - 17:16 #15193
mk's picture

ม่อน: แก้ไขแล้วครับ

By: Conductor
WriterAndroid
on 3 January 2007 - 18:35 #15198

มีความเห็นนักกฏหมายชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งผมได้ส่ง URL นี้ให้พิจารณา ซึ่งท่านได้กรุณาให้ความเห็นมาดังนี้ครับ

เรื่องการเซ็นเซอร์ข้อความหรือข้อมูลบนเว็บ เป็นเรื่องที่ไม่มี กฎหมายไทยให้อำนาจโดยชัดแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถกระทำได้

สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐ พยายามกระทำ คือ ขยายการบังคับใช้กฎหมายเดิม เข้ามา เท่าที่จะทำได้ เช่น ใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น

แต่อำนาจที่ว่านั้น ก็ไม่ใช่ อำนาจเซ็นเซอร์ที่เรียกว่า การ ปิดกั้นและคัดกรองเว็บ แต่เป็นอำนาจในการเพิกถอนใบอนุญาต isp

เรื่องที่เกี่ยวกับ การใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นั้น มีหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองและกฎหมาย มหาชนว่า หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐใด จะมีอำนาจหน้าที่เพียงใด จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ อย่างชัดแจ้ง ถ้าไม่มีหรือไม่ชัด ให้ถือว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่ ที่จะทำได้

ย่อหน้าที่สอง+สาม+สี่ อาจจะโยงไปถึงเรื่อง ร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ข่าวเก่า: 1 2 3 4

By: fujitarc on 3 January 2007 - 23:48 #15199

ไม่รู้นะ เรื่องปิดกั้นสื่อหรือดวงตามีก่อนรัฐบาลชุดนี้อีกนะถ้าจำไม่ผิด?? ใรมีอคติก็จะด่าว่าแต่รัฐบาลชุดนี้อย่างเดียว ?? ผมยังไม่ลากไปการเมืองเลยนะ?

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 January 2007 - 22:36 #15212
lew's picture

fujitarc - ยังไม่มีใครระบุว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไหนนะครับ ยังไงอย่าลากประเด็นไปเรื่องการเมืองน่าจะดีกว่าครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw