Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา Samsung NEXT หน่วยงานสนับสนุนและลงทุนด้านนวัตกรรมของซัมซุง ได้ประกาศเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนของ Aliro Technologies สตาร์ทอัพด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่แยกตัวออกมา (spin-out) จาก Quantum Information Sciences Lab ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา IBM ได้เปิดศูนย์ IBM Quantum Computation Center ที่รัฐนิวยอร์ก เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้า ทีมวิจัย และผู้ใช้ทั่วไปที่ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตน (ผ่านโครงการ IBM Q Experience) โดยจะมีคอมพิวเตอร์ในระบบทั้งหมด 10 เครื่อง ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาด 20 คิวบิต 5 เครื่อง, คอมพิวเตอร์ขนาด 14 คิวบิต 1 เครื่อง, และคอมพิวเตอร์ขนาด 5 คิวบิตอีก 4 เครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสตาร์ทอัพต่างๆ ทั่วโลก ในการวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาสักพักแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ก็เพิ่งเปิดตัวโครงการนี้อย่างเป็นทางการไปเมื่อสิ้นเดือน ภายใต้ชื่อ Microsoft Quantum Network

โครงการความร่วมมือนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

Civilization VI ประกาศภาคเสริมที่สองชื่อว่า Gathering Storm หลังจากที่ปล่อยภาคเสริมแรก Rise and Fall ไปเมื่อต้นปี

ระบบใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาในภาคเสริมนี้คือ

ภัยพิบัติ เช่น การตั้งเมืองริมแม่น้ำจะมีโอกาสเกิดน้ำท่วมเมือง หรือภูเขาไฟระเบิดสร้างความเสียหายกับพื้นที่โดยรอบได้ แต่พื้นที่บริเวณดังกล่าวก็มีทรัพยากร (yield) อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการพัฒนาเมืองด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้เล่นต้องคิดหนักขึ้นว่าจะตั้งเมืองในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนี้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีภัยพิบัติอื่นๆ เช่น พายุทะเลทราย เฮอริเคน พายุหิมะ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคขัดขวางการเคลื่อนยูนิตหรือกองทัพได้

Tags:
Node Thumbnail

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมเมื่อวันสองวันก่อน (13 กันยายนที่ผ่านมา) คือการผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีชื่อว่า The National Quantum Initiative Act โดยสภาผู้แทนราษฎร

รายละเอียดของ House bill ประกอบด้วยแผนพัฒนา 10 ปี การก่อตั้ง National Quantum Coordination Office เพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างสถาบันและเอกชน จนไปถึงงบประมาณที่จะให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ National Science Foundation, กระทรวงกลาโหม, และกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมงานวิจัย และจัดตั้งศูนย์วิจัยและสถาบันการศึกษา

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง IBM กับ Intel สร้างชิพควอนตัมนำไปก่อน ในที่สุด กูเกิลก็ออกมาเปิดเผยในงานประชุมประจำปี American Physics Society ที่ Los Angeles ถึง Bristlecone ชิพควอนตัม 72 คิวบิตที่กูเกิลกำลังวิจัยอยู่ นับเป็นชิพที่มีจำนวนคิวบิตสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการประกาศมา (เทียบกับชิพของ IBM และ Intel ที่มีอยู่ประมาณ 50 คิวบิต)

Tags:
Node Thumbnail

Alibaba Cloud ร่วมกับสถาบัน Chinese Academy of Sciences (CAS) เปิดให้ลูกค้าใช้เซอร์วิสคอมพิวเตอร์ควอนตัมบนคลาวด์แล้ว โดยจะใช้ชิพควอนตัมแบบ superconducting ขนาด 11 คิวบิตในการประมวลผล ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มี IBM ที่เพิ่งเปิดเซอร์วิสคอมพิวเตอร์ควอนตัมบนคลาวด์ขนาด 20 คิวบิตไป

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Quantum Development Kit ไปเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว โดยมีภาษา Q# สำหรับเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม และตัว simulator สำหรับจำลองการทำงาน ล่าสุดก็มีอัพเดตเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

ชิพคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ในงานวิจัย คือชิพแบบ superconducting ที่บริษัทใหญ่ๆ อย่างกูเกิล, IBM, และอินเทลกำลังวิจัยสร้างอยู่ และชิพแบบ trapped ion ที่ใช้เลเซอร์ในการดักจับไอออนและแก้ไขสถานะของคิวบิต

แต่โลกของการวิจัยชิพควอนตัมก็ไม่ได้จบอยู่ที่สองแบบนี้เท่านั้น ก่อนหน้านี้ อินเทลเคยประกาศไว้ว่ากำลังวิจัยชิพที่ทำจากซิลิคอนด้วยเช่นกัน โดยเชื่อว่าชิพซิลิคอนนี้จะมีขนาดเล็กกว่าชิพแบบอื่นเมื่อมีจำนวนคิวบิตเท่ากัน สามารถคงสถานะของคิวบิตได้นานกว่า สามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่าชิพแบบ superconducting ได้ และที่สำคัญคือ อินเทลมี know-how ในการสร้างชิพจากซิลิคอนอยู่แล้วด้วย

Tags:
Node Thumbnail

เก็บตกงาน CES 2018 เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา อินเทลได้แถลงว่าสามารถสร้างชิพประมวลผลควอนตัมสำหรับทดสอบ (test chip) โค้ดเนม “Tangle Lake” (มาจากชื่อของทะเลสาบใน Alaska) ขนาด 49 คิวบิตได้สำเร็จแล้ว หลังจากที่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วก็เพิ่งสร้างชิพ 17 คิวบิตไปหมาดๆ ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน IBM ก็เพิ่งสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิตไป

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท Denso และบริษัท Toyota Tsusho ประกาศจะร่วมกันทดสอบการประมวลผลข้อมูลสภาพการจราจรในไทย โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งและการเดินทางของรถแท็กซี่และรถบรรทุกกว่า 130,000 คันทั่วประเทศ ประมวลผลผ่านระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ควอนตัมของบริษัท D-Wave Systems

กระบวนการทดสอบโดยคร่าวๆ คือ บริษัท Denso จะพัฒนาอัลกอริทึมบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และจะส่งผลการวิเคราะห์ไปยังแอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม TSquare ของบริษัท Toyota Tsusho Nexty Eletronics (ประเทศไทย) ต่อไป (ข่าวเก่า: สัมภาษณ์บริษัท TTET ผู้สร้างแอพจราจร TSquare จากข้อมูล GPS จริงกว่า 6 หมื่นตัวทั่วไทย)

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อต้นปี IBM ประกาศโครงการ IBM Q มีเป้าหมายเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิต และเมื่อเดือนมิถุนายนก็สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 16 คิวบิตเสร็จแล้ว

เมื่อวานนี้ IBM ประกาศว่า ทีมงานได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมต้นแบบ (prototype) ขนาด 50 คิวบิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยจะยังคงทดสอบและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้นเสียก่อน

Tags:
Node Thumbnail

Stack Overflow มีฟีเจอร์ Developer Story ให้นักพัฒนาสร้าง resume ของตัวเองในรูปแบบของ timeline โดยผู้ใช้เองสามารถกรอกได้ว่าภาษา/เทคโนโลยีไหนที่ตนอยากทำงาน/ใช้งานด้วย และอะไรที่ไม่อยาก (ซึ่งอันที่จริงข้อมูลที่เอามากรอกก็คือแท็กในฟอรั่มนั่นแหละครับ)

นี่จึงทำให้ David Robinson นัก data scientist ประจำ Stack Overflow สนใจขุดข้อมูลจากฟีเจอร์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อดูว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อินเทลร่วมกับศูนย์วิจัย QuTech จากเนเธอร์แลนด์ ผลิตชิพควอนตัมขนาด 17 คิวบิตเพื่อใช้ในงานทดสอบของตัวเองแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก IBM ประสบผลสำเร็จในการจำลองโครงสร้างโมเลกุลของ beryllium hydride (BeH2) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 7 คิวบิต นับเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยถูกจำลองบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม

แม้ว่าสารประกอบดังกล่าวจะถูกจำลองบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้อยู่ก่อนแล้ว แต่ในอนาคต การค้นหาสารประกอบใหม่ๆ อาจจะต้องมีการจำลองโครงสร้างโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอต่องานดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงคาดหวังให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมมาทำงานเหล่านี้แทน งานวิจัยชิ้นนี้จึงถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อต้นเดือน ทีมวิจัยจาก Institute for Quantum Computing และ Department of Physics and Astronomy, University of Waterloo ประเทศแคนาดา ประกาศความสำเร็จในการทดสอบแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผ่านช่องทางควอนตัม (quantum key distribution หรือ QKD, ข่าวเก่ามีพูดถึงไว้นิดหน่อย) โดยส่งจากสถานีภาคพื้นดินไปยังเครื่องบินขณะที่กำลังบินอยู่

Tags:
Node Thumbnail

ที่ผ่านมา วงการ cryptocurrency และ blockchain ได้รับความนิยมล้นหลาม ส่งผลให้ความต้องการการ์ดจอเพื่อเอาไปขุดเหมืองเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีข่าวลือเกี่ยวกับการดัดแปลงการ์ดจอเพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ ล่าสุดก็เริ่มมีบางคนปิ๊งไอเดียว่า แล้วถ้าเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปขุดเหมืองแทนล่ะ จะขุดเร็วขนาดไหน

คำตอบคือ ขุดเร็วกว่าการ์ดจอแน่ๆ แต่ “มันอาจจะเร็วเกินไปจนไปทำลายระบบ blockchain” ได้เลยทีเดียว

นอกจากนี้ การมาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำให้ระบบ blockchain ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เพราะมันสามารถทำลายกลไกการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้อีกด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ถ้ายังจำกันได้ IBM มีเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 5 คิวบิตอยู่ในมือ และมีเป้าหมายใหญ่ว่าจะสร้างคอมพิวเตอร์ขนาด 50 คิวบิตให้ได้

เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง IBM ก็ได้ประกาศหลักไมล์ของตนว่าตอนนี้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 16 คิวบิตเสร็จแล้ว แต่ยังอยู่ในเฟสของการทดสอบ โดยจะเปิดไว้เป็น beta access ผู้ที่ต้องการจะใช้งานสามารถส่งคำร้องขอได้ที่เว็บไซต์ IBM Quantum Experience (รายละเอียดการสมัคร)

Tags:
Node Thumbnail

สมรภูมิการวิจัยสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเริ่มดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเดือนก่อน IBM ประกาศแผนพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมเชิงพาณิชย์ขนาด 50 คิวบิต ล่าสุด กูเกิลออกมาเผยว่าตนก็เตรียมจะผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมในระดับนั้นด้วยเหมือนกัน (อย่าจำสลับกับคอมพิวเตอร์ของ D-Wave System ที่กูเกิลซื้อมานะครับ)

John Martinis หัวหน้าทีมวิจัยจากกูเกิลเปิดเผยว่า ทีมของเขาเตรียมจะสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 30 – 50 คิวบิตภายในสิ้นปีนี้ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวอยู่ โดยหากสร้างสำเร็จ คอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีอยู่บนโลก เรียกปรากฏการณ์นี้กันว่า quantum supremacy

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง D-Wave นำหน้าไปหนึ่งก้าวด้วยการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 2,000 คิวบิต ก็ถึงทีของ IBM ที่จะออกมาเผยถึงโครงการด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเองถึง 2 หัวข้อด้วยกัน

Tags:
Node Thumbnail

เรามักจะได้ยินชื่อ Raspberry Pi ในฐานะผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และมีตัวเลือกแบบราคาย่อมเยา (Raspberry Pi Zero) เป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่กลายร่างมาเป็นตัวต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นการเกิดชุมชน maker จนไปถึงสนับสนุนวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วัยเด็กกันเลยทีเดียว

วันนี้ มูลนิธิ Raspberry Pi ร่วมกับ Computing at School องค์กรรากหญ้า (grassroot organization) เพื่อครูผู้สอนคอมพิวเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร สนับสนุนวงการไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวนิตยสารเป็นของตัวเองในชื่อ “Hello World” วางตัวเป็นสื่อสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักการศึกษา (educators) เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายใต้หัวข้อ computing and digital making จากทั่วทุกมุมโลก

Tags:
Node Thumbnail

D-Wave Systems บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมสัญชาติแคนาดา เปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่น 2000Q โดยมีจำนวนคิวบิตทั้งสิ้น 2,000 ตัว มากกว่ารุ่น 2X ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2015 ถึง 2 เท่าตัว

D-Wave เคลมว่าคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น การทดสอบ benchmark พบว่าประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 2,600 เท่า, กินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 100 เท่า, และมีฟีเจอร์ anneal offsets ช่วยคำนวณการแยกตัวประกอบ (integer factoring) ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 1,000 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

D-Wave หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่กูเกิลเลือกใช้ในงานวิจัยด้าน AI ประกาศเปิดซอร์สโปรแกรมประมวลผลเชิงควอนตัม qbsolv บน Github เพื่อให้นักพัฒนาศึกษาและพัฒนาโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการประมวลผลควอนตัมมากมายนัก

Tags:
Node Thumbnail

นอกเหนือจากผู้เล่นหลักอย่าง IBM และกูเกิลแล้ว ไมโครซอฟท์เองก็มีศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ก่อตั้งอย่างเงียบๆ มาตั้งแต่ปี 2005 ใน UC Santa Barbara นาม Station Q โดยเน้นไปที่งานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบ topological ซึ่งไมโครซอฟท์เชื่อว่าทนต่อการรบกวนของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าแบบอื่น

ล่าสุด เมื่อ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จะยกระดับการวิจัยจากเดิมไปสู่การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยสนับสนุนด้านทุนวิจัยเพิ่ม และดึงเอา Todd Holmdahl มาบริหารงานในตำแหน่ง corporate vice president เขาเคยอยู่ในตำแหน่งบริหารงานผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ที่สร้างชื่อให้ไมโครซอฟท์ทั้ง Xbox, Kinect, และ HoloLens มาแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

นอกเหนือจากงานเปิดตัว iPhone 7 โดยแอปเปิล และงานเปิดตัว PlayStation 4 Pro โดย Sony แล้ว เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา เวลาประมาณตี 1 ในบ้านเรา ทาง Final Fantasy ก็ได้จัดคอนเสิร์ตเพลง soundtrack ของเกม Final Fantasy XV ถ่ายทอดสดบน Youtube ครับ

Pages