เมื่อวานนี้หลังกูเกิลประกาศ Google Assistant รองรับภาษาไทย บริการฝั่งนักพัฒนาอย่าง Dialogflow ก็ประกาศรองรับภาษาไทยเพิ่มเติมเช่นกัน พร้อมๆ กับภาษาอื่นที่จะรองรับใน Assistant ทั้งหมด
ตัวอย่างสำหรับการพัฒนาที่รองรับภาษาไทยยังมีเพียงสามตัวอย่าง คือ Small Talk แชตบอตคุยเล่น, Support สำหรับการตอบปัญหาลูกค้า, และ Translate สำหรับช่วยแปลภาษา
เริ่มใช้งานได้วันนี้ ใน console มีให้เลือกภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว
กูเกิลประกาศเพิ่มภาษาสำหรับ Google Assistant อีกถึง 30 ภาษาในปีนี้ และ 7 ภาษาแรกที่จะเพิ่มจะมาในอีกไม่กี่เดือน ได้แก่ เดนมาร์ก, ดัชน์, ฮีนดี, อินโดนีเซีย, นอร์เวย์, สวีเดน, และไทย เป็นการยืนยันข่าวจากงาน Digital News Initiative Summit เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
กูเกิลยืนยันว่า Assistant จะสามารถรองรับหลายภาษาได้ด้วย โดยสามารถพูดสลับไปมาได้ แต่กลุ่มภาษาที่จะรองรับฟีเจอร์นี้จะจำกัดเฉพาะ อังกฤษ, เยอรมัน, และฝรั่งเศส ก่อน
ผู้ใช้รายงานบั๊กใน npm 5.7.0 หากรันด้วยสิทธิ์ root อาจจะทำให้ระบบไฟล์เสียหายถึงขั้นต้องติดตั้งระบบปฎิบัติการใหม่
บั๊กนี้เกิดจากแพตช์ที่เปลี่ยนแพ็กเกจจาก mkdirp เป็น correct-mkdir แต่เกิดผลข้างเคียงทำให้ความเป็นเจ้าของโฟลเดอร์เปลี่ยนไป กระทบโฟลเดอร์สำคัญๆ เช่น /etc /usr /boot
ปัญหานี้ไม่ได้กระทบลินุกซ์ทุกรุ่น และวินโดวส์ก็ไม่ได้รับผลกระทบ แต่มีผู้ใช้ FreeBSD รายงานว่าได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างไรก็ตามตอนนี้ npm 5.7.1 ออกมาแล้วก็ควรหันไปใช้รุ่นใหม่ก่อน
AIS ประกาศโครงการด้าน IoT เพิ่มเติมที่งาน Digital Intelligent Nation 2018 อีกหลายด้าน
Drupal ประกาศแพตช์ความปลอดภัยอันตรายสูงทั้งเวอร์ชั่น 7 และ 8 แต่เป็นคนละช่องโหว่ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
ช่องโหว่ของ Drupal 8 เป็นช่องโหว่การเข้าดูเนื้อหาที่ไม่มีสิทธิ์และสามารถคอมเมนต์ในเนื้อหานั้นๆ ได้ โดยผู้ใช้ที่ได้สิทธิ์คอมเมนต์ ขณะที่ Drupal 7 เป็นช่องโหว่ของฟังก์ชั่น Drupal.checkPlain() ที่ทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้แฮกเกอร์สามารถทำ cross-site scripting ได้
สามารถสั่งอัพเดตได้แล้วตอนนี้
ที่มา - Drupal
Zaif ตลาดเงินคริปโตหนึ่งใน 16 รายที่ได้รับอนุญาตในญี่ปุ่นรายงานความผิดพลาดของระบบคำนวณราคา ทำให้ระบบขายบิตคอยน์ให้ลูกค้า 7 คนฟรี ลูกค้ารายหนึ่งสั่งซื้อบิตคอยน์มูลค่า 20 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 620 ล้านล้านบาท
ระบบผิดพลาดเพียง 18 นาที แต่ลูกค้ารายหนึ่งก็สั่งขายบิตคอยน์ก้อนมหึมาบน Zaif ทำให้หลายคนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
ทาง Zaif ยกเลิกรายการซื้อขายทั้งหมดแล้ว และขออภัยในความผิดพลาดครั้งนี้ บริษัทรายงานความผิดพลาดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน สี่วันหลังจากมีความผิดพลาด
ที่มา - The Asahi Shimbun
AIS เปิดรับพรีออเดอร์บอร์ด NB-IoT ที่งาน Digital Intelligent Nation 2018 โดยจะเปิดรับพรีออเดอร์วันนี้วันเดียวเท่านั้น ในราคา 1,190 บาท (ต่างจากที่ผมรายงานตอนงาน MakerFaire) โดยสั่งได้ด้วยการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนสั่งจองล่วงหน้า
ตัวบอร์ดเป็นบอร์ด Devio NB-Shield I ใช้โมดูล Quectel BC95 ทำงานที่คลื่น 900MHz มี eSIM ในตัว ความเร็วสูงสุด dl/up 24kbps/15.625kbps ค่าบริการฟรีปีแรก และปีต่อไป 350 บาท
ทาง AIS ระบุว่าจะเริ่มส่งมอบบอร์ดเดือนเมษายนนี้
TDAX ตลาดซื้อขายเงินคริปโตในไทยประกาศว่าได้รับการติดต่อจากธนาคารกรุงเทพ ขอให้ทาง TDAX หยุดใช้บัญชีธนาคารกรุงเทพเพื่อทำธุรกรรม และทาง TDAX ตกลงหยุดให้บริการตามที่ข้อเรียกร้อง โดยไม่รับเงินฝากเข้าทางธนาคารกรุงเทพ แต่ยังคงถอนเงินออกไปยังบัญชีของธนาคารกรุงเทพต่อไปได้
ทางธนาคารกรุงเทพขอ TDAX โดยอ้างจากการ "ขอความร่วมมือ" ของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดียังไม่มีธนาคารอื่นติดต่อ TDAX ในรูปแบบเดียวกัน แม้ตัวประกาศจะส่งถึงทุกธนาคารก็ตาม
TDAX เป็นตลาดซื้อขายเงินคริปโตที่ให้บริการระดมทุน JFIN Coin ที่ระดมทุนจากผู้ลงทุนกว่าสองพันคน รวมมูลค่า 660 ล้านบาทไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
Jung Ki-joon เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประสานงานนโยบายรัฐบาลเกาหลีใต้ ผู้ดูแลนโยบายเงินคริปโตเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยวัย 52 ปี คาดว่าสาเหตุมาจากโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามตำรวจกำลังสอบสวนต่อไป
เพื่อนร่วมงานของเขาระบุว่าตั้งแต่ Jung รับหน้าที่ดูแลนโยบายเงินคริปโตก็มีความเครียดอย่างมาก โดยหน้าที่ของเขาคือการรับความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ และเตรียมการประชุมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทุกสัปดาห์
ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกๆ ที่ออกกฎหมายกำกับดูแล (และยอมรับ) บิตคอยน์ตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว ตอนนี้ถึงฤดูกาลยื่นภาษี สรรพากรญี่ปุ่นก็ออกแนวทางการยื่นภาษีสำหรับผู้ทำกำไรจากเงินคริปโตทั้งหลาย ว่าต้องยื่นกำไรจากเงินคริปโตเหล่านี้รวมไปกับรายได้ประจำปีด้วย
แนวทางการยื่นภาษีของสรรพากร คือ ให้ยื่นกำไรจากเงินคริปโตไว้ในช่อง "รายได้อื่นๆ" (miscellaneous income) โดยมีหากยังคงถือเงินคริปโตไว้ไม่ได้ขายออกไปก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีแต่อย่างใด แต่หากขายเป็นเงินสด หรือแม้แต่นำเงินคริปโตไปซื้อของแล้ว ก็ต้องนำมูลค่าของกลับมาคิดว่าทำกำไรไปหรือไม่ เช่น หากซื้อบิตคอยน์ไว้ที่สองแสนเยน และซื้อสินค้าราคาล้านเยนด้วยบิตคอยน์ ก็ต้องถือว่ามีรายได้แปดแสนเยน
แม้บิตคอยน์จะผันผวนมากในปีนี้ แต่คนจำนวนมากก็ยังเชื่อในบิตคอยน์และลงทุนกับมันอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานนี้ MarketWatch ก็รายงานถึงบัญชีบิตคอยน์ปริศนา 3Cbq7aT1tY8kMxWLbitaG7yT6bPbKChq64 ที่ตอนนี้ถือบิตคอยน์ไว้บัญชีเดียวเกือบแสนบิตคอยน์ มูลค่ารวมตอนนี้กว่า 35,000 ล้านบาท
Project Zero เผยแพร่ช่องโหว่ของ Edge ระดับความร้ายแรงปานกลาง ที่สามารถข้ามกระบวนการป้องกัน Arbitrary Code Guard (ACG) ของไมโครซอฟท์ได้สำเร็จ
ACG ปิดทางไม่ได้แฮกเกอร์สามารถวางโค้ดลงในโปรเซสด้วยตัวเองได้ และไมโครซอฟท์ก็แยก JIT กับ Content Process ออกจากกัน ทำให้โดยปกติแล้วแฮกเกอร์สามารถวางโค้ดใดๆ เพื่อรันด้วยตัวเองได้ยากมาก
การเจาะของ Project Zero อาศัยการคาดเดาว่าโปรเซส JIT จะจองหน่วยความจำด้วยฟังก์ชั่น VirtualAllocEx ที่ตำแหน่งใด (Project Zero ระบุว่าคาดเดาง่ายพอสมควร) จากนั้นเมื่อเจาะ Content Process ได้แล้วให้ไปเขียนหน่วยความจำบริเวณนั้นไว้ล่วงหน้า เมื่อ JIT มาจองหน่วยความจำก็จะปรับให้หน่วยความจำส่วนนั้นกลายเป็น executable ไป กลายเป็นการข้าม ACG
กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเบลเยียมชนะคดีเฟซบุ๊ก หลังจากต่อสู้กันว่าการที่เฟซบุ๊กเก็บข้อมูลติดตามผู้ใช้เว็บอื่นที่ติดตั้งปุ่ม Like และ tracking pixel นั้นเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ศาลเบลเยียมตัดสินให้เฟซบุ๊กต้องลบข้อมูลผู้ใช้ที่ไม่ได้ยินยอมให้ติดตาม ได้แก่ผู้เข้าเว็บที่ไม่ได้ล็อกอินเฟซบุ๊ก ออกทั้งหมด และให้หยุดติดตามผู้ใช้ที่ไม่ได้อนุญาตให้เฟซบุ๊กเก็บข้อมูล
เฟซบุ๊กแสดงความเสียใจต่อคำพิพากษานี้และยืนยันว่า tracking pixel เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานที่เปิดทางให้ผู้ค้าจำนวนมากเข้าถึงลูกค้าได้ พร้อมกับยืนยันว่าจะสู้คดีต่อไป
ต้นปีที่ผ่านมานับเป็นช่วงเวลาน่าเศร้าของนักลงทุนบิตคอยน์และเงินคริปโตสกุลหลักๆ เพราะแทบตลอดเดือนมกราคม ราคาเงินคริปโตแทบทุกสกุลตกลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทะลุ 7,000 ดอลลาร์ไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ดูเหมือนราคาเงินคริปโตก็สามารถกลับมาขาขึ้นได้อีกครั้ง
ราคาบิตคอยน์ไต่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งผ่าน 11,000 ดอลลาร์ได้ช่วงสั้นๆ ในวันนี้ ส่วนสกุลหลักๆ เช่น Ethereum ก็อยู่ที่ 945 ดอลลาร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศการปรับปรุงหลักเกณฑ์ช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ ให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม โดยจุดสำคัญคือการเปิดช่องทางให้ "นิติบุคคลอื่น" ที่เหมาะสมสามารถให้บริการแทนธนาคารได้
การปรับปรุงเช่นนี้ทำให้บริการที่ฝาก, ถอน, และรับชำระเงิน ที่เคยต้องทำผ่านธนาคาร หากธนาคารพิจารณาว่ามีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมก็สามารถเปิดให้บริการแทนได้ เช่น ร้านสะดวกซื้อ, ปั๊มน้ำมัน, กองทุนหมู่บ้าน, ไปจนถึงร้านของชำก็ตาม การปรับปรุงหลักเกณฑ์นี้ขยายจากเดิมที่เปิดให้บริการสำคัญๆ จะต้องให้บริการผ่าน ธนาคารของตนเองหรือธนาคารอื่น, สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI), และไปรษณีย์ไทย เท่านั้น
Omise ผู้ให้บริการ payment gateway ลงนามความตกลงกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัล ในโครงการ National Digital ID
ผมสอบถามช้อมูลเพิ่มเติมของข้อตกลงนี้ไปยังคุณนฤดม รุ่งศิริวงศ์ หนึ่งในทีมเทคนิคของโครงการ National Digital ID ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทาง Omise จะเข้ามาช่วย ETDA พัฒนา Federated Proxy ที่เป็นความรับผิดชอบของ ETDA ตามเอกสาร whitepaper ของโครงการ
JCB เครือข่ายบัตรเครดิตจากญี่ปุ่นเตรียมออกบัตรเครดิตบนโทรศัพท์มือถือ จ่ายด้วยการสแกน QR สำหรับลูกค้าในไทย ภายในปี 2019 หรืออีกหนึ่งปีข้างหน้า
ระบบ QR มาตรฐาน ที่ใช้งานกันในประเทศไทย เป็นมาตรฐานจาก EMVco อยู่แล้ว ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้าง QR ที่สามารถจ่ายได้ทั้งพร้อมเพย์, บัตรเครดิต, หรือการจ่ายผ่านแอปธนาคาร
ก่อนหน้านี้แอป GSB Pay ของธนาคารออมสินก็รองรับการจ่ายเงินด้วย QR ผ่านบัตรเครดิตเครดิตอยู่แล้ว แม้จะมีรายงานว่ามีปัญหาการเพิ่มบัตรอยู่บ้าง
หมายเลขโทรศัพท์ของ Sarah Wilson ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการ MasterChef Australia ถูกพบโดยวิศวกรซอฟต์แวร์ของบริษัท Streamee หลังไล่สุ่มเลขเบอร์โทรศัพท์ในระบบ PayID ไปเรื่อยๆ
PayID เป็นระบบโอนเงินทันทีที่เพิ่งเปิดตัวในปีนี้หลังจากพัฒนามาหลายปี
บริษัท NPPA ผู้ให้บริการ PayID ออกจดหมายชี้แจง ระบุว่าหมายเลขโทรศัพท์นี้ไม่สามารถใช้ถอนเงินได้, การแสดงชื่อจริงจำเป็นสำหรับการโอนเงินเพื่อลดความผิดพลาด, และการลงทะเบียนเบอร์โทรศัพท์เป็นกับ PayID เป็นการใ้หสิทธิ์ทาง PayID ในการแสดงข้อมูลเพื่อให้บริการ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศเตือนการลงทุนใน ICO และเงินคริปโต ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมาก และอาจมีคนนำเทคโนโลยีมาบังหน้าหลอกลวงให้คนลงทุน
ตอนนี้ทาง ก.ล.ต. ยังไม่มีหลักเกณฑ์กำกับดูแลการออก ICO จึงไม่มีการคุ้มครองใดๆ และการระดมทุนหลายอันก็เป็นแค่การเสนอแนวคิด การดำเนินโครงการอาจจะไม่สำเร็จ และหากมีการกำกับดูแลก็จะมีการกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสมากขึ้น
ประกาศเตือนลงท้ายว่า "ถ้าไม่เข้าใจ อย่าลงทุน เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้เหมาะกับทุกคน"
ที่มา - ประกาศก.ล.ต.
เอเอ็มดีเปิดตัว AMD Ryzen APU ชุดใหม่ที่เพิ่มส่วนกราฟิก Vega มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลูกค้าสามารถใส่ซีพียูลงเมนบอร์ด AM4 ได้โดยไม่ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่ ปัญหาคือบอร์ดบางรุ่นต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์ก่อนจึงจะบูตด้วย APU เหล่านี้ได้ ตอนนี้ทางเอเอ็มดีก็มีทางออกสำหรับคนที่ซื้อเครื่องใหม่แล้วไม่มีซีพียูมาบูตเพื่ออัพเดตไบออส คือ ให้ยืมซีพียูไปบูตเครื่องก่อนได้
เอเอ็มดีเรียกซีพียูที่ให้ยืมนี้ว่า "boot kit" เป็น A6-9500 โดยผู้ใช้ต้องลงทะเบียนทางหน้าประกันของเอเอ็มดี แล้วแจ้งว่าจำเป็นต้องใช้ boot kit จะได้รับข้อความยืนยันทางอีเมล
การระดมทุน ICO ได้รับเงินจำนวนมากไปหลายรายการในช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าในจีนเองก็มีการระดมทุนอยู่มากเช่นกัน แม้ธนาคารกลางจีนจะสั่งห้ามแต่ก็มีความพยายามใช้ระดมทุนผ่านช่องทางอ้อมๆ อย่างต่อเนื่อง วงการนี้ยังคงเติบโตถึงขั้นมีบริการครบวงจรสำหรับผู้ที่ต้องการจัดระดมทุน
บริการจัดระดมทุน ICO โผล่ขึ้นบน Taobao นับสิบรายการ เช่น ราคาค่าเขียน Whitepaper อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท เมื่อผู้สื่อข่าว Beijing News เข้าไปสอบถามรายละเอียดกับผู้ให้บริการายหนึ่ง ก็ได้คำชี้แจงว่ามีบริการปลอมประวัติทีมงานให้ด้วย โดยทีมงานจะหารูปที่ไม่สามารถค้นเจอผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และปลอมประวัติว่าเคยจบมหาวิทยาลัยดัง หรือเคยทำงานบริษัทดังมาก่อน
ช่องโหว่ Meltdown/Spectre ถูกพบมาตั้งแต่กลางปี 2017 และกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้เป็นวงกว้าง สัปดาห์ที่ผ่านมาอินเทลก็ออกมาปรับนโยบายโครงการรายงานช่องโหว่ (bug bounty) เพื่อให้ครอบคลุมช่องโหว่ประเภทนี้แล้ว
Meltdown/Spectre เป็นกลุ่มการโจมตีโดยใช้ข้อมูลข้างเคียง (side-channel attack) คือระยะเวลาการเข้าถึงแคชเพื่อหาข้อมูลจากตำแหน่งอื่น ที่ปกติแล้วซอฟต์แวร์ไม่มีสิทธิ์อ่าน การโจมตีโดยใช้ข้อมูลข้างเคียงนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ตั้งแต่เสียงพัดลม, ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
ธนาคารกลางรัสเซียเปิดเผยว่ามีธนาคารในรัสเซียถูกแฮกระบบเชื่อมต่อกับเครือข่าย SWIFT แล้วสั่งโอนเงินออกไปยังบัญชีปลายทาง มูลค่ารวม 339.5 ล้านรูเบิล หรือประมาณ 190 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว
รายงานว่าแฮกเกอร์เริ่มแฮกเงินจากธนาคารได้ เริ่มปรากฎสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2016 เป็นต้นมา ทาง SWIFT เองแม้จะยืนยันว่าตัวระบบ SWIFT ไม่เคยถูกแฮก แต่ก็พยายามกดดันให้ธนาคารที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายต้องปรับปรุงความปลอดภัย
ธนาคารกลางรัสเซียไม่ระบุชื่อธนาคาร ส่วนทาง SWIFT เองก็ระบุว่าจะไม่แสดงความเห็นต่อกรณีใดกรณีหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่าธนาคารและ NITMX เตรียมเปิด "ระบบกลาง" สำหรับบริการ Request to Pay แล้ว โดยเตรียมเปิดในวันเสาร์ที่ 17 นี้ ส่วนบริการจริงที่ธนาคารต้องรองรับจะทยอยเปิดต่อไป
การเปิดระบบกลางจะทำให้พร้อมเพย์ใช้งานไม่ได้ตั้งแต่ตีหนึ่งถึงตีสามของวันเสาร์นี้
ก่อนหน้านี้แอปบางธนาคาร เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็อัพเดตให้มีบริการ Request to Pay มาก่อนแล้วแต่ใช้ได้ในธนาคารเดียวกันเท่านั้น
ปกติเมื่อนักลงทุนรายย่อยสมัครบริการโบรกเกอร์ โบรกเกอร์แต่ละรายก็มักซื้อบริการแนะนำหุ้นและข่าวสารจากแหล่งต่างๆ มาให้บริการ แต่บริการที่สถาบันการเงินใช้กันมากๆ มักจะเป็น Bloomberg Terminal หรือ Thomson Reuters Eikon แต่บริการเหล่านี้มีราคาแพง (ประมาณปีละ 20,000 ดอลลาร์) ทำให้ไม่ค่อยมีใครเปิดให้บริการกับนักลงทุนรายย่อยนัก แต่ตอนนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ประกาศเปิดบริการนี้แล้วกับลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตกลุ่มเวลธ์ ได้แก่ SCB Private Banking, SCB First, และ SCB Prime
ทาง SCB ซื้อทั้ง Thomson Reuters Eikon และ Thomson Reuters Knowledge Direct โดยชุดข้อมูลครอบคลุมสินทรัพย์ทุกประเภท ทั้งหุ้น, ตราสารหนี้, กองทุน, อัตราแลกเปลี่ยน, สินค้าโภคภัณฑ์