Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 11.00-12.00 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร 9 ชั้น ICT3 บริษัททีโอที จำกัด มหาชน ทีม OLPC-TH เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ OLPC

ทีม OLPC-TH นำโดย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการ FIBO ได้ขอเข้าพบเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกระทรวง โดยมีประเด็นที่นำเสนอคือ

  • ที่ไปที่มาวัตถุประสงค์ของโครงการ คือเป็นโครงการที่คิดริเริ่มโดย Media Lab ที่ MIT ตั้งเป็นสมาคมไม่แสวงผลกำไร OLPC มีการออกแบบและพัฒนาใหม่หมด เน้นเพื่อให้เด็กใช้ และสถานะของโครงการในประเทศไทย มีทีมงานเฉพาะกิจจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ FIBO, โรงเรียนดรุณสิกขาลัย, NECTEC ซึ่งได้ส่งตัวแทนไปร่วมทำงานกับโครงการ OLPC ที่ MIT มาแล้ว ดร.สิทธิชัยเสริมว่า ในระดับรัฐในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ยังไม่มีความชัดเจน และไม่มีการตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้อง และไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องบันทึกไว้เลย ทำให้ท่านไม่ทราบข้อมูล ได้ข้อมูลเท่าที่มีในสื่อเท่านั้น จึงได้ให้สัมภาษณ์โดยใช้ข้อมูลที่ท่านมี
  • คุณลักษณะเฉพาะของฮาร์ดแวร์ มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด เน้นให้ใช้พลังงานต่ำมากๆ ราคาประหยัด มีเครือข่ายไร้สายแบบ mesh network จอภาพแบบ dual mode มีกล้องถ่ายภาพนิ่ง/วิดีโอในตัว มี SD slot สามารถเพิ่ม sd-card ได้ แต่มีขีดจำกัดคือ ความเร็วของโปรเซสเซอร์ 366 MHz, หน่วยความจำ 128 MB, flash memory 500MB โดยได้สาธิตบอร์ดทดสอบ (A-test) ที่ได้รับจากโครงการ OLPC
  • คุณลักษณะเฉพาะของซอฟต์แวร์ ใช้ OS เป็นลินุกซ์ พัฒนาระบบติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ชื่อ sugar เพื่อให้เหมาะกับเด็ก พัฒนา activities สำหรับใช้งานบนแลปท็อป เช่น เว็บบราวเซอร์, วาดภาพ, etoy (squeak ฉบับย่อ), penguinTV อ่าน/ฟัง/ชม ข่าวผ่านเน็ตเวิร์ค, abiword (ฉบับย่อ), tam tam โปรแกรมสังเคราะห์เสียงดนตรี, memory game เกมจำภาพ/เสียง ซึ่งได้สาธิตโปรแกรมต่างๆ บนบอร์ดทดสอบจริง
  • สรุปงานที่ทำเมื่อเดินทางไป MIT ของทีมงาน ได้แก่ การทดสอบฮาร์ดแวร์ต่างๆ การ localize ให้ป้อน และแสดงผลภาษาไทยได้ เลย์เอ้าท์แป้นพิมพ์ภาษาไทย การเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมบนแลปท็อป การให้ข้อมูลต่างๆ กับทีมงาน และสร้างสายสัมพันธ์ไว้
  • หลังจากฟังรายงาน ดร.สิทธิชัยได้กล่าวขอบคุณทีมงาน ที่มาให้ข้อมูล และท่านเข้าใจภาพรวมของโครงการ ซึ่งเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ ท่านจะสนับสนุนโครงการนี้ แต่ท่านไม่ใช่คนที่จะตัดสินใจอนุมัติโครงการโดยตรง และถ้าประธานโครงการ Professor Nicholas Negroponte เดินทางมาประเทศไทย ช่วงประมาณ 6-10 ธ.ค. 2549 ท่านก็ยินดีจะให้เข้าพบ

ข่าวนี้สงสัยจะมีรายงานเฉพาะบน blognone (exclusive จริงๆ)

Get latest news from Blognone

Comments

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 22 November 2006 - 16:40 #13433

ยินดีด้วยนะครับ ถึงแม้ว่าท่านรมว. จะไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ แต่ถ้าท่านสนับสนุน ก็น่าจะช่วยได้ในระดับนึงนะครับ :)

..ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ คือผมลองโหลด olpc linux image มารันบน qemu อ่ะครับ แล้วหาวิธีพิมพ์ภาษาไทยไม่เจอ ไม่ทราบว่ามันทำยังไงอ่ะครับ


iPAtS

By: deans4j on 22 November 2006 - 16:48 #13434

ผมเป็นห่วงเรื่องสื่อด้วย อยากให้หนังสือพิมพ์ หรือรายการโทรทัศน์สักอันมาทำสกู๊ปข่าวเรื่องนี้สักที เพราะเวลาสื่อออกข่าวจะชอบบอกสเปกเครื่องแบบพันทิพย์ว่า Processor 336 แรม 128 MB ผู้สื่อข่าวบางคนใจดี วิเคราะห์ให้เสร็จเลยว่าสเปกนี้มันต่ำไปไม่เวิรค แถมไปไกลกว่านั้นวิพากษ์ว่าถ้าเอาไปให้หมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงจะทำยังไง

ผมเองยังข้องใจกับแผนพัฒนาแบบรูปธรรมที่จะใช้หากได้เครื่องนี้มา ทำอย่างไรถึงจะใช้ประโยชน์จาก mesh network ที่มันเป็น ต้องแจกกันลักษณะไหน หมู่บ้านละกี่เครื่อง ควรจะทำเป็นหมู่บ้านตัวอย่างก่อนหรือเปล่า?

เรื่องการพัฒนา content และ app ผมว่าโครงงานของเด็กป.ตรีคณะ ครุฯ กับคณะทางสายคอมสามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ ถ้ามีการประชาสัมพันธ์ไปทางศูนย์การศึกษาต่างๆ

By: godzilla
Android
on 22 November 2006 - 16:54 #13436
godzilla's picture

เดี๋ยวข่าวช่วยกระจายให้ครับ คนไม่ค่อยรู้เรื่อง OLPC อีกเยอะครับ

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 22 November 2006 - 18:54 #13439
veer's picture

deans4j: คงต้องบอกว่าเป็นสื่อไหนหนะครับ เอามา list ไว้เลยก็ได้จะได้ช่วยๆกัน ทางออกคงพยายามคุยกันผ่าน e-mail หักล้าง ถกกันผ่านสื่ออื่นๆ

By: pt on 22 November 2006 - 21:28 #13449

ชิบรุ่นนี้ไม่ได้ช้ามากนะครับ clock มันต่ำเพราะมันแยกส่วนควบคุมอื่น ๆ ไปอีกชิปนึง http://en.wikipedia.org/wiki/Geode_(processor)

ถ้าเป็นเครื่องอื่นทั่วไปที่ใช้ชิปรุ่นนี้แค่ 500 MHz แรม 512 จะบูต XP ได้เสร็จใน 1 นาที ข้อเสียคือรัน 3d และ Google Earth ไม่ได้ http://www.carrypad.com/content/view/35/9/ ข้อดีสุด ๆ ของมันคือ ความร้อนต่ำมาก ไม่ต้องใช้พัดลม และชาร์จทีใช้งานได้นาน คือถ้าเทียบกับพวก Transmeta แล้วก็ต้องถือว่าดีกว่าเยอะ ที่สำคัญราคาถูกกว่า Pentium M แบบเทียบกันไม่ได้

ถ้าเป็นนักธุรกิจที่ไม่มานั่งเล่นเกมและใช้อะไรแปลก ๆ แล้ว ชิปนี้ก็ถือว่าคุ้ม เพราะแลกมากับราคาเครื่องที่ถูกลงเยอะ

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 22 November 2006 - 22:09 #13450

ipats, เอานี่ไปลองประยุกต์ดูก่อนครับ http://kamthorn.org/2006/10/17/thai_localization_for_olpc/ อ่อ อัพเกรด libthai เป็นตัวนี้ด้วยครับ http://ftp.opentle.org/pub/olpc-thai/RPMS/libthai-0.1.7-1olpc1.1.i386.rpm ไว้จะอัพเดทขั้นตอนการปรับแต่งเป็น build ปัจจุบันครับ

pt, เพิ่มเติมครับ ไม่ใช่แค่ไม่ใช้พัดลม มันไม่ใช้กระทั่ง heatsink ด้วย แต่รันระบบทิ้งไว้เป็นอาทิตย์ยังได้ ผมละทึ่งมันเลย คือเคยลองกับ via แล้วเน่าตั้งแต่คืนแรกน่ะครับ

-- กำธร ไกรรักษ์


--

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 22 November 2006 - 22:47 #13453
lew's picture

kamthorn - น่าเอาบอร์ดมาทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: xinexo on 23 November 2006 - 10:36 #13466

ดีแล้วครับเด็กๆ จะได้ใช้ ดูท่าทางรัฐมนตรีคนนี้ก็ฟังคนอื่นแล้วเอาไปทำดีนะ ไม่ใช่เอาแต่บลอคเวบอย่างเดียว ฮิๆ -------------------------------------------------------- เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก www.mooling.com

By: khom on 23 November 2006 - 19:41 #13506

มีบอร์ด ARM 200MHz + 128MB RAM ก็ลง Apache + MySQL อยู่ครับ เพราะฉะนั้นบอร์ด Geode ที่ว่าแรงคงจะดีกว่าอีก

คิดว่าโครงการ OLPC น่าจะทำเป็นขั้นเป็นตอนครับ คือว่าเรามีพวก hacker น้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนเป้าหมายของโรงเรียน เมื่อเครื่องส่งไปให้มันน่าจะมีคนแถวนั้น ที่ support ตัวเองได้ หรือไม่ก็ วิทยาลัยท้องถิ่นก็ควรจะ support ได้บางส่วน

เห็นด้วยกับคุณ deans4j ที่ว่าเราน่าจะซื้อมาจำนวนน้อยๆก่อน แล้วให้โรงเรียน ทดลองเพราะดูเหมือน ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวฮาร์ดแวร์

นอกจากตัวเครื่องรวมทั้งโปรแกรมซึ่งจะพร้อมในเวลาไม่นาน มันก็คงต้องคิดถึง ปัญหาอื่นๆตอนที่เราจะแจกจ่าย และนำไปใช้ ล่วงหน้าก่อน โครงการนี้ไม่ได้มี แค่ตัว OLPC เป็นหลัก มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

- น่าจะมี pilot project ซึ่งใช้เวลาตามผลสักอย่างน้อยปีหรือสองปี โดยมีสัก สิบกว่าโรงเรียนที่มีสภาพต่างๆกัน ทั้งทางด้านพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนใหญ่เราจะ ไปเห็นปัญหาจริงๆตอนที่ทดลองใช้ อาจจะเป็น ด้านเนื้อหา หรือ infrastructure ทาง IT ของโรงเรียนที่จะนำบอร์ดนี้ไปใช้

- เราจะได้สรุปกันได้ว่า ถ้าจะเอาไปใช้จริงๆเนี่ย มันต้องมีอะไร รอไว้ก่อนอยู่บ้าง น่าจะดีกว่า เอาบอร์ดไปรอไว้ครึ่งปีก่อน แล้วค่อยหาทางใช้ทีหลัง

- material ทางด้านเนื้อหา หรือโปรแกรมต่างๆ น่าจะมี cross platform ไปยัง Linux distribution อื่น หรือแม้กระทั่ง Window$. ไม่อย่างนั้นแล้ว วันหนึ่ง ที่มี OLAP รุ่นใหม่มา หรือ อาจจะมีโครงการคล้ายๆกันแต่ไม่ใช่ OLAP ซึ่งอาจ จะถูกกว่าที่มาจากจีนแดง หรือ นักเรียนบางคนอาจจะขยับขยาย ไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื้อหาต่างๆเหล่านั้น ก็น่าจะใช้ได้อยู่

- เคยปวดหัวกับการ upgrade Linux packages หรือเปล่า? แค่ 3-4 เครื่อง มันก็ใช้เวลาเหมือนกันนะครับ ตอนแจกจ่ายคงไม่มีปัญหาหรอก สมมติว่าเป็น version 1.0.0 พอผ่านไป 3 เดือนเราเริ่ม fix bug บางตัว หรือ add features ใหม่ๆเข้าไป ต้องนั่งไล่ upgrade ให้ทั้งประเทศนี่สิ แค่อำเภอเดียวที่มีโรงเรียน กระจายอยู่ตามขุนเขาก็แย่แล้ว คงจะต้องคิดถึงแผนตรงนี้เหมือนกัน

- การ train บุคลากร เพื่อจะ support ทั้งในระดับ user, + developer

- จุดคุ้มทุนในแง่ที่เราเป็นผู้ซื้อบอร์ด อีกไม่นาน รุ่นใหม่ก็จะออกมา เราควรจะซื้อ ล๊อตใหญ่ หรือ ค่อยๆซื้อตามราคาที่คุ้มที่สุดในเวลานั้น ทีละไม่มาก

มันน่าจะมีบอร์ดนี้ขายให้พวกมือซนเล่นบ้างนะ บอร์ดเปล่าๆก็ได้

เอาจะว่ามาเยอะ สุดท้าย ก็ขอให้กำลังใจนักพัฒนา แล้วกันครับ

-- LaTeX เป็นโปรแกรม type setting ที่ดี แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกงาน

By: พี่ไท้ on 23 November 2006 - 21:44 #13513

ข่าวแบบนี้น่าจะได้ไปลงที่ผู้จัดการออนไลน์บ้างนะ เพราะถ้าเอาไปลงไทยรัฐออนไลน์ ไม่ค่อยมีคนเข้าไปดูเลยครับ

อย่างคราวที่แล้วที่คุณ mk กับคณะเข้าพบรัฐมนตรีแล้วลงข่าวในไทยรัฐออนไลน์อ่ะ ถ้าไม่ทำลิงค์มาให้ ล่ะก็ หาเองจากไทยรัฐออนไลน์ยังหาไม่เจอเลย

----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.

By: mk
FounderAndroid
on 23 November 2006 - 23:31 #13516
mk's picture

> - material ทางด้านเนื้อหา หรือโปรแกรมต่างๆ น่าจะมี cross platform ไปยัง >Linux distribution อื่น หรือแม้กระทั่ง Window$. ไม่อย่างนั้นแล้ว วันหนึ่ง >ที่มี OLAP รุ่นใหม่มา หรือ อาจจะมีโครงการคล้ายๆกันแต่ไม่ใช่ OLAP ซึ่งอาจ >จะถูกกว่าที่มาจากจีนแดง หรือ นักเรียนบางคนอาจจะขยับขยาย >ไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื้อหาต่างๆเหล่านั้น ก็น่าจะใช้ได้อยู่

นี่เป็นเหตุผลที่ Blognone สนับสนุน Open Standard ครับ

พี่ไท้: ผมมองว่านั่นเป็นหน้าที่ของนักข่าว (ในที่นี้คือนักข่าวผู้จัดการ) ที่จะต้องขวนขวายหาข่าวครับ ไทยรัฐออนไลน์ส่งคนเข้าไปนั่งฟัง รมต. เต็มเวลา ก็สมควรจะได้ข่าวไป ส่วนผู้จัดการนี่ผมไม่ทราบ

By: thanwa on 25 November 2006 - 19:07 #13560

ในฐานะหน้าใหม่ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ...

เรื่อง OLPC นี่ผมตามดูมาได้หลายเดือนแล้วครับ เพราะตรงกับใจมากๆ ในเรื่องการดีไซน์ แม้ว่าจะมีบางจุดที่อยากจะให้ปรับบ้าง แต่ผมคิดว่าในเวอร์ชันถัดไปคงมีเสียงตอบรับมาอีกมาก

รอคอยว่าเมื่อไหร่จะได้เข้ามาในไทยครับ และจริงๆ แล้ว อยากจะให้ช่วยกระจายออกไปตามสถาบันการศึกษา (ระดับปวส. และป.ตรี) เพื่อช่วยกันพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อยอดออกมาให้มากๆ

ปล. ผมมีบอร์ด VIA Eden ความเร็ว 600MHz (เครื่องที่กำลังพิมพ์อยู่นี้ล่ะครับ) ซึ่งไม่มีพัดลม มีแต่ฮีตซิงค์ตัวเล็กๆ ซึ่งซีพียูมีค่า power dissipation อยู่ที่ราว 6 วัตต์ ซีพียู VIA C3 จะมีพัดลมและมีค่า PD ที่ 12 วัตต์ (ถ้าจำตัวเลขสองตัวนี้ไม่ผิดนะครับ) ซีพียูรุ่นที่ถูกเลือกใช้ใน OLPC เป็น Geode รุ่น 333 ซึ่งเทียบเท่ากับ VIA C3/Eden 500MHz (ดูจากกราฟเปรียบเทียบแล้วด้อยกว่า C3/Eden เล็กน้อยแต่ไม่หนีกันนัก) ข้อดีคือกินไฟเพียง 0.9w พร้อมมีวงจร แสดงผลในตัวอีกต่างหาก ดังนั้นในฐานะของคนที่ใช้บอร์ดในตระกูล ที่ AMD เขาใช้เปรียบเทียบ ผมอยากยืนยันว่าสามารถรองรับงานได้สบายเลยครับ (ถ้าจะให้ดี ในอนาคตถ้าเขาขยับไปใช้ตัวที่กินไฟ 1.1W จะมีสเปคในระดับเดียวกับเครื่องที่ผมกำลังพิมพ์ข้อความนี้ทีเดียวครับ)